โรคลําไส้แปรปรวน สาเหตุ


3,530 ผู้ชม


โรคลําไส้แปรปรวน สาเหตุ โรคลําไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome โรคลําไส้แปรปรวน รักษา
โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ปวดท้องเรื้อรัง ถ่ายผิดปกติ หรือ อืดแน่นท้อง จากลำไส้ใหญ่

โรคลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวน [IBS]


ปวดท้องเรื้อรัง ถ่ายผิดปกติ หรือ อืดแน่นท้อง จากลำไส้ใหญ่



1. โรคลำไส้แปรปรวน คือ โรคอะไร

ตอบ โรคลำ
ไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome (IBS)) เป็นภาวะเรื้อรังของลำไส้ ซึ่งประกอบด้วยอาการหลัก คือ ปวด หรือ อึดอัดท้อง และ มีลักษณะอาการสัมพันธ์กับการถ่าย หรือ อุจจาระที่เปลี่ยนไป (บ่งบอกว่าเป็นการปวดจากลำไส้ใหญ่) ซึ่งไม่พบว่ามีสาเหตุใด ๆ

2. โรคนี้พบได้มากแค่ไหน คนอื่น ใคร ๆ เป็นโรคนี้กันมากไหม

ตอบ
ภาวะโรคนี้พบได้มากเลยทีเดียว เรียกว่าบางการศึกษาพบว่าเป็นภาวะที่ทำให้ทำงานไม่ได้เป็นภาวะโรคอันดับ 2 รองจากไข้หวัด พบว่ามีถึง10 ถึง 20 % ของประชากรทั่วไปเลย แต่มีเพียงแค่ 15% ของผู้ที่ปัญหาจากโรคนี้ที่เข้าตรวจ หรือ ปรึกษาแพทย์

3. โรคนี้หายได้หรือไม่

ตอบ
พบว่ามีการรักษาได้หลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่ทำให้อาการดีขึ้น หรือ หายชั่วคราว แต่ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ จากลักษณะนี้ทำให้เกิดความหงุดหงิดในการรักษาทั้งแพทย์ และ ผู้ป่วย การรักษาพบว่าดีขึ้นได้มากขึ้น ถ้าผู้ป่วยทราบว่าลักษณะโรคนี้ ดีขึ้นแต่ไม่หาย และ ไม่ได้เกิดจากสาเหตุโรคร้ายแรงใด ๆ เลย ดังกล่าว

        สาเหตุของลำไส้แปรปรวน

ไม่ทราบแน่ชัด และไม่สามารถหาสาเหตุเดี่ยว ๆ ได้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่สนับสนุนให้เกิดอาการขึ้น พบว่า คนที่เป็นโรคนี้ ลำไส้ใหญ่จะมีความไวกว่าปกติต่อสารต่าง ๆ และความเครียด (เวลาเครียด ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงที่อื่น เช่นชีพจร หัวใจ ลำไส้ก็เช่นกัน)บางท่านเชื่อว่า กลไกการป้องกันและฆ่าแบคทีเรียในลำไส้ ก็มีส่วน สรุปทฤษฎีได้ดังนี้

    เกิดการเกร็งของลำไส้ใหญ่ หยุดเคลื่อนไหว และบีบตัวเป็นพัก ๆ
    ในคนที่ท้องเสีย เชื่อว่าเกิดเพราะมีการเคลื่อนของกากอาหารที่มีน้ำเร็วเกินกว่าที่ลำไส้ใหญ่จะดูดน้ำกลับทัน ในขณะที่บางคน กลับกัน คือมีการเคลื่อนของกากอาหารช้าไป เกิดเป็นท้องผูกเนื่องจากมีการดูดน้ำกลับมากไป
    ลำไส้ตอบสนองมากไปกว่าคนปกติ

การวิจัยบางอันชี้ให้เห็นถึงโรคบางอย่างที่ซ่อนอยู่ เช่น celiac disease โรคนี้เกิดจากที่ไม่สามารถย่อยสลายสารที่เรียกว่า gluten ที่มีอยู่ในข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย และโอ๊ต เกิดปัญหาถ้าได้รับอาหารที่มีสารเหล่านี้

อะไรทำให้โรคนี้เป็นมากขึ้น

  •     อาหารมื้อใหญ่
  • อาหารที่มีก๊าซมาก
  • ยาบางอย่าง
  • แป้ง ข้าวสาลี บาร์เลย ช็อคโกเเลต นมและอาหารจากนม แอลกอฮอล์
  • กาแฟ
  • ความเครียด
  • ฮอร์โมนเวลาเป็นประจำเดือน

         สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน (IRRITABLE BOWEL SYNDROME)

ตอบ มีหลายทฤษฎี ที่เสนอว่าน่าอธิบาย ภาวะโรคนี้ได้ แม้มีการศึกษาโรคนี้กันมากมาย แต่พบว่าไม่มีทฤษฎีใดอธิบายในคนไข้ได้ทุกคนถูกต้องเหมือนกันหมดได้เลย

    ทฤษฎีแรก เสนอว่าน่าเกิดจากการบีบตัวผิดปกติของลำไส้ใหญ่ หรือ อาจเรียกว่าตะคริว ลำไส้เกร็งตัวผิดปกติ (spastic colon) การบีบตัวอย่างรุนแรงจึงทำให้เกิดการปวดเกร็งลำไส้ ผู้ป่วยบางรายจึงตอบสนองต่อการให้ยาคลายลำไส้ (antispasmodic) และ ให้ใยอาหาร (fiber)(สารนี้อาจทำให้เกิดการทำให้การบีบตัวของลำไส้เข้าที่ กลับสู่ปกติได้ (regulate contractions)) แต่ดังที่กล่าวแล้ว ภาวะนี้ไม่สามารถอธิบายผู้ป่วยได้ทุกคน
    จากการพบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งเกิดภาวะนี้ตามหลังการติดเชื้อ เช่นเชื้อไข้รากสาด หรือ เชื้อแบคทีเรียอาหารเป็นพิษ เช่น Salmonella หรือ Campylobacter กลไกที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่ของโรคนี้ ไม่มีประวัติการติดเชื้อนำ ตามทฤษฎีนี้
    ผู้ป่วยโรคนี้พบว่ามีหลาย ๆ คนที่มีภาวะทางจิตเวช หรือ ความเครียดร่วมด้วย แต่อาจเป็นผล คือตามที่กล่าวแล้วว่าภาวะนี้พบได้มาก และ ผู้ป่วยไม่สนใจจะมารักษา ผู้ที่มีภาวะเครียด หรือ จิตเวชมีแนวโน้มจะเข้าปรึกษาแพทย์ได้มากอยู่แล้ว จึงอาจพบผู้ป่วยโรคนี้ที่มีจิตเวชได้มากกว่าปกติก็ได้ ไม่ได้เป็นต้นเหตุที่แท้จริง ส่วนทฤษฎีที่ว่าภาวะเครียด กังวลใจ อาจมีผลต่อลำไส้ทำให้เกิดการปวด หรือ รู้สึกไวขึ้นได้นั่นเอง
    ภาวะไวต่ออาหาร หรือ ภาวะที่รับอาหารบางอย่างแล้วย่อยไม่ได้ดี (Food intolerances) พบได้เกือบทุกคนในภาวะนี้ จึงเป็นไปได้ว่าโรคนี้อาจเกิดจากแพ้อาหาร หรือ ไวต่ออาหาร (food sensitivity หรือ allergy) พบว่าทฤษฎีนี้ยากที่จะพิสูจน์ และได้รับการศึกษาอย่างมากขณะนี้ การจดดูรายการอาหารที่ ทำให้อาการมากขึ้น และหลีกเลี่ยงซึ่งทำได้ยาก (การรักษานี้เรียกว่า การทานอาหารแบบคัดออกหลีกเลี่ยง elimination diet) แต่การทำวิธีดังกล่าวนอกจากอาจเลือกอาหารได้ผิด และทำได้ยาก ยังทำให้ผู้ป่วยขาดอาหารที่สำคัญบางอย่างไปโดยไม่จำเป็น และ อาจไม่เป็นสาเหตุที่แม้จริงได้ รวมทั้งผู้ป่วยยังเข้าสังคมไม่ได้ดี และ อาหารเองก็มีการปะปนกันดูได้ยากด้วย เช่นนม จะรวมทั้งครีม หรือ อาหารบางอย่างที่ใส่นมโดยไม่รู้ตัวด้วย อาหารที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนี้กำเริบได้ ได้แก่ อาหารกลุ่มนม (dairy products) ซึ่งมีสาร lactose, อาหารกลุ่มถั่ว และ อาหารกลุ่มผัก cruciferous vegetables (เช่น broccoli, กะหล่ำ cauliflower, brussels sprouts, และ cabbage) ส่วนใหญ่ทำให้เกิดลมในท้อง หรือ ลำไส้เกร็งตัวได้มากขึ้น ทำให้เกิดอาการมากขึ้นได้
    หลาย ๆ การศึกษาพบว่า IBS อาจเกิดจาก ความไวต่อความรู้สึกของลำไส้มากเกินไป โดยไม่ได้มีโรค หรือ การบีบตัวผิดปกติใด ๆ เลย ( เรียกว่า ลำไส้ไวขึ้น "visceral hyperalgesia") ดังนั้นแม้ลม มีการบีบตัวปกติ อุจจาระ หรือ อาหารปกติ ก็ทำให้เกิดการปวดรุนแรงได้ พบว่าการรักษาซึ่งสนับสนุนทฤษฎีนี้คือ พบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งตอบสนองต่อยากลุ่มลดการไวต่อการปวด เช่น ( low doses ของ imipramine หรือ nortriptyline) เป็นต้น

โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) การรักษาและยาที่ใช้ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

มาถึงตอนสุดท้ายของโรค IBS ผมจะได้สาธยายถึงการรักษาโรคนี้ที่จะได้ผลดี คนไข้สบายกายและจิตใจต้อง ก้อต่อเมื่อต้องอาศัยการรักษาอย่างเป็นทีมทั้งผู้ป่วยและญาติๆ เพื่อนร่วมงาน รวมไปถึงผู้ทำการรักษา จึงจะได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจของคุณๆผู้ป่วยเอง ลองมาติดตามกันนะครับ

โรคนี้รักษาได้ แต่อันดับแรกต้องวินิจฉัยให้ได้แน่ชัดเสียก่อน

หากคุณได้ทำแบบทดสอบและไปพบแพทย์มาแล้ว ต่อไปเมื่อถึงเวลาจ่ายยา วิธีการรักษาและ ยาที่เลือกนำมารักษาจะมีมากหลายตัว บางครั้งต้องอาจใช้ยาหลายกลุ่มเข้ารักษาร่วมกัน เนื่องจากโรคนี้มีหลายกลุ่มย่อย และ การตอบสนองต่อยาก้อแตกต่างกัน บางครั้งคุณอาจต้องได้รับการปรับยาหลายครั้ง พอคนไข้กลับไปบ้านมีการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตร่วมด้วย ดังนั้นในคนไข้ทีเข้าใจโรคอย่างดี มีการติดตามการรักษาและมีการอธิบายอาการอย่างละเอียด ระหว่างผู้ป่วยและทีมผู้ให้การรักษาด้วย จึงทำให้ผลการรักษาดีขึ้น

หลักการเลือกใช้ยา

เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรคนี้ อาการโรคมักจะเรื้อรัง โดนที่บางช่วงที่ผู้ป่วยไม่มีอาการใดๆ เลย ดังนั้น ผลสำเร็จในการรักษา IBS ช่วยบรรเทาอาการจะช่วยยืดระยะเวลาของช่วงที่ไม่มีอาการออกไปได้ พบว่ามีการรักษาได้หลายอย่าง ซึ่งให้ผลตอบสนองที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย โดยส่วนใหญ่ทำให้อาการดีขึ้นหรือหายชั่วคราว แต่ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจาก IBS มีสาเหตุและปัจจัยกระตุ้นหลายด้าน ดังนั้นการรักษาที่เป็นที่ยอมรับและมีประสิทธิภาพดี คือการใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน ในแง่การให้ยา จะให้ยารักษาตามความเด่นของอาการ ได้แก่

1.    ท้องผูกเป็นอาการเด่น: ใช้วิธีเพิ่มอาหารที่อุดมด้วยเส้นใย เช่นผัก ผลไม้ หรือยาช่วยระบายกลุ่มเพิ่มกากใยอาหาร (Ispaghula husk, psyllium seed ) หรือให้ยาระบายเช่น polyethylene glycol (PEG), sorbitol, lactulose เพื่อกระตุ้นการถ่ายให้สม่ำเสมอ ลดอาการอึดอัดหรือปวดในช่องท้องที่เกิดร่วมกับท้องผูก Lubiprostone (Amitiza) ช่วยเพิ่มการเคลื่อนตัวของลำไส้ เนื่องจากเป็น prostaglandin analog นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการขับน้ำจากผนังลำไส้ ซึ่งช่วยให้อุจจาระอ่อนตัว และมีความปลอดภัยค่อนข้างสูงเนื่องจากไม่มีผลต่อสมดุลเกลือแร่ Tegaserod (Zelmorm) เป็นสารกระตุ้นตัวรับชนิดย่อยที่ 4 ของเซโรโทนิน (5HT-4 agonist) ซึ่งมีผลเพิ่มจังหวะการบีบเคลื่อนตัวของทางเดินอาหาร จึงช่วยแก้ไข IBS ชนิดท้องผูก

2.    ท้องเสียเป็นอาการเด่น: เริ่มจากการวิเคราะห์ว่าอาการท้องเสียที่เกิดขึ้น มีปัจจัยกระตุ้นจากอาหาร ยา หรือพฤติกรรมบางอย่างหรือไม่ ตัวอย่างที่พบได้บ่อยเช่นนมโค ซึ่งทำให้ท้องเสียได้ ในรายที่ร่างกายขาดน้ำย่อย lactase ซึ่งใช้ย่อยน้ำตาล lactose ซึ่งมีอยู่ในนม ผู้ป่วยเหล่านี้จึงต้องเลี่ยงดื่มนมโค หรือในผู้ที่มีอาการท้องเสียจากการใช้หมากฝรั่ง อาจเนื่องจากน้ำตาล sorbitol ที่ใช้เป็นสารให้ความหวานในหมากฝรั่ง ในรายที่อาการท้องเสียเป็นมาก และรบกวน อาจใช้ยาซึ่งลดความถี่ในการถ่าย (anti-motility) เช่น diphenoxylate หรือ loperamide

3.    ปวดท้องหรือท้องอืดเป็นอาการเด่น: ควรเริ่มด้วยการวิเคราะห์พฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่นปริมาณอาหารแต่ละมื้อ พฤติกรรมการเคี้ยวอาหาร ชนิดและสัดส่วนของอาหารประเภทต่างๆ อาหารที่มีความมันมาก อาหารรสจัด หรือมีแก๊สมาก เช่นโปรตีน เนื้อสัตว์ หรือพืชตระกูลถั่ว อาจทำให้อาการเป็นรุนแรงขึ้น มักจะเลือกใช้ยาผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (anti-spasmodics) เช่น mebeverine, dicyclomine, hyoscine Nbutylbromide, peppermint oil, Magesto-F อาจช่วยบรรเทาอาการปวดเกร็งลงได้ และในรายที่มีท้องเสียร่วมด้วย ยาในกลุ่มนี้อาจช่วยลดความถี่ในการถ่าย ข้อควรระวังของการใช้ยากลุ่มนี้ คืออาการท้องผูก ปากคอแห้ง มองภาพเบลอ ปัสสาวะขัด และอาการต้อหินกำเริบ ควรหลีกเลี่ยงการใช้peppermint oil ในผู้ป่วยที่มีอาการกรดไหลย้อนร่วมด้วย เนื่องจาก peppermint oil มีผลคลายกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณส่วนต่อกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ทำให้เกิดการกำเริบของกรดไหลย้อนได้

ยากระตุ้นการทำงานของลำไส้ (prokinetics) เช่น domperidone, metoclopramide, itopride (Ganaton) อาจช่วยบรรเทาอาการท้องอืดซึ่งพบร่วมกับ IBS ได้ โดยเฉพาะในรายที่มีภาวะกรดไหลย้อนร่วมด้วย ถ้าเลือกใช้ยาในกลุ่มนี้ร่วมด้วย ต้องระวังไม่ให้ไปตีกันกับ anti-spamodics ทำให้ เพราะจะทำให้ prokinetics ออกฤทธิ์ได้ลดลง หากต้องใช้ร่วมกัน นิยมให้ anti-spasmodics ก่อนอย่างน้อยครึ่ง-1 ชั่วโมง

ในรายที่มีอาการเครียดหรือซึมเศร้าร่วมด้วย

ผู้ป่วยหลายรายมักจะความเครียดและกังวลใจ ทำให้โรคนี้มีอาการมากขึ้นทำให้เสียคุณภาพชีวิตได้ เรามักแนะนำให้ผู้ป่วยปรึกษาปัญหาในกลุ่มนี้กับแพทย์อย่างตรงไปตรงมา เพื่อช่วยแพทย์ในการพิจารณาให้การรักษา โดยคุณๆอาจดีขึ้นเมื่อปรึกษากับจิตแพทย์ ร่วมกับให้ยารักษาควบคุ่ไปด้วย กลุ่มของยาที่เลือกใช้ได้แก่ Antidepressant ซึ่งมีผลดีเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดมวนท้อง และอาจช่วยให้ IBS แบบท้องเสียเด่นมีอาการลดลง ตัวอย่าง TCA ที่มีการใช้ใน IBS เช่น imipramine, amitriptyline, nortriptyine, desipramine

การรักษาที่ไม่ใช้ยา

IBS ไม่ได้เกิดจากโรคทางจิตโดยตรง แต่อารมณ์ก็มีส่วนอย่างมากที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือเลวลง การลดความเครียดจึงช่วยให้การรักษาหรือควบคุมอาการของ IBS เกิดได้ดีขึ้น โดยมาตรการผ่อนคลายความเครียด มีหลายวิธี เช่น การออกกำลังกาย โยคะ การหายใจหรือนั่งสมาธิ รวมไปถึงการสะกดจิต และจิตบำบัด เพื่อเพิ่มการเรียนรู้พร้อมปรับพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy)

ที่เด่นๆในช่วงหลังก้อมีการ นำ Probiotics ซึ่งเป็นอาหารที่ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่นเชื้อ Lactobacillus plantarum, Bifidobacteria infantis หรือเชื้อตระกูลอื่นๆ ในโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยว จากการศึกษาในผู้ป่วย IBS ที่เกิดอาการหลังการติดเชื้อในทางเดินอาหาร ซึ่งส่วนหนึ่งมีภาวะที่ไม่สมดุลระหว่างจุลินทรีย์ชนิดดีและชนิดอันตราย ดังนั้นการรับประทานโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวจึงอาจช่วยบรรเทาอาการ ลดความรุนแรงของผู้ป่วย IBS บางรายได้

จบตอนการรักษาของดรคนี้ไปแล้ว อาจจะดูยุ่งยาก แต่หากคุณๆทำความเข้าใจกลไกของโรค ก้อจะยังคงชีพมีความสุขอยู่กับโรคนี้ไปอย่างมีความสุขครับ หากมีคำถามเพิ่มเติมก้อส่งมาได้มาได้ทางอีเมล์เลยนะครับ

แหล่งข้อมูล

•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 1 สค. 2553

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address https://www.oknation.net/blog/DIVING ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

·         รูปประกอบจากอินเตอร์เนท

·         Irritable Bowel Syndrome, National Digestive Diseases Information Clearinghouse, Bethesda, https://digestive.niddk.nih.gov/ddiseases/pubs/ibs/index.htm

·         Mayer EA. , Clinical practice. Irritable bowel syndrome. Center for Neurobiology of Stress, Division of Digestive Diseases, Department of Medicine, David Geffen School of Medicine at UCLA, Los Angeles, CA 90095-6949, USA, N Engl J Med. 2008 Apr 17;358(16):1692-9., https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18420501

·          Irritable bowel syndrome in adults. Diagnosis and management of irritable bowel syndrome in primary care, National Collaborating Centre for Nursing and Supportive Care. Irritable bowel syndrome in adults. Diagnosis and management of irritable bowel syndrome in primary care. London (UK): National Institute for Health and Clinical Excellence (NICE); 2008 Feb. 27 p. (Clinical guideline; no. 61), https://www.guideline.gov/content.aspx?id=13703

·         Irritable bowel syndrome: full guideline. Page 1 of 554. Clinical practice guideline. Irritable bowel syndrome in adults: Diagnosis and management of www.nice.org.uk/nicemedia/pdf/IBSFullGuideline.pdf

·         irritable bowel syndrome Medications, https://www.irritable-bowel-syndrome.ws/ibs-medications.htm

·         โรคลำไส้แปรปรวน(IBS=Irritable bowel syndrome),Thai Health, https://www.thaihealth.net/h/article302.html , https://www.thaihealth.net/h/article321.html

·         Irritable Bowel Syndrome Medications and Drugs, IBS Self Help and Support Group , https://www.ibsgroup.org/medications

·         โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome : IBS)  ,Vejthani Hospital International Medical & Health Care Services,https://www.vejthani.com/web-thailand/Health-Magazine/Irritable-Bowel-Syndrome.php

·         ภก.กิติยศ ยศสมบัติ,โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS), สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน (โอสถศาลา), คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

·         Linn WD, Wofford MR, O’keefe ME, et al. Pharmacotherapy in primary care. USA: McGraw-Hill; 2009

Link 

https://www.oknation.net

https://www.surachetclinic.com

https://www.praram9.com

https://health.kapook.com

อัพเดทล่าสุด