โรคลําไส้กลืนกัน โรคลําไส้ติดเชื้อ โรคลําไส้เจ็บที่สระดือ
กลุ่มงานศัลยศาสตร์
ลำ
ไส้กลืนกันเป็นภาวะที่ส่วนหนึ่งของลำไส้ส่วนต้นม้วนตัวหรือถูกกลืนเข้าไปใน
ลำไส้ส่วนปลายที่อยู่ติดกัน
มักจะเกิดที่ลำไส้เล็กส่วนปลายถูกกลืนผ่านเข้าไปในลำไส้ใหญ่
จนบางครั้งกลืนลงไปถึงทวารหนักในบางราย
ลำไส้กลืนกันเป็นสาเหตุของลำไส้อุดตันที่พบได้มากที่สุดในเด็กอายุต่ำกว่า 2
ปี และเป็นสาเหตุที่ต้องผ่าตัดฉุกเฉินบ่อยที่สุดในช่วงต้นของวัยเด็ก
ความสำคัญของโรคนี้ คือ
เกิดลำไส้เน่าและลำไส้ทะลุได้ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานโดยไม่ได้รับการรักษาอย่าง
ทันท่วงที และอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
อุบัติการณ์
ประมาณ
ร้อยละ 80 ของโรคนี้พบในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
เพศชายเกิดโรคนี้ได้มากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย ( 1.5: 1 ถึง 2 : 1)
เกิดได้ตลอดปี
ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมพบอุบัติ
การณ์สูงกว่าเดือนอื่น พบในเด็กตั้งแต่อายุ 3 เดือน ถึง 1 ปี
มากที่สุดพบได้ปีละประมาณ 50-60 ราย เกิดในเด็กที่มีสุขภาพดี
น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือบางรายอ้วนท้วนเกินมาตรฐาน
ส่วนใหญ่เป็นลำไส้ใหญ่กลืนลำไส้เล็ก
สาเหตุของการเกิดโรค
ใน
เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี
ลำไส้กลืนกันเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุแต่มีข้อสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากการติด
เชื้อไวรัสบางชนิด เช่น Rotavirus, Adenovirus เป็นต้น
เด็กกลุ่มนี้อาจมีประวัติเป็นหวัด
ท้องเดินมาก่อนระยะหนึ่งแล้วจึงเกิดลำไส้อุดตันตามมาภายหลัง
เชื่อกันว่าการติดเชื้อไวรัสจะทำให้ต่อมน้ำเหลือง (Peyer’ s patch)
บริเวณลำไส้เล็กส่วนปลายอักเสบและโตขึ้นอาจเป็นจุดนำให้เกิดลำไส้กลืนกันได้
ในผู้ป่วยบางรายโดยเฉพาะเด็กโตที่เกิดโรคนี้อาจมีสาเหตุนำที่ทำให้ลำไส้ส่วน
บนถูกกลืนเข้าไป สาเหตุนำที่พบได้บ่อยได้แก่ Meckel ‘s diverticulum, polyp
และเนื้องอกที่เกิดขึ้นในผนังของลำไส้ เช่น มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง
(lymphoma)
มีผู้ป่วยบางรายเกิดลำไส้กลืนกันหลังจากผ่าตัดโรคอื่นซึ่งเกิดชนิดลำไส้เล็ก
กลืนลำไส้เล็กเกือบทั้งหมด
อาการ และอาการแสดง
อาการ
ที่สำคัญ คือ เด็กสบายดีมาก่อนแล้วเกิดอาการอาเจียนโดยไม่มีสาเหตุ
อาเจียนครั้งแรกๆ
เป็นนมและน้ำระยะหลังอาเจียนเป็นน้ำสีเหลืองหรือสีเขียวของน้ำดี
เด็กมีอาการปวดท้องสังเกตได้จากร้องกวน มือเท้าเกร็ง
บางครั้งหลับไปและตื่นขึ้นมาร้องใหม่เป็นระยะๆ
ต่อมาถ่ายอุจจาระเป็นมูกปนเลือดคล้ายแยมผลไม้แต่บางรายอาจเป็นเลือดสดได้
ตรวจร่างกายมักจะคลำก้อนได้ทางหน้าท้องขึ้นกับตำแหน่งที่ลำไส้กลืนเข้าไปถึง
ระดับใด อาจตรวจพบก้อนจากการใช้นิ้วชี้ตรวจทางทวารหนัก อาการอื่นๆ
ที่พบได้และเป็นอาการอันตรายต่อผู้ป่วยคือ อาการชัก ซึมมาก
ท้องอืดมากจนหายใจลำบาก ไข้สูง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยในการวินิจฉัยและรักษา
●
การถ่ายภาพรังสีของช่องท้อง อาจพบใกล้เคียงกับภาพรังสีของเด็กปกติทั่วไป
(ระยะแรก) หรืออาจจะพบก้อนในช่องท้องหรือลักษณะของลำไส้อุดตันอย่างชัดเจน
●
การตรวจอัลตราซาวน์
อาจพบก้อนในช่องท้องเป็นลักษณะเป็นวงซ้อนกันคล้ายขนมโดนัท (doughnut sign)
หรือลักษณะของเป้าที่เล่นยิงลูกดอก (target sign) หรือพบก้อนคล้ายไต
(pseudo kidney sign)
● การตรวจโดยสวนด้วยแบเรี่ยม (barium enema)
เป็นได้ทั้งการตรวจเพื่อวินิจฉัยและการรักษา
จะพบก้อนลักษณะคล้ายก้นถ้วยหรือถ้วยหัวกลับบริเวณล่างของลำไส้ใหญ่ที่กลืนลำ
ไส้เล็กเข้าไป
นอกจากนี้ถ้าตรวจพบลำไส้กลืนกันยังปล่อยให้แบเรี่ยมไหลลงไปดันให้ลำไส้ที่
ถูกกลืนหลุดออกไปได้
● การตรวจเลือด เพื่อหาสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย
(electrolyte)
ช่วยเป็นแนวทางในการให้สารน้ำแก้ไขภาวะพร่องสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
การรักษา
● การรักษาทั่วไป คือ งดอาหารทางปาก ให้สารน้ำเข้าทางหลอดเลือดดำ
ใส่สายยางทางจมูกเข้ากระเพาะอาหารเพื่อดูดเอาน้ำจากกระเพาะอาหารและลำไส้
เล็กส่วนต้นออกเพื่อป้องกันท้องอืด ใส่สายสวนปัสสาวะและให้ยาปฏิชีวนะ
● การรักษาเฉพาะทาง
1.
รักษาโดยการไม่ผ่าตัด โดยใช้ สวนแบเรี่ยม
ทางทวารหนักให้กระป๋องแบเรี่ยมสูงกว่าตัวผู้ป่วย ไม่เกิน 1 เมตร
ปล่อยให้แบเรี่ยมไหลเข้าทางทวารหนักตามแรงโน้มถ่วงของโลก
ดันจนกระทั่งลำไส้ที่ถูกกลืนหลุดออกจนสำเร็จ ในปัจจุบันนิยม
ใช้ลมใส่เข้าไปทางทวารหนัก แทนแบเรี่ยมโดยควบคุมความดันไม่เกิน 120 มม.ปรอท
สามารถดันให้ลำไส้ที่ถูกกลืนหลุดอกได้
ความเสี่ยงของการรักษาโดยไม่ผ่าตัดคือ อาจมีลำไส้แตกได้ขณะทำการรักษา
และข้อดีของการใช้ลมจะดีกว่าแบเรี่ยมในกรณีที่ลำไส้แตกหรือทะลุ
จะเกิดการอักเสบเฉียบพลันของเยื่อบุช่องท้องรุนแรงน้อยกว่าการใช้สวนด้วยแบ
เรี่ยม ข้อห้ามของการรักษาโดยการใช้สวนด้วยแบเรี่ยมและสวนด้วยลม /
หรือข้อบ่งชี้ที่ต้องนำผู้ป่วยไปรักษาโดยการผ่าตัด คือ
- มีลำไส้ทะลุตั้งแต่เริ่มแรก พบได้จากภาพรังสีของช่องท้องที่มีเงาลมอยู่นอกลำไส้
- มีการอักเสบเฉียบพลันของเยื่อบุช่องท้อง
- อยู่ในสถานที่ที่ไม่มีรังสีแพทย์ที่ชำนาญหรือไม่มีเครื่องมือพร้อมที่จะรักษาโดยการสวน แบเรี่ยมหรือลม
- ผู้ป่วยมีอาการหนัก เช่น ท้องอืดมาก หายใจลำบาก ชัก ผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมเพื่อช่วย หายใจ เป็นต้น
2.
รักษาโดยการผ่าตัด
สามารถรักษาได้เมื่อวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคลำไส้กลืนกันที่ได้เตรียม
พร้อมจะผ่าตัดได้แล้ว
หรือผ่าตัดทันที่เมื่อมีข้อห้ามของการรักษาโดยใช้แบเรี่ยมหรือลม
หรือรักษาโดยใช้สวนด้วยแบเรี่ยมหรือลมแล้วไม่ได้ผล
ถ้าผู้ป่วยยังไม่มีลำไส้เน่า ทำเพียงบีบให้ลำไส้ที่ถูกกลืนหลุดออก
กรณีลำไส้เน่าหรือมีพยาธิสภาพที่เป็นสาเหตุให้เกิดลำไส้กลืนกัน
ก็จำเป็นต้องตัดลำไส้ส่วนนั้นออก
ประสบการณ์ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
พบ
ลำไส้กลืนกันประมาณปีละ 50-60 ราย ร้อยละ 80 เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี อายุ
5-6 เดือน มีอุบัติการณ์สูงสุด เดือนมกราคมถึงมีนาคม พบมากที่สุดประมาณ
7-8 รายต่อเดือน ส่วนใหญ่รักษาครั้งแรกโดยใช้สวนด้วยลม
ประสบผลสำเร็จทำให้ลำไส้ที่ถูกกลืนหลุดออกได้ประมาณร้อยละ 70
มีอัตราการเกิดลำไส้กลืนซ้ำได้ประมาณ ร้อยละ 10
ของผู้ป่วยที่รักษาสำเร็จด้วยการสวนด้วยลม
ในขณะที่การผ่าตัดทำเพียงการใช้นิ้วมือบีบให้ลำไส้กลืนกันหลุดออกได้เกือบ
ทั้งหมดมีเพียง 4-5 รายต่อปี ต้องตัดลำไส้ออก
อัตราการเกิดลำไส้กลืนกันซ้ำหลังผ่าตัดพบได้ประมาณ ร้อยละ 3
อัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า ร้อยละ 1
Link https://www.lannababyhome.com
ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง (Ulcerative colitis)
โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง หรือ เรียกย่อว่าโรคยูซี (Ulcerative colitis หรือ UC) เป็นโรคชนิดหนึ่งในกลุ่มของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังที่เรียกว่า โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel disease) ซึ่งโรคในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง โรคครอน (Crohn’s disease) และ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบแบบไม่แน่นอน (Indeterminate colitis)
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังที่ชัด เจน โรคนี้จะมีการอักเสบเกิดขึ้นเฉพาะที่ลำไส้ใหญ่ โดยจะมีอาการเกี่ยวกับการอุจจาระที่ผิดปกติ ความสำคัญคือ โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง จึงอาจส่งผลต่อคุณภาพการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมทั้งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สูงกว่าคนทั่วไป
โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง
พบในคนเชื้อชาติตะวันตกมากกว่าเชื้อชาติเอเชีย โดยประเทศที่พบบ่อย คือ
อเมริกา แคนาดา อังกฤษ ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย และประเทศในแถบยุโรปเหนือ
อย่างเช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา พบอัตราการเกิดโรคประมาณ 2.2-14.3 คนต่อประชากร 100,000 คนต่อปี ใน ขณะที่ประเทศญี่ปุ่น พบอัตราการเกิดโรคประมาณ
0.34 คนต่อประชากร 100,000 คนต่อปี สำหรับในประเทศไทยก็พบได้น้อยเช่นกัน
นอกจากนี้พบว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและมีเศรษฐานะที่ดี
มีอัตราการเกิดโรคบ่อยกว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทและมีเศรษฐานะต่ำ
อะไรเป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงของโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง?
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลที่ชัดเจน แต่เป็นที่ยอมรับว่า น่าเกิดจากผู้ป่วยบางคนมีพันธุกรรมบางอย่างที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเมื่อร่วมกับปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมบางชนิด
สารพันธุกรรมที่พบว่า อาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง และโรคอื่นๆในกลุ่มลำไส้อักเสบ มีอยู่หลายตัว และเกี่ยวข้องกับหลายโครโมโซม
(Chromosome, หน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมและถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
คนปกติจะมีโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่) เช่น โครโมโซมคู่ที่ 1, 5, 12, 19
เป็นต้น และพบว่าอาจส่งทอดทางพันธุกรรมได้ โดยถ้ามีพ่อ หรือแม่
หรือพี่น้องคนใดคนหนึ่งเป็นโรคในกลุ่มลำไส้อักเสบ
โอกาสที่จะเป็นโรคในกลุ่มนี้ด้วยมีประมาณ 10%
แต่ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคในกลุ่มนี้
โอกาสที่ลูกแต่ละคนจะเป็นโรคในกลุ่มนี้ด้วย มีถึง 36%
การศึกษาในคู่แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน พบ ว่า
ถ้ามีแฝดคนหนึ่งเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง ประมาณ 6%
จะพบแฝดอีกคนเป็นโรคนี้เช่นกัน
โดยปกติเมื่อเรากินอาหาร หรือสิ่งต่างๆ ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานของลำไส้จะไม่ตอบสนองต่อต้านกับสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น (แต่ถ้านำเอาอาหารเหล่านั้นมาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าเส้น/หลอดเลือด จะเกิดปฏิกิริยาต่อต้านที่รุนแรง) รวมทั้งไม่ต่อต้านกับเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่เป็นปกติในลำไส้เราด้วย แต่ในผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง จะเกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานนี้ขึ้น โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันต้านทาน จะตอบสนองต่อสิ่งเหล่านั้น โดยการหลั่งสารเคมีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบแบบเรื้อรัง และทำให้เกิดลำไส้อักเสบเรื้อรังตามมานั่นเอง
มีการศึกษาที่สันนิษฐานว่า การติดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นเชื้อโรคบางชนิด เช่น Samonella sp, Shigella sp. อาจเป็นตัวกระตุ้นให้ลำไส้เกิดการอักเสบ และกลายเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังขึ้นมาได้ แต่ก็ยังขาดหลักฐาน เนื่อง จากเมื่อเพาะเชื้อจากลำไส้ของผู้ป่วย ก็ไม่พบเชื้อดังกล่าว ส่วนใหญ่จึงยังสันนิษฐานว่าเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่เป็นปกติในลำไส้ (Normal flora) เช่น Bacteroides sp., Escherichia sp. น่าจะเป็นสาเหตุมากกว่า เพราะการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อไปฆ่าเชื้อเหล่านี้ ทำให้อาการของผู้ป่วยบางคนดีขึ้น
ในผู้ที่สูบบุหรี่ จะพบอัตราการเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง น้อยกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ (ซึ่งตรงข้ามกับโรคลำไส้อักเสบชนิดที่เรียกว่า โรคครอน ที่การสูบบุหรี่ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรค) แต่ในกรณีที่เคยสูบบุหรี่มาก่อนแล้วหยุดสูบ กลับเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล มากกว่าคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่
พบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง มีประวัติการใช้ยาแก้ปวดใน
กลุ่มเอ็นเสดส์ (NSAIDs) เช่น Voltaren มากกว่าคนปกติ จึงมีการสันนิษฐานว่า
ยากลุ่มนี้อาจเป็นสาเหตุได้ นอกจากนี้ ในผู้ที่ป่วยอยู่แล้ว
การใช้ยาในกลุ่มนี้จะกระตุ้นให้อาการกำเริบได้
มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่เคยผ่าตัดโรคไส้ติ่งอักเสบมา
ก่อน มีอัตราการเป็น โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง
น้อยกว่าคนที่ไม่เคยผ่าตัดไส้ติ่งมาก่อน
หรือผ่าตัดไส้ติ่งออกจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากไส้ติ่งอักเสบ
โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังมีอาการอย่างไร?
โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง จะพบการอักเสบเฉพาะที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งต่างจาก โรคครอน ที่จะเกิดการอักเสบได้ทั้งลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก หรือแม้ แต่หลอดอาหารและปากก็มีการอักเสบได้
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้เกิดขึ้นแบบเฉียบ พลัน และอาการจะกำเริบขึ้นเป็นพักๆ มีช่วงที่ปกติ สลับกับช่วงที่มีอาการ ได้แก่ ถ่ายอุจจาระบ่อย/ท้องเสีย หรือ ท้องผูก
ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเป็นมูก อุจจาระอาจเหลวเป็นน้ำ ปวดเบ่ง ถ่ายไม่สุด
การที่ผู้ป่วยจะมีอาการใดเด่นชัด ขึ้นกับตำแหน่งของลำไส้ใหญ่ที่มีการอักเสบ
กล่าวคือ
ถ้ามีการอักเสบเฉพาะที่ลำไส้ตรง (Proctitis) จะถ่ายเป็นเลือดสด หรือเลือดปนมูก อาจเห็นเคลือบอยู่บนผิวของก้อนอุจจาระ หรือปนเปไปกับอุจจาระที่เป็นก้อนปกติ มีอาการปวดเบ่ง คือมีความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ แต่จริงๆแล้ว ไม่ ได้มีอุจจาระอยู่ หรือถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วยังรู้สึกถ่ายไม่สุด บางครั้งเวลาปวดถ่ายอุจจาระ อาจกลั้นไม่ได้ ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการปวดท้อง
การที่ลำไส้ตรงมีการอักเสบ จะทำให้ลำไส้ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปจากลำไส้ตรง
เคลื่อนตัวบีบขับก้อนอุจจาระช้ากว่าปกติ ผู้ป่วยจึงมักมีอาการท้องผูก
ถ้าการอักเสบเป็นตั้งแต่เหนือลำไส้ตรงขึ้นไป จะถ่ายเป็นเลือดสดที่ปน เปไปกับก้อนอุจจาระ ในรายที่อาการรุนแรง จะถ่ายเป็นน้ำที่มีทั้งเลือด มูก และเนื้ออุจจาระปนกันออกมา การที่ลำไส้ส่วนที่อยู่เหนือลำไส้ตรงอักเสบ จะทำให้ลำไส้บีบตัวเคลื่อนไหวเร็วกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระบ่อย โดยมักจะเป็นช่วงกลางคืน หรือหลังกินอาหาร ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการปวดท้องบริเวณส่วน กลางท้อง เป็นแบบปวดบีบได้ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ จะแบ่งย่อยออกเป็นอีก 3 กลุ่ม ตามความรุนแรงของอาการ คือ
- อาการเล็กน้อย: ถ่ายน้อยกว่า 4 ครั้งต่อวัน มีเลือดปนในอุจจาระเล็ก น้อย ไม่มีไข้ ไม่มีหัวใจเต้นเร็ว มีโลหิตจางเล็กน้อย มีค่าการตกตะกอนของเลือด (ESR) ขึ้นสูงไม่เกิน 30
- อาการปานกลาง: ถ่าย 4-6 ครั้งต่อวัน มีเลือดปนในอุจจาระปานกลาง มีไข้ต่ำกว่า 37.5 องศาเซลเซียส หัวใจเต้นเร็วแต่น้อยกว่า 90 ครั้งต่อนาที มีโลหิตจางปานกลาง มีค่า ESR ขึ้นสูงไม่เกิน 30
- อาการรุนแรง: ถ่ายมากกว่า 6 ครั้งต่อวัน มีเลือดปนในอุจจาระมาก มีไข้ต่ำ หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 90 ครั้งต่อนาที มีโลหิตจางมาก มีค่า ESR สูงเกิน 30
อนึ่ง นอกจากผู้ป่วยจะมีลำไส้ใหญ่อักเสบแล้ว อวัยวะอื่นๆ อาจเกิดการอักเสบร่วมได้ด้วย เช่น
- การอักเสบของเนื้อเยื่อผนังลูกตาชั้นกลาง (Uveitis) พบได้ประมาณ 3.8% ของผู้ป่วย โดยจะมีอาการปวดตา ตากลัวแสง มองภาพไม่ชัด และอาจเป็นสาเหตุทำให้ตาบอดได้
- การอักเสบของท่อทางเดินน้ำดีภายในและภายนอกตับ (Primary sclerosing cholangitis) พบได้ประมาณ 3% ของผู้ป่วย โดยจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง (โรคดีซ่าน) ปวดท้อง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผู้ป่วยที่มีอาการจากภาวะนี้อยู่นานประมาณ 5-10 ปี จะลงเอยด้วยการเป็นโรคตับแข็งและตับวายได้ประมาณ 10% จะกลายเป็นโรคมะเร็งของท่อทางเดินน้ำดี
- การอักเสบของกระดูกสันหลัง (Ankylosing spondylitis) พบได้ประมาณ 2.7% ของผู้ป่วย ทำให้เกิดอาการปวดหลังช่วงเอวและก้น มีอาการข้อแข็งในตอนเช้า และอาจทำให้กระดูกสันหลังผิดรูปได้
- การอักเสบของผิวหนัง ที่เรียกว่า Erythema nodosum โดยผู้ป่วยจะมีตุ่มนูนแดง ปวดตาม
แขน และขา และอีกชนิดเรียกว่า Pyoderma nodosum โดยผู้ ป่วยจะมีตุ่มหนอง
และแตกออกเป็นแผล บางครั้งมีขนาดใหญ่และหลายๆแผล ยากต่อการรักษา พบภาวะเหล่านี้ได้ประมาณ 1-2%
แพทย์วินิจฉัยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังอย่างไร?
เมื่อผู้ป่วยมีอาการของอุจจาระผิดปกติเรื้อรังดังกล่าว จะต้องใช้การตรวจเพิ่มเติมต่างๆ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคนี้และแยกโรคอื่นๆอีกหลายโรคที่มีอาการคล้ายกับโรคนี้ โดยเฉพาะการแยกจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมทั้งเพื่อประเมินความรุนแรงของโรคด้วย การตรวจต่างๆ ได้แก่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่
การตรวจหาสารภูมิต้านทาน/แอนติบอดี/Antibody ชนิดที่เรียกว่า Antineutrophil cytoplasmic antibodies (ANCA) ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้จะตรวจพบได้ประมาณ 60-80% จึงอาจช่วยแยกจากโรคอื่นๆได้
การตรวจอุจจาระ เพื่อหาไข่พยาธิ และเพื่อการเพาะเชื้อแบคทีเรียก่อโรค (ที่ปกติแล้วไม่ได้อยู่ในลำไส้เรา) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่ลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อเหล่านี้
การตรวจหาค่าการตกตะกอนของเลือด
การตรวจเลือด ดูปริมาณเม็ดเลือดแดง ปริมาณเกล็ดเลือด (ตรวจซีบีซี/CBC) และเกลือแร่ต่างๆในเลือดเพื่อประเมินความรุนแรงของโรค
- การตรวจทางรังสีวินิจฉัย การสวนแป้งทางทวารหนักและเอ๊กซเรย์ (Barium enema) สามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้ได้ ในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรก ซ้อน เกิดการพองตัวของลำไส้ การเอกซเรย์ภาพช่องท้องธรรมดาก็สามารถให้การวินิจฉัยได้
- การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และตัดชิ้นเนื้อลำไส้ส่วนผิดปกติเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา
เมื่อการตรวจเบื้องต้นต่างๆดังกล่าวข้างต้นให้ผลว่า ผู้
ป่วยน่าจะเป็นโรคนี้ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยเป็นขั้นตอนสุดท้าย
ซึ่งจะช่วยในการแยกโรคที่สำคัญออกไป คือ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
รักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังอย่างไร?
แนวทางการรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง คือ
การให้ยารักษาอาการอักเสบของลำไส้
ยาที่ใช้ คือ ยาสเตียรอยด์ (Steroids) และยากลุ่มต้านการอักเสบ
(Anti-inflammatory agents) อื่นๆที่ไม่ ใช่ยาในกลุ่มเอนเสดส์ ยาสเตียรอยด์
มีทั้งรูปแบบสวนผ่านทางทวารหนัก รูปแบบกิน และรูปแบบฉีด การให้ยาในรูปแบบใดขึ้นกับความรุนแรงของอาการ สำหรับยาในกลุ่มต้านการอักเสบอื่นๆ มีในรูปแบบสวนทวาร และในรูปแบบกิน เช่น ยา Sulfa salazine และยา Mesalazine
ในกรณีที่ใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ไม่ได้ผล อาจเลือกใช้ยากดระบบภูมิ
คุ้มกันต้านทานร่างกาย เช่น ยา Cyclosporine ยา Tacrolimus
หรือการใช้ยาที่เป็นสารภูมิต้านทาน คือ ยา Infliximab
แต่ยาในกลุ่มเหล่านี้มีผลข้างเคียงที่ค่อน ข้างรุนแรง เช่น อ่อนเพลีย มีไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ขึ้นผื่น ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและทางเดินปัสสาวะ ดังนั้น ในบางครั้งแพทย์อาจเลือกรักษาโดยการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ส่วนที่อักเสบออกเลยก็ได้เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงเหล่านี้สำหรับการรักษาอื่นๆ ยังไม่ถือเป็นวิธีมาตรฐาน เช่น การให้ ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ปกติในลำไส้ใหญ่ และการเปลี่ยนถ่ายเอาเม็ดเลือดขาวออกจากเลือด
การให้ยาเพื่อควบคุมไม่ให้อาการลำไส้อักเสบกำเริบ เมื่อรักษาอาการลำไส้อักเสบได้โดยใช้ยาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยต้องรักษาต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้อาการลำไส้อักเสบกำเริบขึ้นมาอีก การจะใช้ยาตัวไหน ขึ้นอยู่กับว่าตอนที่อาการกำเริบ ผู้ป่วยใช้ยาในกลุ่มใดได้ผล
การให้ยาช่วยบรรเทาอาการ เช่น ถ้ามีถ่ายเหลว ถ่ายบ่อย ต้องให้น้ำ เกลือแร่ทดแทน อาจให้โดยการกิน หรือให้ทางหลอดเลือดดำ ถ้าถ่ายเป็นเลือดสดปริมาณมากและบ่อย ก็ต้องให้เลือดทดแทน
การรักษาภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง)
ที่เกิดขึ้น เช่น ถ้าเกิดลำไส้แตกทะลุ
หรือถ่ายเป็นเลือดออกปริมาณมากจนควบคุมไม่ได้
ก็ต้องผ่าตัดลำไส้ส่วนเกิดโรคออก ถ้าเกิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็ต้องรักษาโรคมะเร็งนั้น
การรักษาอาการที่เกิดกับอวัยวะอื่นๆ เช่น ถ้าเกิดการอักเสบของผนังลูกตาชั้นกลางภายในลูกตา ต้องให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ เป็นต้น
โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังมีผลข้างเคียงอย่างไร? รุนแรงไหม?
ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้มีอันตรายถึงชีวิต ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ซึ่งได้แก่
ดูแลตนเองและป้องกันโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังอย่างไร?
ดูแลตนเองและป้องกันโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง โดย
ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังแล้ว จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ พบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อติดตามภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นทั้งจากตัวโรคและจากยาที่ใช้รักษา
เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มานาน อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำให้ผู้ที่ป่วยมานาน 8-10 ปี
ต้องส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่พร้อมกับตัดชิ้นเนื้อจากหลายๆตำแหน่งที่ผิดปกติ
ไปตรวจทุกๆ 1-2 ปี การติดตามโดยใช้อาการ
และการตรวจอื่นๆเพียงอย่างเดียวนั้น อาจทำให้พลาดการวินิจฉัยโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้นได้ อีกทั้งอาการของโรคนี้ก็คล้ายคลึงกับอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย
ผู้ป่วยโรคนี้ ไม่มีความจำเป็นต้องงดอาหารชนิดใดเป็นพิเศษ ผู้ที่ดื่มนมสดแล้วไม่มีปัญหาถ่ายอุจจาระเหลวตาม
มา ก็สามารถดื่มได้ปกติ อย่างไรก็ตาม
ควรงดอาหารที่ไม่ดีต่อระบบการย่อยอาหาร เช่น อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
การรับประทานอาหารปริมาณที่มากเกินไปในแต่ละมื้อ
และควรงดอาหารที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนในการวินิจฉัยภาวะกำเริบของโรค และจากการรักษาไม่ได้ผล เช่น อาหารดิบ อาหารปรุงสุกๆดิบๆ อาหารค้างคืน อาหารหมักดอง เป็นต้น
มีคำแนะนำเกี่ยวกับการกินอาหารบางอย่างที่อาจพิจารณานำไปใช้ได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด ได้แก่ การกินน้ำมันปลา อาจช่วยลดอาการของโรค การกินอาหารที่เรียกว่าโปรไบโอติก (Probiotics) ซึ่งเป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่
มีชีวิตแต่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ยีสต์, Lactic acid bacteria,
Bifidobacteria ซึ่งมีอยู่ในนมเปรี้ยว โยเกิร์ต มีข้อมูลว่าอาจช่วยลดอาการถ่ายเหลว ถ่ายบ่อย อาจช่วยปรับระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของลำไส้ไม่ให้ทำงานผิด ปกติ และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ หรือการกินดอกมัสตาร์ด อาจช่วยรักษาการอักเสบในลำไส้ได้ เป็นต้น
Link https://haamor.com
"โรคไส้เลื่อน" เป็นได้ทั้งผู้ชาย-ผู้หญิง
หากเอ่ยนิยามของคำว่า "โรคไส้เลื่อน" หมายถึง การยื่นของอวัยวะภายในภายในช่องท้อง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลำไส้ ออกมานอกช่องของตัว ซึ่งช่องที่ออกไปนั้นอ่อนแอผิดปกติ ไส้เลื่อนที่พบได้มากที่สุดคือ ไส้เลื่อนขาหนีบ นอกจากนี้มี ไส้เลื่อนที่สะดือ ไส้เลื่อนแผลผ่าตัดด้วย
สาเหตุ
ของโรคคือ เริ่มแรกอาจมีการเพิ่มความดันในช่องท้อง ทำให้ช่องทางปกติที่มีผนังที่แข็งแรงกันอยู่แล้วนั้น เริ่มอ่อนแอมากขึ้น จนเกิดช่องว่างขึ้น ทำให้ลำไส้หลุดออกไปนอกช่องได้ หรือในกรณีคนที่มีการเบ่ง หรือเพิ่มความดันในช่องท้องเรื้อรัง เช่น ยกของหนัก หรือต้องเบ่งท้องผูกเป็นประจำ หรือมีอาการไอเรื้อรัง หรือในผู้สูงอายุที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต ก็มีโอกาสที่จะเป็นไส้เลื่อนขาหนีบได้ สังเกตอาการได้จากการเริ่มปวดตุงๆ บริเวณขาหนีบ เริ่มมีก้อนเข้าๆ ออกที่ขาหนีบ และเลื่อนมาที่ลูกอัณฑะในผู้ชาย