ประวัติโรคลําไส้อักเสบ


18,333 ผู้ชม


ประวัติโรคลําไส้อักเสบ การรักษาโรคลําไส้อักเสบ โรคลําไส้บิด

รักษาอาการลำไส้ ด้วยวิธีธรรมชาติ

ปวดท้อง

ลำไส้เล็กอักเสบ และแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่หายได้ด้วยวิธีธรรมชาติ (Health Plus)
          โรคลำไส้อักเสบส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ตาม การบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติต่อไปนี้ช่วยได้
          โรคลำไส้เกิดได้กับคนทุกวัย และนับวันจะก่อให้เกิดปัญหามากขึ้น จากรายงานของ the National Association for Colitis and Crohn’s Disease (NACC) ระบุว่า คนอังกฤษทุก 1,000 คนจะป่วยเป็นโรคลำไส้เล็กอักเสบ 1 คน ขณะที่มีคนนับแสนป่วยเป็นโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่
          โรคลำ ไส้อักเสบทั้งสองชนิดนี้เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่พบในคนอายุระหว่าง 15-40 ปี แม้จะมีการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด การรักษาด้วยการแพทย์แผนใหม่จะใช้วิธีลดการอักเสบ นั่นคือแพทย์จะให้ยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการบวม ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ และยาลดอาการท้องเสียและโลหิตจาง ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจต้องใช้วิธีผ่าตัดเอาอวัยวะ บางส่วนที่เกี่ยวกับการย่อยอาหารออก อย่างไรก็ตาม การบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติก็ช่วยได้เช่นกัน
โรคลำไส้เล็กอักเสบ
          เกิดจากการอักเสบในระบบย่อยอาหาร ทำให้ย่อยอาหารได้ไม่ปกติมักพบในลำไส้เล็ก
          ผู้ ป่วยมักมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย โดยมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ บางครั้งท้องผูก มีไข้ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน และมักเป็นโลหิตจาง เนื่องจากลำไส้ไม่ดูดซึมสารอาหาร
          โรคลำไส้เล็กอักเสบพบมากในเพศหญิงและคนที่สูบบุหรี่ สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด
โรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่
          เกิดจากการที่ผนังลำไส้ใหญ่เกิดการอักเสบ และกลายเป็นแผลเล็ก ๆ
          อาการ บวมหมายถึงการที่ลำไส้ใหญ่ไม่สามารถดูดซึมน้ำจากอุจจาระ จึงทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาการบวมยังเกิดจากการที่ลำไส้ใหญ่ ไม่สามารถเก็บของเสียได้มากเหมือนปกติ คุณจึงต้องวิ่งเข้าห้องน้ำบ่อย อุจจาระอาจมีเลือดและเมือกปนออกมา
          โรคนี้เกิดได้ทั้งหญิงและชาย หลักฐานระบุว่าคนที่ป่วยเป็นโรคนี้มักอยู่ในเขตเมืองมากกว่าชนบท
บำบัดด้วยธรรมชาติ
1.ฝังเข็ม
          จาการวิจัยพบว่า การฝังเข็มช่วยบรรเทาอาการท้องเสียอย่างรุนแรงอย่างได้ผล ทำให้สุขภาพดีขึ้น "การฝังเข็มช่วยแก้ปวด ลดการอักเสบ ควบคุมการทำงานของลำไส้ให้เป็นปกติ" ริชาร์ด แบล็กเวลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านฝังเข็มกล่าว "เพราะ การฝังเข็มช่วยแก้ไขความไม่สมดุลการทำงานของลำไส้ ซึ่งจะส่งผลดีในระยะยาว อาการจะดีขึ้นหลังผ่านการฝังเข็ม 6 ครั้ง แต่อาจจำเป็นต้องบำบัดหลายครั้งและใช้เวลาเป็นเดือน"
2.โภชนาการ
          "การเปลี่ยนแปลงอาหารการกินช่วยได้" เอียน มาร์เบอร์ นักโภชนาการของ Health Plus กล่าว "อาหารบางชนิดทำให้ระบบย่อยทำงานหนัก จึงเกิดการอักเสบ อย่าทำให้โรคลำอักเสบทั้งสองชนิดนี้มีอาการรุนแรงขึ้น โดยการกินให้น้อย แต่กินบ่อย ๆ ทั้งนี้เพราะร่างกายสามารถย่อยอาหารปริมาณน้อย ๆ ได้ง่ายกว่า อาหารโพรไบโอติกมีประโยชน์ แต่ควรกินในรูปของอาหารเสริมมากกว่าในรูปของเครื่องดื่มที่มีรสหวาน"
          โรคลำไส้เล็กอักเสบ
          หลีกเลี่ยง ผลไม้รสเปรี้ยว มะเขือเทศ อาหารที่มีรสเผ็ด กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
          รับประทาน มันฝรั่งปอกเปลือก ปลานึ่ง โดยเฉพาะปลาที่มีน้ำมัน เป็ดไก่ ไข่ ผักเช่น ผักโขมหรือถั่วที่มีเมล็ดกลม (peas)
          โรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่
          หลีกเลี่ยง โฮ ลเกรน ไฟเบอร์ ไม่ละลายน้ำเช่น ข้าวโพดหวาน ผักที่มีแป้งสูงเช่น พาร์สนิป (parsnip) ถั่วที่มีเปลือกแข็ง (ruts) และเมล็ดพืชต่าง ๆ คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี เช่น บิสะกิด พาสต้า และขนมปัง
          รับประทาน ไฟเบอร์ละลายน้ำ เช่น ผักใบเขียว อโรวคาโด แยม น้ำมันปลาที่อุดมด้วยไขมัน โอเมก้า 3 ข้าวขัดขาวกระเทียม
3.สมุนไพร
          "มีสมุนไพรมากมาย ที่ช่วยรักษาโรคลำไส้เล็กอักเสบและโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่ ลดการพึ่งยาสเตียรอยด์" ดี แอตคินสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์สมุนไพร "คอมเฟรย์ (comfrey) ช่วยรักษาและบรรเทาอาการระคายเคืองของเนื้อเยื่อ ชะเอมช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสเตียรอยด์ตามธรรมชาติของตัวเอง โกลเด้นซีล (goldenseal) ซึ่งมีสรรพคุณต้านแบคทีเรียช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิด้านทาน แพลนทิน (plantain-กล้วยแอฟริกาชนิดหนึ่ง) ช่วยลดการผลิตน้ำเมือก ก่อนใช้ควรไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อให้ตรวจวินิจฉัย" ดีแนะให้ใช้ผง slippery elm 1 ช้อนชาผสมกับน้ำเย็น คนให้เข้ากัน จากนั้นนำไปชงกับน้ำร้อนประมาณครึ่งลิตรผสมกับผงลูกจันทน์เทศ คนให้เข้ากัน
          "สมุนไพรช่วยรักษาแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่"
          แจ็กกี้ ฟอร์เรสต์ วัย 43 ปี จากเบอร์วิคเชียร์ ป่วยเป็นโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่มานาน 10 เดือน เธอพึ่งสมุนไพรในการรักษา
          "ฉันมีอาการท้องเสียและปวดตะคริวที่ท้องมานานกว่าหนึ่งปี ก่อนจะมารู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่ หมอให้ยาแก้อักเสบและสเตียรอยด์เพื่อควบคุมอาการ แต่ยาทำให้ฉันมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและอาหารไม่ย่อย พอไปตรวจก็พบว่ายามีผลกระทบกับตับของฉัน ฉันเลยต้องหยุดทานยาต่อมาฉันได้ไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร เขาแนะให้ฉันทานผง slippery elm ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ กระเทียม คาโมไมล์ ชะเอม และยาร์โรว์ (yarrow) ซึ่งช่วยให้อาการดีขึ้น เมื่อก่อนฉันเคยชอบกินขนมปังและพาสต้า แต่ตอนนี้ฉันหันมากินอาหารปลอดแป้งสาลี และเปลี่ยนนิสัยการกิน โดยกินน้อย ๆ แต่กินบ่อย ๆ เดี๋ยวนี้ฉันไม่ต้องพึ่งยาแผนปัจจุบันอีกแล้ว แถมอาการก็ไม่กำเริบเวลากินอะไรที่ไม่ควรกิน"
4.อาหารเสริม
          "อาหารเสริมช่วยรักษาโรคลำไส้ทั้งสองชนิดได้" พอ ล แชมเบอร์เลน ผู้เชี่ยวชาญของ Health Plus กล่าว ทานอาหารเสริมประเภทวิติมนรวม และเกลือแร่เป็นประจำ เพื่อชดเชยสารอาหารที่ขาดไปเนื่องจากระบบย่อยอาหารไม่ปกติ ทานอาหารเสริมจำพวกน้ำมันปลา (ไม่นับน้ำมันตับปลา) วันละ 1,000-2,500 มิลลิกรัมทุกวัน จะทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีสรรพคุณช่วยลดการอักเสบ
          การขาดสังกะสีก็ก่อให้เกิดปัญหาเช่นกัน ควรทานอาหารเสริมจำพวก zinc picolinate วันละ 25 มิลลิกรัม จะช่วยรักษาเนื้อเยื่อและเสริมสร้างภูมิต้านทาน psyllium husks เป็นแหล่งไฟเบอร์ชั้นดี ควรวันละ 1 ช้อนโต๊ะ ข้อควรระวังคือ psyllium husks ดูดซึมน้ำในปริมาณมาก ดังนั้นเวลาทานจึงควรดื่มน้ำตามมาก ๆ อาหารเสริมชนิดเม็ดที่มีเอนไซม์ย่อยอาหาร จะช่วยให้ตับอ่อนสามารถย่อยโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตได้ดี 
          เบทาอีนไฮโดรคลอไรด์ (betaine hydrochloride) ชนิดเม็ดช่วยให้กระเพาะอาหารย่อยโปรตีนได้ดี ซึ่งจะทำให้ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ทำงานหนักน้อยลง
5.นวดกดจุดฝ่าเท้า
          "การนวดกระตุ้นในตำแหน่งที่ถูกต้องจะช่วยบรรเทาอาการของโรคลำไส้ได้" เรเน่ แทนเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดกดจุดฝ่าเท้ากล่าว ให้หาส่วนที่เป็นเนื้อนุ่ม ๆ ของฝ่าเท้า ตั้งอยู่ระหว่างส่วนโค้งและส้นเท้า วางนิ้วมือสองนิ้วบนจุดดังกล่าว จากนั้นให้ใช้นิ้วดังกล่าวเดินไต่ข้ามไปยังนิ้วหัวแม่เท้า ต่อไปยังนิ้วก้อย จากนั้นยกนิ้วข้างหนึ่งขึ้นชั่วครู่ และเพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ให้ใช้นิ้วเดินไต่จากด้านหลังไปด้านหน้า โดยเริ่มจากฝ่าเท้าไปยังหลังเท้า ระหว่างจุดกลม ๆ ใต้นิ้วหัวแม่เท้าและส่วนโค้งของฝ่าเท้า ทำท่าละ 3 ครั้ง วันละ 2 เวลา หากอาการรุนแรง เมื่ออาการดีขึ้น ให้ลดเหลือวันละครั้ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ลำไส้เล็กเล็กบิดขั้ว (midgut volvulus)ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติโดยกำเนิด แล้วทำให้เกิดลำไส้อุดตันและขาดเลือด

ลำไส้บิดขั้ว เกิดขึ้นมาจากลำไส้มีการบิดขั้วครับ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดในช่องท้องก็ได้ เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก  ลำไส้ใหญ่ 

แสดงลักษณะของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงที่ลำไส้ (เลือดจะถูกส่งไปเลี้ยงลำไส้ แตกแขนงคล้ายพัดครับ) ถ้ามีการบิดจะทำให้เลือดไปเลี้ยงลำไส้ได้น้อยลง

แสดงลำไส้ที่เกิดการบิดขั้ว

ตามปกติแล้วลำไส้จะมีส่วนที่เป็นขั้วต่อกับหลอดเลือดแดงใหญ่  แล้วแตกแขนงไปเลี้ยงตลอดความยาวของลำไส้ คล้ายพัดครับ เมื่อลำไส้บิดตัวจะทำให้หลอดเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงลำไส้ที่เกิดการบิดขั้ว ได้ครับ

จากความรู้ในเรื่องการเจริญเติบโตของตัวอ่อนของมนุษย์ในครรภ์จะทำให้เรา เข้าใจกลไกของการเกิดโรคลำไส้เล็กบิดขั้วได้มากขึ้นครับ  ที่อายุครรภ์ประมาณ 4 สัปดาห์  ลำไส้จะเป็นท่อกลวงตรงๆ ตรงกลางท้องครับ และในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 8 สัปดาห์ ลำไส้จะเกิดการเลือ่นตำแหน่งและจะถูกตรึงไว้ไม่ให้เคลื่อนที่ได้  แต่ถ้าเกิดความผิดปกติในการเลื่อนตำแหน่ง (ซึ่งจะแสดงต่อไป) ก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่ลำไส้จะบิดขั้วแล้วพันกัน

ภาพแสดงการเลื่อนตำแหน่งที่เป็นปกติของลำไส้เล็กในระยะตัวอ่อน ถ้ามีความผิดปกติในการเลื่อนตำแหน่งก็จะทำให้เกิดลำไส้บิดขั้วได้ครับ

1.กระเพาะอาหาร 2.ขั้วลำไส้  3.ผนังช่องท้องด้านหลัง 4.ลำไส้เล็ก 6.ลำไส้ใหญ่ส่วนต้น

ลักษณะความผิดปกติ

มีอยู่ 2 แบบครับ
แบบที่ 1 ไม่เกิดการหมุน  ซึ่งไม่มีอาการครับ  แต่อาจจะพบโดยบังเอิญโดยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์  (จากการตรวจหาสาเหตุของอาการป่วยที่มาด้วยโรคที่ไม่เกี่ยวข้อง แล้วบังเอิญพบ) ซึ่งปกติแล้วลำไส้ควรจะหมุน
แบบที่ 2 หมุนผิดทิศ  ซึ่งจะทำให้เกิดการอุดตันในลำไส้ครับ  อาการจะแตกต่างกัน ขึ้นกับอายุ   โดยปกติอาการคือ อาเจียนมีสีเขียวหรือสีเหลือง (ซึ่งเป็นสีของน้ำดี ) ในเด็กที่มีอายุ 24 ชั่วโมงหลังคลอด  ถ้ามีอาการอาเจียนเป็นสีเขียว ก็ควรจะสงสัยภาวะลำไส้บิดขั้วครับ  และมีแนวโน้มที่จะเกิดลำไส้อุดตันรุนแรงได้  ถ้าในเด็กอายุมากกว่า 2 เดือน อาจมีอาการอาเจียนบ่อยๆ เลี้ยงไม่โต ท้องผูก ถ่ายเป็นมูกเลือด หรือหยุดหายใจเป็นพักๆ

การหมุนของลำไส้แบบต่างๆ

แสดงการหมุนของลำไส้แบบต่างๆ  ภาพซ้ายคือภาพปกติครับ  ปกติแล้วในระยะตัวอ่อนลำไส้ควรเลื่อนให้ลำไส้ใหญ่ส่วนต้นอยู่ในตำแหน่ง Y

ภาพกลางคือเลื่อนตำแหน่งผิด เป็นความเสี่ยงที่ลำไส้เล็กจะบิดเป็นเกลียวครับ

ภาพขวามือ คือลำไส้จะไม่มีการเลื่อนตำแหน่ง แต่ไม่มีอาการ

ในเด็กโตก็อาจจะมีอาการอาเจียนเรื้อรัง  ปวดท้องเรื้อรัง  ขาดสารอาหาร ภูมิคุ้มกันต่ำ  และถ้าเกิดภาวะลำไส้ขาดเลือด เมื่อนั้นก็จะเป็นรุนแรงครับ

การท้องอาจจะปกติในระยะเริ่มแรก หลังจากนั้นก็จะเริ่มมีอาการท้องอืดเกิดขึ้น และอาจคลำได้ก้อนที่หน้าท้องในผู้ป่วยบางราย   แต่ถ้าลำไส้ขาดเลือดอาจจะมีอาการปวดท้องทันทีร่วมกับท้องอืด และมีอาการของการอักเสบและติดเชื้อในช่องท้องครับ  หัวใจบีบตัวเร็ว  และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ในเวลาต่อมา

การตรวจวินิจฉัย

โรคนี้วินิจฉัยจากอาการเป็นส่วนใหญ่  แพทย์จะซักประวัติอาการปวดท้อง และตรวจหน้าท้องครับ โดยที่แพทย์จะสงสัยถ้ามีอาการของลำไส้อุดตัน และควรได้รับการรักษาโดยทันทีครับ  การเจาะเลือดก็จะช่วยให้ทราบว่ามีการติดเชื้อหรือไม่  มีการเสียเลือดหรือขาดน้ำหรือไม่  หรือประเมินภาวะการทำงานของระบบอื่นๆ

การเอกซเรย์ มักจะปกติครับ  แต่ว่าก็จะช่วยถ้าเอกซเรย์สามารถบอกได้ว่ามีลำไส้อุดตัน  ลำไส้จะมีขนาดโตมากขึ้นครับ

การใช้สารทึบรังสี  คุณจะได้รับสารทึบรังสีทางปาก หรือทางสายทางจมูกครับ ซึ่งจะช่วยดูว่ามีการอุดตันในทางเดินอาหาร ในลำไส้เล็กหรือไม่ ซึ่งจะเห็นสารทึบรังหมุนวนเป็นเกลียวตามลักษณะของลำไส้ที่ถูกบิดเป็นเกลียว

จากภาพให้ผู้ป่วยรับประทานสารทึบรังสี ถ้ามีการบิดขั้วก็จะทำให้เห็นสารทึบรังสีหมุนเป็นเกลียวคล้ายสปริง

อัลตราซาวน์หรือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์อาจจะเห็นก้อนในท้องที่สงสัยลำไส้ที่บิดขั้วครับ

การรักษา
มีการผ่าตัดที่เรียกว่า Ladd procedure ครับ ซึ่งศัลยแพทย์จะหมุนลำไส้เล็กในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาครับ และตรึงไว้  หลังจากนั้นแพทย์อาจทำการส่องกล้องเข้าไปในท้องซ้ำอีกเพื่อให้แน่ใจว่าลำไส้ จะอยู่ที่เดิม

ถ้าไม่ผ่าตัดจะใช้ในผู้ป่วยที่อายุมากที่ไม่มีอาการครับ  แต่ว่าก็จะได้รับการเตือนครับว่าลำไส้สามารถเกิดการบิดขั้วขึ้นเมื่อไหร่ก็ ได้

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนคือ ลำไส้จะขาดเลือดครับ และทำให้เกิดลำไส้ตาย ติดเชื้อ  ลำไส้ทะลุ  ติดเชื้อในช่องท้อง และเสียชีวิตครับ

แต่ถ้ามีลำไส้บิดขั้วเป็นพักๆ ก็อาจทำให้มีความผิดปกติของระบบดูดซึมอาหาร  ท้องผูก หรือถ่ายเหลวได้

ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ถ้าลำไส้ตาย ต้องตัดลำไส้ส่วนที่ตายออกครับ ทำให้ลำไส้สั้นลง  ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร  และโตช้าครับ ซึ่งจำเป็นต้องมาให้อาหารทางสายเลือดที่โรงพยาบาลครับ

ภาวะลำไส้บิดขั้วมีอัตราการเสียชีวิต 3-15% ครับ  ขึ้นกับว่าลำไส้ตายมากน้อยเพียงใด  และระยะเวลาที่ผ่านไปตั้งแต่เริ่มมีอาการจนไปถึงขั้นตอนของการรักษาครับ

การป้องกัน

เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิดครับ  การป้องกันคือให้ทำการผ่าตัด Ladd procedure ในเด็กเล็กที่มีความผิดปกติความเสี่ยงที่จะเกิดลำไส้บิดขั้วครับ ซึ่งจะให้ผลดี  แต่ไม่มีหลักฐานครับว่าจะได้ประโยชน์ในผู้ใหญ่ครับ

Link      https://thaifittips.com

อัพเดทล่าสุด