โรคโรคลําไส้อุดตัน คือ


4,604 ผู้ชม


โรคลําไส้อุดตัน คือ วิธีป้องกันโรคลําไส้อักเสบ อาการของโรคลําไส้ปั่นป่วน

กระเพาะหรือลำไส้อุดตัน พิมพ์ อีเมล์
Thursday, 04 December 2008

54.  กระเพาะหรือลำไส้อุดตัน  (Intestinal obstruction)(1)______________________________

Normal anatomy Intestinal obstruction

รูปที่ 1 Normal anatomy (2)                         รูปที่ 2 Intestinal obstruction (3)

            กระเพาะหรือลำไส้อุดตัน เป็น ภาวะที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้เกิดการอุดตัน ทำให้อาหารผ่านลงไปไม่ได้ ถือเป็นภาวะร้ายแรง หากไม่ได้รับการรักษา มักมีอันตรายถึงตายได้

            โรคนี้พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

            ส่วนมากมักมีสาเหตุมาจากการดึงรั้งของพังผืดในช่องท้องภายหลังการผ่าตัดหรือการอักเสบ (band adhesions), ไส้ เลื่อน (57), โรคกระเพาะที่มีการตีบตันของปลายกระเพาะอาหารแทรกซ้อน (51), มะเร็งของกระเพาะอาหารหรือลำไส้ (237), โรคพยาธิไส้เดือน (230), ลำไส้บิดตัว (Volvulus), นิ่วในถุงน้ำดี (40)

            นอกจากนี้ยังมีสาเหตุที่อาจพบได้ในทารกหรือเด็กเล็ก เช่น

            1.  กระเพาะส่วนปลายตีบโดยกำเนิด (Congenital pyloric stenosis) มักพบในช่วงอายุ 2-8 สัปดาห์

          2.  ลำไส้กลืนกันเอง (Intussusception) เป็นภาวะที่พบได้น้อย อาจพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่พบมากในทารกอายุประมาณ 6 เดือน และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

อาการ_________________________________________________________________________

            ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่อุดตัน

            ถ้าอุดตันที่ลำไส้เล็ก  มักมีอาการปวดบิดเกร็งเป็นพัก ๆ ที่บริเวณรอบ ๆ สะดือและอาเจียนพุ่งรุนแรงติด ๆ กันมักมีเศษอาหารหรือน้ำดีออกมา

ถ้าอุดตันที่ลำไส้ใหญ่  มักไม่มีอาการอาเจียน  หรือไม่มีเพียงเล็กน้อย

นอก จากนี้ไม่ว่าการอุดตันจะเกิดตรงตำแหน่งใด ๆ ถ้าการอุดตันเป็นไปอย่างสมบูรณ์ มักจะมีอาการท้องผูกร่วมด้วยเสมอ  (อาจไม่มีการเผาลมเลยถ้าอุดตันอย่างสมบูรณ์ที่ลำไสใหญ่)

อาการท้องอืดไม่ชัดเจนในระยะแรก  แต่ต่อมาจะค่อย ๆ  มีมากขึ้น

ถ้า เป็นอยู่หลายวัน  มักมีภาวะขาดน้ำ  และอาจมีภาวะช็อก  (เหงื่อออก ตัวเย็น กระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว ความดันตก ปัสสาวะออกน้อย)

บางครั้งอาจมองเห็นการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่หน้าท้อง

เมื่อ ใช้เครื่องฟังตรวจที่หน้าท้อง จะได้ยินเสียงโครกครากของลำไส้ติดกันถี่ ๆ เป็นเสียงแหลม และถ้าเขย่าท้องอาจได้ยินเสียงเหมือนน้ำกระฉอก

อาจพบรอยแผลผ่าตัดที่หน้าท้อง  หรือก้อนนูนของไส้เลื่อนที่บริเวณขาหนีบหรือลูกอัณฑะ

ในทารกที่เกิดจากกระเพาะส่วนปลายตีบ จะ มีอาการอาเจียนพุ่งแรง ออกมาเป็นเศษนมมีกลิ่นเหม็น ในระยะแรกเด็กยังรู้สึกหิวและเคลื่อนไหวแข็งแรง  อาการอาเจียนจะเป็นอยู่เรื่อย ๆ จนต่อมาเด็กจะน้ำหนักลดกระสับกระส่ายและถ่ายอุจจาระน้อยลงเรื่อย ๆ สังเกตที่หน้าท้อง มักพบการเคลื่อนไหวของลำไส้  และอาจคลำได้ก้อนที่บริเวณส่วนที่ปลายของกระเพาะอาหาร

ถ้าไม่ได้รับการรักษา  เด็กจะมีภาวะขาดน้ำ ซึมชัก และตายได้

ในเด็กที่เกิดจากลำไส้กลืนกันเอง มัก มีอาการปวดท้องรุนแรงเป็นพัก ๆ (ถ้าเป็นในทารกจะมีอาการร้องไห้เสียงดัง นานหลายนาที เว้นช่วงเงียบไปพักหนึ่ง และร้องขึ้นอีก)  และอาจมีอาการอาเจียน บางครั้งอาจถ่ายเป็นมูกปนเลือดคล้ายเยลลี่

อาการแทรกซ้อน                                                                           __________

            ถ้าไม่ได้รับการรักษา มักทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ช็อก ลำไส้เน่าและทะลุ เยื่อบุช่องท้องอักเสบ โลหิตเป็นพิษ

การรักษา______________________________________________________________________

            หากสงสัย ให้ส่งโรงพยาบาลด่วน ควรให้งดน้ำและอาหาร และถ้ามีภาวะขาดน้ำหรือช็อก ควรให้น้ำเกลือมาระหว่างทางด้วย

            มักต้องเอกซเรย์ และทำการผ่าตัดด่วน

            ในเด็กที่มีสาเหตุจากลำไส้กลืนกันเอง อาจ รักษาด้วยวิธีสวนแป้งแบเรียมพร้อมกับถ่ายเอกซเรย์ บางครั้งแรงดันจากการสวนแป้งแบเรียมอาจช่วยให้ลำไส้กลับคืนสู่สภาพปกติได้ แต่ถ้าไม่ได้ผล ก็ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

เอกสารอ้างอิง__________________________________________________________________

1. สุรเกียรต์  อาชานานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป: หลักการวินิจฉัยและการ

    รักษา/280โรคและการดูแลรักษา.กรุงเทพ: พิมพ์ดี กรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 3. 2544.

2. www.nlm.nih.gov (picture: “รูปที่ 1 Normal anatomy”)

3. www.shands.org (picture: “รูปที่ 2 Intestinal obstructions”)

ผู้เรียบเรียงข้อมูล นางสาววริศรา  ผาสุขมูล ผู้ตรวจสอบ อ.ธีราพร  ชนะกิจ
 


รักษาอาการลำไส้ ด้วยวิธีธรรมชาติ

รักษาอาการลำไส้ ด้วยวิธีธรรมชาติ

ปวดท้อง

ลำไส้เล็กอักเสบ และแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่หายได้ด้วยวิธีธรรมชาติ (Health Plus)
          โรคลำไส้อักเสบส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ตาม การบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติต่อไปนี้ช่วยได้
          โรคลำไส้เกิดได้กับคนทุกวัย และนับวันจะก่อให้เกิดปัญหามากขึ้น จากรายงานของ the National Association for Colitis and Crohn’s Disease (NACC) ระบุว่า คนอังกฤษทุก 1,000 คนจะป่วยเป็นโรคลำไส้เล็กอักเสบ 1 คน ขณะที่มีคนนับแสนป่วยเป็นโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่
          โรคลำ ไส้อักเสบทั้งสองชนิดนี้เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่พบในคนอายุระหว่าง 15-40 ปี แม้จะมีการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด การรักษาด้วยการแพทย์แผนใหม่จะใช้วิธีลดการอักเสบ นั่นคือแพทย์จะให้ยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการบวม ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ และยาลดอาการท้องเสียและโลหิตจาง ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจต้องใช้วิธีผ่าตัดเอาอวัยวะ บางส่วนที่เกี่ยวกับการย่อยอาหารออก อย่างไรก็ตาม การบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติก็ช่วยได้เช่นกัน
โรคลำไส้เล็กอักเสบ
          เกิดจากการอักเสบในระบบย่อยอาหาร ทำให้ย่อยอาหารได้ไม่ปกติมักพบในลำไส้เล็ก
          ผู้ ป่วยมักมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย โดยมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ บางครั้งท้องผูก มีไข้ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน และมักเป็นโลหิตจาง เนื่องจากลำไส้ไม่ดูดซึมสารอาหาร
          โรคลำไส้เล็กอักเสบพบมากในเพศหญิงและคนที่สูบบุหรี่ สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด
โรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่
          เกิดจากการที่ผนังลำไส้ใหญ่เกิดการอักเสบ และกลายเป็นแผลเล็ก ๆ
          อาการ บวมหมายถึงการที่ลำไส้ใหญ่ไม่สามารถดูดซึมน้ำจากอุจจาระ จึงทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาการบวมยังเกิดจากการที่ลำไส้ใหญ่ ไม่สามารถเก็บของเสียได้มากเหมือนปกติ คุณจึงต้องวิ่งเข้าห้องน้ำบ่อย อุจจาระอาจมีเลือดและเมือกปนออกมา
          โรคนี้เกิดได้ทั้งหญิงและชาย หลักฐานระบุว่าคนที่ป่วยเป็นโรคนี้มักอยู่ในเขตเมืองมากกว่าชนบท
บำบัดด้วยธรรมชาติ
1.ฝังเข็ม
          จาการวิจัยพบว่า การฝังเข็มช่วยบรรเทาอาการท้องเสียอย่างรุนแรงอย่างได้ผล ทำให้สุขภาพดีขึ้น "การฝังเข็มช่วยแก้ปวด ลดการอักเสบ ควบคุมการทำงานของลำไส้ให้เป็นปกติ" ริชาร์ด แบล็กเวลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านฝังเข็มกล่าว "เพราะ การฝังเข็มช่วยแก้ไขความไม่สมดุลการทำงานของลำไส้ ซึ่งจะส่งผลดีในระยะยาว อาการจะดีขึ้นหลังผ่านการฝังเข็ม 6 ครั้ง แต่อาจจำเป็นต้องบำบัดหลายครั้งและใช้เวลาเป็นเดือน"
2.โภชนาการ
          "การเปลี่ยนแปลงอาหารการกินช่วยได้" เอียน มาร์เบอร์ นักโภชนาการของ Health Plus กล่าว "อาหารบางชนิดทำให้ระบบย่อยทำงานหนัก จึงเกิดการอักเสบ อย่าทำให้โรคลำอักเสบทั้งสองชนิดนี้มีอาการรุนแรงขึ้น โดยการกินให้น้อย แต่กินบ่อย ๆ ทั้งนี้เพราะร่างกายสามารถย่อยอาหารปริมาณน้อย ๆ ได้ง่ายกว่า อาหารโพรไบโอติกมีประโยชน์ แต่ควรกินในรูปของอาหารเสริมมากกว่าในรูปของเครื่องดื่มที่มีรสหวาน"
          โรคลำไส้เล็กอักเสบ
          หลีกเลี่ยง ผลไม้รสเปรี้ยว มะเขือเทศ อาหารที่มีรสเผ็ด กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
          รับประทาน มันฝรั่งปอกเปลือก ปลานึ่ง โดยเฉพาะปลาที่มีน้ำมัน เป็ดไก่ ไข่ ผักเช่น ผักโขมหรือถั่วที่มีเมล็ดกลม (peas)
          โรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่
          หลีกเลี่ยง โฮ ลเกรน ไฟเบอร์ ไม่ละลายน้ำเช่น ข้าวโพดหวาน ผักที่มีแป้งสูงเช่น พาร์สนิป (parsnip) ถั่วที่มีเปลือกแข็ง (ruts) และเมล็ดพืชต่าง ๆ คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี เช่น บิสะกิด พาสต้า และขนมปัง
          รับประทาน ไฟเบอร์ละลายน้ำ เช่น ผักใบเขียว อโรวคาโด แยม น้ำมันปลาที่อุดมด้วยไขมัน โอเมก้า 3 ข้าวขัดขาวกระเทียม
3.สมุนไพร
          "มีสมุนไพรมากมาย ที่ช่วยรักษาโรคลำไส้เล็กอักเสบและโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่ ลดการพึ่งยาสเตียรอยด์" ดี แอตคินสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์สมุนไพร "คอมเฟรย์ (comfrey) ช่วยรักษาและบรรเทาอาการระคายเคืองของเนื้อเยื่อ ชะเอมช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสเตียรอยด์ตามธรรมชาติของตัวเอง โกลเด้นซีล (goldenseal) ซึ่งมีสรรพคุณต้านแบคทีเรียช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิด้านทาน แพลนทิน (plantain-กล้วยแอฟริกาชนิดหนึ่ง) ช่วยลดการผลิตน้ำเมือก ก่อนใช้ควรไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อให้ตรวจวินิจฉัย" ดีแนะให้ใช้ผง slippery elm 1 ช้อนชาผสมกับน้ำเย็น คนให้เข้ากัน จากนั้นนำไปชงกับน้ำร้อนประมาณครึ่งลิตรผสมกับผงลูกจันทน์เทศ คนให้เข้ากัน
          "สมุนไพรช่วยรักษาแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่"
          แจ็กกี้ ฟอร์เรสต์ วัย 43 ปี จากเบอร์วิคเชียร์ ป่วยเป็นโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่มานาน 10 เดือน เธอพึ่งสมุนไพรในการรักษา
          "ฉันมีอาการท้องเสียและปวดตะคริวที่ท้องมานานกว่าหนึ่งปี ก่อนจะมารู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่ หมอให้ยาแก้อักเสบและสเตียรอยด์เพื่อควบคุมอาการ แต่ยาทำให้ฉันมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและอาหารไม่ย่อย พอไปตรวจก็พบว่ายามีผลกระทบกับตับของฉัน ฉันเลยต้องหยุดทานยาต่อมาฉันได้ไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร เขาแนะให้ฉันทานผง slippery elm ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ กระเทียม คาโมไมล์ ชะเอม และยาร์โรว์ (yarrow) ซึ่งช่วยให้อาการดีขึ้น เมื่อก่อนฉันเคยชอบกินขนมปังและพาสต้า แต่ตอนนี้ฉันหันมากินอาหารปลอดแป้งสาลี และเปลี่ยนนิสัยการกิน โดยกินน้อย ๆ แต่กินบ่อย ๆ เดี๋ยวนี้ฉันไม่ต้องพึ่งยาแผนปัจจุบันอีกแล้ว แถมอาการก็ไม่กำเริบเวลากินอะไรที่ไม่ควรกิน"
4.อาหารเสริม
          "อาหารเสริมช่วยรักษาโรคลำไส้ทั้งสองชนิดได้" พอ ล แชมเบอร์เลน ผู้เชี่ยวชาญของ Health Plus กล่าว ทานอาหารเสริมประเภทวิติมนรวม และเกลือแร่เป็นประจำ เพื่อชดเชยสารอาหารที่ขาดไปเนื่องจากระบบย่อยอาหารไม่ปกติ ทานอาหารเสริมจำพวกน้ำมันปลา (ไม่นับน้ำมันตับปลา) วันละ 1,000-2,500 มิลลิกรัมทุกวัน จะทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีสรรพคุณช่วยลดการอักเสบ
          การขาดสังกะสีก็ก่อให้เกิดปัญหาเช่นกัน ควรทานอาหารเสริมจำพวก zinc picolinate วันละ 25 มิลลิกรัม จะช่วยรักษาเนื้อเยื่อและเสริมสร้างภูมิต้านทาน psyllium husks เป็นแหล่งไฟเบอร์ชั้นดี ควรวันละ 1 ช้อนโต๊ะ ข้อควรระวังคือ psyllium husks ดูดซึมน้ำในปริมาณมาก ดังนั้นเวลาทานจึงควรดื่มน้ำตามมาก ๆ อาหารเสริมชนิดเม็ดที่มีเอนไซม์ย่อยอาหาร จะช่วยให้ตับอ่อนสามารถย่อยโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตได้ดี 
          เบทาอีนไฮโดรคลอไรด์ (betaine hydrochloride) ชนิดเม็ดช่วยให้กระเพาะอาหารย่อยโปรตีนได้ดี ซึ่งจะทำให้ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ทำงานหนักน้อยลง
5.นวดกดจุดฝ่าเท้า
          "การนวดกระตุ้นในตำแหน่งที่ถูกต้องจะช่วยบรรเทาอาการของโรคลำไส้ได้" เรเน่ แทนเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดกดจุดฝ่าเท้ากล่าว ให้หาส่วนที่เป็นเนื้อนุ่ม ๆ ของฝ่าเท้า ตั้งอยู่ระหว่างส่วนโค้งและส้นเท้า วางนิ้วมือสองนิ้วบนจุดดังกล่าว จากนั้นให้ใช้นิ้วดังกล่าวเดินไต่ข้ามไปยังนิ้วหัวแม่เท้า ต่อไปยังนิ้วก้อย จากนั้นยกนิ้วข้างหนึ่งขึ้นชั่วครู่ และเพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ให้ใช้นิ้วเดินไต่จากด้านหลังไปด้านหน้า โดยเริ่มจากฝ่าเท้าไปยังหลังเท้า ระหว่างจุดกลม ๆ ใต้นิ้วหัวแม่เท้าและส่วนโค้งของฝ่าเท้า ทำท่าละ 3 ครั้ง วันละ 2 เวลา หากอาการรุนแรง เมื่ออาการดีขึ้น ให้ลดเหลือวันละครั้ง

www.kapook.com

มะเร็งลำไส้ ท้องไส้ปั่นป่วนระวัง

มะเร็งลำไส้ ท้องไส้ปั่นป่วนระวัง

มะเร็งลำไส้
มะเร็งลำไส้

ท้องไส้ปั่นป่วนสัญญาณเตือนโรคร้าย (เดลินิวส์)
          เมื่อย่างเข้าสู่วัย 50 ปี แล้วมักมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูกสลับกับท้องเสีย จำนวนครั้งในการขับถ่ายอุจจาระแปรปรวน ลักษณะของอุจจาระเปลี่ยนแปลงไป โดยมีเลือดปน สีคล้ำ และมีมูกปน รวมทั้งรู้สึกปวดเกร็งช่วงท้องน้อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด และโลหิตจาง... หาก อาการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรื้อรัง แม้จะรักษาอาการเบื้องต้นด้วยตัวเอง โดยการรับประทานยาแล้วก็ยังไม่หาย อาจเป็นการส่งสัญญาณเตือนภัยสุขภาพให้ทราบว่า ลำไส้กำลังมีปัญหา และเป็นไปได้ว่ามี มะเร็งลำไส้ มาเยือน!
          หาก ย้อนคิดเพื่อหาสาเหตุให้เกิดโรคจะพบว่า ความนิยมรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ไขมันสูง ในปริมาณมากกว่าอาหารที่มีกากใย เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด มะเร็งลำไส้ การ เน้นรับประทานอาหารชนิดดังกล่าว จะส่งผลให้เซลล์ในเยื่อบุลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงเติบโตผิดปกติ เกิดติ่งเนื้อขนาดเล็ก นานวันเข้าติ่งเนื้อนั้นก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นเซลล์มะเร็ง และปัจจุบันมะเร็งชนิดนี้เป็นสาเหตุให้คนไทยเสียชีวิตในอันดับ 4
          ถ้าป่วยเป็น มะเร็งลำไส้ สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด แพทย์จะตัดลำไส้บริเวณที่มีเซลล์มะเร็งออก และเชื่อมต่อส่วนที่ไม่มีเซลล์ มะเร็งเข้าด้วยกัน และเกิดขึ้นใกล้ทวารหนัก แพทย์อาจใช้วิธีเย็บปิดทวารหนักเดิม แล้วทวารเทียมขึ้นบริเวณหน้าท้องไว้ใช้ขับถ่ายอุจจาระแทน หากไม่ผ่าตัด ยังมีวิธีรักษาโดยรังสี และเคมีบำบัด จะเป็นวิธีเดียวหรือหลายวิธีร่วมกันขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
          สำหรับการตรวจวินิจฉัย มะเร็งลำไส้ นับเป็นความยากลำบากอีกจุดหนึ่งในการตรวจวินิจฉัยและรักษา เนื่องจากลำไส้จัดเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีการเคลื่อนไหว…ด้วยเหตุนี้นวัตกรรม ทางการแพทย์ที่ก้าวล้ำ จึงไม่ทำให้ใครผิดหวัง
          เริ่มจากขั้นตอนการตรวจด้วย เครื่องเพท-ซีที (Pet-Ct : Position Emission Tomography / Computer Tomography) สามารถเอกซเรย์อวัยวะภายในร่างกาย โดยสร้างภาพตัดขวางพร้อมกันครั้งละ 64 ภาพ ต่อการหมุน 1 รอบ ด้วยความเร็ว 0.33 วินาที ทั้งยังให้ความละเอียดทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ
          เครื่องเพท-ซีที ตรวจหาความผิดปกติในระดับโมเลกุลของเซลล์ร่างกาย ที่เปลี่ยนสภาพเป็นมะเร็ง โดยสามารถระบุตำแหน่ง ระยะ และทิศทางการลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยและวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว
          มาถึงการรักษาโดยการฉายรังสีจากภายนอกร่างกายของเครื่องไอจีอาร์ที (IGRT : Image Guided Radiation Therapy) ด้วยการใช้ระบบภาพนำร่องจาก Cone Beam CT เพื่อตรวจหาตำแหน่งที่แท้จริงของก้อนมะเร็งในขณะนั้น เนื่องจากก้อนมะเร็งมักมีการเคลื่อนที่ตามอวัยวะ เช่น จากการหายใจ การย่อยอาหาร ปริมาณปัสสาวะ หรือน้ำหนักตัวที่ลดลง เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อตำแหน่งของก้อนมะเร็ง ดัง นั้นเครื่องฉายรังสีชนิดนี้ จึงทำหน้าที่ฉายภาพนำร่องเพื่อให้แพทย์กำหนด ตำแหน่งที่ชัดเจนที่สุดก่อนการฉายรังสีทำลายเซลล์มะเร็ง ไอจีอาร์ที โดยมีอัตราคลาดเคลื่อนเพียง 0.5-1 มิลลิเมตร จึงช่วยลดการเกิดผลกระทบต่อเนื้อเยื่อปกติรอบเซลล์มะเร็ง และทำให้ผู้ป่วยฟื้นสภาพได้เร็วขึ้น
          ส่วน การป้องกัน มะเร็งลำไส้ ในเบื้องต้น ควรปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร เน้นผักและผลไม้ ในการตรวจร่างกายทุก ๆ ปี ให้ตรวจหาเลือดตกค้างในอุจจาระ ส่วนการส่องกล้องเช็คลำไส้ใหญ่ควรตรวจทุก ๆ 5 ปี โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป.

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

อัพเดทล่าสุด