ประวัติโรคไข้เลือดออก บทความโรคไข้เลือดออก เนื้อหาโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย (Aedes aegyti) ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสแดงกีจะ เพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ฯลฯ
ระยะไข้สูง
มี อาการไข้ขึ้นสูง 2-7 วัน เบื่ออาหาร อาเจียนออกมามีสีน้ำตาลปนอยู่ ปวดศีรษะไข้ขึ้นสูง 38-40 °c ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ วันที่ 2-3 ผู้ป่วยมักซึมลงหน้าแดง ตัวแดง อาจมีผื่น หรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง 60-90% ตรวจพบตับโต การตรวจ Tourigust test ให้ผลบวก
ระยะวิกฤติ (ระยะช็อคและเลือดออก)
ไข้ ลด (ประมาณวันที่ 3-6 ของโรค) อาการทรุดลงเข้าสู่ภาวะช็อค เริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตตก อาเจียนมาก ปวดท้อง บางรายซึมมากขึ้น ปัสสาวะน้อย อาจมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อนและได้รับการรักษาทันและถูกต้องระยะนี้จะกินเวลา 24-48 ชัวโมง แล้วเข้าสู่ระยะฟื้นตัวของร่างกาย
ระยะฟื้น
อาการ ทั่วไปดีขึ้น ความดันโลหิตและชีพจรกลับเป็นปกติ ปัสสาวะออกมากขึ้น ตับที่โตจะลดขนาดลงภายใน 1-2 สัปดาห์ เริ่มรับประทานอาหารได้ มักมีผื่นแดงที่ขา ปลายเท้า ปลายมือ
การวินิจฉัย
ส่วนใหญ่มักวินิจฉัยจากอาการ อาการที่เป็นรูปแบบเฉพาะคือการมีไข้สูงโดยไม่ปรากฏตำแหน่งที่ทำให้เกิดไข้ชัดเจน มีผื่นขึ้น มีเกล็ดเลือดต่ำ และเม็ดเลือดขาวต่ำ ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษเพื่อแยกจากโรคตับระยะสุดท้ายเนื่องจากมีลักษณะคล้ายกัน
นิยามของโรคไข้เลือดออกโดยองค์การอนามัยโลกนั้นใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 โดยต้องมีลักษณะครบทั้ง 4 ประการ
- มีไข้ มีปัญหาทางกระเพาะปัสสาวะ ปวดศีรษะเรื้อรัง มึนงงอย่างมาก และเบื่ออาหาร
- มีแนวโน้มจะมีเลือดออก (ทูนิเกต์เทสท์ให้ผลบวก มีจ้ำขึ้นเอง มีเลือดออกทางเยื่อบุ เหงือก แผลเจาะ ฯลฯ อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายเป็นเลือด)
- เกล็ดเลือดต่ำ (น้อยกว่า 100,000 ตัวต่อหนึ่งไมโครลิตร หรือประมาณน้อยกว่า 3 ตัว ต่อหนึ่งมุมมองกล้องกำลังขยายสูง)
- ปรากฏหลักฐานของการเสียพลาสมาจากหลอดเลือด (ความเข้มข้นเม็ดเลือดแดงสูงกว่าที่ประมาณไว้มากกว่าร้อยละ 20 หรือลดลงเกินกว่าร้อยละ 20 ปรากฏมีของเหลวในเยื่อหุ้มปอด มีของเหลวในช่องท้อง หรือมีโปรตีนต่ำในกระแสเลือด)
- มีภาวะสมองอักเสบ
กลุ่มอาการไข้เลือดออกระยะช็อค นิยามโดยลักษณะของไข้เลือดออกข้างต้น เพิ่มอีก 3 ข้อ
- ชีพจรเบา เร็ว
- ผลต่างความดันแคบ (น้อยกว่า 20 มิลลิเมตรปรอท)
- ผิวหนังเย็น ชื้น และดูไม่สบายตัว
การตรวจทางน้ำเหลืองและการใช้ PCR สามารถใช้ยืนยันการวินิจฉัยได้หากมีลักษณะอาการที่
การรักษา
- ผู้ป่วยที่ไม่อาเจียนให้ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่มาก ๆ วิธีสังเกตว่าดื่มน้ำพอหรือไม่ ให้ดูปัสสาวะ ควรมีสีใส
- ควรพบแพทย์เป็นระยะ ๆ ตามนัด เพื่อเฝ้าดูอาการที่อาจเป็นอันตรายอย่างใกล้ชิด
- ถ้า อาเจียนมาก ซึม เพลียมาก มีอาการของช็อคและมีอาการเลือดออก ควรรับการรักษาในโรงพยาบาลและดูแลใกล้ชิด เพื่อรักษาได้ทันท่วงที หรือหากมีอาการแทรกซ้อนอื่น เช่น ตับอักเสบรุนแรง ตับวาย สมองอักเสบ ควรรับการรักษาในโรงพยาบาล
- ให้ยาแก้ไข้พาราเซตามอล แต่ห้ามใช้แอสไพรินเพราะจะทำให้ระคายกระเพาะ มีโอกาสมีเลือดออกทางกระเพาะง่าย และทำให้การทำงานหาเกล็ดเลือดผิดปกติ
- วัคซีนยังอยู่ในขั้นทดลองเท่านั้น ยังไม่มีจำหน่ายให้ใช้
วิธีป้องกัน
- พยายามไม่ให้ยุงกัด
- ปราบและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ซึ่งชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะต่างๆ ที่มีน้ำขัง
- ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกไม่ควรให้ถูกยุงกัดภายใน 5 วันแรกของโรค เพราะผู้ป่วยยังมีไวรัสอยู่ในเลือดทำให้แพร่เชื้อไปให้คนอื่นได้
- รายงานคนไข้ไปที่โรงพยาบาลหรือสาธารณสุขจังหวัด เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงบริเวณนั้นและควบคุมโรคก่อนที่จะมีการระบาดเพิ่ม
|
โรคไข้เลือดออก ที่พบในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงในเอเซียอาคเนย์เกิดจากไวรัส dengue จึง เรียกชื่อว่า Dengue hemorrhagic fever (DHF) ซึ่งนับว่าเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและการแพทย์ เพราะมีผู้ป่วยปีละเป็นจำนวนมาก และผู้ป่วยไข้เลือดออกอาจเกิดจากภาวะช็อก ซึ่งทำให้ถึงเสียชีวิตได้รวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง โดยเริ่มระบาดครั้งแรกที่ประเทศ ฟิลิปปินส์ เมื่อ พ.ศ. 2497 และระบาดในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2501 ใน พ.ศ. 2524 เริ่มมีการระบาดของไข้เลือดออกเดงกีเป็นครั้งแรกที่ คิวบา ภายหลังจากการระบาดของไข้เดงกีในปี 2520 หลังจากนั้นก็มีรายงานของไข้เลือดออกเดงกีเป็นโรคที่เกิดขึ้นใหม่ (emerging disease) ในประเทศต่างๆ ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้มากขึ้น เมื่อมีการเริ่มระบาดในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2501 มีรายงานผู้ป่วย 2,158 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 8.8 ต่อประชากรแสนคน มีอัตราป่วยตายร้อยละ 13.90 โดยมีรายงานจำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มสูงมากขึ้นตลอด แต่อัตราป่วยตายลดน้อยลงอย่างชัดเจน ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเดงกีส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 5 – 9 ปี รองลงมาได้แก่กลุ่มอายุ 10-14 ปี ในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคอย่างกว้างขวาง โดยจะพบผู้ป่วยได้ทุกจังหวัดและทุกภาคของประเทศ | | |
หัวข้อ |
สาเหตุ และเชื้อที่เป็นสาเหตุของไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายบ้าน ( Aedes aegypti ) ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกีจะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวัน ลูกน้ำของยุงลายบ้าน จะอยู่ในภาชนะขังน้ำชนิดต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น (man-made container) ทั้งที่อยู่ภายในบ้าน และบริเวณรอบๆ บ้าน เช่น โอ่งน้ำดื่มน้ำใช้ บ่อซีเมนต์เก็บน้ำในห้องน้ำ ถ้วยหล่อขาตู้กับข้าวกันมด แจกัน ภาชนะเลี้ยงพลูด่าง จานรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่าและเศษวัสดุต่างๆที่มีน้ำขัง เป็นต้น ลูกน้ำยุงลายสวน มักเพาะพันธุ์อยู่ในแหล่งเพาะพันธุ์ธรรมชาติ (natural container) เช่น โพรงไม้ โพรงหิน กระบอกไม้ไผ่ กาบใบพืชจำพวกกล้วย พลับพลึง หมาก ฯลฯ ตลอดจนแหล่งเพาะพันธุ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นและอยู่บริเวณรอบๆบ้านหรือในสวน เช่น ยางรถยนต์เก่า รางน้ำฝนที่อุดตัน ถ้วยรองน้ำยางพาราที่ไม่ใช้แล้ว หรือแม้แต่แอ่งน้ำบนดิน เชื้อไวรัส Dengue ซึ่งมี 4 ชนิดคือ Dengue 1,2,3,4 โดยมากผู้ ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออก จะติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 (Secondary infection) มีเพียงส่วนน้อยที่ ติดเชื้อครั้งแรก (Primary infection) โดยปกติ ไข้เลือดออกที่พบกันทั่วๆไปทุกปี มักจะเกิดจาก เชื้อไวรัส Dengue ชนิดที่ 3 หรือ 4 แต่ ที่มีข่าวมาในระยะนี้ จะเป็นการติดเชื้อในสายพันธ์ ที่ 2 เป็นสายพันธ์ ที่พบได้ประปรายเช่นกัน แต่อาการมักจะรุนแรงกว่า สายพันธ์ที่ 3, 4 และต้องเป็นการติดเชื้อซ้ำ ครั้งที่สอง Secondary Infection
| ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) | | | ยุงลายสวน (Aedes albopictus) | | | [ดูภาพทั้งหมดในหมวด]
| |
การติดเชื้อไวรัส Dengue ไวรัสเดงกี เป็น single strandcd RNA ไวรัส อยู่ใน Family Flaviviridae มี 4 serotypes ( DEN1, DEN2, DEN3, DEN4 ) ซึ่งมี antigen ของกลุ่มบางชนิดร่วมกัน จึงทำให้มี cross reaction กล่าวคือ เมื่อมีการติดเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสชนิดนั้นอย่างถาวรตลอดชีวิต แต่จะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกีอีก 3 ชนิด ในช่วงระยะสั้นๆ ประมาณ 6-12 เดือน (หรืออาจสั้นกว่านี้ ) ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีไวรัสเดงกีชุกชุม อาจมีการติดเชื้อ 3 หรือ 4 ครั้งได้ ตามทฤษฎี ไวรัสทั้ง 4 serotypes สามารถทำให้เกิด DF (Dengue Fever) หรือ DHF (Dengue hemorrhagic fever) ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกหลายประการ ที่สำคัญคือ อายุ แล ะภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย มีการศึกษาทางระบาดวิทยาที่แสดงว่าการติดเชื้อซ้ำ (secondary infection) ด้วยชนิดที่ต่างจากการติดเชื้อครั้งแรก (primary infection) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เพราะส่วนใหญ่ประมาณ ร้อยละ 80-90 ของผู้ป่วยที่เป็น DHF มีการติดเชื้อซ้ำ ส่วนผู้ที่เป็น DHF เมื่อมีการติดเชื้อครั้งแรกนั้น มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ชนิดของไวรัสเดงกีที่เป็นครั้งที่ 1 และ 2 (sequence of infections) อาจมีความสำคัญเช่นเดียวกัน มีการศึกษาทางระบาดวิทยาในคิวบาและในประเทศที่แสดงว่ามีการติดเชื้อครั้งที่ 2 ด้วย DEN2 มีโอกาสเสี่ยงสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการตามหลังการติดเชื้อครั้งแรกด้วย DEN1 ในระยะแรกประเทศไทยจะแยกเชื้อ DEN2 จากผู้ป่วย DHF ได้ในอัตราที่สูงมากกว่าชนิดอื่น แต่ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 เป็นต้นมาแยกเชื้อจากผู้ป่วยได้ DEN3 มากกว่าชนิดอื่นๆ การศึกษาทางด้าน moleclar virology พบว่า มีความแตกต่างใน genotype/strain ที่แยกได้จากที่ต่างๆ โดยเฉพาะมีการศึกษาเกี่ยวกับ DEN2 พบว่า DEN2 genotype จากประเทศไทย/เวียดนาม มีศักยภาพสูงที่จะทำให้เกิด DHF เมื่อเป็นการติดเชื้อซ้ำ องค์การอนามัยโลก ได้จำแนกกลุ่มอาการโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี ตามลักษณะอาการทางคลีนิค ดังต่อไปนี้ Undiffiferentiate fever (uf) หรือกลุ่มอาการไวรัส พบในทารกหรือเด็ก จะปรากฎเพียงอาการไข้ 2 – 3 วัน บางครั้งอาจมีผื่นแบบ maculopapula rash มีอาการคล้ายคลึงกับโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถวินิจฉัยได้จากอาการทางคลีนิค ไข้เดงกี Dengue Fever-DF มักเกิดกับเด็กโตหรือผู้ใหญ่ อาจมีอาการไม่รุนแรง คือมีอาการไข้ร่วมกับ ปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก และมีผื่น บางรายอาจมีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง ตรวจพบ tounrniquet test positive ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีเม็ดเลือดขาวต่ำได้ ในผู้ใหญ่เมื่อหายจากเป็นโรค แล้วจะมีอาการอยู่นานโดยทั่วไปแล้วไม่สามารถวินิจฉัยจากอาการทางคลีนิคได้ แน่นอน ต้องอาศัย การตรวจทางน้ำเหลือง/แยกเชื้อไวรัส ไข้เลือดออกเดงกี Dengue hemorrhagic fever-DHF มีอาการทางคลีนิคเป็นรูปแบบที่ค่อนข้างชัดเจน คือมีไข้สูงลอย ร่วมกับอาการเลือดออก ตับโต และมีภาวะช็อกในรายที่รุนแรง ในระยะมีไข้จะมีอาการต่างๆ คล้าย DF แต่จะมีลักษณะเฉพาะของโรค คือ มีเกล็ดเลือดต่ำและมีการรั่วของพลาสมา ซึ่งถ้าพลาสมารั่วออกไปมาก ผู้ป่วยจะมีภาวะ ช็อกเกิดขึ้นที่เรียกว่า dengue shock syndrome (DSS) การรั่วของพลาสมา ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของโรคไข้เลือดออกเดงกี สามารถตรวจพบได้จากการที่มีระดับ Hct สูงขึ้น มีน้ำในเยื่อหุ้ม ช่องปอดและช่องท้อง
|
| |
อาการของผู้ที่ติดเชื้อโรคไข้เลือดออก หลังจากได้รับเชื้อจากยุงที่เป็นพาหะแล้ว ประมาณ 5 - 8 วัน (ระยะฟักตัว) ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรค ซึ่งมีความรุนแรงแตกต่างกันได้ ตั้งแต่มีอาการคล้ายไข้เดงกี ไปจนถึงมีอาการรุนแรงมากจนถึงช็อก และ ถึงเสียชีวิตได้ โรคไข้เลือดออกเดงกี มีอาการสำคัญที่เป็นรูปแบบค่อนข้างเฉพาะ 4 ประการ เรียงตามลำดับการเกิดก่อน และ การเกิดหลัง ดังนี้ ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40 ทุกรายจะมีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส ไข้อาจสูงถึง 40 –41 องศาเซลเซียส ซึ่งบางรายอาจมีอาการชักเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเด็กที่เคยมีประวัติการชักมาก่อน หรือ ในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง ( Flushed face ) อาจตรวจพบคอแดง (injected pharynx ) ได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหล หรืออาการไอ ซึ่งช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคจากหัดในระยะแรก และโรคระบบทางเดินหายใจได้ เด็กโตอาจบ่นปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา ในระยะไข้นี้ อาการทางระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย คือ เบื่ออาหาร อาเจียน บางรายอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ซึ่งในระยะแรกจะปวดโดยทั่วไป และอาจปวดที่ชายโครงขวาในระยะที่มีตับโต ส่วนใหญ่ไข้จะสูงลอยอยู่ 2 – 7 วัน ประมาณร้อยละ 15 อาจมีไข้สูงนานเกิน 7 วัน และบางรายไข้จะเป็นแบบ biphasic ได้ อาจพบมีผื่นแบบ erythma หรือ maculopapular ซึ่งมีลักษณะคล้ายผื่น rubella ได้ อาการเลือดออก : อาการเลือดออกที่พบบ่อยที่สุดที่ ผิวหนัง โดยจะตรวจพบว่า เส้นเลือดเปราะ แตกง่ายการทำ torniquet test ให้ผลบวกได้ตั้งแต่ 2 –3 วันแรกของโรค ร่วมกับมีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดา หรือเลือดออกตามไรฟัน ในรายที่รุนแรง อาจมีอาเจียน แล ะถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ (malena ) อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่จะพบร่วมกับภาวะช็อก ส่วนใหญ่จะคลำพบตับโตได้ประมาณวันที่ 3- 4 นับแต่เริ่มป่วย ในระยะที่ยังมีไข้อยู่ตับจะนุ่มและกดเจ็บ ตับโต ส่วนใหญ่จะคลำพบตับโตได้ประมาณวันที่ 3 – 4 นับ แต่เริ่มป่วยตับจะนุ่มและกดเจ็บ ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือ ช็อก : มักจะเกิดช่วงไข้จะลด เป็นระยะที่มีการรั่วของพลาสมา ซึ่งจะพบทุกรายในผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี โดยระยะรั่วจะมีประมาณ 24 – 28 ชั่วโมง ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วย ผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีจะมีอาการรุนแรง มีภาวะการไหลเวียนล้มเหลวเกิดขึ้น เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาออกไปยังช่องปอด/ช่องท้อง มากเกิด hypovolemic shock ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับที่มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว เวลาที่เกิดช็อกจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลามีไข้ อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค (ถ้ามีไข้ 2 วัน ) หรือเกิดวันที่ 8 ของโรค (ถ้ามีไข้ 7 วัน ) ผู้ป่วยจะมีอาการเลวลง เริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง ตรวจพบ pulse pressure แคบเท่ากับ หรือ น้อยกว่า 20 มม.ปรอท (ค่าปกติ 30 - 40 มม.ปรอท) โดยมีความดัน diastolic เพิ่มขึ้นเล็กน้อย (BP 110/90 , 100/80 มม.ปรอท ) ผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีที่อยู่ในภาวะช็อกส่วนใหญ่จะมีภาวะรู้สติดี พูดรู้เรื่อง อาจบ่นกระหายน้ำ บางรายอาจมีอาการปวดท้องเกิดขึ้นอย่างกระทันหันก่อนเข้าสู่ภาวะช็อก ซึ่งบางครั้งอาจทำให้วินิจฉัยโรคผิดเป็นภาวะทางศัลยกรรม (acute abdomen ) ภาวะช็อกที่เกิดขึ้นนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเลวลง รอบปากเขียว ผิวสีม่วงๆ ตัวเย็นชืด จับชีพจรและ/หรือวัดความดันไม่ได้ (profound shock ) ภาวะรู้สติเปลี่ยนไป และจะเสียชีวิตภายใน 12 – 24 ชั่วโมงหลังเริ่มมีภาวะช็อก หากว่าผู้ป่วยได้รับการรักษาช็อกอย่างทันท่วงที และถูกต้องก่อนที่จะเข้าสู่ระยะ profound shock ส่วนใหญ่ก็จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ในรายที่ไม่รุนแรง เมื่อไข้ลดลง ผู้ป่วยอาจจะมีมือเท้าเย็นเล็กน้อย ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของชีพจร และความดันเลือด ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงในระบบการไหลเวียนของเลือด เนื่องจากมีการั่วของพลาสมาออกไป แต่รั่วไม่มาก จึงไม่ทำให้เกิดภาวะช็อก ผู้ป่วยเหล่านี้ เมื่อให้การรักษาในระยะสั้นๆ ก็จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
| ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) | | | ยุงลายสวน (Aedes albopictus) | | | [ดูภาพทั้งหมดในหมวด]
| |
วิธีรักษาผู้ป่วย โรคไข้เลือดออก เบื้องต้น ขณะนี้ ยังไม่มียาต้านไวรัส ที่มีฤทธิ์เฉพาะสำหรับเชื้อไข้เลือดออก และไม่มีวัคซีนป้องกัน การรักษาโรคนี้ เป็นแบบการรักษาตามอาการ และประคับประคอง ซึ่งจะได้ผลดี ถ้าให้การวินิจฉัยโรค ได้ตั้งแต่ระยะแรก การรักษา มีหลักปฏิบัติดังนี้ - ในระยะไข้สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีประวัติเคยชัก หรือในรายที่ปวดศีรษะและปวดเมื่อยตามตัว อาจให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพวกพาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาพวกแอสไพริน เพราะจะทำให้เกล็ดเลือดเสียการทำงาน และเลือดออกได้ง่ายขึ้น ควรให้ยาลดไข้เป็นครั้งคราว เฉพาะเวลาที่ไข้สูงเท่านั้น เนื่องจากเป็นระยะที่มีเชื้อไวรัสในกระแสเลือด ซึ่งเมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้ว ไข้ก็อาจขึ้นสูงได้อีก จนกว่าเชื้อไวรัสจะหมดจากกระแสเลือด ร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกันขึ้น (Antibody) ขึ้นมาเอง - ให้ผู้ป่วยได้น้ำชดเชย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มีไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ทำให้ขาดน้ำ และขาดเกลือโซเดียมด้วย ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผลไม้ หรือสารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ในรายที่อาเจียน ควรให้ดื่มครั้งละน้อย ๆ และดื่มบ่อย ๆ - จะต้องติดตามดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ตรวจพบและป้องกันภาวะช็อกได้ทันเวลา ภาวะช็อก มักจะเกิดพร้อมกับไข้ลดลง หรือภายใน 24 - 48 ชั่วโมง หลังจากไข้ลด มักเกิดประมาณตั้งแต่วันที่ 3 ของการป่วย ควรแนะนำให้พ่อแม่ ทราบอาการนำของช็อก ซึ่งอาจจะมีอาการซึม เบื่ออาการ ไม่รับประทานข้าว หรือดื่มน้ำติดต่อกันหลายวัน อาจมีอาการ ปวดท้องใต้ชายโครงขวา หรือมีอาการปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น แนะนำให้รีบส่งโรงพยาบาลทันที ที่มีอาการเหล่านี้ - เมื่อผู้ป่วยไปตรวจที่โรงพยาบาล แพทย์จะตรวจเลือดดูปริมาณเกล็ดเลือด และ ปริมาณเม็ดเลือดต่อน้ำเลือด หรือเรียกว่า ฮีมาโตคริต Hct และอาจนัดมาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเลือด และฮีมาโตคริตเป็นระยะ ๆ เพราะถ้าปริมาณเกล็ดเลือดเริ่มลดลง และฮีมาโตคริตเริ่มสูงขึ้น เป็นเครื่องชี้บ่งว่าน้ำเลือด รั่วออกจากเส้นเลือด และอาจจะช็อกได้ จำเป็นต้องให้สารน้ำชดเชย - โดยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องรับผู้ป่วย เข้ารักษาในโรงพยาบาลทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระยะแรกที่ยังมีไข้ สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยให้ยาไปรับประทาน และแนะนำให้ผู้ปกครอง เฝ้าสังเกตอาการตามข้อ 3 หรือแพทย์นัด ให้ไปตรวจที่โรงพยาบาล เป็นระยะ ๆ โดยตรวจดูการเปลี่ยนแปลง ตามข้อ 4 ถ้าผู้ป่วยมีอาการ หรือแสดงอาการช็อก อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด ถึงแม้อาการไม่มาก ก็ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกราย และถือว่าเป็นเรื่องรีบด่วนในการรักษา - ต้องให้คำแนะนำอาการอันตราย หรืออาการก่อนช็อกแก่ผู้ปกครอง เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ ข้อใดข้อหนึ่ง ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล ที่มา www.thaisnews.com | |
จนกระทั่งทุกวันนี้ยังไม่ยาที่ใช้รักษาไข้เลือดออก หรือวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยป้องกันการแพร่ของยุง เท่าที่ผ่านมาการควบคุมยังได้ผลไม่ดี เนื่องจากเน้นเรื่องการทำลายยุงซึ่งสิ้นเปลืองงบประมาณ และการควบคุมยุงต้องทำเป็นบริเวณกว้าง การควบคุมที่จะให้ผลยั่งยืน ควรจะเน้นที่การควบคุมลูกน้ำ การควบคุมสามารถร่วมหน่วยงานราชการอื่น องค์กรเอกชน ท้องถิ่น ดังนั้นการควบคุมที่ดีต้องบูรณาการเอาหน่วยงานที่มีอยู่ และวิธีการต่างๆ( การควบคุมสิ่งแวดล้อม การใช้ทางชีวภาพ การใช้สารเคมี)
การควบคุมสิ่งแวดล้อม Environmental management
การควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ยุงมีการขยายพันธุ์
- แทงค์ บ่อ กะละมัง ที่เก็บกักน้ำจะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่และกลายเป็นยุง ต้องมีฝาปิดและหมั่นตรวจสอบว่ามีลูกน้ำหรือไม่
- ให้ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แทงค์น้ำหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำว่ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะฤดูฝน
- ตรวจสอบแจกัน ถ้วยรองขาโตะ๊ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ สำหรับแจกันอาจจะใส่ทรายผสมลงไป ส่วยถ้วยรองขาโต๊ะให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำ
- มั่นตรวจสอบถาดรองน้ำที่ตู้เย็น หรือเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นที่แพร่พันธ์ของยุง โดยเฉพาะถาดระบายน้ำของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งออกแบบไม่ดี โดยรูระบายน้ำอยู่เหนือก้นถาดหลายเซ็นติเมตร ทำให้มีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุง
- ตรวจรอบๆบ้านว่าแหล่งน้ำขังหรือไม่ ท่อระบายน้ำบนบนหลังคามีแองขังน้ำหรือไม่หากมีต้องจัดการ
- ขวดน้ำ กระป๋อง หรือภาชนะอื่นที่อาจจะเก็บขังน้ำ หากไม่ใช้ให้ใส่ถุงหรือฝังดินเพื่อไม่ให้น้ำขัง
- ยางเก่าที่ไม่ใช้ก็เป็นแหล่งขังน้ำได้เช่นกัน
- หากใครมีรัวไม้ หรือต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทใส่ปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อและให้เทคอนกรีตปิแอ่งน้ำ
การป้องกันส่วนบุคคล
- ใส่เสื้อผ้าที่หนาพอสมควร ควรจะใส่เสื้อแขนขาว และการเกงขายาว เด็ดนักเรียนหญิงก็ควรใส่กางเกง
- การใช้ยาฆ่ายุง เช่น pyrethrum ก้อนสารเคมี
- การใช้กลิ่นกันยุงเช่น ตะไคร้ หรือสารเคมีอื่นๆ
- นอนในมุ้งลวด หรือมุ้ง
การควบคุมยุงโดยทางชีวะ
- เลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
- ใช้แบคทีเรียที่ผลิตสาร toxin ฆ่ายุงได้แก่เชื้อ Bacillus thuringiensis serotype H-14 (Bt.H-14) and Bacillus sphaericus (Bs)
- การใช้เครื่องมือดัดจับลูกน้ำซึ่งเคยใช้ได้ผลที่สนาบ บินของสิงคโป แต่สำหรับกรณีประเทศไทยยังได้ผลไม่ดีเนื่องจากไม่สามารถควบคุมแหล่งน้ำ ธรรมชาติจึงยังมีการแพร่พันธ์ของยุง
การใช้สารเคมีในการควบคุม
- การใช้ยาฆ่าลูกน้ำ วิธีการนี้จะสิ้นเปลืองและไม่เหมาะที่จะใช้อย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้จะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดและได้มีการสำรวจพบว่ามีความ ชุกของยุงมากกว่าปกติ
- Temephos 1% sand granules โดยการใส่ทรายที่มีสารเคมีนี้ตามอัตราส่วนที่กำหนดซึ่งไม่อัตรายต่อคน
- การใช้สารเคมีพ่นตามบ้านเพื่อฆ่ายุง วิธีการนี้ใช้ในประเทศเอเซียหลายประเทศมามากกว่า 20 ปีแต่จากสถิติของการระบาดไม่ได้ลดลงเลย การพ่นหมอกควันเป็นรูปอธรรมที่มองเห็นว่ารัฐบาลได้ทำอะไรเกี่ยวกับการระบาด แต่การพ่นหมอกควันไม่ได้ลดจำนวนประชากรของยุง ข้อเสียคือทำให้คนละเลยความปลอดภัย การพ่นหมอกควันจะมีประโยชน์ในกรณีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก
การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก
- เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้เลือดออก
- แจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอกควันเพื่อฆ่ายุง
- ให้สมาชิกในครอบครัว ป้องกันการถูกยุงกัดโดยการป้องกันส่วนบุคคลดังกล่าวข้างต้น
- สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธ์ยุงหรือไม่ หากมีให้จัดการเสีย
- เฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือไม่ หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะเป็นไข้เลือดออก
- ให้ผู้ป่วยนอนในมุ้งเพื่อป้องกันยุงกัด
ไข้เลือดออก ชนิดของไข้เลือดออก การดำเนินของโรค การดูแล การทำtouniquet การระบาด ผลการตรวจเลือด การป้องกัน ยุง
Link https://blog.eduzones.com https://www.siamhealth.net