การพยาบาลผู้ป่วยไข้เลือดออก


17,072 ผู้ชม


การพยาบาลผู้ป่วยไข้เลือดออก การพยาบาลโรคไข้เลือดออก อาการ ไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก

(Denque Fever/ Denque Hemorrhaqic Fever)

                ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง พบมากในฤดูฝนเพราะมียุงเพิ่มมากขึ้น   ทำให้มีไข้ร่วมกับมีเลือดออกตามจุดต่างๆ ของร่างกาย โรคนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

                หลังจากถูกยุงลายกัดประมาณกี่วันจึงจะแสดงอาการของไข้เลือดออก?

                ยุงลายที่เป็นพาหะของโรค จะเป็นยุงที่อาศัยอยู่ภายในบ้านและรอบๆ บ้าน ดูดกินเลือดคนเป็นอาหารและกัดเฉพาะเวลากลางวันประมาณ 4 – 6 วัน หลังจากถูกกัด อาการของโรคจะปรากฏให้เห็น   บางรายอาจเร็วหรือ    ช้ากว่านี้   เร็วที่สุด 3 วัน   ช้าที่สุด 14 วัน

                จะทราบได้อย่างไร ว่าเป็นไข้เลือดออก?       

1.       มีไข้แต่อาการไม่รุนแรง ลักษณะไข้สูงแบบเฉียบพลัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผื่นขึ้นตามตัว สามารถมองเห็นได้

2.       มีไข้สูงและมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วยดังนี้


2.1.   ระยะไข้: ไข้สูง 39 c – 40 c บางรายอาจถึงชักได้ ไข้ลอยอยู่ 2 – 7 วัน หน้าจะแดง   และตาอาจจะแดงด้วย   ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหลหรือไอ มีส่วนน้อยที่มีอาการไอแบบไม่มีเสมหะ

2.2.   ระยะเลือดออก:   จะพบในวันที่ 3 – 4 ของโรค  ไข้จะลดลง ตัวเย็น ผื่นขึ้น ผู้ป่วยจะซึมลง อาจมีอาการเลือดกำเดาไหล    เลือดออกตามไรฟัน ท้องอืด  ตับโต  เบื่ออาหาร  อาจมีเลือดออกในทางเดินอาหาร   ซึ่งผู้ป่วยจะอาเจียนเป็นเลือดเก่าๆ หรือถ่ายอุจจาระสีดำ อาการอาจรุนแรงถึงช็อก หมดสติ

2.3.     ระยะพักฟื้น:   จะฟื้นไข้เร็ว และจะหายภายใน   2 – 3 วัน     รวมระยะเวลาของโรคประมาณ      7 -10 วัน

 
   

การดูแลผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออก 

                ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลทุกรายโดยเฉพาะในระยะแรก ขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้ การรักษาเป็นแบบตามอาการและประคับประคอง โดยปฏิบัติดังนี้

1.     ระยะที่มีไข้สูงควรเช็ดตัวลดไข้ ในรายที่เคยมีประวัติชัก  หรือปวดศีรษะและปวดเมื่อยตามตัว  อาจจำเป็นต้องให้ยาลดไข้ โดยใช้ยาพาราเซตาเธกเธญเธฅ  ไม่ควรใช้ยาแอสไพริน  หรือไอบูโพรเฟน   เพราะจะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น

2.     ให้น้ำชดเชย เพราะผู้ป่วยอาจมีภาวะขาดน้ำ  เนื่องจากมีไข้สูง เบื่ออาหารและอาเจียน ควรให้ดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำเกลือแร่  ในรายที่อาเจียน  ควรให้ดื่มครั้งละน้อยๆ  และดื่มน้ำบ่อยๆ

3.     ติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด   ควรมาพบแพทย์เป็นระยะๆ   เพื่อตรวจดูระดับของความเข้มข้นเลือดและเกล็ดเลือด  ถ้าเกล็ดเลือดต่ำ  เลือดจะออกง่าย   ทำให้มีเลือดออกตามจุดต่างๆ  ของร่ายกาย   ระยะที่เกิดอาการช็อกส่วนใหญ่จะประมาณวันที่ 3 ของโรค (เวลาที่เกิดอาการช็อกแตกต่างกันไปแล้วแต่ระยะเวลาของไข้)    อาการนำของช็อกได้แก่ ปวดท้อง อาเจียน/  ถ่ายเป็นเลือด  ปัสสาวะน้อยลง มีอาการกระสับกระส่าย   มือเท้าเย็น  พร้อมๆกับไข้ลดลง    ถ้าพบอาการเหล่านี้ ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล แต่หากเป็นชนิดที่ไม่รุนแรงอาการจะดีขึ้นในเวลา   5 – 7 วัน

4.     ผู้ป่วยอาจยังมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำกว่าระดับปกติ แม้ว่าอาการจะดีขึ้น และออกจากโรงพยาบาลแล้วก็ตาม จึงควรหลีกเลี่ยงการกระทบกระแทกอย่างรุนแรงต่อไปอีก 3 – 5 วัน

5.       หากผู้ป่วยมีอาการปกติ    สามารถไปโรงเรียนหรือทำงานได้

6.       ถ้าคนในบ้านมีไข้สูงควรพามาพบแพทย์ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อไวรัสเช่นเดียวกับผู้ป่วย

จะป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้ได้อย่างไร

การป้องกันทำได้ 2 วิธี คือ

1.     ป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด   ซึ่งยุงลายนี้จะกัดในเวลากลางวัน ควรนอนในมุ้งหรือติดมุ้งลวดป้องกันยุงเข้ามาในบ้าน หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณมุมอับชื้น   ทายากันยุงที่สกัดจากพืชธรรมชาติ

2.     กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไป     ยุงลายจะเพาะพันธุ์ในน้ำใส ดังนั้นส่วนใหญ่สถานที่เพาะพันธุ์ยุงลาย จะเป็นภาชนะที่เก็บน้ำใช้ในบ้าน เช่น โอ่งน้ำ ถ้วย รองขาตู้กันมด  แจกันดอกไม้  ภาชนะนอกบ้านที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายกระทำได้โดย

·       ภาชนะที่ใช้เก็บน้ำต้องมีฝาปิด

·       ใช้ทรายอะเบทใส่ในภาชนะขังน้ำไว้ใช้เพื่อทำลายไข่ยุง (ซึ่งสามารถรับได้ที่สถานีอนามัย)

·       ทำลายภาชนะที่ไม่จำเป็น เพราะอาจมีน้ำขังได้

·       พ่นละอองยา ทำลายยุงลาย

  

 

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่ต้องควบคุม โดยสถานพยาบาลทุกแห่งจะรายงานการพบโรคให้กองควบคุมโรคติดต่อ   กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการควบคุมโรค  ด้วยการพ่นสารเคมี  เพื่อกำจัดยุงลายตัวแก่ ซึ่งจะดำเนินการให้หลังจากได้รับแจ้งจากสถานพยาบาลว่า  มีผู้ป่วยบริเวณนั้น หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย สามารถสอบถามได้ที่ 

กองควบคุมโรคติดต่อ โทร. 0 โ€“ 2245 - 8106

 

 

การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกในระยะไข้สูง

การดูแลในระยะนี้ญาติอาจจะต้องดูแลเอง ถ้าแพทย์ยังไม่ได้รับตัวไว้ในโรงพยาบาล ผู้ป่วยไข้เลือดออกร้อยละ 70จะมีไข้ 4-5 วัน ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะช็อกในวันที่ 5 ของไข้แต่ก็มีบางคน

แต่ผู้ป่วยร้อยละ 2-10จะมีไข้สูง2-3 วัน ดังนั้นวันที่ช็อกเร็วที่สุดคือ 3 วันนับจากวันที่มีไข้

  1. ให้ผู้ป่วยพักในที่ที่มีอากาศถ่ายเทดี
  2. ระหว่างที่มีไข้สูงให้เช็ดตัวลดไข้ โดยใช้น้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นบิดพอหมาดๆเช็ดบริเวณหน้า ลำตัว แขนขา และพักบริเวณรักแร้ แผ่นอก แผ่นหลัง ขาหนีบสลับกันไปมา ทำติดต่อกันอย่างน้อย 15 นาที ระหว่างเช็ดตัวหากมีอาการหนาวสั่นก็หยุดและห่มผ้าบางๆ ในเด็กเล็กเมื่อไข้สูงมากอาจจะเกิดอาการชักได้ โดยเฉพาะคนที่เคยมีประวัติชักตั้งแต่เด็ก
  3. ให้รับประทานยาพาราเซตามอลลดไข้ ควรจะให้แต่ละครั้งไม่ควรน้อยกว่า 4 ชั่วโมง ห้ามให้ยาลดไข้อื่น เช่นแอสไพริน ยาซองลดไข้ทุกชนิด ยาหัวสิงห์ ยาไอบรูเฤน เพราะอาจจะทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้แอสไพรินยังทำให้เกิดโรค Reye syndrome ควรให้ยาลดไข้เฉพาะเมื่อเวลาไข้สูงเท่านั้นโดยให้ไข้ต่ำกว่า 39 องศา การให้ยาลดไข้มากไปอาจจะมีพิษต่อตับ การดื่มน้ำเกลือแร่อย่างเพียงพอก็ช่วยให้ไข้ต่ำลงได้บ้าง
  4. ห้ามฉีดยาเข้ากล้าม
  5. อาหารควรจะเป็นอาหารอ่อน ยอยง่าย ถ้าเบื่ออาหารหรือรับประทานได้น้อย แนะนำดื่มนม น้ำผลไม้ หรือน้ำเกลือแร่ ถ้าอาเจียนแนะนำให้ดื่มน้ำเกลือแร่ครั้งละน้อยๆแต่บ่อยๆ ควรงดรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีสีดำหรือแดง
  6. ควรจะหลีกเลี่ยงยาอื่นโดยไม่จำเป็น
  • ถ้าอาเจียนมากอาจจะพิจารณาให้ยา domperidone แบ่งให้ 3 เวลาควรให้ช่วงสั้น
  • หากผู้ป่วยใช้ยากันชักก็ให้ใช้ต่อ
  • steroidไม่ควรให้
  • ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ

  1. จะต้องติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้ตรวจพบ และป้องกันภาวะช็อคได้ทันเวลา ช็อคมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับเวลาที่ไข้ลง ประมาณตั้งแต่วันที่ 3 ของการป่วย เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล
  • มีอาการเลวลงเมื่อไข้ลง มีเลือดออก เช่นเลือดกำเดา อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด
  • อาเจียนมากตลอดเวลา
  • ปวดท้องมาก
  • แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ต้องนั่ง
  • ผู้ป่วยซึมไม่ดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารได้น้อยลง
  • กระหายน้ำตลอดเวลา
  • กระสับกระส่าย เอะอะโวยวาย ร้องกวนมากในเด็กเล็ก
  • พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่นพูดไม่รู้เรื่อง
  • ตัวเย็น เหงื่ออก ตัวลาย
  • ไม่ปัสสาวะเป็นเวลานานเกิน 6 ชั่วโมง

ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรคแพทย์อาจจะนัดตรวจทุกวัน หรืออาจจะนัดตามความเหมาะสมจนกว่าไข้จะลง 24 ชั่วโมงหรือจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการปกติ

  1. เมื่อผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาล แพทย์จะทำ toumiquet test ทุกรายที่ไข้สูงน้อยกว่า 7 วัน และทำการตรวจเลือดเพื่อนับจำนวนเม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด และนัดตรวจซ้ำเป็นระยะ เม็ดเลือดขาวต่ำลงพร้อมกับเกร็ดเลือดต่ำลง และมีความเข้มข้นของเลือดสูงขึ้นแสดงว่ามีการรั่วของน้ำเหลืองออกจากกระแส เลือด และอาจจะช็อคได้
  2. โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลโดยเฉพาะในระยะแรกของการมีไข้ หากมีอาการดังกล่าวเบื้องต้นจึงรับไว้รักษาในโรงพยาบาล

การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก

การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพต้องประกอบไป ด้วย บุคลากรที่ได้รับการอบรมเป็นอย่างดี การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย มียาและคลังโลหิตที่ทันสมัย การวินิจฉัยโรคตั้งแต่เริ่มแรกจะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่ออัตรารอดชีวิต ในการรักษาจะแบ่งคนไข้ออกเป็น 3 กลุ่ม

ไข้เลือดออก ชนิดของไข้เลือดออก การดำเนินของโรค การดูแล การทำtouniquet การระบาด ผลการตรวจเลือด การป้องกัน ยุง

ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ

ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ

ยุงลาย
ยุงลาย พาหะนำโรคไข้เลือดออก


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
          ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออกนอก จากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย
 อาการของ ไข้เลือดออก 
          อาการของ ไข้เลือดออก ไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็น โรค ไข้เลือดออก อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ทั้งนี้ลักษณะที่สำคัญของ ไข้เลือดออก มีอาการสำคัญ 4 ประการคือ 
          1. ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40 มักมีหน้าแดง โดยมากไม่ค่อยมีอาการน้ำมูกไหลหรือไอ เด็กโตอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน 
          2. อาการเลือดออก : เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในกระเพาะ โดยจะมีอาการ
อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ มีจุดเลือดออกตามตัว 
          3. ตับโต 
          4. ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือช็อก  :  มักจะเกิดช่วงไข้จะลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่ายมือเท้าเย็น รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก ก่อนจะมีอาการช็อก ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ

ไข้เลือดออก
ไข้เลือดออก


 แนวทางการรักษาโรค ไข้เลือดออก

           โรค ไข้เลือดออก ไม่มีการรักษาเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อก และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง โดยทั่วไปการดูแลผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก มีแนวทางการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนี้ 
          1. ให้ยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้ที่ควรใช้คือ พาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาจำพวกแอสไพริน เนื่องจากจะทำให้เกล็ดเลือดผิดปกติ และระคายกระเพาะอาหาร 
          2. ให้สารน้ำชดเชย เนื่องจากผู้ป่วยไข้เลือดออก มักมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ในรายที่พอทานได้ให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ ในรายที่ขาดน้ำมาก หรือมีภาวะเลือดออก เช่น อาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือดต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางเส้นเลือด 
          3. ติดตามดูอาการใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลด ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที 
          4. ตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะ เพื่อใช้พิจารณาปริมาณการให้สารน้ำชดเชย

 การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็น ไข้เลือดออก 

          เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธุ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านหรือ ข้างบ้านว่า มีคนเป็นไข้เลือดออกด้วย และแจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอกควันเพื่อฆ่ายุง รวมถึงดูแลให้สมาชิกในครอบครัวป้องกันการถูกยุงกัด สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธุ์ยุงหรือไม่ หากมีให้รีบจัดการและทำลายแหล่งแพร่พันธุ์นั้น เพื่อป้องกันการเป็นไข้เลือดออก
          นอกจากนี้ต้องคอยระวังเฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือ ไม่ หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะเป็น ไข้เลือดออกได้
 การป้องกันโรค ไข้เลือดออก 

          ทุกวันนี้ยังไม่ยาที่ใช้รักษา ไข้เลือดออก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยป้องกันการแพร่ของยุง 

ไข้เลือดออก


 การควบคุมสิ่งแวดล้อม Environmental management
          การควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ยุงมีการขยายพันธุ์ 
          แทงค์ บ่อ กะละมัง ที่เก็บกักน้ำจะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่และกลายเป็นยุง ต้องมีฝาปิดและหมั่นตรวจสอบว่ามีลูกน้ำหรือไม่ 
          ให้ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แทงค์น้ำหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำว่ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะฤดูฝน
          ตรวจ สอบแจกัน ถ้วยรองขาโต๊ะ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ สำหรับแจกันอาจจะใส่ทรายผสมลงไป ส่วยถ้วยรองขาโต๊ะให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำ 
          หมั่น ตรวจสอบถาดรองน้ำที่ตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นที่แพร่พันธ์ของ ยุง โดยเฉพาะถาดระบายน้ำของเครื่องปรับอากาศซึ่งออกแบบไม่ดี โดยรูระบายน้ำอยู่เหนือก้นถาดหลายเซนติเมตร ทำให้มีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุง 
          ตรวจรอบ ๆ บ้านว่าแหล่งน้ำขังหรือไม่ ท่อระบายน้ำบนบนหลังคามีแองขังน้ำหรือไม่หากมีต้องจัดการ
          ขวดน้ำ กระป๋อง หรือภาชนะอื่นที่อาจจะเก็บขังน้ำ หากไม่ใช้ให้ใส่ถุงหรือฝังดินเพื่อไม่ให้น้ำขัง 
          ยางเก่าที่ไม่ใช้ก็เป็นแหล่งขังน้ำได้เช่นกัน 
          หากใครมีรั้วไม้ หรือต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทใส่ปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อและให้เทคอนกรีตปิดแอ่งน้ำ 
 การป้องกันส่วนบุคคล 

          ใส่เสื้อผ้าที่หนาพอสมควร ควรจะใส่เสื้อแขนขาว และกางเกงขายาว เด็กนักเรียนหญิงก็ควรใส่กางเกง 
          การใช้ยาฆ่ายุง เช่น pyrethrum ก้อนสารเคมี 
          การใช้กลิ่นกันยุงเช่น ตะไคร้ หรือสารเคมีอื่น ๆ 
          นอนในมุ้งลวด หรือมุ้ง 
          การควบคุมยุงโดยทางชีวะ 
          เลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ 
          ใช้แบคทีเรียที่ผลิตสาร toxin ฆ่ายุงได้แก่เชื้อ Bacillus thuringiensis serotype H-14 (Bt.H-14) and Bacillus sphaericus (Bs) 
          การ ใช้เครื่องมือดักจับลูกน้ำซึ่งเคยใช้ได้ผลที่สนาบบินของสิงคโปร์ แต่สำหรับกรณีประเทศไทยยังได้ผลไม่ดีเนื่องจากไม่สามารถควบคุมแหล่งน้ำ ธรรมชาติจึงยังมีการแพร่พันธ์ของยุง 

ฉีดสารเคมี ไข้เลือดออก


 การใช้สารเคมีในการควบคุม 
          ใช้ ยาฆ่าลูกน้ำ วิธีการนี้จะสิ้นเปลืองและไม่เหมาะที่จะใช้อย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้จะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดและได้มีการสำรวจพบว่ามีความ ชุกของยุงมากกว่าปกติ 
          การ ใช้สารเคมีพ่นตามบ้านเพื่อฆ่ายุง วิธีการนี้ใช้ในประเทศเอเชียหลายประเทศมามากกว่า 20 ปีแต่จากสถิติของการระบาดไม่ได้ลดลงเลย การพ่นหมอกควันเป็นรูปอธรรมที่มองเห็นว่ารัฐบาลได้ทำอะไรเกี่ยวกับการระบาด แต่การพ่นหมอกควันไม่ได้ลดจำนวนประชากรของยุง ข้อเสียคือทำให้คนละเลยความปลอดภัย การพ่นหมอกควันจะมีประโยชน์ในกรณีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก


         Link      

                           https://www.siamhealth.net
                           https://www.inf.ku.ac.th
                           https://health.kapook.com

อัพเดทล่าสุด