การรักษาไข้เลือดออก การรักษาโรคไข้เลือดออก อาการของไข้เลือดออก
การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกในระยะไข้สูง
การดูแลในระยะนี้ญาติอาจจะต้องดูแลเอง ถ้าแพทย์ยังไม่ได้รับตัวไว้ในโรงพยาบาล ผู้ป่วยไข้เลือดออกร้อยละ 70จะมีไข้ 4-5 วัน ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะช็อกในวันที่ 5 ของไข้แต่ก็มีบางคน
แต่ผู้ป่วยร้อยละ 2-10จะมีไข้สูง2-3 วัน ดังนั้นวันที่ช็อกเร็วที่สุดคือ 3 วันนับจากวันที่มีไข้
- ให้ผู้ป่วยพักในที่ที่มีอากาศถ่ายเทดี
- ระหว่างที่มีไข้สูงให้เช็ดตัวลดไข้ โดยใช้น้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นบิดพอหมาดๆเช็ดบริเวณหน้า ลำตัว แขนขา และพักบริเวณรักแร้ แผ่นอก แผ่นหลัง ขาหนีบสลับกันไปมา ทำติดต่อกันอย่างน้อย 15 นาที ระหว่างเช็ดตัวหากมีอาการหนาวสั่นก็หยุดและห่มผ้าบางๆ ในเด็กเล็กเมื่อไข้สูงมากอาจจะเกิดอาการชักได้ โดยเฉพาะคนที่เคยมีประวัติชักตั้งแต่เด็ก
- ให้รับประทานยาพาราเซตามอลลดไข้ ควรจะให้แต่ละครั้งไม่ควรน้อยกว่า 4 ชั่วโมง ห้ามให้ยาลดไข้อื่น เช่นแอสไพริน ยาซองลดไข้ทุกชนิด ยาหัวสิงห์ ยาไอบรูเฤน เพราะอาจจะทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้แอสไพรินยังทำให้เกิดโรค Reye syndrome ควรให้ยาลดไข้เฉพาะเมื่อเวลาไข้สูงเท่านั้นโดยให้ไข้ต่ำกว่า 39 องศา การให้ยาลดไข้มากไปอาจจะมีพิษต่อตับ การดื่มน้ำเกลือแร่อย่างเพียงพอก็ช่วยให้ไข้ต่ำลงได้บ้าง
- ห้ามฉีดยาเข้ากล้าม
- อาหารควรจะเป็นอาหารอ่อน ยอยง่าย ถ้าเบื่ออาหารหรือรับประทานได้น้อย แนะนำดื่มนม น้ำผลไม้ หรือน้ำเกลือแร่ ถ้าอาเจียนแนะนำให้ดื่มน้ำเกลือแร่ครั้งละน้อยๆแต่บ่อยๆ ควรงดรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีสีดำหรือแดง
- ควรจะหลีกเลี่ยงยาอื่นโดยไม่จำเป็น
- ถ้าอาเจียนมากอาจจะพิจารณาให้ยา domperidone แบ่งให้ 3 เวลาควรให้ช่วงสั้น
- หากผู้ป่วยใช้ยากันชักก็ให้ใช้ต่อ
- steroidไม่ควรให้
- ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ
- จะต้องติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้ตรวจพบ และป้องกันภาวะช็อคได้ทันเวลา ช็อคมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับเวลาที่ไข้ลง ประมาณตั้งแต่วันที่ 3 ของการป่วย เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล
- มีอาการเลวลงเมื่อไข้ลง มีเลือดออก เช่นเลือดกำเดา อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด
- อาเจียนมากตลอดเวลา
- ปวดท้องมาก
- แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ต้องนั่ง
- ผู้ป่วยซึมไม่ดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารได้น้อยลง
- กระหายน้ำตลอดเวลา
- กระสับกระส่าย เอะอะโวยวาย ร้องกวนมากในเด็กเล็ก
- พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่นพูดไม่รู้เรื่อง
- ตัวเย็น เหงื่ออก ตัวลาย
- ไม่ปัสสาวะเป็นเวลานานเกิน 6 ชั่วโมง
ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรคแพทย์อาจจะนัดตรวจทุกวัน หรืออาจจะนัดตามความเหมาะสมจนกว่าไข้จะลง 24 ชั่วโมงหรือจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการปกติ
- เมื่อผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาล แพทย์จะทำ toumiquet test ทุกรายที่ไข้สูงน้อยกว่า 7 วัน และทำการตรวจเลือดเพื่อนับจำนวนเม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด และนัดตรวจซ้ำเป็นระยะ เม็ดเลือดขาวต่ำลงพร้อมกับเกร็ดเลือดต่ำลง และมีความเข้มข้นของเลือดสูงขึ้นแสดงว่ามีการรั่วของน้ำเหลืองออกจากกระแส เลือด และอาจจะช็อคได้
- โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลโดยเฉพาะในระยะแรกของการมีไข้ หากมีอาการดังกล่าวเบื้องต้นจึงรับไว้รักษาในโรงพยาบาล
การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก
การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพต้องประกอบไป ด้วย บุคลากรที่ได้รับการอบรมเป็นอย่างดี การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย มียาและคลังโลหิตที่ทันสมัย การวินิจฉัยโรคตั้งแต่เริ่มแรกจะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่ออัตรารอดชีวิต ในการรักษาจะแบ่งคนไข้ออกเป็น 3 กลุ่ม
ไข้เลือดออก ชนิดของไข้เลือดออก การดำเนินของโรค การดูแล การทำtouniquet การระบาด ผลการตรวจเลือด การป้องกัน ยุง
ไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากตามหน้าหนังสือพิมพ์ และสื่อต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงฤดูฝน แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคไข้เลือดออกนี่สามารถ แพร่ระบาดได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบจำนวนการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน หรือช่วงเดือน พฤษภาคมถึงกันยายน
ไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัส “เดงกี่” ที่มีอยู่ทั้งสิ้น 4 ชนิด เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย ตัวร้ายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งยุงลายจะได้รับเชื้อไวรัสจากผู้ป่วยที่เป็นโรคและแพร่เชื้อไปยังกลุ่มคน อื่นๆ ซึ่งโรคนี้ไม่เพียงแต่จะเกิดกับเด็กๆ เท่านั้น แต่สามารถเกิดได้กับคนทุกกลุ่มทุกอายุ และใน ปัจจุบันมีแนวโน้มว่าผู้ใหญ่จะป่วยเป็นโรคนี้กันมากขึ้น
อาการของผู้ที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจะแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ซึ่งการสังเกตอาการของตัว เองจะทำให้ผู้ป่วยมารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที และไม่เกิดอันตรายร้ายแรง ดังนี้ค่ะ
ระยะที่ 1 คือ ระยะไข้ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงตลอดเวลา หน้าแดง มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อาจมีจุดแดงตามลำตัว แขน และขา โดยจะมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-7 วัน
ระยะที่ 2 คือ ระยะช็อก ระยะนี้จะเกิดในช่วงไข้ลด ผู้ป่วยจะมีอาการซึม มือเท้าเย็น ชีพจรเต้น เร็วแต่เบา มีอาการปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงด้านขวา ปัสสาวะน้อย มีเลือดออกได้ง่าย เช่น เลือด กำเดาไหล หรือ อาเจียนเป็นเลือด และมีอุจจาระสีดำ ระยะนี้เป็นระยะที่อันตรายมาก หากผู้ป่วยไม่ ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงทีอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
ระยะที่ 3 คือ ระยะพักฟื้น อาการต่างๆ จะดีขึ้น ปัสสาวะมากขึ้น และรู้สึกอยากรับประทานอาหารมากขึ้น ในระยะนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีจุดแดงๆ ตามลำตัวและแขนขา
เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะที่สามารถต้านเชื้อไวรัสไข้เลือดออกได้ วิธีการรักษาที่ดีที่สุด คือ การรักษาตามอาการของผู้ป่วย เช่น ในผู้ป่วยที่ มีไข้สูงการใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดไข้ให้แก่ผู้ป่วย จึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำที่สุด หากจำเป็นต้องให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพาราเซตามอลเท่านั้น ห้ามใช้ยา ลดปวดประเภทแอสไพรินโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น หากผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลียให้ดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำตาลเกลือแร่บ่อยๆ สุดท้าย คือ ต้องสังเกตอาการของผู้ป่วย หากผู้ป่วยมีอาการแย่ลง มือและเท้าเย็น ไข้ลดและกระสับกระส่าย จะต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่ สุด
ไม่ว่าจะเป็นโรคใดก็ตาม การป้องกันยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ทุกๆ คนควรกระทำ เพื่อป้องกันตัวเองให้พ้นจากโรคร้าย โรคไข้เลือดออกก็ เช่นเดียว กันที่การป้องกันยังคงเป็นวิธีที่ง่ายกว่าการรักษา ถ้าคุณไม่อยากให้ตัวเองและคนที่คุณรักต้องป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ก็ควรป้องกันโดยระมัดระวัง ไม่ให้ยุงกัดในตอนกลางวัน และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยการปิดภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิด ตรวจดูบริเวณโดยรอบไม่ให้มีน้ำขัง เก็บและ คว่ำหรือทำลายภาชนะที่ไม่ใช้แล้วเพื่อป้องกันไม่ให้มีน้ำขัง ใส่เกลือ น้ำส้มสายชู หรือผงซักฟอกลงในน้ำหล่อขาตู้ต่างๆ และถ้าคุณเป็นคนที่นิยมปลูก ดอกบัวในอ่างหรือเลี้ยงต้นไม้น้ำ ก็ควรนำปลาที่กินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูงมาเลี้ยงไว้ด้วยค่ะ
อย่าลืมค่ะว่า วิธีง่ายๆ เพียงเท่านี้ จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักปลอดภัยจากยุงลาย ตัวการสำคัญของโรคไข้เลือดออกค่ะ
“ไข้เลือดออก” อาการ และแนวทางการดูแลผู้ป่วย
ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกนอกจากจะเป็น ปัญหาสาธารณะสุขของประเทศไทยแล้วยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่่วโลกโดยเฉพาะ ประเทศในเขตร้อนชื้นและก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย
อาการของไข้เลือดออก
อาการของไข้เลือดออกไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดโรคนี้อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ลักษณะที่สำคัญของไข้เลือกออก มีอาการสำคัญ 4 ประการคือ
1. ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40, มักมีหน้าแดง, โดยมักไม่ค่อยมีอาการน้ำมูกไหลหรือไอเด็กโตอาจมีอาการ
ปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน
2. อาการเลือดออก : เลือดกำเดาไหล, เลือดออกตามไรฟัน, เลือดออกในกระเพาะ โดยจะมีอาการ
อาเจียนเป็นเลือด หรือ ถ่ายดำ, จุดเลือดออกตามตัว
3. ตับโต
4. ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือ ช็อค : มักจะเกิดช่วงไข้จะลดโดย ผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่ายมือเท้าเย็น รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก ก่อนจะมีอาการช็อค ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ
แนวทางการรักษา
โรคไข้เลือดออก ไม่มีการรักษาเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อค และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง … โดยทั่วไป การดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก มีแนวทางการดูแลอย่างใกล้ชิด ประมาณนี้
1. ให้ยาลดไข้, เช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้ที่ควรใช้คือ Paracetamol ไม่ควรใช้ยาจำพวกแอสไพริน เนื่องจากจะทำให้เกร็ดเลือดผิดปกติ และระคายกระเพาะอาหาร
2. ให้สารน้ำชดเชย เนื่องจากผู้ป่วยมักมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ในรายที่พอทานได้ให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อยๆ ในรายที่ขาดน้ำมาก หรือ มีภาวะเลือดออก เช่น อาเจียน หรือ ถ่ายเป็นเลือดต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางเส้นเลือด
3. ติดตามดูอาการใกล้ชิด ถ้ามีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลด ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
4. ตรวจนับจำนวนเกร็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะเพื่อใช้พิจารณาปริมาณการให้สารน้ำชดเชย
การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก
เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้เลือดออกด้วย และแจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอกควันเพื่อฆ่ายุง รวมถึงดูแลให้สมาชิกในครอบครัวป้องกันการถูกยุงกัด สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธ์ยุงหรือไม่ หากมีให้รีบจัดการและทำลายแหล่ง
นอกจากนี้ต้องคอยระวังเฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือไม่ หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะเป็นไข้เลือดออกได้
การป้องกันโรคไข้เลือดออก
ทุกวันนี้ยังไม่ยาที่ใช้รักษาไข้เลือดออก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยป้องกันการแพร่ของยุง
การควบคุมสิ่งแวดล้อม Environmental management
การควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ยุงมีการขยายพันธุ์
๐ แทงค์ บ่อ กะละมัง ที่เก็บกักน้ำจะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่และกลายเป็นยุง ต้องมีฝาปิดและหมั่นตรวจสอบว่ามีลูกน้ำหรือไม่
๐ ให้ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แทงค์น้ำหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำว่ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะฤดูฝน
๐ ตรวจสอบแจกัน ถ้วยรองขาโต๊ะ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ สำหรับแจกันอาจจะใส่ทรายผสมลงไป ส่วยถ้วยรองขาโต๊ะให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำ
๐ หมั่นตรวจสอบถาดรองน้ำที่ตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นที่แพร่พันธ์ ของยุง โดยเฉพาะถาดระบายน้ำของเครื่องปรับอากาศซึ่งออกแบบไม่ดี โดยรูระบายน้ำอยู่เหนือก้นถาดหลายเซนติเมตร ทำให้มีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุง
๐ ตรวจรอบๆบ้านว่าแหล่งน้ำขังหรือไม่ ท่อระบายน้ำบนบนหลังคามีแองขังน้ำหรือไม่หากมีต้องจัดการ
๐ ขวดน้ำ กระป๋อง หรือภาชนะอื่นที่อาจจะเก็บขังน้ำ หากไม่ใช้ให้ใส่ถุงหรือฝังดินเพื่อไม่ให้น้ำขัง
๐ ยางเก่าที่ไม่ใช้ก็เป็นแหล่งขังน้ำได้เช่นกัน
๐ หากใครมีรัวไม้ หรือต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทใส่ปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อและให้เทคอนกรีตปิดแอ่งน้ำ
การป้องกันส่วนบุคคล
๐ ใส่เสื้อผ้าที่หนาพอสมควร ควรจะใส่เสื้อแขนขาว และการเกงขายาว เด็ดนักเรียนหญิงก็ควรใส่กางเกง
๐ การใช้ยาฆ่ายุง เช่น pyrethrum ก้อนสารเคมี
๐ การใช้กลิ่นกันยุงเช่น ตะไคร้ หรือสารเคมีอื่นๆ
๐ นอนในมุ้งลวด หรือมุ้ง
๐ การควบคุมยุงโดยทางชีวะ
๐ เลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
๐ ใช้แบคทีเรียที่ผลิตสาร toxin ฆ่ายุงได้แก่เชื้อ Bacillus thuringiensis serotype H-14 (Bt.H-14) and Bacillus sphaericus (Bs)
๐ การใช้เครื่องมือดัดจับลูกน้ำซึ่งเคยใช้ได้ผลที่สนาบบินของสิงคโป แต่สำหรับกรณีประเทศไทยยังได้ผลไม่ดีเนื่องจากไม่สามารถควบคุมแหล่งน้ำ ธรรมชาติจึงยังมีการแพร่พันธ์ของยุง
การใช้สารเคมีในการควบคุม
๐ การใช้ยาฆ่าลูกน้ำ วิธีการนี้จะสิ้นเปลืองและไม่เหมาะที่จะใช้อย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้จะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดและได้มีการสำรวจพบว่ามีความ ชุกของยุงมากกว่าปกติ
๐ การใช้สารเคมีพ่นตามบ้านเพื่อฆ่ายุง วิธีการนี้ใช้ในประเทศเอเซียหลายประเทศมามากกว่า 20 ปีแต่จากสถิติของการระบาดไม่ได้ลดลงเลย การพ่นหมอกควันเป็นรูปอธรรมที่มองเห็นว่ารัฐบาลได้ทำอะไรเกี่ยวกับการระบาด แต่การพ่นหมอกควันไม่ได้ลดจำนวนประชากรของยุง ข้อเสียคือทำให้คนละเลยความปลอดภัย การพ่นหมอกควันจะมีประโยชน์ในกรณีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก
Link https://www.siamhealth.net https://www.phuketbulletin.co.th www.kapook.com