โรคหัวใจโต การรักษา


4,777 ผู้ชม


โรคหัวใจโต การรักษา การรักษาโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตเกิดจากอะไร

 "หัวใจโต" ได้ยินกันเสมอในหมู่อายุรแพทย์ และ แพทย์โรคหัวใจ เป็นความเข้าใจผิดที่พบได้บ่อยๆ เพราะในความเป็นจริงแล้ว ไม่มี “โรคหัวใจโต” มีแต่ “ภาวะหัวใจโต” ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ หัวใจก็เป็นอวัยวะเช่นเดียวกันกับอวัยวะอื่นๆ เมื่อต้องทำงาน หนักมากกว่าปกติ หรือมีปัญหาอื่นๆ ก็อาจทำให้ขนาดหัวใจโตขึ้น ดังนั้น หัวใจที่โตขึ้นจึงไม่ใช่ “โรค” แต่เป็นผลตามมา เนื่องจากโรคอื่นๆ

หัวใจโต โตจากอะไร

ขนาดหัวใจที่โตกว่าปกตินั้น อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ ลองนึกภาพคนเล่นกล้าม นักเพาะกาย กล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น เพราะทำงานหนัก กล้ามเนื้อหัวใจก็เช่นกัน หากต้องทำงานหนัก บีบตัวมากๆ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือ ลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนา ขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือขนาดของหัวใจโตขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือด คั่งค้างในห้องหัวใจมากคล้ายลูกโป่งใส่น้ำ ทำให้ขนาดโตขึ้น มีหลายโรคที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจ ที่เป็นดาราประจำก็ คือ ความดัน โลหิตสูง ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว หัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย เบาหวาน เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่หนา กว่าปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งเช่นกัน

หัวใจโต เกิดจากอะไร
 
 

      หัวใจโตเกิดจากขนาดหัวใจที่โตกว่าปกตินั้น อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ ลองนึกภาพคนเล่นกล้าม นักเพาะกาย กล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น เพราะทำงานหนัก กล้ามเนื้อหัวใจก็เช่นกัน หากต้องทำงานหนัก บีบตัวมากๆ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือ ลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนา ขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือขนาดของหัวใจโตขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือด คั่งค้างในห้องหัวใจมากคล้ายลูกโป่งใส่น้ำ ทำให้ขนาดโตขึ้น มีหลายโรคที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจ ที่เป็นดาราประจำก็ คือ ความดัน โลหิตสูง ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว หัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย เบาหวาน เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่หนา กว่าปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งเช่นกัน
หัวใจโตมีอาการอย่างไร

      ผู้ที่หัวใจโตส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการหากหัวใจยังทำงานปกติ แต่หากหัวใจทำงานผิดปกติจะเกิดอาการต่างๆจากโรคที่เป็น อาการต่างๆได้แก่

    หายใจลำบาก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
    หายใจเร็ว
    เวียนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย
    ใจสั่น
    บวมบริเวณเท้าตอนสายๆ
    ไอโดยเฉพาะเวลานอน
    นอนราบไม่ได้เนื่องจากแน่หน้าอก

ท่านจะต้องประเมินอาการของท่านให้ดีเพราะบางครั้งอาการต่างๆค่อยๆเป็นไปจนกระทั่งคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ ท่านอาจจะเปรียบเทียบกับคนที่อยู่ในวัยเดียวกับท่านและมีวิถีชีวิตเหมือนกับท่านว่าท่านมีอาการต่างๆมากกว่าเขาหรือเปล่า หากมากกว่าหรือท่านไม่แน่ใจให้ไปพบแพทย์เพื่อประเมิน

การตรวจร่างกายจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก แต่โดยทั่วไปแล้ว การตรวจร่างกายจะมุ่งหาสาเหตุของหัวใจโต มากกว่าที่จะ บอกขนาดของหัวใจ การตรวจที่จำเป็นคือคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และ เอกซเรย์ทรวงอก (ปอดและหัวใจ) หากกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือ เคยมีปัญหา กล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะแสดง ให้เห็นจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ หมายความว่า แม้คลื่นไฟฟ้า หัวใจปกติ ก็มิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต หรือ ไม่มีโรคหัวใจขาดเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจบอกว่าโต แต่จริงๆแล้วไม่โตก็ได้ เอกซเรย์ ทรวงอกบอกขนาด หัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็ผิดพลาดได้ง่าย เพราะขึ้นกับเทคนิค ระยะห่างระหว่างหัวใจกับฟิล์ม การหายใจ เป็นต้น

บ่อยครั้งที่ดูว่าหัวใจโตจากเอกซเรย์ แต่จริงๆแล้วขนาดหัวใจปกติ ไม่โตเลย ในทางกลับกันเอกซเรย์บอกว่าปกติแต่ความจริงมีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมากก็เป็นได้ ต้องเข้าใจว่า การตรวจเหล่านี้ ล้วนมีข้อจำกัดทั้งสิ้น บ่อยครั้งที่แพทย์สั่งตรวจพิเศษเหล่านี้หลายๆอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจ ในการให้ความเห็นและรักษา กรุณาอย่าคิดว่าแพทย์สั่งตรวจมากๆเพราะไม่เก่งหรือเพราะต้องการค่าแพทย์มากๆ
 
สาเหตุของหัวใจโต
       ผู้ที่หัวใจโตบางท่านอาจจะไม่มีสาเหตุแต่ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุ ได้แก่

    ความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่ความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องหัวใจท่านจะทำงานหนักจึงทำให้หัวใจโต
    ท่านที่มีโรคลิ้นหัวใจ ไม่ว่าจะลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว หรือมีการอักเสบติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ โรคต่างๆเหล่านี้จะทำให้หัวใจโต
    โรคของกล้ามเนื้อหัวใจเอง ที่เรียกว่า cardiomyopathy เช่นผู้ที่ดื่มสุราเป็นเวลานานกล้ามเนื้อหัวใจจะถูกทำลายทำให้หัวใจโต
    โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่นผนังหัวใจรั่วเป็นต้น
    ผู้ที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติก็จะทำให้หัวใจโต
    ผู้ที่เป็นโรคความดันในปอดสูงก็จะทำให้หัวใจโต
    ผู้ที่มีโลหิตจางหรือซีดเป็นเวลานาน
    โรคของต่อมไทรอยด์ไม่ว่าต่อมจะทำงานมากไปหรือน้อยไปก็ทำให้เกิดหัวใจโต
    สำหรับท่านที่รับประทานธาตุเหล็กมากไปจะมีการสะสมธาตุเหล็กเกิดโรค hemochromatosis
    มีความผิดปกติเกี่ยวกับโปรตีนทำให้มีการสะสมโปรตีนในกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า Amyloidosis

จะป้องกันหัวใจโตได้อย่างไร

การป้องกันหัวใจโตจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ทำให้หัวใจโตแนวทางป้องกันมีดังนี้

    สำหรับท่านที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เช่น อ้วนไม่ได้ออกกำลัง มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง ท่านจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดโอกาสในการเกิดความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่มีความดันโลหิตสูงแล้วท่านต้องรับประทานยาและปฏิบัติตามแพทย์สั่งโดยเคร่งครัด
    สำหรับโรคทางพันธุกรรมคงจะหลีกเลี่ยงยาก แต่ท่านอาจจะหยุดโรคโดยสอบประวัติครอบครัว หากภรรยา/สามี มีประวัติโรคหัวใจในครอบครัว ท่านควรปรึกษาแพทย์
    รักษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

การตรวจเพื่อหาสาเหตุของหัวใจโต

    การตรวจรังสีปอดและหัวใจซึ่งจะบอกได้ว่าหัวใจโตหรือไม่ แต่ไม่ได้บอกสาเหตุของหัวใจโต เป็นการตรวจเบื้องต้นเท่านั้น
    คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งจะวัดไฟฟ้าหัวใจว่าหัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่ และกล้ามเนื้อหัวในหนาหรือไม่
    การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งจะบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือไม่ การบีบตัวของหัวใจเป็นอย่างไร ยังสามารถดูลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ
    การตรวจ computer scan ซึ่งจะให้รายละเอียดของหัวใจค่อนข้างมาก
    การเจาะเลือดตรวจ
    ในรายที่จำเป็นอาจจะต้องฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ และอาจจะจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อหัวใจส่งตรวจ

การรักษาหัวใจโต

การรักษาหัวใจโตจะมุ่งเน้นไปที่การรักษาต้นเหตุ แต่หากผู้ป่วยเกิดอาการก็จำเป็นต้องได้ยาเพื่อรักษาอาการ ยาที่มักจะใช้ได้แก่

    ยาขับปัสสาวะ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม ยาที่สามารถเลือกใช้ได้แก่ furosemide, spironolactone ,hydrochlorothaizide ใช้ในกรณีที่มีอาการบวม และมีอาการของหัวใจวาย
    Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors ใช้ลดความดันและรักษาอาการหัวใจวาย
    Angiotensin receptor blockers (ARBs)ใช้ลดความดันและรักษาอาการหัวใจวาย
    Beta blockers ใช้ลดความดันและอาการหัวใจวาย
    Digoxin ใช้รักษากรณีที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ

การรักษาอื่นๆที่อาจจะมีความจำเป็น

    สำหรับผู้ที่หัวใจเต้นผิดปกติก็อาจจะจำเป็นต้องใช้เครื่องควบคุมการเต้นของหัวใจ
    การผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจ
    การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
    การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

นอกจากจะใช้ยาแล้วการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะทำให้ควบคุมอาการได้ดียิ่งขึ้น

    หยุดสูบบุหรี่
    ลดน้ำหนัก
    รับประทานอาหารจืด
    ควบคุมเบาหวาน
    ควบคุมความดันให้เหมาะสม
    ออกกำลังกาย
    หลับพักอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง

ปรึกษาและรับคำแนะนำเกี่ยวกับหัวใจโตได้ที่ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี

              การตรวจวินิจฉัยและการรักษา

   

การตรวจเพื่อหาสาเหตุของหัวใจโต


                 
  1. การตรวจรังสีปอดและหัวใจซึ่งจะบอกได้ว่าหัวใจโตหรือไม่ แต่ไม่ได้บอกสาเหตุของหัวใจโต เป็นการตรวจเบื้องต้นเท่านั้น

  2.              
  3. คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งจะวัดไฟฟ้าหัวใจว่าหัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่ และกล้ามเนื้อหัวในหนาหรือไม่

  4.              
  5. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งจะบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือไม่ การบีบตัวของหัวใจเป็นอย่างไร ยังสามารถดูลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ

  6.              
  7. การตรวจ computer scan ซึ่งจะให้รายละเอียดของหัวใจค่อนข้างมาก

  8.              
  9. การเจาะเลือดตรวจ

  10.              
  11. ในรายที่จำเป็นอาจจะต้องฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ และอาจจะจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อหัวใจส่งตรวจ

  12.         การรักษาโรคหัวใจโต
 

การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การรักษาต้นเหตุ แต่หากผู้ป่วยเกิดอาการก็จำเป็นต้องได้ยาเพื่อรักษาอาการ ยาที่มักจะใช้ได้แก่

            
  • ยาขับปัสสาวะ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม
    ยาที่สามารถเลือกใช้ได้แก่  furosemide, spironolactone
    ,hydrochlorothaizide ใช้ในกรณีที่มีอาการบวม และมีอาการของหัวใจวาย

  •              
  • Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors ใช้ลดความดันและรักาาอาการหัวใจวาย

  •              
  • Angiotensin receptor blockers (ARBs)ใช้ลดความดันและรักาาอาการหัวใจวาย

  •              
  • Beta blockers ใช้ลดความดันและอาการหัวใจวาย

  •              
  • Digoxin ใช้รักษากรณีที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ

  •                        

การรักษาอื่นๆที่อาจจะมีความจำเป้น


                 
  • สำหรับผู้ที่หัวใจเต้นผิดปกติก็อาจจะจำเป็นต้องใช้เครื่องควบคุมการเต้นของหัวใจ

  •              
  • การผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจ

  •              
  • การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
  •     

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


นอกจากจะใช้ยาแล้วการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะทำให้ควบคุมอาการได้ดียิ่งขึ้น

ถ้าจะถามผู้ที่สูบบุหรี่ว่ารู้หรือไม่ว่าบุหรี่มีโทษ ส่วนใหญ่จะรู้ว่ามีโทษ

ถามว่าทำไมไม่เลิกมักจะได้คำแก้ตัวต่างๆกัน เช่น"ลงทุนสูบมามากแล้ว""คนที่สูบไม่เห็นเป็นไรคนที่เลิกแล้วตายเร็ว""เลิกบุหรี่แล้วทำให้อ้วน" เหตุผลต่างๆนำมาแก้ตัวทั้งนั้น ความจริงคือคุณติดสารนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่

การสูบบุหรี่จะทำร้ายตัวเอง

    ทำให้เกิดโรคมากมายที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่
    ทุกปีจะมีผู้เสียชีวิตจากบุหรี่มากมาย
    สูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่นเสียเงินซื้อ เสียเงินรักษาโรค หยุดงานเพราะป่วย

การสูบบุหรี่จะทำร้ายคนอื่น

    จะทำลายสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน
    ทำให้เกิดโรคในเด็ก เช่นหอบหืด หูอักเสบ

คุณพร้อมหรือยังที่จะทำให้โลกสะอาดขึ้น เพื่อสุขภาพของลูกเมีย และเพื่อนร่วมงาน

อาหารที่เรารับประทานเข้าไป จะใช้เป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต เช่นใช้หล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ใช้ในการเดิน การหายใจ การทำงาน แต่ถ้าหากเรารับประทานอาหาร ที่มีพลังงานมากกว่า ที่เราใช้ส่วนเกินของพลังงาน จะสะสมในรูปไขมัน ผลทำให้น้ำหนักท่านเพิ่ม

ท่านผู้อ่านควรที่จะรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกต ิคือดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 20-20 กก./ตารางเมตร หากต่ำกว่านี้ร่างกายอาจจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หากมากกว่านี้อาจจะทำให้เกิดโรคต่างๆเช่น โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง

โรคอ้วนทำให้เกิดโรคอะไร

คนอ้วนมักจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรค ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนั้นโรคอ้วนยังเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งได้หลายชนิด

การลดน้ำหนัก

วิธีลดน้ำหนักที่ดีที่สุดคือการลดพลังงานจากอาหาร และการออกกำลังกายหรืออาจจะทำทั้งสองอย่างพร้อมกัน

    ลดพลังงานจากอาหาร

    รับประทานอาหารพวกผักผลไม้ให้มาก ไม่ปรุงอาหารด้วยไขมัน
    ลดอาหารไขมัน เช่นอาหารทอด ผัด เช่นปาท่องโก๋ กล้วยทอด ไก่ทอด ฟิซซ่า โรตี กะทิ
    ดื่มนมพร่องมันเนย งดเนย
    ลดการบริโภคน้ำตาล ของหวาน
    ลดสุรา

    การออกกำลังกาย

    ใช้การเดินแทนการนั่งรถ
    ใช้บันไดแทนการขึ้นลิฟต์
    ไปเล่นกับลูก ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน

อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโรคอ้วนคลิกที่นี่ ผู้ที่อ้วนลงพุงจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงกว่าพวกอ้วนธรรมดา

ประเทศไทยและอเมริกามีผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงเป็นจำนวนมาก หลายคนรับประทานเกลือมากเกินไป ยิ่งรับประทานเกลือมากก็มีโอกาศที่จะความดันโลหิตสูง เมื่อความดันสูงโอกาศที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจะมีโอกาศมาก เราสามารถบดโอกาศเกิดโรคความดันโดยการลดเกลือดและเพิ่มโปแตศเซียม

ทำไมต้องเป็นอาหารที่มีเกลือแกง sodium น้อย

ปรกติร่างกายคนเราต้องการเกลือปริมาณเล็กน้อยเพื่อควบคุมความดัน และปริมาณน้ำในร่างกาย คนส่วนใหญ่จะรับอาหารที่มีเกลือสูง คนปรกติไม่ควรรับเกลือเกิน 2300 mg ต่อวัน หากอายุมากกว่า 50 หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่นอ้วน หรือเป็นเบาหวานก็ไม่ควรที่จะบริโภคเกิน 1500 mg ต่อวัน การที่เรารับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำจะมีประโยชน์ดังนี้

    ลดความดันโลหิตสูง
    ลดอาการบวมที่เท้า
    สำหรับผู้ที่เป็นโรคไต การลดอาหารเค็มจะป้องกันน้ำท่วมปอด
    ป้องกันโรคหัวใจวาย
    และยังมีผลต่อสุขภาพด้านอื่นอีก

คนเราได้รับเกลือจากไหนบ้าง

คนทั่วไปจะได้รับเกลือจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปซึ่งแบ่งเป็น

    อาหารสำเร็จรูปได้อาหารแช่แข็งทั้งหลาย อาหารกระป๋อง อาหารว่าง ไส้กรอก ของขบเคี้ยวทั้งหลาย
    เครื่องปรุง เช่นซ็อส น้ำจิ้ม สารพัดเครื่องปรุง
    อาหารนอกบ้าน เช่นร้านอาหาร ร้านฟาสฟูด ภัตคารเป็นต้น

สังคมปัจจุบันจะได้รับปริมาณเกลือมาจากอาหารสำเร็จรูป สำหรับคนไทยจะได้จากการรับประทานอาหารนอกบ้านโดยการปรุงรสโดยเฉพาะเค็ม ซี่อิ้ว น้ำปลา

แนวทางการรับประทานอาหารจืดหรือลดเค็ม

ครปรกติไม่ควรจะรับเกลือกเกิน 2300 มก (ประมาณหนึ่งช้อนชา)สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี และมีความเสี่ยงต่อโรคความดัน หรือโรคหัวใจให้รับเกลือได้ประมาณ 1500-1800 มกต่อวัน

    บนโต๊ะอาหารจะไม่ตั้งขวดซี่อิ้ว น้ำปลา น้ำจิ้ม เกลือ
    เมื่อเลือกซื้อสินค้าให้เลือกสินค้าที่มีปริมาณเกลือต่ำ
    จดรายการสินค้าสำหรับทดแทนสินค้าที่มีปริมาณเกลือสูง
    เมื่อไปรับประทานอาหารนอกบ้าน เช่นร้านก๊วยเตี๋ยวหรืออาหารตามสั่งให้บอกแม่ครัวว่าไม่ต้องใส่ซี่อิ้วหรือน้ำปลา หรือเกลือ แต่จะปรุงเองโดยการชิมอาหารก่อน
    เมื่อปรุงอาหารที่บ้านจะไม่ใส่ซี่อิ้วหรือน้ำปลาขณะปรุงอาหาร ให้ปรุงหลังชิมแล้ว แนะนำว่าไม่ควรจะปรุง
    งดอาหารจานด่วน Fast food ทั้งหลายเพราะอาหารจะมีเกลือกมากและไม่สามารถลดเกลือได้
    ไม่แนะนำให้ใช้ซ็อสที่มีโปแตสเซี่ยมแทนซ็อสทั่วไป ก่อนจะได้คำแนะนำจากแพทย์
    หลีกเลี่ยงฝงฟู ฝงชูรส
    ให้รับประทานผักและผลไม้

รับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ

เลือกอาหารที่มีเกลือต่ำ การลดอาหารเค็มจะช่วยป้องกันและลดความดันโลหิตได้ โดยทั่วไปห้ามกินเกลือเกิน 6 กรัม(เท่ากับ โซเดียม 2400 มิลิกรัม) ท่านผู้อ่านไม่ควรปรุงรสอาหารก่อนชิมอาหาร หากปรุงรสอาหารเองต้องเติมเกลือให้น้อยที่สุด   ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง 

    เปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุงรส
    ใช้มะนาว พริก เครื่องเทศปรุงอาหารแทนเกลือหรือน้ำปลา
    หากท่านซื้ออาหารกระป๋องท่านต้องอ่านสลากอาหารเพื่อดูปริมาณสารอาหารเลือกที่มีเกลือต่ำ
    รับประทานอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้ แทนการรับประทานอาหารที่ผ่านขบวนการถนอมอาหาร
    ไม่เติมเกลือหรือน้ำปลาเพิ่มในอาหารที่ปรุงเสร็จ
    หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม เช่น หมูเค็ม เบคอน ไส้กรอก ผักดอง มัสตาร์ด และเนยแข็ง
    อาหารตากแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม หอยเค็ม กุ้งแห้ง ปลาแห้ง
    เนื้อสัตว์ปรุงรส ได้แก่ หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง
    อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่สำเร็จรูป โจ๊กซอง ซุปซอง
    อาหารสำเร็จรูปบรรจุถุง เช่น ข้าวเกรียบ ข้าวตังปรุงรส มันฝรั่ง
    เครื่องปรุงรสที่มีเกลือมาก เช่น ซุปก้อน ผงชูรส ผงฟู
    อาหารหมักดองเค็ม เช่น กะปิ เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ไตปลา ไข่เค็ม ผักดอง ผลไม้ดอง แหนม ไส้กรอกอิสาน

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหากับ ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ  หลอดเลือดแดงท่านผู้อ่านสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ โดยการปรับ
      อาหาร การออกกำลังกาย และยาให้เหมาะสมท่านผู้อ่านสามารถนำข้อเสนอแนะจากบทความนี้ไปปรึกษากับแพทย์ที่รักษาท่านอยู่ท่านต้องร่วมมือกับคณะแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อกำหนดเป้าหมายการรักษาบทความนี้เชื่อว่าจะช่วยท่านควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น


                

        โรคเบาหวานคืออะไร


               

อาหารที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็น
น้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงาน
                  เซลล์ในตับอ่อนชื่อเบต้าเซลล์เป็นตัวสร้างอินซูลิน
อินซูลินเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน
                 
โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ
                  เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน
                 
หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน
ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ
                  เช่น ตา ไต และระบบประสาท


               

               

ฮอร์โมนอินซูลินมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร


              
               

อินซูลินเป็นฮอร์โมนสำคัญตัวหนึ่งของร่างกาย สร้างและหลั่งจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน
                  ทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย
                  เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต ถ้าขาดอินซูลินหรือการออกฤทธิ์ไม่ดี
                  ร่างกายจะใช้น้ำตาลไม่ได้ จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงมีอาการต่างๆของโรคเบาหวาน
                  นอกจากมีความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังมีความผิดปกติอื่น เช่น
                  มีการสลายของสารไขมันและโปรตีนร่วมด้วย


                 

ใครมีโอกาศเป็นโรคเบาหวาน


                 

อ้วนโรค
เบาหวานเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้นผู้ที่มีญาติสายตรง เช่น พ่อ
แม่ พี น้อง เป็นเบาหวานจะมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น หากมีทั้งพ่อ
และแม่เป็นเบาหวานจะมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานร้อยละ 50


                 

นอกจากนั้นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อเบาหวานได้แก่
ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือว่าอ้วน ไม่ออกกำลังกาย เป็นไขมันในเลือดสูง 
กลุ่มคนเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับชนิดที่ 1
ทุกคนมีสิทธิ์เป็นเท่าๆกัน


                 

ความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน


        อาการของโรคเบาหวาน
  

หิวน้ำโรคเบาหวานชนิดที่สองจะมีอาการเป็นอย่างช้าๆโดยที่ผู้ป่วยอาจจะไม่ได้สังเกตุ อาการที่พบได้บ่อยคือ น้ำหนักลด หิวเก่งรับประทานอาหารเก่ง ดื่มน้ำเก่ง ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน

        

ส่วนโรคเบาหวานชนิดที่1
อาการค่อนข้างจะเฉียบพลันอาการทำนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย
หิวบ่อย น้ำหนักลด และบางท่านอาจจะมาด้วยโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน
เช่นภาวะเลือดเป็นกรด

  

ผู้ป่วยโรคเบาหวานหลายคนมาโรงพยาบาลด้วยเรื่องโรคแทรกซ้อนโดยที่ไม่มีอาการเบาหวานมาก่อน โรคแทรกซ้อนที่นำผู้ป่วยมาได้แก่

อาการโรคเบาหวานที่นี่

การคัดกรองโรคเบาหวาน

อ้วนเนื่องจากโรคเบาหวานจะมีอาการเป็นอย่างช้าๆโดยที่ไม่มีอาการ นอกจากนั้นโรคเบาหวานในระยะที่เริ่มเป็นจะไม่มีอาการ การคัดกรองจะทำให้การวินิจฉัยโรคได้เร็วยิ่งขึ้น
การคัดกรองหมายถึงการคัดเลือกผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานมาเจาะเลือดเพื่อวินิจฉัย กลุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้แก่ น้ำหนักเกิน ไม่ออกกำลังกายอ้วน มีประวัติญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น              

อ่านการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานที่นี่


       การวินิจฉัยโรคเบาหวาน      

เจาะเลือดวิธีการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานแน่นอนคือการเจาะเลือดตรวจหาระดับน้ำตาล แต่วิธีการเจาะมีหลายวิธี

          
  • เจาะตอนเช้าหลังจากอดอาหาร 8 ชั่วโมง หากน้ำตาลมากกว่า 126 มก%จะถือว่าเป็นเบาหวาน

  •                    
  • เจาะแบบซุ่ม หากมากกว่า 200 มก%และมีอาการเบาหวาน

  •                    
  • ทดสอบความทนต่อน้ำตาล

  •                    
  • การเจาะหาค่าน้ำตาลเฉลี่ย
  •              

และเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

       

ชนิดของโรคเบาหวาน       

การฉีดอินซูลินโรคเบาหวานมีด้วยกันหลายชนิด ชนิดที่พบบ่อยได้แก่ชนิดที่ 2 พบในคนสูงอายุและมีน้ำหนักเกิน ส่วนชนิดที่ 1 มักจะพบในเด็กเป็นพวกขาดอินซูลิน
การรักษาโรคเบาหวานทั้งสองชนิดไม่เหมือนกัน โรคแทรกซ้อนก็ต่างกัน การรักษาเบาหวานชนิดที่2จะเน้นเรื่องการควบคุมน้ำหนัก การควบคุมอาหาร
และการออกกำลังกาย ส่วนเบาหวานชนิดที่1จะให้อินซูลินเพื่อรักษาโรคเบาหวาน           

ชนิดของโรคเบาหวาน

    

หลักการรักษาโรคเบาหวาน      

สุขภาพดีหลักการรักษาโรคเบาหวานจะต้องทำให้ผู้ป่วยอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข มีคุณภาพชีวิตที่ใกล้เคียงคนปกติ และไม่มีโรคแทรกซ้อนซึ่งต้องประกอบไปด้วย

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่การออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร

  •                
  • การงดบุหรี่

  •                
  • การดูแลสุขภาพทั่วๆไป

  •                
  • การควบคุมความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ

  •                
  • การใช้ยาเม็ดหรือยาฉีด

การรักษาโรคเบาหวาน

      

การดูแลโรคร่วม

        

ไขมันผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นโรคทางmetabolic ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมีหลายโรคที่มักจะพบร่วมกันได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
การดูแลผู้ป่วยเบาที่มีโรคดังกล่าวร่วมด้วยจะมีความแตกต่าง ในเรื่องการเลือกยาที่ใช้รักษา และค่าเป้าหมายที่ต้องการ
ผู้ป่วยเบาหวานจะต้องมีเป้าหมายค่าความดันโลหิตต่ำกว่าคนทั่วไป และค่าไขมันก็ต่ำกว่าคนทั่วไป โรคที่พบร่วมบ่อยๆได้แก่

โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน        

แผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งหรือตีบ หากหลอดเลือดแข็งหรือตีบที่อวัยวะส่วนไหนก็จะทำให้เกิดโรคที่อวัยวะนั้น ดังนั้นโรคเบาหวาจะมีโรคแทรกซ้อนทุกระบบ ได้แก่


                   
  • ระบบประสาท

  •                
  • ตา

  •                
  • ไต

  •                
  • หัวใจและหลอดเลือด

  •                
  • ผิวหนัง

  •                
  • ช่องปาก

โรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน               

        

การรักษาโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน

เจ็บหน้าอกผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะมีโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ นอกจากนั้นยังมีภาวะฉุกเฉินที่มักจะเกิดในผู้ป่วยเบาหวานได้แก่

ส่วณโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาลได้แก่

                 

เป้าหมายของการรักษาเบาหวาน         

การตรวจปัสสาวะโรคเบาหวานส่วนหนึ่งเกิดจากกรมพันธ์ อีกส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมโรคเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อนมักจะปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงตีบ ดังนั้นเป้าหมายของการรักษาโรคเบาหวานจึงจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การควบคุม


                   
  • ความดันโลหิต

  •                
  • ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้ใกล้เคียงเป้าหมาย

  •                
  • ควบคุมน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วน

  •                
  • ออกกำลังกาย

  •                
  • ควบคุมระดับน้ำตาล และน้ำตาลเฉลี่ยให้ใกล้เคียงปกติ
        

การรักษาเบาหวานที่ดีจะต้องมีระดับน้ำตาล และน้ำตาลเฉลี่ยดี ความดันโลหิต ระดับไขมัน น้ำหนัก การออกกำลังจะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ดี อ่านที่นี่

        

การติดตามและประเมินการรักษา        

การตรวจน้ำตาลการประเมินการรักษาโรคเบาหวานสามารถทำได้สองแบบคือ ประเมินด้วยแพทย์ ซึ่งแพทย์จะเจาะหาระดับน้ำตาล น้ำตาลเฉลี่ย การตรวจปัสสาวะหาโปรตีน การเจาะเลือดตรวจไขมัน การตรวจร่างกาย การวัดความดันโลหิต การตรวจตาการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น


             

ในบางกรณีที่ผู้ป่วยจะต้องเจาะเลือดด้วยตัวเอง เพื่อการควบคุมโรคเบาหวานให้ดีเพื่อลดโรคแทรกซ้อน


  การป้องกันโรคเบาหวาน
         

แม้ว่าจะมียารักษาโรคเบาหวานเพิ่มเติม แต่ผลการรักษายังไม่ดีประกอบกับจำนวนผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหานมีมากขึ้นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อเบาหวานมีจำนวนมากขึ้น
และอายุที่เป็นโรคเบาหวานมีอายุน้อยลง ดังนั้นการป้องกันโรคเบาจะต้องทำก่อนการเกิดโรคเบาหวานซึ่งการป้องกันทำได้
โดย

        


         การใช้ยารักษาโรคเบาหวาน     
ยารักษาเบาหวานมีด้วยกันหลายชนิดแต่ละชนิดออกฤทธิ์ต่างกันการเลือกใช้ยาอย่างถูกต้องจะป้องกันโรคแทรกซ้อนจากยายาเบาหวานแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มก็มีข้อบ่งชี้ในการใช้แตกต่างกัน

     Link   https://siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด