โรคเอสแอลอี เลือดออกตามไรฟัน


2,624 ผู้ชม


โรคเอสแอลอี เลือดออกตามไรฟัน โรคเอสแอลอี คืออะไร การบำบัดรักษาโรคเอสแอลอี

โรคเอส แอล อี   (Systemic Lupus Erythematosus ,SLE )

เป็นโรคในกลุ่มเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีการ
อักเสบของอวัยวะต่างๆเกือบทุกที่ในร่างกาย  
ซึ่งเกิดจากภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติมีผลต่อต้านเซลล์และเนื้อเยื่อตัวเอง  
เกิดการทำลายเนื้อเยื่อจนทำให้เกิดอาการต่างๆ

สาเหตุ  
ยังไม่ทราบ
แน่ชัด   น่าจะเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกันได้แก่ พันธุกรรม
และสิ่งแวดล้อมเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นมากกว่าเพศชายประมาณ 10 เท่า  
โรคนี้กำเริบได้ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์และช่วงหลังคลอด  
แสดงว่าฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนมีบทบาท   ส่วนปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่
แสงอัลตร้าไวโอเลต, สารเคมีบางชนิด เช่นน้ำยาย้อมผม, ยาลดความดันบางตัวเช่น
hydralazine เป็นต้น  เชื้อโรคบางชนิดก็กระตุ้นให้เกิดโรคได้เช่นกัน

อาการ  
อาจมีอาการ
เล็กน้อยจนถึงรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้  แต่สามารถรักษาให้สงบได้
ถ้าได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและใกล้ชิดจากแพทย์เชี่ยวชาญด้านโรค
ไขข้อ( Rheumatologist )   และอาจเกิดอาการทีละอย่าง
หรือเกิดพร้อมกันหลายอย่างก็ได้

-   อาการทั่วไป :  ไข้, เบื่ออาหาร, อ่อนเพลีย, น้ำหนักลด, ผมร่วง
-   ผิวหนัง :  ผื่นแดงที่แก้มรูปคล้ายผีเสื้อ,  ผื่นแพ้แดด, จ้ำเลือด
-   ช่องปาก :  แผลในปากเป็นๆหายๆ มักไม่เจ็บ
-   ข้อ :  ข้อปวดบวมแดงที่แขนขาจำนวน 2 ข้อหรือมากกว่า
-   อวัยวะภายใน :       
       1.  เจ็บหน้าอกจากเยื้อหุ้มปอดหรือหัวใจอักเสบ
       2.  ไตอักเสบ มักไม่มีอาการจนกว่าเป็นมากๆ ขาและหน้าจะบวม
       3.  ระบบประสาท เช่น ชัก อาการทางจิต
      
4.  ระบบโลหิต เช่น ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ, เกร็ดเลือดต่ำ
และพบสารภูมิต้านทานที่ผิดปกติในเลือด ( Anti-DNA, Antiphospholipid,
Antinuclear antibody [ANA] )
       5.  อาการอื่นที่พบไม่บ่อย ได้แก่ ต่อมน้ำเหลืองโต, ตับม้ามโต      

การรักษา 

1.  การใช้ยา  มีหลายชนิดขึ้นกับอวัยวะที่ผิดปกติและความรุนแรงของโรค
      
-  โรคที่ไม่รุนแรง เช่น ไข้  ข้ออักเสบ 
เยื่อหุ้มปอดหรือหัวใจอักเสบเล็กน้อย  ผื่นผิวหนัง 
ปวดศีรษะ  เม็ดเลือดขาวต่ำ  ใช้ยาแก้ปวด, ยาต้านการอักเสบ, ยาต้านมาเลเรีย
      
-  โรคที่รุนแรง เช่น โรคไต ซีดจากเม็ดเลือดแดงแตกง่าย
จ้ำเลือดจากเกร็ดเลือดต่ำ น้ำในช่องเยื่อหุ้ม - ปอดหรือหัวใจจำนวนมาก 
อาการทางระบบประสาท ปอดและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ  ใช้ยาสเตียรอยด์,
ยากดภูมิคุ้มกัน
2.  การให้ความรู้และคำแนะนำ  แก่ผู้ป่วยและญาติในการปฏิบัติตัวดังนี้
      
-  โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ   รักษาไม่หายขาด
เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
แต่รักษาให้โรคสงบได้โดยรับประทานยาอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ
และไม่พลาดนัด
       -  หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดจัด ใช้ครีมกันแดด SPF 30 ขึ้นไป
       -  หลีกเลี่ยงการติดเชื้อโดยไม่ใกล้ชิดผู้ป่วยติดเชื้อ, รับประทานอาหารถูกสุขลักษณะ, พักผ่อนให้เพียงพอ
       -  หลีกเลี่ยงภาวะเครียด
      
-  เวลาไม่สบาย ห้ามซื้อยารับประทานเอง ให้พบแพทย์และบอกว่าเป็นโรคลูปัส
เพื่อเลี่ยงยาที่อาจทำให้โรคกำเริบเช่น ยาคุมกำเนิด,
ยาลดความดันโลหิตบางตัว
       -  สามารถมีบุตรได้
ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์ เพราะต้องรอให้โรคสงบอย่างน้อย 6 เดือน
โดยไม่ต้องใช้ยามาก เนื่องจากโรคอาจกำเริบได้   และอาจต้องงดยาบางอย่างก่อน
       -  การคุมกำเนิด เลี่ยงยาคุมที่มีเอสโตรเจนและการใส่ห่วงซึ่งมีโอกาสติดเชื้อสูง

อาการชวนสงสัยโรค เอส แอล อี

โรคเอส แอล อี สามารถแสดงอาการได้หลายระบบ เช่น
มีผื่น ผมร่วง  ปวดข้อ แผลในปาก ซีดบวม ฯลฯสำหรับการวินิจฉัยโรคนี้ 
อาศัยเกณฑ์ของสมาคมโรคข้อแห่งสหรัฐอเมริกา (American Rheumatic 
Association) ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น เอส แอล อี เมื่อมีอาการหรืออาการแสดง อย่างน้อย 4 ข้อ จาก 9 ข้อต่อไปนี้

 
ผื่นแดงที่ใบหน้า บริเวณโหนกแก้ม และสันจมูก ลักษณะคล้ายผีเสื้อ
 
ข้ออักเสบชนิดหลายข้อ และมักเป็นทั้ง 2 ข้างเหมือนๆ กัน
 
แผลในปาก
 
อาการแพ้แสง
 
การอักเสบของเยื่อบุ เช่น เยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ
 
อาการแสดงในระบบเลือด (เช่น ซีดจากเม็ดเลือดแดงแตก เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ)
 
อาการแสดงในระบบประสาท (เช่น ชัก ซึม ซึ่งอธิบายจากสาเหตุอื่นมิได้)
 
อาการแสดงในระบบไต (เช่น มีความผิดปกติของปัสสาวะ มีโปรตีนในปัสสาวะ)
 
การตรวจเลือดหา Antinuclear antibody ให้ผลบวก

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การวินิจฉัยโรค เอส แอล อี
นี้มีการแสดงออกได้ในหลายระบบ แต่ละระบบอาจมีความรุนแรงน้อยมาก 
ไม่มีอาการ จนถึงความรุนแรงมากถึงชีวิตได้

ผลกระทบจากยารักษา SLE

แม้ว่าในปัจจุบัน จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง
ของโรค เอส แอล อี  แต่ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้ผู้ป่วย เอส แอล อี 
สามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ เช่นเดียวกับคนทั่วไป 
โดยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเหมือนปกติ ยาที่นำมาใช้ในการรักษา เอส แอล อี 
ที่สำคัญมี 2 ชนิดได้แก่


 
ยาสเตียรอยด์
เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย 
มิให้ทำการต่อต้านเนื้อเยื่อต่างๆ  และลดการอักเสบ
อันเป็นผลจากระบบภูมิคุ้มกันได้ ยานี้สามารถทำให้โรค เอส  แอล อี
สงบได้อย่างรวดเร็ว และได้ผลดี แต่มีผลข้างเคียงมหาศาล ได้แก่  อ้วนขึ้น 
หน้ากลม ผิวหนังบางและแตกง่าย กระดูกผุ  
กระเพาะอาหารอักเสบและแผลในกระเพาะอาหาร  เบาหวาน 
เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย ยานี้จึงใช้ในระยะสั้นๆ 
เพื่อควบคุมโรคให้เข้าสู่ภาวะสงบ และลดขนาดยาให้เหลือน้อยที่สุด 
เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
 
ยาอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่ ยาที่ออกฤทธิ์ช้า
มีคุณสมบัติทำให้โรคเข้าสู่ภาวะสงบได้ ยาออกฤทธิ์ช้า แต่ออกฤทธิ์ได้นาน 
ยามีผลข้างเคียงน้อยกว่า และไม่รุนแรงเท่า สามารถใช้ยาได้เป็นเวลานาน 
โดยเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่น้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับ สเตียรอยด์

     

การปฏิบัติตวของผู้ป่วย เอส แอล อี

ส่วนสำคัญอีกอย่างที่ไม่แพ้การใช้ยา ได้แก่ 
การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ซึ่งมีความจำเป็น เพราะโรคนี้เป็นเรื้อรัง 
และยังไม่มียาที่ใช้รักษาได้หายขาดจริงๆ การรักษาต่อเนื่อง 
และติดตามการรักษาสม่ำเสมอ  

 
รับประทานยาสม่ำเสมอ ตามแพทย์สั่ง เนื่องจากสาเหตุสำคัญที่ทำให้โรคกำเริบอย่างหนึ่ง ได้แก่ การขาดยา
 
ระวังอาการไม่สบาย
หรือการติดเชื้อในร่างกาย ทั้งนี้เพราะการติดเชื้อในร่างกาย ไม่ว่าระบบใด
ทำให้โรคกำเริบขึ้นได้ นอกจากนี้ ยาสเตียรอยด์ยังมีผลทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
  ถ้าไม่รีบรักษา จะทำให้ความรุนแรงของการติดเชื้อมากกว่าคนธรรมดามาก
 
หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นอื่น ที่อาจทำให้โรคกำเริบ เช่น ยาบางชนิด น้ำยาย้อมผม ความเครียด การถูกแดด จึงไม่ควรตากแดดนาน ไม่ซื้อยากินเอง ทำจิตใจให้แจ่มใส
 
ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบร่างกายต่างๆ จำเป็นต้องได้รับการรักษาโรคในระบบนั้นๆ อย่างดี เช่น ไตอักเสบ เม็ดเลือดแดงแตก เกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น  

โรคเอส แอล อี ถ้าไม่รักษาหรือรักษาไม่ถูกวิธี
จะทำให้ไตอักเสบ  ไตวาย เลือดออกในทางเดินอาหาร
หรือติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือด  ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต   ดังนั้น
ถ้าสังเกตเห็นความผิดปรกติดังข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์ค่ะ

การวินิจฉัยและรักษาโรคเอส-แอล-อี


   
      ทำไมแพทย์ผิวหนังจึงรักษาโรคนี้ ซึ่งโรคนี้เป็นทุกระบบ
โดยเฉพาะภายในร่างกาย   คำตอบคือ เหตุเพราะว่า80% ของผู้ป่วย  
เริ่มมีอาการแสดงที่ผิวหนังก่อน คือเป็นผื่นแดง ๆ บนใบหน้า  
แต่ผื่นรูปผีเสื้อในปัจจุบันพบได้ไม่เกิน 10% การที่ผู้ป่วยมีผื่นแดง ๆ
บนใบหน้า   ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยจะเป็นโรคเอส แอล อี ทุกคนไป
อัตราอาจต่ำกว่า 1%   เสียด้วยซ้ำ
แพทย์ทั่วไปหรือแพทย์อายุรกรรมไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไรแน่  
ผู้ป่วยจึงต้องมาหา แพทย์ผิวหนังก่อน  
แพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่จะบอกผู้ป่วยได้ว่าเป็นหรือไม่  
และแพทย์ต้องมีห้องชันสูตรชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา และทางอิมมูนวิทยา  
(ระบบภูมิต้านทาน) จึงจะช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยโรคเอส แอล อี  
ตามกฏข้อบ่งชี้ของแพทย์สมาคมไขข้ออเมริกัน ต้องมีข้อบ่งชี้ด้วยกัน 4 ข้อ ใน
11 ข้อ   แต่ถ้ามัวรออยู่จนผู้ป่วยมีอาการครบ ผู้ป่วยก็แย่แล้ว โรคลงตับ
ไต สมอง   ตายไปเสียก็มาก หรือไม่รักษาก็หายยาก
ดังนั้นมีแพทย์ผิวหนังไม่กี่คน   ในโลกที่รักษาโรคเอส แอล อี นี้
จากประสบการณ์การรักษาโรคนี้นานกว่า 25 ปี   รักษาผู้ป่วยกลุ่ม เอส แอล อี
มากกว่า 500 ราย (โรคนี้คนไทยเป็นมากกว่าฝรั่งสัก   10-20 เท่า)
พอจะสรุปแนวทางวินิจฉัยและรักษาโรค กลุ่มแอล อี ดังนี้ 
  1. กลุ่มเฉพาะเป็นที่ผิวหนัง เป็นผื่นกลม
    สีแดงมีสะเก็ดขอบเขตชัด นูนหนาเล็กน้อย
    บางรายนูนหนาสูงเมื่อหายแล้วจะเป็นแผลเป็น มักขึ้นตามใบหน้า ในใบหู ตามตัว
    หรือเป็นทั้งตัว   บางคนเป็นก้อนนูนหนา เมื่อหายผิวหนังจะบุ๋มลึก
    บางรายมีแผล ขนาดใหญ่   ที่ก้นหรือตามเท้า ผื่นอาจขึ้นที่ริมฝีปากล่าง
    และขอบตาล่าง ถ้ามีขึ้นที่ศีรษะ   ก่อให้เกิดผมร่วงเป็นหย่อม
    กลุ่มนี้เรียกว่า ดี แอล อี ประมาณ 5%   ของกลุ่มนี้ ผู้ป่วยจะกลายเป็น เอส แอล อี เมื่อประมาณ 5-10 ปีต่อมา   การโดนแดดทำให้ผื่นกำเริบ
           
         
     
  2. กลุ่ม เอส แอล อี นี้  
    มีอาการครบ 4 อย่าง มีผื่นแดงบนใบหน้า ตัว แขน ขา หรือทั้งตัว  
    อาจมีสะเก็ดบางหรือหนา หรือมีวงหลายวง ข้อบวม มือเขียวเมื่อถูกความเย็น  
    มักมีไข้อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ผมร่วงมาก เลือดออกทางใต้ผิว
    ปลายนิ้วมีรอยบุ๋มเล็ก ๆ   แผล 2-3 จุดที่เพดานปาก ตาอาจบอด
    อาจมีอาการทางสมอง พูดเพ้อเจ้อ มีอาการชัก   กลุ่มนี้มีอาการชัดเจน
    นักเรียนแพทย์ก็วินิจฉัยได้ ถ้าอาการมากมีตาบวม ตัวบวม  
    ที่ขาบวมกดบุ๋มแสดงว่าไตพิการมาก  
          
  3. ไม่เข้าข่ายทั้งสองกลุ่ม มี
    แต่ผื่นแดง ๆ บนใบหน้า ไม่ใช่ลักษณะของโรค ดี แอล อี  
    เพียงแต่ตรวจพยาธิอิมมูนเรืองแสง ก็ใช่กลุ่ม แอล อี แน่ พบประมาณ 25%
    ของผู้ป่วย   กลุ่มนี้จะกลายเป็น เอส แอล อี (pre SLE) คือมีอาการไม่ครบ 4
    อย่าง ยกตัวอย่างเช่น   มีผู้ป่วยหญิงสาวเป็นโรคไขข้ออักเสบมานาน 2 ปี
    ได้รับแต่ยาแก้ปวดข้อ ไม่มีผื่นแดง   บนใบหน้า อยู่ ๆ มาวันหนึ่ง
    เกิดมีอาการผมร่วง ผู้ป่วยมาหาผู้เขียนด้วยโรคผมร่วง  
    ผู้เขียนให้การวินิจฉัยโรคว่าเป็นชนิด ปรี-เอส แอล อี ก่อนตรวจเลือด
    ซึ่งผลของ   การตรวจเลือดชี้บ่งโรคชัดเจน ในกรณีอย่างนี้
    ถ้าผู้ป่วยคนนั้นไปหาแพทย์ผิวหนัง   คนอื่น
    คงจะได้รับยาแค่รักษาโรคผมร่วงที่ไม่ทราบสาเหตุ เพราะแพทย์ผิวหนัง  
    ส่วนใหญ่ไม่ตรวจหาว่าเป็น เอส แอล อี ในบุคคลที่มีผมร่วงธรรมดา  
    และข้อบ่งชี้เรื่องผมร่วง สมาคมไขข้อของอเมริกันตัดออกจากรายการไปแล้ว  
    คือถือว่าไม่สำคัญ แต่สำหรับผู้เขียนยังถือว่าสำคัญอยู่

อีกรายหนึ่ง มาด้วยเรื่องผมร่วงเป็นหย่อมๆ
เหมือนโรคผมร่วงชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า   Alopecia areata ตามตำรากล่าวว่า
ผมร่วงในโรค เอส แอล อี ร่วงทั่ว ๆ ไปไม่เป็นหย่อม   แพทย์ผิวหนัง
ที่ตรวจครั้งแรกให้การวินิจฉัย เป็นโรคผมร่วงชนิดข้างต้น  
เพราะไม่มีอาการอื่น แต่ผู้เขียนตรวจผู้ป่วยโดยบังเอิญ พบว่า  
บริเวณที่ร่วงมีรอยขุมขนอุดตันอยู่ ซึ่งไม่พบใน โรคผมร่วงธรรมดา  
จึงทำการตรวจละเอียด ก็พบว่าเป็นโรค ปรี-เอส แอล อี เริ่มต้น
  
อีกรายหนึ่งมาด้วยเรื่องมีจุดเล็ก ๆ
บุ๋มที่บริเวณปลายนิ้วมานาน 3 เดือน   ได้รับแค่ยาแก้แพ้ผื่นคัน
อาการผื่นไม่หายสักที อาการทางระบบอื่น ๆ ไม่มี   ผู้เขียนตรวจดูพบว่า
รอยบุ๋มเล็ก ๆ ตรงปลายนิ้วเหมือนกับคนเป็นโรค เอส แอล อี  
ทำการตรวจทางพยาธิไม่พบอะไร ตรวจเลือดทุกชนิดก็ไม่พบ  
ทำการตรวจพิเศษทางพยาธิอิมมูนเรืองแสง พบเกล็ดภูมิแพ้ที่ชื่อ IgM  
ใต้หนังกำพร้าเล็กน้อย ตามปกติคนปกติก็พบได้เหมือนกัน
แต่เนื่องจาการตรวจรอยบุ๋ม   ที่นิ้ว
ดังนั้นผู้เขียนให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคปรี-เอส แอล อี จึงในการรักษาอ่อน
  ๆ ธรรมดา เช่น ยารักษาโรคมาลาเรีย ซึ่งใช้ในการรักษาโรคเอส แอล อี
ต่อมาอีก 6 เดือน   อาการผู้ป่วยกำเริบ เกิดมีอาการตับพิการ ตัวเหลือง
อาการของโรค เอส แอล อี ชัดเจน   จึงรักษาเต็มที่
(นี่ขนาดทราบแล้วนะว่าเป็นกลุ่ม แอล อี ยังปล่อยให้ลงตับจนได้)  
แสดงว่าโรคนี้รักษาไม่ใช่ง่าย ปัจจุบันหายเป็นปกติดี

    
นอกจากผื่นแดง ๆ ตามใบหน้าแล้วที่สังเกต คือ  
ต้องดูว่าผู้ป่วยมีอาการของเส้นเลือดอักเสบ หรือไม่
เพราะการรักษาจะไม่เหมือนกัน   ให้ดูที่ข้อศอกด้านท่อนแขนล่าง อาจพบมีจุดดำ
หรือผื่นแดง ๆ มีรอยบุ๋มตรงกลาง   แสดงว่ามีเส้นเลือดอักเสบ
บางคนผื่นขึ้นตามหลัง ตามมือ และเท้า บางคนมีลมพิษ   ซึ่งไม่หายใน 24
ชั่วโมง บางคนมีผื่นแดงตามฝ่ามือ กดแล้วไม่หาย แสดงว่ามีแอนติบอดี  
ชนิดแอนติคารดิโอไลปิน แอนติบอดี ซึ่งแสดงว่าโรคจะร้ายแรงมาก  
ผู้ที่มีผื่นแดงบนใบหน้าไม่จำเป็นต้องเป็นโรคนี้เสมอไป  
ดังผู้ป่วยหญิงรายหนึ่งมีผื่นที่หน้ามา 2-3 เดือน หลังจากชม  
ละครทีวี   ที่นางเอกของเรื่องนี้เป็นโรคนี้ แพทย์ผิวหนังตรวจดู  
พร้อมทั้งตรวจพิสูจน์ชิ้นเนื้อสงสัยว่าจะเป็น  
ผู้ป่วยร้องห่มร้องไห้มาปรึกษาผู้เขียน ผู้เขียนมองดูก็รู้ว่าไม่ใช่  
และได้ตรวจทางห้องทดลองอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยสบายใจและแน่ใจ
ว่าไม่ใช่โรคนี้   ดังนั้นการวินิจฉัยไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ
แม้แต่แพทย์บางท่านก็ยังไม่แน่ใจ
      
พอจะอธิบายคำว่า แอนติบอดี คือ
เราสามารถวัดความรุนแรงของโรคได้ว่ามีภูมิแพ้  
หรือภูมิต้านทานเสื่อมแค่ไหน แอนติบอดี ในโรค เอส แอล อี มีมากมายหลายชนิด
  เพราะโรคนี้ถือว่าเป็นโรคภูมิแพ้เซลล์ตัวเอง เลยสร้างอาวุธคือ
แอนติบอดีมาทำลาย   ถ้าจำนิวเคลียสของเซลล์ไม่ได้ เรียกว่าแอนตินิวเคลียส
แอนติบอดี ซึ่งมีมากกว่า 5   แบบ ในโรคเอส แอล อี เกิดมี ดี เอน เอ
ที่เปลี่ยนรูป อาจเกิดจากแสงแดดเป็นตัวทำลาย  
ร่างกายจะสร้างภูมิขึ้นมาต่อสู้กับสิ่งที่เปลี่ยนแปลง
เพราะว่าจำไม่ได้ว่าเป็น ดี   เอน เอ ของตัวเอง เรียก แอนติ ดีเอนเอ
แอนติบอดี ดีเอนเอที่เปลี่ยนรูป   จะจับกับแอนติดีเอนเอ แอนติบอดี  
เกิดเป็นกลุ่มก้อนลอยไปตามกระแสเลือดไปที่เส้นเลือดก่อให้เกิดการอักเสบ
ของเส้นเลือด   ไปที่ไตก่อให้เกิดไตอักเสบ ไปที่สมองก่อให้เกิดอาการชักได้
ฯลฯ 
      
บางครั้งโรคนี้มาด้วยอาการแปลก ๆ เช่น
คุณพยาบาลที่ทำงานของผู้เขียนคนหนึ่ง   มีอาการแน่นหน้าอก
       เหนื่อยง่าย ไปรักษากับแพทย์อายุรกรรมอีกโรงพยาบาลหนึ่ง  
แพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบสาเหตุอาจเกิดจากวัณโรค
  และให้การรักษาแบบวัณโรคแต่อาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยไม่มีอาการอื่นเลย
นอกจากมี แอนติ   โร แอนติบอดี ผู้ป่วยจึงมาปรึกษาเรื่องมีแอนติบอดีชนิดนี้
ผู้เขียนตอบไปว่า   เป็นโรคกลุ่ม แอล อี ลงหัวใจ   โดยที่ไม่มี      
อาการทางผิวหนังและยังไม่ได้ตรวจอะไรเพิ่มเติม ซึ่งแน่นอน  
จากการตรวจชิ้นเนื้อด้วยอิมมูนเรืองแสงพบว่าเป็น
จึงให้การรักษาด้วยยากดปฏิกิริยา   ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นมากในเวลาต่อมา   
    

         ดังนั้น การรักษาโรคจึงไม่เหมือนกัน แล้วแต่คน แล้วแต่อาการ   แล้วแต่ว่าใครทานยาอะไรได้ ยังขึ้นกับแพทย์ว่าชอบใช้ยาตัวไหน

  Link   https://www.yourhealthyguide.com   https://www.cgh.co.th

อัพเดทล่าสุด