ความรู้เรื่องไข้เลือดออก


2,634 ผู้ชม


ความรู้เรื่องไข้เลือดออก ความรู้โรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลระยองทำคนไข้เลือดออกตาย

โรคไข้เลือดออก (Dengue Haemorrhagic Fever)

ยุงลาย

ไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก

          โรคไข้เลือดออก ที่พบในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงในเอเซียอาคเนย์เกิดจากไวรัส dengue จึงเรียกชื่อว่า Dengue hemorrhagic fever (DHF) ซึ่งนับว่าเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและการแพทย์ เพราะมีผู้ป่วยปีละเป็นจำนวนมาก และผู้ป่วยไข้เลือดออกอาจเกิดจากภาวะช็อก ซึ่งทำให้ถึงเสียชีวิตได้รวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง โดยเริ่มระบาดครั้งแรกที่ประเทศ ฟิลิปปินส์ เมื่อ พ.ศ. 2497 และระบาดในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2501

          ใน พ.ศ. 2524 เริ่มมีการระบาดของไข้เลือดออกเดงกีเป็นครั้งแรกที่ คิวบา ภายหลังจากการระบาดของไข้เดงกีในปี 2520 หลังจากนั้นก็มีรายงานของไข้เลือดออกเดงกีเป็นโรคที่เกิดขึ้นใหม่ (emerging disease) ในประเทศต่างๆ ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้มากขึ้น

          เมื่อมีการเริ่มระบาดในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2501 มีรายงานผู้ป่วย 2,158 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 8.8 ต่อประชากรแสนคน มีอัตราป่วยตายร้อยละ 13.90 โดยมีรายงานจำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มสูงมากขึ้นตลอด แต่อัตราป่วยตายลดน้อยลงอย่างชัดเจน ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเดงกีส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 5 – 9 ปี รองลงมาได้แก่กลุ่มอายุ 10-14 ปี ในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคอย่างกว้างขวาง โดยจะพบผู้ป่วยได้ทุกจังหวัดและทุกภาคของประเทศ

                สาเหตุ และเชื้อที่เป็นสาเหตุของไข้เลือดออก 
     สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue) ซึ่งมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ D1 D2 D3  และ D4      ปัจจุบันยังไม่มีสายพันธุ์ใหม่   เนื่องจากการระบาดแต่ละปีจะมีสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งเด่นขึ้นมา  ซึ่งบางครั้งสายพันธุ์ที่ระบาดปีนี้อาจหายไปหลายปีแล้ว ทำให้รู้สึกว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่  แต่อย่างไรก็ตามทุกสายพันธุ์สามารถทำให้เกิดความรุนแรงได้เท่าเทียมกัน

     โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายบ้าน ( Aedes aegypti ) ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกีจะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวัน

          ลูกน้ำของยุงลายบ้าน จะอยู่ในภาชนะขังน้ำชนิดต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น (man-made container) ทั้งที่อยู่ภายในบ้าน และบริเวณรอบๆ บ้าน เช่น โอ่งน้ำดื่มน้ำใช้ บ่อซีเมนต์เก็บน้ำในห้องน้ำ ถ้วยหล่อขาตู้กับข้าวกันมด แจกัน ภาชนะเลี้ยงพลูด่าง จานรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่าและเศษวัสดุต่างๆที่มีน้ำขัง เป็นต้น

          ลูกน้ำยุงลายสวน มักเพาะพันธุ์อยู่ในแหล่งเพาะพันธุ์ธรรมชาติ (natural container) เช่น โพรงไม้ โพรงหิน กระบอกไม้ไผ่ กาบใบพืชจำพวกกล้วย พลับพลึง หมาก ฯลฯ ตลอดจนแหล่งเพาะพันธุ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นและอยู่บริเวณรอบๆบ้านหรือในสวน เช่น ยางรถยนต์เก่า รางน้ำฝนที่อุดตัน ถ้วยรองน้ำยางพาราที่ไม่ใช้แล้ว หรือแม้แต่แอ่งน้ำบนดิน

           เชื้อไวรัส Dengue ซึ่งมี 4 ชนิดคือ Dengue 1,2,3,4 โดยมากผู้ ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออก จะติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 (Secondary infection) มีเพียงส่วนน้อยที่ ติดเชื้อครั้งแรก (Primary infection)  โดยปกติ ไข้เลือดออกที่พบกันทั่วๆไปทุกปี มักจะเกิดจาก เชื้อไวรัส Dengue ชนิดที่ 3 หรือ 4 แต่ ที่มีข่าวมาในระยะนี้ จะเป็นการติดเชื้อในสายพันธ์ ที่ 2 เป็นสายพันธ์ ที่พบได้ประปรายเช่นกัน แต่อาการมักจะรุนแรงกว่า สายพันธ์ที่ 3, 4 และต้องเป็นการติดเชื้อซ้ำ ครั้งที่สอง Secondary Infection

                การติดเชื้อไวรัส Dengue 

  ไวรัสเดงกี เป็น single strandcd RNA ไวรัส อยู่ใน Family Flaviviridae มี 4 serotypes ( DEN1, DEN2, DEN3, DEN4 ) ซึ่งมี antigen ของกลุ่มบางชนิดร่วมกัน จึงทำให้มี cross reaction กล่าวคือ เมื่อมีการติดเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสชนิดนั้นอย่างถาวรตลอดชีวิต แต่จะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกีอีก 3 ชนิด ในช่วงระยะสั้นๆ ประมาณ 6-12 เดือน (หรืออาจสั้นกว่านี้ ) ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีไวรัสเดงกีชุกชุม อาจมีการติดเชื้อ 3 หรือ 4 ครั้งได้

          ตามทฤษฎี ไวรัสทั้ง 4 serotypes สามารถทำให้เกิด DF (Dengue Fever) หรือ DHF (Dengue hemorrhagic fever) ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกหลายประการ ที่สำคัญคือ อายุ แล ะภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย มีการศึกษาทางระบาดวิทยาที่แสดงว่าการติดเชื้อซ้ำ (secondary infection) ด้วยชนิดที่ต่างจากการติดเชื้อครั้งแรก (primary infection) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เพราะส่วนใหญ่ประมาณ ร้อยละ 80-90 ของผู้ป่วยที่เป็น DHF มีการติดเชื้อซ้ำ

          ส่วนผู้ที่เป็น DHF เมื่อมีการติดเชื้อครั้งแรกนั้น มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ชนิดของไวรัสเดงกีที่เป็นครั้งที่ 1 และ 2 (sequence of infections) อาจมีความสำคัญเช่นเดียวกัน มีการศึกษาทางระบาดวิทยาในคิวบาและในประเทศที่แสดงว่ามีการติดเชื้อครั้งที่ 2 ด้วย DEN2 มีโอกาสเสี่ยงสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการตามหลังการติดเชื้อครั้งแรกด้วย DEN1

          ในระยะแรกประเทศไทยจะแยกเชื้อ DEN2 จากผู้ป่วย DHF ได้ในอัตราที่สูงมากกว่าชนิดอื่น แต่ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 เป็นต้นมาแยกเชื้อจากผู้ป่วยได้ DEN3 มากกว่าชนิดอื่นๆ การศึกษาทางด้าน moleclar virology พบว่า มีความแตกต่างใน genotype/strain ที่แยกได้จากที่ต่างๆ โดยเฉพาะมีการศึกษาเกี่ยวกับ DEN2 พบว่า DEN2 genotype จากประเทศไทย/เวียดนาม มีศักยภาพสูงที่จะทำให้เกิด DHF เมื่อเป็นการติดเชื้อซ้ำ

องค์การอนามัยโลก ได้จำแนกกลุ่มอาการโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี ตามลักษณะอาการทางคลีนิค ดังต่อไปนี้

          Undiffiferentiate fever (uf) หรือกลุ่มอาการไวรัส พบในทารกหรือเด็ก จะปรากฎเพียงอาการไข้ 2 – 3 วัน บางครั้งอาจมีผื่นแบบ maculopapula rash มีอาการคล้ายคลึงกับโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถวินิจฉัยได้จากอาการทางคลีนิค

          ไข้เดงกี Dengue Fever-DF มักเกิดกับเด็กโตหรือผู้ใหญ่ อาจมีอาการไม่รุนแรง คือมีอาการไข้ร่วมกับ ปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก และมีผื่น บางรายอาจมีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง ตรวจพบ tounrniquet test positive ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีเม็ดเลือดขาวต่ำได้ ในผู้ใหญ่เมื่อหายจากเป็นโรค แล้วจะมีอาการอยู่นานโดยทั่วไปแล้วไม่สามารถวินิจฉัยจากอาการทางคลีนิคได้แน่นอน ต้องอาศัย การตรวจทางน้ำเหลือง/แยกเชื้อไวรัส

          ไข้เลือดออกเดงกี Dengue hemorrhagic fever-DHF มีอาการทางคลีนิคเป็นรูปแบบที่ค่อนข้างชัดเจน คือมีไข้สูงลอย ร่วมกับอาการเลือดออก ตับโต และมีภาวะช็อกในรายที่รุนแรง ในระยะมีไข้จะมีอาการต่างๆ คล้าย DF แต่จะมีลักษณะเฉพาะของโรค คือ มีเกล็ดเลือดต่ำและมีการรั่วของพลาสมา ซึ่งถ้าพลาสมารั่วออกไปมาก ผู้ป่วยจะมีภาวะ ช็อกเกิดขึ้นที่เรียกว่า dengue shock syndrome (DSS) การรั่วของพลาสมา ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของโรคไข้เลือดออกเดงกี สามารถตรวจพบได้จากการที่มีระดับ Hct สูงขึ้น มีน้ำในเยื่อหุ้ม ช่องปอดและช่องท้อง

                   อาการของ ไข้เลือดออก

          อาการของ ไข้เลือดออก ไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็น โรค ไข้เลือดออก อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ทั้งนี้ลักษณะที่สำคัญของ ไข้เลือดออก มีอาการสำคัญ 4 ประการคือ
          1. ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40 มักมีหน้าแดง โดยมากไม่ค่อยมีอาการน้ำมูกไหลหรือไอ เด็กโตอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน
          2. อาการเลือดออก : เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในกระเพาะ โดยจะมีอาการ
อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ มีจุดเลือดออกตามตัว
          3. ตับโต
          4. ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือช็อก  :  มักจะเกิดช่วงไข้จะลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่ายมือเท้าเย็น รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก ก่อนจะมีอาการช็อก ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ

 หลังจากได้รับเชื้อจากยุงที่เป็นพาหะแล้ว ประมาณ 5 - 8 วัน (ระยะฟักตัว) ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรค ซึ่งมีความรุนแรงแตกต่างกันได้ ตั้งแต่มีอาการคล้ายไข้เดงกี ไปจนถึงมีอาการรุนแรงมากจนถึงช็อก และ ถึงเสียชีวิตได้

          โรคไข้เลือดออกเดงกี มีอาการสำคัญที่เป็นรูปแบบค่อนข้างเฉพาะ 4 ประการ เรียงตามลำดับการเกิดก่อน และ การเกิดหลัง ดังนี้

          ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40 ทุกรายจะมีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส ไข้อาจสูงถึง 40 –41 องศาเซลเซียส ซึ่งบางรายอาจมีอาการชักเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเด็กที่เคยมีประวัติการชักมาก่อน หรือ ในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง ( Flushed face ) อาจตรวจพบคอแดง (injected pharynx ) ได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหล หรืออาการไอ ซึ่งช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคจากหัดในระยะแรก และโรคระบบทางเดินหายใจได้ เด็กโตอาจบ่นปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา

          ในระยะไข้นี้ อาการทางระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย คือ เบื่ออาหาร อาเจียน บางรายอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ซึ่งในระยะแรกจะปวดโดยทั่วไป และอาจปวดที่ชายโครงขวาในระยะที่มีตับโต ส่วนใหญ่ไข้จะสูงลอยอยู่ 2 – 7 วัน ประมาณร้อยละ 15 อาจมีไข้สูงนานเกิน 7 วัน และบางรายไข้จะเป็นแบบ biphasic ได้ อาจพบมีผื่นแบบ erythma หรือ maculopapular ซึ่งมีลักษณะคล้ายผื่น rubella ได้

          อาการเลือดออก : อาการเลือดออกที่พบบ่อยที่สุดที่ ผิวหนัง โดยจะตรวจพบว่า เส้นเลือดเปราะ แตกง่ายการทำ torniquet test ให้ผลบวกได้ตั้งแต่ 2 –3 วันแรกของโรค ร่วมกับมีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดา หรือเลือดออกตามไรฟัน

          ในรายที่รุนแรง อาจมีอาเจียน แล ะถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ (malena ) อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่จะพบร่วมกับภาวะช็อก ส่วนใหญ่จะคลำพบตับโตได้ประมาณวันที่ 3- 4 นับแต่เริ่มป่วย ในระยะที่ยังมีไข้อยู่ตับจะนุ่มและกดเจ็บ

           ตับโต ส่วนใหญ่จะคลำพบตับโตได้ประมาณวันที่ 3 – 4 นับ แต่เริ่มป่วยตับจะนุ่มและกดเจ็บ

           ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือ ช็อก : มักจะเกิดช่วงไข้จะลด เป็นระยะที่มีการรั่วของพลาสมา ซึ่งจะพบทุกรายในผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี โดยระยะรั่วจะมีประมาณ 24 – 28 ชั่วโมง

          ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วย ผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีจะมีอาการรุนแรง มีภาวะการไหลเวียนล้มเหลวเกิดขึ้น เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาออกไปยังช่องปอด/ช่องท้อง มากเกิด hypovolemic shock ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับที่มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว เวลาที่เกิดช็อกจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลามีไข้ อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค (ถ้ามีไข้ 2 วัน ) หรือเกิดวันที่ 8 ของโรค (ถ้ามีไข้ 7 วัน ) ผู้ป่วยจะมีอาการเลวลง เริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง ตรวจพบ pulse pressure แคบเท่ากับ หรือ น้อยกว่า 20 มม.ปรอท (ค่าปกติ 30 - 40 มม.ปรอท) โดยมีความดัน diastolic เพิ่มขึ้นเล็กน้อย (BP 110/90 , 100/80 มม.ปรอท ) ผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีที่อยู่ในภาวะช็อกส่วนใหญ่จะมีภาวะรู้สติดี พูดรู้เรื่อง อาจบ่นกระหายน้ำ

          บางรายอาจมีอาการปวดท้องเกิดขึ้นอย่างกระทันหันก่อนเข้าสู่ภาวะช็อก ซึ่งบางครั้งอาจทำให้วินิจฉัยโรคผิดเป็นภาวะทางศัลยกรรม (acute abdomen ) ภาวะช็อกที่เกิดขึ้นนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเลวลง รอบปากเขียว ผิวสีม่วงๆ ตัวเย็นชืด จับชีพจรและ/หรือวัดความดันไม่ได้ (profound shock ) ภาวะรู้สติเปลี่ยนไป และจะเสียชีวิตภายใน 12 – 24 ชั่วโมงหลังเริ่มมีภาวะช็อก หากว่าผู้ป่วยได้รับการรักษาช็อกอย่างทันท่วงที และถูกต้องก่อนที่จะเข้าสู่ระยะ profound shock ส่วนใหญ่ก็จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

          ในรายที่ไม่รุนแรง เมื่อไข้ลดลง ผู้ป่วยอาจจะมีมือเท้าเย็นเล็กน้อย ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของชีพจร และความดันเลือด ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงในระบบการไหลเวียนของเลือด เนื่องจากมีการั่วของพลาสมาออกไป แต่รั่วไม่มาก จึงไม่ทำให้เกิดภาวะช็อก ผู้ป่วยเหล่านี้ เมื่อให้การรักษาในระยะสั้นๆ ก็จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

                การรักษาโรค ไข้เลือดออก  

โรค ไข้เลือดออก ไม่มีการรักษาเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อก และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง โดยทั่วไปการดูแลผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก มีแนวทางการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนี้

         - ในระยะไข้สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีประวัติเคยชัก หรือในรายที่ปวดศีรษะและปวดเมื่อยตามตัว อาจให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพวกพาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาพวกแอสไพริน เพราะจะทำให้เกล็ดเลือดเสียการทำงาน และเลือดออกได้ง่ายขึ้น ควรให้ยาลดไข้เป็นครั้งคราว เฉพาะเวลาที่ไข้สูงเท่านั้น เนื่องจากเป็นระยะที่มีเชื้อไวรัสในกระแสเลือด ซึ่งเมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้ว ไข้ก็อาจขึ้นสูงได้อีก จนกว่าเชื้อไวรัสจะหมดจากกระแสเลือด ร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกันขึ้น (Antibody) ขึ้นมาเอง

          - ให้ผู้ป่วยได้น้ำชดเชย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มีไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ทำให้ขาดน้ำ และขาดเกลือโซเดียมด้วย ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผลไม้ หรือสารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ในรายที่อาเจียน ควรให้ดื่มครั้งละน้อย ๆ และดื่มบ่อย ๆ

          - จะต้องติดตามดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ตรวจพบและป้องกันภาวะช็อกได้ทันเวลา ภาวะช็อก มักจะเกิดพร้อมกับไข้ลดลง หรือภายใน 24 - 48 ชั่วโมง หลังจากไข้ลด มักเกิดประมาณตั้งแต่วันที่ 3 ของการป่วย ควรแนะนำให้พ่อแม่ ทราบอาการนำของช็อก ซึ่งอาจจะมีอาการซึม เบื่ออาการ ไม่รับประทานข้าว หรือดื่มน้ำติดต่อกันหลายวัน อาจมีอาการ ปวดท้องใต้ชายโครงขวา หรือมีอาการปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น แนะนำให้รีบส่งโรงพยาบาลทันที ที่มีอาการเหล่านี้

          - เมื่อผู้ป่วยไปตรวจที่โรงพยาบาล แพทย์จะตรวจเลือดดูปริมาณเกล็ดเลือด และ ปริมาณเม็ดเลือดต่อน้ำเลือด หรือเรียกว่า ฮีมาโตคริต Hct และอาจนัดมาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเลือด และฮีมาโตคริตเป็นระยะ ๆ เพราะถ้าปริมาณเกล็ดเลือดเริ่มลดลง และฮีมาโตคริตเริ่มสูงขึ้น เป็นเครื่องชี้บ่งว่าน้ำเลือด รั่วออกจากเส้นเลือด และอาจจะช็อกได้ จำเป็นต้องให้สารน้ำชดเชย

          - โดยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องรับผู้ป่วย เข้ารักษาในโรงพยาบาลทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระยะแรกที่ยังมีไข้ สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยให้ยาไปรับประทาน และแนะนำให้ผู้ปกครอง เฝ้าสังเกตอาการตามข้อ 3 หรือแพทย์นัด ให้ไปตรวจที่โรงพยาบาล เป็นระยะ ๆ โดยตรวจดูการเปลี่ยนแปลง ตามข้อ 4 ถ้าผู้ป่วยมีอาการ หรือแสดงอาการช็อก อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด ถึงแม้อาการไม่มาก ก็ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกราย และถือว่าเป็นเรื่องรีบด่วนในการรักษา

          - ต้องให้คำแนะนำอาการอันตราย หรืออาการก่อนช็อกแก่ผู้ปกครอง เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ ข้อใดข้อหนึ่ง ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล

           โรงพยาบาลระยองทำคนไข้เลือดออกตาย

ข้องใจรพ.รักษาเด็กม.4ไข้เลือดออกป่วยตาย

ผู้ปกครองของ "น้องแอล" เด็กนักเรียนชั้นม.4 โรงเรียนวัดนวลนรดิษฐ์ หอบพวงหรีด ไว้อาลัยหน้าโรงพยาบาลใน จ.ระยอง เหตุข้องใจลูกสาวนอนรักษาไข้เลือดออกแล้วอาการโคม่า กลับถูกบอกให้อดทน จนช็อกเสียชีวิต

วันนี้ (24 ธ.ค.) นายกิติรัช  อุดานนท์ อายุ 53 ปี บ้านเลขที่ 73/4 หมู่ 6 ต.เชิงเนิน อ.เมือง จ.ระยอง และนางพรรณี อุดานนท์  อายุ 47 ปี ภรรยา พร้อมญาติพี่น้องแต่งกายชุดดำจำนวน 20 คน นำพวงหรีดมีข้อความว่า”ไว้อาลัยแด่แพทย์และทีมงานสุขภาพ” และถือรูปภาพ น.ส.อชิรญา  อุดานนท์ หรือ น้องแอล ผู้เสียชีวิต เดินเข้าไปภายในอาคารผู้ป่วยโรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน จ.ระยอง ท่ามกลางผู้ป่วยที่มารอรับการรักษาต่างให้ความสนใจจำนวนมากรวมทั้งเจ้าหน้าที่พยาบาล  จากนั้นเดินไปวางพวงหรีดที่บริเวณหน้ารพ. ย่านถนนสุขุมวิท  อ.เมืองระยอง เนื่องจากไม่พอใจแพทย์เจ้าของไข้  ทางญาติจึงเรียกร้องให้โรงพยาบาลเยียวยาชดใช้ค่าเสียหาย โดยมี รองผอ.ของรพ. ได้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวไว้พิจารณา

สำหรับผู้เสียชีวิต เป็นเด็กสาวอายุเพียง 15 ปี   นักเรียนชั้นม.4 โรงเรียนวัดนวลนรดิษฐ์ อาศัยอยู่กับญาติ แล้วเกิดป่วยเป็นไข้เลือดออกมาเข้ารับการรักษาได้ 3 วันจึงเสียชีวิต ทั้งที่ก่อนหน้านี้ได้เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน กรุงเทพฯ แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออกและนัดเจาะเลือดแต่ให้กลับบ้านก่อน หลังจากนั้น 3 วัน จึงเริ่มมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน จึงพาไปรักษาที่ โรงพยาบาลศิริราช แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกแต่ผลเกร็ดเลือดเกิน 1แสน 1 หมื่น เซล ถือว่ายังปกติไม่เป็นอันตรายและแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน แต่ต้องเฝ้าระวังอาการโรคแทรกซ้อนเช่นเลือดออกทางเดินอาหาร เลือดกำเดา ปวดท้อง หากเกิดอาการแทรกซ้อนต้องรีบพบแพทย์ทันที


จนกระทั้งเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. ที่ผ่านมา ผู้เสียชีวิต เข้ามารับการรักษาที่รพ.ที่ถูกร้องเรียน เนื่องจากมีอาการเลือดกำเดาไหลและปวดท้อง แพทย์เจ้าของคนไข้ได้ให้น้ำเกลือ เจาะเลือด ให้นอนรอดูอาการที่รพ. จนวันรุ่งขึ้นที่ (18 ธ.ค.) นางพรรณี อุดานนท์ มารดาที่เฝ้าดูอาการบุตรสาว ได้ไปแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลว่า ผู้เสียชีวิตมีอาการถ่ายเป็นสีดำและมีกลิ่นเหม็นคาวเลือด ปวดท้องตลอดเวลา หน้าซีดไม่มีสีเลือด และได้รับคำตอบจากเจ้าหน้าที่พยาบาลว่า ต้องอดทนและไม่ยอมมาดูอาการให้แต่อย่างใด จนบุตรสาวมีอาการช็อคหมดสติ เจ้าหน้าที่พยาบาลรีบนำเข้าห้องไอซียู แพทย์พยายามช่วยปั๊มหัวใจแต่ไม่สามารถช่วยชีวิตไว้ได้และเสียชีวิตเมื่อเวลา 02.44 น.ของวันที่ 19 ธันวาคม

นายกิติรัช บิดาผู้เสียชีวิตกล่าวและว่าตนและญาติพี่น้องคาดหวังว่า รพ.ที่ร้องเรียนแห่งนี้เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีมาตรฐาน มีเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย แต่ไม่สามารถช่วยชีวิตบุตรสาวไว้ได้จึงต้องมาร้องขอความเป็นธรรม

อย่างไรก็ตาม รอง ผอ.ของรพ. ที่ถูกร้องเรียน ได้กล่าวว่า ได้รับเรื่องเพื่อเสนอ ผอ.รพ.แล้ว พร้อมตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง กับเจ้าหน้าที่พยาบาลที่เกี่ยวข้อง แพทย์เจ้าของไข้ ทีมงานสุขภาพและเจ้าหน้าที่ห้องไอซียูว่าให้การดูแลรักษาตามขั้นตอนของการรักษาตามมาตรฐานหรือไม่ โดยจะให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย ส่วนเรื่องการช่วยเหลือเยียวยาค่าเสียหายจะเสนอเรื่องให้มีการพิจารณาต่อไป 

Link    www.kapook.com
           www.thaisnews.com
           www.dailynews.co.th

อัพเดทล่าสุด