ความรู้ใหม่ๆสำหรับโรคไข้เลือดออก


1,784 ผู้ชม


ความรู้ใหม่ๆสำหรับโรคไข้เลือดออก ความสำคัญของโรคไข้เลือดออก ลักษณะอาการไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ

ยุงลาย


ยุงลาย พาหะนำโรคไข้เลือดออก



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
          ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออกนอก
จากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว
ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น
และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้
และมักพบบ่อยในเด็กต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ปี
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย
 อาการของ ไข้เลือดออก 
          อาการของ ไข้เลือดออก ไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็น โรค ไข้เลือดออก อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ทั้งนี้ลักษณะที่สำคัญของ ไข้เลือดออก มีอาการสำคัญ 4 ประการคือ 
          1. ไข้สูงลอย : ไข้
39-40 มักมีหน้าแดง โดยมากไม่ค่อยมีอาการน้ำมูกไหลหรือไอ
เด็กโตอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5
วัน 
          2. อาการเลือดออก : เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในกระเพาะ โดยจะมีอาการ
อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ มีจุดเลือดออกตามตัว 
          3. ตับโต 
          4. ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือช็อก 
:  มักจะเกิดช่วงไข้จะลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่ายมือเท้าเย็น
รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก ก่อนจะมีอาการช็อก ชีพจรเบาเร็ว
ความดันต่ำ


ไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก

การป้องกันโรคไข้เลือดออก


imagesCACYTI32

จนกระทั่งทุกวันนี้ยังไม่มียาที่ใช้รักษาไข้เลือดออก
หรือวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก
ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยป้องกันการแพร่ของยุง
เท่าที่ผ่านมาการควบคุมยังได้ผลไม่ดีเนื่องจากเน้นเรื่องการทำลายยุงซึ่ง
สิ้นเปลืองงบประมาณ และการควบคุมยุงต้องทำเป็นบริเวณกว้าง
การควบคุมที่จะให้ผลยั่งยืน ควรจะเน้นที่การควบคุมลูกน้ำ
การควบคุมสามารถร่วมหน่วยงานราชการอื่น องค์กรเอกชน ท้องถิ่น
ดังนั้นการควบคุมที่ดีต้องบูรณาการเอาหน่วยงานที่มีอยู่ และวิธีการต่างๆ
(การควบคุมสิ่งแวดล้อม การใช้ทางชีวภาพ การใช้สารเคมี)


การควบคุมสิ่งแวดล้อม

การควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อไมให้่ยุงมีการขยายพันธุ์

  • แทงค์ บ่อ กะละมัง ที่เก็บกักน้ำจะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่และกลายเป็นยุง ต้องมีฝาปิดและหมั่นตรวจสอบว่ามีลูกน้ำหรือไม่

  • ให้ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แทงค์น้ำหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำว่ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะฤดูฝน

  • ตรวจสอบแจกัน ถ้วยรองขาโตะ๊ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์
    สำหรับแจกันอาจจะใส่ทรายผสมลงไป
    ส่วนถ้วยรองขาโต๊ะให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำ

  • มั่นตรวจสอบถาดรองน้ำที่ตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นที่แพร่
    พันธ์ของยุง โดยเฉพาะถาดระบายน้ำของเครื่องปรับอากาศซึ่งออกแบบไม่ดี
    โดยรูระบายน้ำอยู่เหนือก้นถาดหลายเซนติเมตร
    ทำให้มีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุง

  • ตรวจรอบๆบ้านว่ามีแหล่งน้ำขังหรือไม่ ท่อระบายน้ำ บนหลังคามีแองขังน้ำหรือไม่หากมีต้องจัดการ

  • ขวดน้ำ กระป๋อง หรือภาชนะอื่นที่อาจจะเก็บขังน้ำ หากไม่ใช้ให้ใส่ถุงหรือฝังดินเพื่อไม่ให้น้ำขัง

  • ยางเก่าที่ไม่ใช้ก็เป็นแหล่งขังน้ำได้เช่นกัน

  • หากใครมีรัวไม้ หรือต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทใส่ปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อและให้เทคอนกรีตปิดแอ่งน้ำ

การป้องกันส่วนบุคคล


  • ใส่เสื้อผ้าที่หนาพอสมควร ควรจะใส่เสื้อแขนยาว และการเกงขายาว เด็กผู้หญิงก็ควรใส่กางเกง

  • การใช้ยาฆ่ายุง เช่น pyrethrum ก้อนสารเคมี

  • การใช้กลิ่นกันยุงเช่น ตะไคร้ หรือสารเคมีอื่ๆ

  • นอนในมุ้งลวด หรือมุ้ง

การควบคุมยุงโดยทางชีวะ


  • เลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ

  • ใช้แบคทีเรียที่ผลิตสาร toxin ฆ่ายุงได้แก่เชื้อ Bacillus thuringiensis serotype H-14 (Bt.H-14) and Bacillus sphaericus (Bs)

  • การใช้เครื่องมือดัดจับลูกน้ำซึ่งเคยใช้ได้ผลที่สนาบบินของสิงคโปร์
    แต่สำหรับกรณีประเทศไทยยังได้ผลไม่ดีเนื่องจากไม่สามารถควบคุมแหล่งน้ำธรรมชาติจึงยังมีการแพร่พันธ์ของยุง

โรคไข้เลือดออก

        

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหนะของโรค
นอกจากเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก
โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น
และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้
บทความนี้จะบรรยายถึงโรคไข้เลือดออกในแง่การดูแลผู้ป่วยซึ่งมีหัวข้อต่อไป
นี้

           

อุบัติการณืของโรคไข้เลือดออก

เมื่อ คศ 1970มีการระบาดของไข้เลือดออกเป็นครั้งคราว
epidermic 9 ประเทศ ปัจจุบันไข้เลือดออก มีการระบาดเพิ่มมากขึ้น ในระยะเวลา
10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันไข้เลือดออก เป็นโรคประจำท้องถิ่น endemic
ของประเทศมากว่า 100 ประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
western pacific โดยมีความรุนแรงมากในแถบ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western
pacific

        

ประชากรประมาณ 2500
ล้านคนในประเทศที่มีการระบาดจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก
ประมาณว่าจะมีการติดเชื้อปีละ 50 ล้านคน และต้องนอนโรงพยาบาลมากกว่า 500000
คนต่อปี อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 2.5 แต่อาจจะสูงถึงร้อยละ 20
หากให้การรักษาอย่างดีอัตราการเสียชีวิตอาจจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ1          

        

สาเหตุไข้เลือดออก

          

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes
aegyti ตัวเมียบินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง
เชื้อไ/วรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน
เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง
เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7
วันในช่วงที่มีไข้
หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น
ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน
ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน
ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่นยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง
จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง

     

เมื่อไรจึงจะสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก

 

อาการของไข้เลือดออกไม่จำเพาะ อาการมีได้หลายอย่าง
ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ใผู้ใหญ่อาจจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ
ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดโรคนี้อาจจะทำให้การรักษาช้า
ผู้ป่วยอาจจะสียชีวิต ลักษณะที่สำคัญของไข้เลือกออกคือ

       
  • ไข้สูงเฉียบพลันประมาณ2-7 วัน

  •                  
  • เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย

  •                  
  • บางรายอาจจะมีจุดเลือดสีแดงออกตามลำตัว แขนขา
    อาจจะใรเลือดกำเดาไหล เลือดออกตามรายฟัน
    และถ่านอุจาระดำเนื่องจากเลือดออกในทางเดินอาหาร และอาจจะช็อค

  •                  
  • ในรายที่ช็อคจะสังเกตเมื่อไข้ลงผู้ป่วยกลับแย่ลง ซึม มือเท้าเย็น เหงื่อออก หมดสติ และอาจจะเสียชีวิต
  •                

การเจาะเลือดตรวจวินิจฉัย

            

         การรักษา

             

ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคไข้เลือดออก
การรักเพียงประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อค และเลือดออก
และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1

           

             วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก

  การผลิตวัคซีนกำลังอยู่ในขั้นพัฒนา
แต่มีปัญาเนื่องเชื้อมี 4 สายพันธุ์
คาดการณ์ว่าจะสำเร็จและใช้ได้ในอนาคตอันใกล้ การป้องกันและการควบคุม           

วิธีที่จะป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือการควบคุมการแพร่กระจายของยุงลาย

  • กำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ยุง เช่น กะละ ยาง กระป๋อง

  •                  
  • หาฝาปิดภาชนะ เช่น โอ่ง ถังน้ำ

  •                  
  • ในแหล่งน้ำสาธารณะอาจจะเลี้ยงปลาเพื่อกินลูกน้ำ หรือใส่สารเคมีเพื่อฆ่าลูกน้ำ
  •            

ขนิดของเชื้อแดงกีเชื้อไวรัสแดงกี เป็น single strnded
RNA ไวรัสมีด้วยกัน 4 ชนิด(serotype) DEN1 DEN2 DEN3 DEN4 ซึ่งมี antigen
ร่วมกันบางส่วนทำให้เทื่อเกิดการติดเชื้อชนิดหนึ่ง
จะเกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้ออีกชนิดหนึ่ง แต่ภูมิที่เกิดจะอยู่ได้ 6-12 เดือน
ส่วนภูมิที่เกิดกับเชื้อที่ป่วยจะมีตลอดชีวิต
เช่นหากเป็นไข้เลือดออกจากเชื้อ DEN1 ผู้ป่วยจะมีภูมิต่อเชื้อนี้ตลอดชีวิต
แต่จะมีภูมิต่อเชื้อแดงกีชนิดอื่นเพียง 6-12
เดือนเท่านั้นจาการศึกษาพบว่าการติดเชื้อซ้ำ
หรือการติดเชื้อครั้งที่สองจะเป็นสาเหตุของโรคแดงกีได้ถึงร้อยละ 80-90
ในสมัยก่อนปี 2543พบว่าการระบาดของเชื้อแดงกีเกิดจากสายพันธ์ที่สอง DEN2
แต่หลังจากนั้นพบลดลง แต่จะพบสายพันธ์ DEN3 มากขึ้น แต่หลังจากปี 2543
เชื้อสายพันธ์ที่สอง DEN2
เริ่มกลับมาพบมากขึ้นและมีอัตราการตายสูงเนื่องจากเป็นเชื้อที่หากเป็น
แล้วจะเกิดอาการรุนแรงการ

         อาการของโรคติดเชื้อไข้เลือดออก

             ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้เลือดออกอาจจะไม่มีอาการ
หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หรืออาจจะเกิดอาการรุนแรงจนเสียชีวิต
เมื่อหายร่างกายจะมีภูมิต่อเชื้อนั้นตลอดชีวิต
ความรุนแรงของการติดเชื้อขึ้นกับอายุ ภาวะภูมิคุ้มกัน
และความรุนแรงของเชื้อ
               

การติดเชื้อไวรัสแดงกิ่วมีอาการได้ 3 แบบคือ


            

Link    https://www.siamhealth.net

           https://www.kapook.com

อัพเดทล่าสุด