อาการของคนเป็นโรคความดันต่ำ ปวดหัว ความดันต่ำ มือสั่น ความดันต่ำ


235,124 ผู้ชม

โรค หรือ ภาวะ ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) คือภาวะที่ความดันโลหิต (เลือด) ซีสโตลิค (Systolic blood pressure) ต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ความดันโลหิตไดแอสโตลิค


อาการของคนเป็นโรคความดันต่ำ ปวดหัว ความดันต่ำ มือสั่น ความดันต่ำ

ความดันต่ำ

            อาการของคนเป็นโรคความดันต่ำ

โรค หรือ ภาวะ ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) คือภาวะที่ความดันโลหิต (เลือด) ซีสโตลิค (Systolic blood pressure) ต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ความดันโลหิตไดแอสโตลิค (Diastolic blood pressure) ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งความดันโลหิตต่ำอาจต่ำเพียงความดันซีสโตลิค หรือ ไดแอสโตลิกตัวใดตัวหนึ่ง หรือต่ำทั้งสองตัวก็ได้ ซึ่งโดยทั่ว ไปแพทย์ไม่จัดความดันโลหิตต่ำเป็นโรค แต่จัดเป็นภาวะ

ภาวะความดันโลหิตต่ำเป็นภาวะที่ยังไม่มีการบันทึกอุบัติการณ์ที่แน่นอน เพราะเมื่อความดันโลหิตต่ำไม่มาก มักไม่ก่ออาการ และเมื่อมีอาการ ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการ เช่น วิงเวียน เป็นลม ไม่ได้มาด้วยเรื่องความดันโลหิตต่ำ ดังนั้น การจดบันทึกของโรงพยาบาล จึงมักไม่ได้ระบุว่า เป็นอาการจากความดันโลหิตต่ำ

อย่างไรก็ตาม ภาวะความดันโลหิตต่ำ พบเกิดได้ทั้งสองเพศใกล้เคียงกัน และพบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กอ่อนไปจนถึงผู้สูงอายุ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ

อะไรเป็นสาเหตุและกลไกให้เกิดความดันโลหิตต่ำ?

โรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งมีกลไกการเกิดดังนี้

  • ปริมาณน้ำ ของเหลว และ/หรือเลือด (โลหิต) ในการไหลเวียน เลือดลดลง จึงมีเลือดกลับเข้าสู่หัวใจน้อยลง หัวใจจึงเต้นบีบตัวลดลง ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง เช่น ภาวะขาดน้ำ และ/หรือขาดเกลือแร่ ภาวะเลือดออกรุนแรง ภาวะร่างกายเสียน้ำจากท้องเสียรุนแรง หรือจากมีแผลไหม้รุนแรง การลุกขึ้นทันทีจากท่านอนโดยเฉพาะเมื่อนอนนานๆ เมื่อไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย หรือเมื่อนั่งนานๆ (ปริมาณเลือดจะคั่งที่ขา เมื่อลุกขึ้นทันที เลือดจึงไหลกลับหัวใจได้น้อย ความดันโลหิตจึง ต่ำลงทันที) ซึ่งกลไกนี้ พบเป็นสาเหตุของความดันโลหิตต่ำได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะในผู้สูงอายุจากไม่ค่อยดื่มน้ำ เรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า ภาวะความดันโลหิตต่ำหรือตกจากการเปลี่ยนท่า (Postural or Orthostatic hypoten sion)
  • ภาวะโลหิตจาง เพราะส่งผลให้ความเข้มข้นของเลือดลดลงจากปริมาณเม็ดเลือดแดงลดลง ส่งผลให้ปริมาตรในภาพรวมของเลือดลง จึงส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลง
  • ในบางคนภายหลังกินอาหารมื้อหลักปริมาณสูงมาก จึงส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหาร และลำไส้เพิ่มขึ้น เกิดภาวะคล้ายมีเลือดคั่งในกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะกระเพาะอาหารและลำไส้ทำงานเพิ่มขึ้น จึงขาดปริมาณเลือดโดยรวมในการไหลเวียนในกระแสโลหิต เลือดจึงกลับเข้าหัวใจน้อยลง ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตต่ำ เรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Postprandial hypotension
  • จากโรคของประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการบีบตัวของหลอดเลือด และการบีบตัวของหัวใจ จึงทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดขยาย เลือดจึงคั่งอยู่ในเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆเพิ่มขึ้น การไหลเวียนโลหิตจึงลดลง เลือดกลับเข้าหัวใจลดลง จึงส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำ เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) และโรคความจำเสื่อมบางชนิด ซึ่งเรียก ภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Neurogenic orthostatic hypotension
  • จากภาวะติดเชื้อรุนแรงในกระแสโลหิต/เลือด (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด) ส่งผลให้เกิดหลอดเลือดขยายตัวมากขึ้นพร้อมๆกัน รวมทั้งเกิดการล้มเหลวในการทำงานของหัวใจและปอด จึงส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
  • จากการแพ้ยา หรือแพ้อาหาร หรือแพ้สารต่างๆอย่างรุนแรง ส่งผลให้หลอดเลือดทั่วตัวขยายตัวทันที และร่วมกับมีของเหลว/น้ำในเลือดซึมออกนอกหลอดเลือด จึงเกิดการขาดเลือดไหลเวียนในกระแสโลหิต ความดันโลหิตจึงต่ำลง เรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Anaphylaxis
  • จากโรคหัวใจ หัวใจจึงบีบตัวเต้นผิดปกติ จึงลดแรงดันในหลอดเลือด ส่งผลให้ความดันเลือดต่ำ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • จากการตั้งครรภ์ มักเกิดในระยะ 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จากการที่ต้องเพิ่มเลือดหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ การไหลเวียนโลหิต หรือปริมาตรโลหิตในมารดาจึงลดลง ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตต่ำได้ แต่ร่างกายมารดามักปรับตัวได้เองเสมอเมื่อมารดามีสุขภาพแข็ง แรง
  • จากโรคของต่อมไร้ท่อซึ่งสร้างฮอร์โมนควบคุมการทำงาน ของหัวใจ ของหลอดเลือด และของเกลือแร่ต่างๆที่เป็นตัวอุ้มน้ำในหลอดเลือด จึงส่งผลถึงการไหลเวียนโลหิต จึงเกิดความดันโลหิตต่ำได้ เช่น โรคของต่อมไทรอยด์ โรคของต่อมหมวกไต หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในโรคเบาหวาน
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาขับน้ำ ยาลดความดันโลหิตสูง ยาไวอะกรา (Viagra) หรือ ยาทางจิตเวชบางชนิด
  • จากมีการกระตุ้นวงจรประสาทอัตโนมัติและสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ หลอดเลือด และหัวใจ ซึ่งเมื่อเกิดการกระตุ้นวงจรนี้ จะส่งผลให้หลอดเลือดและหัวใจทำ งานผิดปกติ ความดันโลหิตจึง ต่ำลงได้ เรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Neurally mediated hypotension เช่น จากอารมณ์/จิตใจ (กลัวมาก ตกใจ เห็นภาพสยดสยอง หรือ เจ็บ/ปวดมาก) จากการยืน หรือ นั่งไขว่ห้างนานๆ การอยู่ในที่แออัด และ/หรืออบอ้าว การอาบ น้ำอุณหภูมิอุ่นจัด หรือการหยุดพักทันทีขณะออกกำลังกายอย่างหนัก

ใครบ้างมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตต่ำ?

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตต่ำ ได้แก่

  • ผู้สูงอายุ จากดื่มน้ำน้อย และจากไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย
  • ผู้มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคของต่อมไทรอยด์และภาวะซีด
  • กินยาบางชนิดโดยเฉพาะ ยาขับน้ำ ยาโรคความดันโลหิตสูง และยาโรคเบาหวาน
  • มีภาวะขาดน้ำ จากสาเหตุต่างๆ เช่น ท้องเสีย หรือ อาเจียน รุนแรง หรือภาวะลมแดด

โรคความดันโลหิตต่ำมีอาการอย่างไร?

อาการพบบ่อยของโรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ

  • วิงเวียน หน้ามืด เป็นลม
  • ตาลาย
  • คลื่นไส้ อาจอาเจียน
  • มือ เท้าเย็น
  • เหงื่อออกมาก
  • ชีพจรเบา เต้นเร็ว
  • หายใจเร็ว เหนื่อย
  • กระหายน้ำ ตัวแห้ง ปัสสาวะน้อย เมื่อเกิดจากภาวะขาดน้ำ
  • บางคนอาจมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เมื่อเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • อาจมีผื่นแดงขึ้นตามตัว หน้า ตัวบวม เมื่อเกิดจากการแพ้สิ่งต่างๆ
  • อาจชัก
  • หมดสติ เมื่อความดันโลหิตต่ำมาก

แพทย์วินิจฉัยโรคความดันโลหิตต่ำได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำได้จาก การวัดความดันโลหิต และวินิจฉัยหาสาเหตุได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ประวัติกินยาต่างๆ หรือ กินอาหาร หรือถูกสัตว์/แมลงต่อย การตรวจร่างกาย และการตรวจเพิ่มเติมต่างๆ ทั้งนี้ขึ้น กับอาการผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เมื่อสงสัยโรคหัวใจ หรือการตรวจเลือดดูค่าน้ำตาลเมื่อสงสัยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากโรคเบาหวาน เป็นต้น

รักษาโรคความดันโลหิตต่ำได้อย่างไร?

แนวทางการรักษาโรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ การเพิ่มความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตามสาเหตุ เช่น ให้น้ำและเกลือแร่ทางหลอดเลือดดำเมื่อเกิดจากภาวะขาดน้ำ การให้เลือดเมื่อเสียเลือดมาก หรือการให้ยาเพิ่มความดันโลหิต/ยาเพิ่มการบีบตัวของหลอดเลือด เมื่อเกิดจากหลอดเลือดขยายตัวผิดปกติ

นอกจากนั้น คือ การรักษาสาเหตุ เช่น รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจเมื่อเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ปรับยาเบาหวานเมื่ออาการเกิดจากโรคเบาหวาน

โรคความดันโลหิตต่ำรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?

โดยทั่วไป โรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำมักไม่รุนแรง คนส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ และไม่ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตต่ำ และเมื่อมีอาการ ภายหลังการพักผ่อน ผู้ป่วยมักกลับมามีความดันโลหิตปกติได้

อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของโรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำ ขึ้นกับสาเหตุ เช่น เมื่อเกิดจากดื่มน้ำน้อย ความรุนแรงต่ำ เมื่อเกิดจากเสียน้ำ เสียเลือดมาก ความรุนแรงสูงขึ้น หรือเมื่อเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ความรุนแรงจะสูงมาก

ผลข้างเคียงจากโรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ สมองขาดเลือด อาจหมดสติ จึงเกิดการล้ม หรือ การชักได้

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเอง การพบแพทย์เมื่อมีโรคความดันโลหิตต่ำ ได้แก่

  • ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
  • เคลื่อนไหวร่างกายเสมอ
  • เมื่อจะเปลี่ยนท่าทาง เช่น จากนอนเป็นยืน โดยเฉพาะผู้สูงอายุต้อง ค่อยๆเปลี่ยนท่าทาง จากนอนอาจต้องลุกนั่งพักสักครู่ก่อนแล้วจึงยืน จากนั่งอาจต้องยืนยึดจับสิ่งยึดเหนี่ยวให้มั่นคงก่อน จึงก้าวเดิน
  • หลีกเลี่ยงการยืนนานๆ แต่ถ้าเป็นอาชีพ อาจต้องใส่ถุงน่องช่วยพยุงหลอดเลือดไม่ให้เกิดการแช่ค้างของเลือด และไม่นั่งไขว่ห้างนานๆ เพื่อลดการเบียดทับหลอดเลือด จึงเพิ่มการไหลเวียนเลือด
  • กินยาต่างๆอย่างถูกต้อง และรู้จักผลข้างเคียงของยาที่กินอยู่
  • กินอาหารแต่ละมื้ออย่าให้ปริมาณมากเกินไป
  • ต้องจำให้ได้ว่าแพ้อะไร เพื่อการหลีกเลี่ยง
  • ดูแล รักษา ควบคุมโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุ
  • ควรพบแพทย์เมื่อ
    • มีอาการของโรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำบ่อยๆ ควรต้องหาสาเหตุ เพื่อการรักษาควบคุมโรคแต่เนิ่นๆ
    • อาการต่างๆเลวลง หรือ ไม่ดีขึ้นหลังดูแลตนเอง
    • อาการต่างๆรุนแรง โดยเฉพาะอาการทางการหายใจ และการแน่นเจ็บหน้า อก เพราะอาจเป็นอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ
    • กังวลในอาการ

ป้องกันโรคความดันโลหิตต่ำอย่างไร?

การป้องกันโรคความดันโลหิตต่ำ เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวแล้วในหัวข้อการดูแลตนเองที่สำคัญ คือ

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม
  • ระมัดระวังในการเปลี่ยนท่าทางโดยเฉพาะเมื่อต้องลุกขึ้นยืน เปลี่ยนท่าทางให้ช้าลง ทำทีละขั้นตอนเสมอ เช่น จากนอน เป็นนั่งพัก แล้วจึงค่อยลุกขึ้นยืน
  • รักษา และควบคุมโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
  • ระมัดระวังการใช้ยาต่างๆ ไม่ซื้อยากินเองโดยไม่ปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อน และกินยาแต่ละชนิดควรต้องรู้ผลข้างเคียงจากยา

บรรณานุกรม

  1. Hypotension. https://en.wikipedia.org/wiki/Hypotension [2012, Feb 3].
  2. Figueroa, J. et al. (2010). Preventing and treating orthostatic hypotension: as easy as A,B,C. Cleveland Clinic Journal of Medicine. 77, 298-306.
  3. Freeman, R. (2008). Neurogenic orthostatic hypotension. N Engl J Med. 358, 615-624.
  4. Lanier, J. et al. (2011). Evaluation and management of orthostatic hypotension. Am Fam Physician. 84, 527-536.
  5. Neurally mediated hypotension https://brendashue.tripod.com/nmh2.html [2012, Feb3].

              Link     https://haamor.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

             ปวดหัว ความดันต่ำ

ความดันโลหิตต่ำ ปวดหู ปวดจมูก ปวดหัว

ดิฉันอายุ 20 ปีค่ะ

มีหลายปัญหาค่ะ ไม่ทราบว่าปัญหาเหล่านี้เกี่ยวกันหรือไม่ และมีวิธีแก้ไขอย่างไรคะ
1. ดิฉันมีอาการความดันโลหิตต่ำตั้งแต่เด็กๆ เป็นลมง่าย เวียนหัวง่าย อาเจียน ทั้งที่ดิฉันก็พักผ่อนเพียงพอ รับประทานอาหารครบทุกมื้อ หรืออาจทานมากกว่าคนปกติหรือคนที่ผอมด้วยกันด้วยซ้ำไป (ดิฉันมีลักษณะผอมแห้งแรงน้อยค่ะ ทานเยอะ แต่ไม่อ้วน) ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล หมอบอกว่าดิฉันความดันโลหิตต่ำมาก น้ำตาลในเลือดน้อยจนทำให้ช็อค หน้ามืด เป็นลม (ดิฉันเป็นคนทานหวานนะคะ) ต้องให้น้ำเกลือ ให้เกลือแร่ไปทานที่บ้าน หมอบอกว่า อาการเหล่านี้ไม่ใช่โรค มาจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ทานน้อย ฯลฯ ค่ะ

ดิฉันไม่เข้าใจ ทั้งที่ดิฉัน ทำอะไรหลายอย่าง ออกกำลังกาย ทานอาหาร แต่ทำไมเวลาไปเช็คความดันทุกครั้ง ดิฉันถึงความดันต่ำตลอดคะ ถ้าดิฉันไม่เป็นอะไร ก็จะความดันปกติ หรือไม่ก็น้อยกว่าปกตินิดนึง หรือถ้าดิฉันเป็นลม เวียนหัว อาเจียน พอเช็คความดันแล้ว ก็จะต่ำมากๆ

ซึ่งปัญหาความดันต่ำนี้ มีผลต่อชีวิตประจำวันของดิฉันมากค่ะ
ป.ล. ดิฉัน เป็นเลือดจางด้วยค่ะ

2.

ดิฉันมีอาการ
- ปวดหู (บางที ดิฉันขึ้นเขาสูงๆ จะปวดหู หูอื้อ มีปฏิกิริยาเร็วกว่าคนอื่น คนอื่นเขาไม่รู้สึกอะไรเลย หรือบางที ถ้านั่งในรถ แล้วได้ยินเสียงปิดประตูรถแรงๆ มันจะเจ็บหูค่ะ)
หรือถ้าไม่ได้ทำอะไรเลย มันก็ปวด
- ปวดจมูก หรือสันจมูก ค่ะ
- ปวดหัว ค่ะ หลังศรีษะ กับข้างศรีษะทั้งสองข้างค่ะ (แต่มันค่อนไปข้างหลัง)

สามอย่างนี้ มาควบคู่กันค่ะ
เป็นไซนัสหรือเปล่าคะ
หรือเกิดมาจากความเครียดคะ
(ไซนัส ใช่โรคเดียวกับ ภูมิแพ้หรือเปล่าคะ แม่ดิฉันเป็นภูมิแพ้ ดิฉันก็มีอาการเหมือนแม่ คือจะแพ้พวกฝุ่นละอองและควันบุหรี่มาก)

บางทีก็ปวด แบบไม่มีสาเหตุ บางครั้งเวลาเครียดมันจะขึ้นมาเร็วมาก พร้อมกับอาการใจสั่น รวมทั้งมีอาการความดันต่ำค่ะ

โดยเฉพาะดิฉันมีฝีที่กลางศรีษะด้านหลัง เป็นฝีมาตั้งแต่คลอดออกมา เมื่อก่อนมีขนาดใหญ่ ผมไม่ขึ้น แต่พอโตแล้ว มันก็ค่อยๆน้อยลง จนตอนนี้มาขนาดประมาณเหรียญบาท ถ้าเครียด หรือร้องไห้หนักๆ จะรู้ว่ามันเต้นตุบๆค่ะ แล้วเวลาปวดหัว มันจะรู้สึกปวดตรงนี้หนักที่สุด

         Link    https://thaiherbclinic.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                  มือสั่น ความดันต่ำ

โรคความดันโลหิตต่ำ ภัยร้ายที่ไม่อาจมองข้าม

          เป็น ที่ทราบกันว่าโรคความดันโลหิตสูงนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง จึงทำให้ผู้คนเอาใจใส่และให้ความสำคัญทว่าภัยของโรคความดันโลหิตต่ำนั้นคน ทั่วไปมักไม่รู้เท่าทัน เรามักจะพบผู้ป่วยที่มีอาการวิงเวียนหน้ามืด อ่อนเพลีย ไม่สดชื่นแม้ว่านอนหลับและทานอาหารได้ดีตามปกติ อีกทั้งยังเสริมอาหารและวิตามินบำรุงร่างกายอย่างเต็มที่ ส่วนด้านการงานก็ไม่ได้เหน็ดเหนื่อยและไม่มีความกดดัน ทว่ายังคงรู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรง โดยเฉพาะหลักจากรับประทานอาหารมือกลางวันแล้วจะรู้สึกง่วงซึม เรี่ยวแรงหดหาย นั่งฟุบโต๊ะหาวหวอดๆ จนน้ำหูน้ำตาไหล ไม่มีสมาธิในการทำงานยิ่งไปกว่านั้นอาจมีอาการใจสั่น ขี้หนาว ในขณะที่เพื่อนร่วมงานล้วนคิดว่าอุณหภูมิจากเครื่องปรับอากาศกำลังพอเหมาะ แต่ตนเองกลับรู้สึกว่าช่างหนาวเย็นจับใจจนต้องสวมเสื้อคลุมทับ แต่พอไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลกลับไม่พบความผิดปกติ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรตรวจวัดความดันโลหิตเพราะมีความเป็นไปได้สูงว่าอาการ ที่เกิดขึ้นจะเป็นผลมาจากความดันโลหิตต่ำ 

          อย่างไรถึงเข้าข่ายความดันโลหิตต่ำ 

          โดยทั่วไปในทางการแพทย์ ความดันโลหิตของผู้ใหญ่ที่ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท (MmHg) และความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่ต่ำกว่า 100/70 มิลลิเมตรปรอท (MmHg) จะ ถูกจัดว่าเข้าข่ายความดันโลหิตต่ำ ซึ่งจะพบบ่อยในสตรีที่ร่างกายอ่อนแอ ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นความดันโลหิตต่ำ

          ความดันโลหิตต่ำมีชนิดใดบ้าง... 

          ความดันโลหิตต่ำแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง โดยความดันโลหิตต่ำชนิดเฉียลพลันหมายถึงว่า ความดันโลหิตต่ำลงอย่างฮวบฮาบจากเกณฑ์ปกติ ซึ่งจะแสดงอาการหลัก ๆ คือ หน้ามืดและช็อคหมดสติ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นลมหรือหัวใจล้มเหลว แต่ภาวะความดันโลหิตต่ำที่เราพูดถึงกันโดยทั่วไปนั้นหายถึงความดันโลหิตต่ำ ชนิดเรื้อรัง ซึ่งแบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้

          1.ความ ดันโลหิตต่ำที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือไม่ทราบสาเหตุ: ส่วนใหญ่พบว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมหรือรูปร่างที่อ่อนแอผอมบาง ซึ่งมักจะพบในหญิงสาวรูปร่างผอมเพรียวและผู้สูงอายุ บางรายไม่แสดงอาการเจ็บป่วยใด ๆ แต่ในรายที่เป็นมากอาจจะมีอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ใจสั่น วิงเวียน ศีรษะ ปวดศีรษะหรืออาจจะถึงขั้นเป็นลม โดยเฉพาะในหน้าร้อนที่อุณหภูมิสูงอาการจะยิ่งชัดเจนขึ้น

          2.ความ ดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนอิริยาบถ: หมายถึงความดันโลหิตจะลดต่ำลงอย่างรวดเร็วจากการเปลี่ยนท่าทางจากการนอนมา เป็นการนั่งหรือยืนในทันที หรือมีการยืนนาน ๆ ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ส่งผลให้สมองทำงานผิดปกติจนเกิดอาการเวียนศีรษะ ตาพร่า คลื่นไส้ ใจสั่น ปวดต้นคอ ปวดหลังฯลฯ

          3.ความ ดันโลหิตต่ำจากการใช้ยาหรือการเจ็บป่วยของร่างกาย: เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ โรคมะเร็ง โรคตับอักเสบ วัณโรค โรคหัวใจรูมาติก ขาดสารอาหารเรื้อรัง ยาลดความดันโลหิต ยากกล่อมประสาท ยาต้านโรคซึมเศร้า เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงใช้ยาความดันมากเกินขนาดเพื่อให้ความดันโลหิตต่ำ ลงโดยเร็วและลดต่ำลงมากยิ่งขึ้น ก็จะส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างเฉียบพลันหลังปัสสาวะ เนื่องจากปัสสาวะถูกขับออกไปทำให้ความดันในช่องท้องลดต่อลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่กลับไปสู่หัวใจลดน้อยลงด้วย ทำให้เกิดอาการเป็นลมเนื่องจากความดันโลหิตต่ำลงอย่างเฉียบพลันซึ่งมักจะ เกิดขึ้นในระหว่างที่ผู้สูงอายุตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางดึง

          โรคความดันโลหิตต่ำมีอาการอย่างไร 

          ผู้ ป่วยโรคความดันโลหิตต่ำบางรายจะไม่แสดงอาการเจ็บป่วยใด ๆ แต่บางรายจะมีอาการหูอื้อ ปวดศีรษะ ตาลาย ปวดหลังและบั้นเอว มือเท้าเย็น อ่อนเพลีย สมองล้า ขี้หลงขี้ลืม ขาดสมาธิ หรือรู้สึกว่าสมองถูกบีบคั้น ปวดแสบปวดร้อน หรือท้องเดิน ท้องผูก มีแก๊สสะสมในลำไส้ ท้องอืดท้องเฟ้อ อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือประจำเดือนมาผิดปกติ ฯลฯ

          อันตรายจากความดันโลหิตต่ำไม่อาจมองข้ามได้ 

          คน ส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าความดันโลหิตและไขมันในเลือดนั้นเหมือนกันคือยิ่งต่ำ ยิ่งดี ทว่าแม้จะต่ำก็ต้องมีขีดจำกัด หากความดันโลหิตต่ำเกินไปย่อมส่งผลร้ายต่อร่างกาย ทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง เลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ ง่ายต่อการเกิดลิ่มเลือดทำให้หลอดเลือดอุดตัน หลอดเลือดฝอยส่วนปลายในร่างกายขาดเลือดไปเลี้ยง รวมท้งเกิดการคั่วของคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมและ ที่สำคัยคือ อาจจะเกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสมองเนื่องจากขาดออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อ เลี้ยง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หน้ามืด ขี้หลงขี้ลืมสมองล้า ไม่มีสมาธิฯลฯ หากไม่มีการบำบัดอย่างทันท่วงทีอาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายลด ลง ความสามารถในกาองมองเห็นและการได้ยินลดลง อ่อนเพลียซึมเศร้าก่อให้เกิดอาการอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุหรือเป็นตัวเร่ง อาการให้หนักขึ้นหรืออาจส่งผลให้หกล้มเนื่องจากเป็นลม ทำให้กระดูกหักได้ อีกทั้งเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบตันหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ด้วย

          การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดโรคความดันโลหิตต่ำอย่างไร... 

          การ แทพย์จีนได้จัดโรคความดันโลหิตต่ำให้อยู่ในกลุ่มโรคที่เกิดจากการพร่องลงของ พลังซี่และเลือดในร่างกายหรือที่เรียกว่าชี่พร่อง-เลือดพร่องนั่นเอง เลือดกับพลังชี่มีคุณสมบัติต่างกันคือ เลือดเป็นหยินชอบอยู่นิ่งและให้ความชุ่มชื้น ส่วนพลังชี่เนหยางชอบความเคลื่อนไหวและให้ความอบอุ่น ความสัมพันธ์ของเลือดกับพลังชี่แท้ที่จริงแล้วก็คือความสัมพันธ์ของ หยิน-หยางในระบบการไหลเวียนของเลือดนั่นเอง

          -เลือดกับพลังชี่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน; กระบวน การเกิดและการสร้างเลือดต้องอาศัยพลังชี่และการเคลื่อนไหวของพลังชี่ ถ้าพลังชี่สมบูรณ์ เลือดก็จะสร้างขึ้นมาได้อย่างเพียงพอ และในทางกลับกันพลังชี่ก็ต้องอาศัยเลือดไปหล่อเลี้ยงและให้ความชุ่มชื้น การไหลเวียนของเลือดจะนำพาพลังชี่ไปสู่ทุก ๆ เซลล์ของร่างกาย ถ้าเลือดพร่องลง พลังชี่ก็จะพร่องตามไปด้วย ทำให้ชี่พร่องและเลือดพร่องมักจะเกิดขึ้นร่วมกันอยู่เสมอ

          -พลัง ชี่ผลักดันการไหวเวียนของเลือด: เลือดเป็นหยินชอบอยู่นิ่งไม่สามารถไหลเวียนได้เองต้องอาศัยแรงผลักดันจาก พลังชี่ จึงกล่าวได้ว่า พลังวิ่งเลือดเดิน พลังนิ่งเลือดหยุด ถ้าพลังชี่พร่องลง เลือดก็จะไหลเวียนช้าลง ทำให้ชี่และเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงร่างกายอย่างทั่วถึงส่งผลให้ เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ อวัยวะต่าง ๆ ได้รับการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอจนเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้

          การ แพทย์แผนจีนจึงนิยมให้วิธีบำรุงชี่-บำรุงเลือดเพื่อบำบัดภาวะความดันโลหิต ต่ำ เมื่อชี่-เลือดในร่างกายสมบูรณ์ขึ้น ความดันโลหิตก็จะค่อย ๆ กลับสู่ภาวะปกติอาการต่าง ๆ ที่เกิดจากโรคความดันโลหิตต่ำก็จะทุเลาลงหรือหายไปในที่สุด

 

          วิธีการดูแลร่างกายสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต่ำ

          1.วัดความดัน: หมั่นวัดระดับความดันโลหิตของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และใส่ใจกับการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตในร่างกาย

          2.พักผ่อนให้เพียงพอ:  ความ เหน็ดเหนื่อย การนอนหลับไม่เพียงพอต่างก็ยิ่งทำให้ความดันโลหิตต่ำลง ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการตรากตรำทำงานเกินควร หลีกเลี่ยงการนอนดึก และเวลานอนหลับไม่ควรนอนหนุนหมอนที่ต่ำเกินไป

          3.หลีก เลี่ยงการยืนนาน ๆ หรือเปลี่ยนอิริยาบทอย่างรวดเร็วเกินไป: การเก็บของไม่ควรก้มศีรษะลงโดยตรงแต่ควรทรุดตัวนั่งยอง ๆ ลงก่อน ยามตื่นนอนไม่ควรลุกยืนขึ้นมาในทันทีทันใด แต่ควรรอให้แน่ใจว่าร่างกายเข้าที่เข้าทางแล้วจึงค่อยๆ ลุกขึ้น

          4.ใส่ ใจสภาพแวดล้อมและการแต่งกาย: ไม่ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อากาศร้อนอบอ้าวนานเกินไป เพราะจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตต่ำลง นอกจากนี้การผูกเน็คไทแน่นเกินไป การสวมเสื้อที่มีปกเสื้อสูงหรือคอเสื้อแคบเกินไปอาจจะไปกดทับหลอดเลือด แดงบริเวณต้นคอส่งผลให้ความดันต่ำลงจนหน้ามืดเป็นลมได้

          5.เพิ่ม สารอาหารให้เพียงพอ: ผู้ที่มีแนวโน้มเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำนั้น หากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะทำให้ความดันโลหิตยิ่งต่ำลงไปอีก แต่หากเสริมอาหารให้เพียงพอจะช่วยให้ความดันโลหิตเข้าใกล้ระดับปกติมากยิ่ง ขึ้นอาการที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ก็มีโอกาสที่จะลดลงหรือหายไปได้

          6.ลดการรับปรทานอาหารที่ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง: เช่น เชลเลอรี ฟักเขียว ถั่วเขียว มะระ หอมหัวใหญ่ สาหร่ายทะเล หัวไชเท้า เป็นต้น

          7.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ: การออกกำลังกายทำให้ระบบประสาทเกิดความสมดุล หลอดเลือดหัวใจแข็งแรงทั้งยังรักษาความดันโลหิตต่ำให้ดีขึ้น

          8.เลือก ประเภทการออกกำลังอย่างเหมาะสม: ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนอิริยาบท ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่ต้องยืนนาน ๆ หรือต้องเปลี่ยนท่าทางบ่อย ๆ ส่วนผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำจากโรคภัยไข้เจ็บในร่างกายก่อนการออกกำลัง ควรตรวจสอบสมรรถภาพร่างกายก่อนทางที่ดีควรออกกำลังภายใต้คำแนะนำของแพทย์และ ครูผู้เชี่ยวชาญ

          9.ใช้ ยาอย่างระมัดระวัง: หากต้องไปพบแพทย์เนื่องจากอาการเจ็บป่วยใด ๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้าว่าตนมีอาการความดันโลหิตต่ำ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลงไปอีก

ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

           Link    https://www.thaihealth.or.th/

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด