โรคปัสสาวะบ่อย สมุนไพรรักษาโรคปัสสาวะบ่อย โรคปัสสาวะบ่อยผู้หญิง


81,841 ผู้ชม

คนไหนที่มีอาการปวดปัสสาวะบ่อยๆ ทุกชั่วโมง เวลาปวดจะรุนแรงมากจนต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที มักจะตื่นขึ้นมากลางดึกเกินกว่า 1 ครั้งเพราะปวดปัสสาวะจนทนไม่ไหว


โรคปัสสาวะบ่อย สมุนไพรรักษาโรคปัสสาวะบ่อย โรคปัสสาวะบ่อยผู้หญิง

              โรคปัสสาวะบ่อย

ปัสสาวะบ่อย” สัญญาณโรคปัสสาวะไวเกิน

เกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิง

         คนไหนที่มีอาการปวดปัสสาวะบ่อยๆ ทุกชั่วโมง เวลาปวดจะรุนแรงมากจนต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที มักจะตื่นขึ้นมากลางดึกเกินกว่า 1 ครั้งเพราะปวดปัสสาวะจนทนไม่ไหว เวลาทำงานต้องลุกเข้าห้องน้ำบ่อยมากจนรู้สึกรำคาญ เวลาเดินทางไปไหนไกลๆ หรือรถติดบนท้องถนนก็มักจะรู้สึกปวดปัสสาวะกลางทาง สร้างความทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก

         นพ.บุญเลิศ สุขวัฒนาสินิทธิ์ ศัลยแพทย์ ระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลเวชธานี เปิดเผยว่า อาการต่างๆ เหล่านี้เป็นอาการผิดปกติของระบบขับถ่ายปัสสาวะ ซึ่งมักพบได้จากหลายสาเหตุ แต่โรคหนึ่งที่พบบ่อยแต่ประชาชนทั่วไปยังอาจรู้จักน้อย คือ โรคกระเพาะปัสสาวะไวเกิน  หรือ Over Active Bladder, OAB

         โรคกระเพาะปัสสาวะไวเกิน เป็นกลุ่มอาการของความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง เป็นภาวะที่กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินไป  ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ บางคนเป็นมากต้องปัสสาวะ 2-3 ครั้งต่อชั่วโมง ยิ่งอยู่ในห้องแอร์เย็นๆ จะปัสสาวะบ่อยมากขึ้น และรู้สึกปวดปัสสาวะอย่างรุนแรง เวลาปวดจะกลั้นไม่ค่อยได้ต้องรีบเข้าห้องน้ำอย่างเร่งด่วน รวมทั้งต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยๆ จนรบกวนการนอนหลับ บางครั้งอาจมีปัสสาวะเล็ด หรืออาจมีอาการเจ็บท้องน้อยร่วมด้วย อาการจะคล้ายๆ กับเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบธรรมดา แต่จะเป็นค่อนข้างเรื้อรังเป็นเวลานาน

         ก่อน หน้านี้เคยเข้าใจกันว่าภาวะปัสสาวะไวเกินมักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่ปัจจุบันพบว่าในผู้ชายก็เป็นโรคนี้มากขึ้น โดยมักพบร่วมกับภาวะต่อมลูกหมากโต และพบได้ในคนทุกวัย แต่ไม่ค่อยพบโรคนี้ในเด็ก ซึ่งคนที่เป็นโรคนี้ ผลกระทบส่วนใหญ่จะเกิดกับคุณภาพชีวิตโดยรวม  เพราะอาการที่เป็นจะเป็นมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละคน  มี ปัญหาเวลาที่ต้องอยู่ในรถที่ติดขัด ทำให้ผู้ป่วยเกิดความรำคาญ มีผลต่อความสะอาดของบริเวณช่องคลอด และขาหนีบ ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ ไม่กล้าเข้าสังคม ผู้ป่วยจะไม่อยากไปไหน เนื่องจากไม่มั่นใจว่าจะมีห้องน้ำอยู่ใกล้ๆ บริเวณที่จะไป

อะไรคือสาเหตุ 

 

         สาเหตุ ส่วนใหญ่ของอาการกระเพาะปัสสาวะไวเกินยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากระบบประสาทที่บริเวณกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อบีบตัวบ่อยและไวกว่ากำหนด โดยที่ยังมีปริมาณปัสสาวะไม่มากพอที่จะทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะ สาเหตุอีกส่วนหนึ่ง คือ พบร่วมกับภาวะการอักเสบ ติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะหมดประจำเดือนและโรคทางระบบประสาทบางชนิด

มีวิธีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร 

 

         การวินิจฉัย ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน (Overactive Bladder, OAB) จำ เป็นต้องซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยเฉพาะระบบประสาท และการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตัดโรคอื่นๆ ที่อาจมีอาการและอาการแสดงคล้ายกันเสียก่อน ได้แก่

1.การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

2.เนื้องอกในอุ้งเชิงกราน ที่กดดันกระเพาะปัสสาวะ จนทำให้ปัสสาวะบ่อย

3.การหย่อนยานของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน

4.ภาวะการขาดฮอร์โมนเพศหญิง

5.โรคเบาหวาน โรคเบาจืด การได้รับยาที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ

6.ความผิดปกติของระบบประสาท

7.กระเพาะปัสสาวะยืดตัวผิดปกติ (Overflow Incontinence)

8.อาการที่เกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน

รักษาได้อย่างไร 

 

         เนื่อง จากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ดังนั้น การรักษาจึงใช้แนวทางรักษาหลายชนิดมาผสมผสานกัน กล่าวคือรักษาภาวะหรือโรคที่มีผลก่อให้เกิดปัญหากระเพาะปัสสาวะไวเกิน ดังกล่าวข้างต้น

         1.การ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การงดดื่มน้ำก่อนนอน หลีกเลี่ยงยา หรืออาหารที่มีฤทธิ์กระตุนการขับปัสสาวะ เช่น ยาขับปัสสาวะ น้ำชา กาแฟ การจัดที่นอนใหม่ให้เข้าห้องน้ำได้สะดวกขึ้น

         2.การใช้ยาที่มีฤทธิ์คลายการหดตัวของกระเพาะปัสสาวะ โดยหลักๆ จะใช้ยาในกลุ่ม Anticholinergic ซึ่ง จะออกฤทธิ์คลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ลดการบีบตัวที่ไวเกินปกติของกระเพาะปัสสาวะ การใช้ยาจะต้องมีการปรับขนาดยาให้เหมาะต่อผู้ป่วยแต่ละราย ยาในกลุ่มนี้มีหลายชนิด ต่างกันที่ราคา และผลข้างเคียงของยา

         3.การ ฝึกกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นหนึ่งในพฤติกรรมบำบัด เป็นการฝึกควบคุมระบบประสาท ที่ควบคุมการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้สมองส่วนกลางส่งสัญญาณมายับยั้งวงจรการปัสสาวะ โดยการฝึกปัสสาวะให้เป็นเวลา และเพิ่มช่วงเวลาการถ่ายปัสสาวะให้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น จากเดิมต้องเข้าทุกๆ 1 ชั่วโมงให้เพิ่มเป็น 1 ชั่วโมงครึ่งและ เพิ่มเป็น 2 ชั่วโมงตามลำดับ เป็นการฝึกให้กระเพาะปัสสาวะ เก็บปัสสาวะให้มากพอ โดยไม่มีอาการบีบตัวไวกว่าปกติ รวมทั้งหลักการเบี่ยงเบนความสนใจ และผู้ป่วยควรขมิบช่องคลอดร่วมด้วย ซึ่งจะลดอาการอยากถ่ายปัสสาวะลง

         4.การใช้ไฟฟ้ากระตุ้นที่เส้นประสาทบริเวณก้นกบ (Sacral nerve stimulation)  การ ใช้ไฟฟ้ากระตุ้น ที่เส้นประสาทบริเวณก้นกบ จะช่วยลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ ลงการรักษาโดยวิธีนี้ ต้องมีการผ่าตัดฝังตัว กระตุ้นสัญญาณไฟฟ้าที่หน้าท้อง และกระดูกก้นกบด้วย (Sacral bone) และต้องมีการทดสอบในช่วงแรกว่าได้ผล จึงผ่าตัดฝังเครื่องชนิดถาวร (อยู่ได้ 5 ปี) การรักษาวิธีนี้ มีราคาแพง และยังอยู่ในระหว่างการวิจัย

         5.การ ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพื่อทำให้กล้ามเนื้อที่รองรับอวัยวะในอุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อหูรูดส่วน นอกของท่อปัสสาวะหนาตัวและแข็งแรงขึ้น โดยปกติการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน จะใช้ในการรักษาภาวะไอ-จามจนปัสสาวะเล็ด แต่พบว่าสามารถนำมาใช้รักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินได้ด้วย

         6.การ ผ่าตัด มีการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะ บางส่วน หรืออาจนำลำไส้เล็กบางส่วน มาเย็บต่อกับกระเพาะปัสสาวะ เพื่อทำให้การบีบตัวไม่มีผลทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย การผ่าตัดมีผลแทรกซ้อนมาก และนิยมทำในรายที่รักษา โดยการใช้ยาแล้วไม่ได้ผลวิธีการอื่นๆ เช่น การใช้ยาหรือสารบางชนิด เช่น Capsaicin ใส่ไปในกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงการทำกายภาพบำบัด

         การจะการรักษาด้วยวิธีใดนั้น แพทย์จะพิจารณาตามความจำเป็นในแต่ละราย ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกันไป

         ภาวะ กระเพาะปัสสาวะไวเกิน ถึงแม้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ก็ทำให้คุณภาพชีวิตลดลงอย่างมาก มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในหลายๆ ด้าน จึงจำเป็นที่แพทย์ในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สูตินรีแพทย์ ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ อายุรแพทย์ และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ให้ความสำคัญและให้การดูและรักษาอย่างจริงจัง เพื่อให้หายหรือบรรเทาจากภาวะดังกล่าวได้ และให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ที่มา: เว็บไซต์pooyingnaka

 Link https://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/13289

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


               สมุนไพรรักษาโรคปัสสาวะบ่อย

ปัสสาวะบ่อย...ไม่ควรนิ่งนอนใจปล่อยไว้ เสี่ยงโรคไตเสื่อม
 

         โดยปกติคนเราจะปัสสาวะตอนกลางวันประมาณ 3-5 ครั้งตอนเย็นถึงก่อนนอนอีกประมาณ 1-2 ครั้ง และสำหรับคนที่ร่างกายแข็งแรงจะนอนได้นาน 8 ชั่วโมงโดยไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะ ทั้งนี้เนื่องจากตามปกติกระเพาะปัสสาวะของเราจะเก็บน้ำปัสสาวะไว้ได้ประมาณ 150 ซีซี จึงจะรู้สึกปวดปัสสาวะ แต่ในขณะหลับก็จะเก็บน้ำปัสสาวะได้มากขึ้นพร้อมทั้งไตก็จะกลั่นปัสสาวะได้ น้อยลงด้วย หากท่านใดมีการปัสสาวะบ่อยครั้งกว่านี้ โดยเฉพาะตอนกลางคืนต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะนั้น เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายของคุณมีปัญหาบางประการ


สาเหตุปัสสาวะบ่อยในทัศนะการแพทย์จีน

             การแพทย์ตะวันตกและการแพทย์จีนมีทัศนะที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเกี่ยวกับ มูลเหตุและพยาธิสภาพของอาการปัสสาวะบ่อยครั้ง สำหรับการแพทย์จีน สาเหตุปัสสาวะบ่อยครั้งโดยเฉพาะตอนกลางคืนต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะเกิดจาก ภาวะไตอ่อนแอ หลายๆ ท่านอาจเพิ่งเคยได้ยินคำนี้เป็นครั้งแรก แต่จริงๆ แล้วคำว่า ภาวะไตอ่อนแอ ได้มีการบันทึกในตำราการแพทย์จีนมาแล้วนับพันปีภาวะไตอ่อนแอไม่ใช่โรคไต ในความหมายของการแพทย์ตะวันตก หากหมายถึงสภาพไตกำลังเสื่อมลง ไม่แข็งแรงเท่าที่ควร ทำให้ความสามารถในการขับน้ำและของเสียออกจากร่างกายของไตด้อยลง และเกิดผลกระทบต่อดุลยภาพของอิเล็กโทรไลต์และความเป็นกรดด่างในร่างกาย รวมทั้งเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนสำคัญหลายชนิดที่สร้างขึ้นจากไตและต่อมหมวกไต
 
         การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้จะนำไปสู่อาการผิดปกติของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย รวมทั้งอาการปัสสาวะบ่อยด้วย หากไม่มีการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงทีก็จะแก่ก่อนวัยและพัฒนาเป็นโรคร้าย ต่างๆ หรืออาจเป็นโรคไตอักเสบหรือโรคไตวายได้ในที่สุด
 
 สาเหตุใดทำให้ไตเสื่อมเร็วกว่าปกติ
         ไตจะเสื่อมลงตามวัยตั้งแต่อายุ 30 ปี ซึ่งเป็นความเสื่อมของร่างกายและไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่มีปัจจัยหลายอย่างทำให้ไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็วและก่อนวัยอันควร อาทิ
 1. กรรมพันธุ์
 2. การมีเพศสัมพันธ์มากเกินควร
 3. ประสบอุบัติเหตุ
 4. ทำงานหนัก
 5. พักผ่อนไม่เพียงพอ
 6. ผลกระทบจากโรคเรื้อรังต่างๆ
 7. ปัจจัยเสี่ยงในชีวิตประจำวัน ผลข้างเคียงจาการใช้ยาเคมีเช่น ยาแก้ปวด ยารักษาสิว ยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะ ยาลดความดัน ยาลดความอ้วน ยาฮอร์โมน เป็นต้น ความเครียด มลภาวะเป็นพิษ ยาฆ่าแมลงที่ตกค้างในผักผลไม้ สารฮอร์โมนที่สะสมในเนื้อสัตว์อาหารทะเลที่แช่ฟอร์มาลิน สารโซเดียมที่ผสมอยู่ตามอาหาร ขนมขบเคี้ยวและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เช่น ผงชูรส ผงฟู เป็นต้น อาหารรสจัด รสเค็ม อาหารและเครื่องดื่มที่ผสมสี ฯลฯ
 
 ปัจจัยดังกล่าว ล้วนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของไต ไตจึงเสื่อมลงอย่างรวดเร็วและก่อนวัยอันควร
 
 ปัสสาวะบ่อยครั้งกับไตอ่อนแอเกี่ยวข้องกันอย่างไร
         หนึ่งในหน้าที่ของไตคือควบคุมความสมดุลของน้ำในร่างกายโดยอาศัยพลังไฟมิ่งเห มิน จากไตในการระเหยน้ำให้กลายเป็นไอแล้วส่งไปยังปอด ปอดก็จะส่งกระจายต่อไปทั่วร่างกายส่วนน้ำส่วนเกินก็จะถูกขับไปยังกระเพาะ ปัสสาวะ ไตจะทำหน้าที่ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะเหมือนประตูกั้นน้ำ เมื่อประตูเปิดน้ำปัสสาวะก็จะไหลออกมา พอประตูปิด กระเพาะปัสสาวะก็จะเก็บน้ำปัสสาวะเอาไว้ เมื่อไตอ่อนแอลง น้ำก็ไหลล้นไปอยู่ในช่องท้องและใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการบวมน้ำ ในขณะเดียวกันระบบควบคุมการเปิดปิดกระเพาะปัสสาวะของไตก็ผิดปกติไปด้วยจึง เกิดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะรดที่นอน ปัสสาวะบ่อยครั้งหรือปัสสาวะกะปริดกะปรอยพร้อมทั้งมีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่น ปวดเมื่อยตามร่างกาย ขี้หนาว สมาธิไม่ดีหรือกระวนกระวายร่วมด้วย
 
 ปัสสาวะบ่อยเกิดจากการดื่มน้ำมาก...จริงหรือไม่
 
        ส่วนความคิดที่ปัสสาวะบ่อยน่าจะมาจากการดื่มน้ำมากนั้นจริงๆ แล้วการดื่มน้ำมากทำให้ไตขับน้ำปัสสาวะออกมามากจนต้องปัสสาวะบ่อยนั้นอาจ เกิดขึ้นชั่วคราว แต่จะต้องไม่มีอาการอ่อนเพลียนอนไม่หลับ สะดุ้งตื่น ปวดเมื่อยตามร่างกาย ขี้หนาวหรือภูมิแพ้ร่วมด้วยแต่อย่างใด หากท่านใดมีอาการปัสสาวะบ่อยเป็นประจำร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้สันนิษฐานได้เลยว่าไม่ได้เกิดจากการดื่มน้ำมากเกินไปหรือภาวะกระเพาะ ปัสสาวะบีบตัวไวเกิน แต่มีสาเหตุจากภาวะไตอ่อนแอต่างหาก
 
 ภาวะไตอ่อนแอจะแสดงอาการอื่นๆ อย่างไรบ้าง
 
        ภาวะไตอ่อนแอ นอกจากแสดงอาการปัสสาวะบ่อยครั้งแล้วยังสามารถแสดงอาการหลากหลายตามส่วน ต่างๆ ของร่างกายและอาจแสดงอาการใดอาการหนึ่งหรือหลายๆ อาการพร้อมกันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเสื่อมโทรมของไต อายุและระยะเวลาที่เรื้อรัง
 1. ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ปวดหลังปวดเอว แขนขาอ่อนแรง เป็นตะคริวบ่อย หนาวปลายมือปลายเท้า ปวดข้อ กระดูกพรุน โรคเกาต์ ฯลฯ
 2. ระบบภูมิต้านทาน โรคภูมิแพ้ จามหรือคัดจมูกเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง มีเสมหะ เป็นหวัดบ่อยหรือเป็นหวัดง่าย เป็นลมพิษ ฯลฯ
 3. ระบบประสาท นอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ ฝันบ่อย สะดุ้งตื่น ขี้หลงขี้ลืม ขาดสมาธิ วิงเวียนศรีษะ กระวนกระวาย ซึมเศร้า วิตกกังวล อ่อนเพลียเรื้อรัง ฯลฯ
 4. ระบบทางเดินอาหาร เบื่ออาหาร ลำไส้แปรปรวน อุจจาระร่วงเป็นประจำ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ฯลฯ
 5. ระบบทางเดินหายใจ ระคายคอบ่อย ไอเรื้อรัง หอบหืด ฯลฯ
 6. ระบบสืบพันธุ์ หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ความต้องการทางเพศลดลง หลั่งเร็ว มีบุตรยากหรือแท้งบุตร ช่องคลอดไม่กระชับ เข้าสู่วัยทองก่อนวัยอันควร ฯลฯ
 7. สภาพร่างกายภายนอก ผิวหน้าหมองคล้ำ หยาบกร้าน ไม่มีเลือดฝาด มีฝ้าบนใบหน้า ใต้ตาหมองคล้ำ หน้าอกหย่อนยาน ผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย น้ำหนักขึ้นหรือลงอย่างฮวบฮาบ ฯลฯ
 8. หู-ตา หูอื้อ ตาพร่า น้ำในหูไม่เท่ากัน ฯลฯ
 
 วิธีการบำบัดรักษาของการแพทย์จีน
         สำหรับอาการปัสสาวะบ่อยและอาการอื่นๆ ที่เกิดจากภาวะไตอ่อนแอ การแพทย์จีนแนะนำควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้ถูกสุขลักษณะและ ควรรักษาแต่เนิ่นๆ เนื่องจากอาการของภาวะไตอ่อนแอมักจะเรื้อรังอย่างช้าๆ จนเราคุ้นเคยกับความผิดปกติของร่างกายถึงขนาดลืมไปแล้วว่าตอนปกติจริงๆ นั้นเป็นอย่างไร นอกจานี้ ผลการตรวจการทำงานของไตตามหลักการแพทย์ตะวันตกที่ต้องรอให้ไตเสียไปมากกว่า 70% ถึงจะแสดงค่า BUN และ Creatinine ที่สูงขึ้นนั้น ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจผิดว่าถ้าผลการตรวจยังปกติ อยู่ก็แสดงว่าไตแข็งแรง ทั้งๆ ที่ไตอาจเสื่อมไปมากแล้วก็ตาม วิธีการรักษาของการแพทย์จีนจะเน้นวิธีการบำรุงรักษาไตเป็นหลักเพื่อบำบัด หลายๆ อารของภาวะไตอ่อนแอไปพร้อมๆ กัน ทั้งๆ ที่แต่ละอาการดูเหมือนจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันในมุมมองของการแพทย์ตะวันตก ก็ตาม
 
 เมื่อไตแข็งแรงขึ้น อาการปัสสาวะบ่อยและอาการอื่นๆ ของภาวะไตอ่อนแอก็จะค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด
 

 


ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


              โรคปัสสาวะบ่อยผู้หญิง

โรคระบบทางเดินปัสสาวะ..หญิงเป็นมากกว่าชาย
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) พบมากกว่าร้อยละ70 ของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
พบบ่อยในเพศหญิงในช่วงวัยรุ่นและวัยเจริญพันธุ์ สาเหตุที่โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า...
ทำไมโรคระบบทางเดินปัสสาวะ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น
และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก เชื้อโรคจึงเข้าทางท่อปัสสาวะของผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย
จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่เกิดโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะร้อยละ 70 จะกลับเป็นซ้ำอีกภายใน 6 เดือน
ผู้หญิงแทบทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ พบมากในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงที่ชอบอั้นปัสสาวะนานๆ
ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อย ถ้าพบมักมีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น
ต่อมลูกหมากโตหรือมีก้อนเนื้องอกในกระเพาะปัสสวะ หรือมีความผิดปกติทางโครงสร้างของทางเดินปัสสาวะ
นอกจากนี้ยังอาจพบเป็นโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือพบภายหลังการสวนปัสสาวะ

สาเหตุ
ส่วนใหญ่โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจากการกลั้นปัสสาวะมากไป รับประทานน้ำไม่พอเพียง
การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่สำคัญที่สุด
ในผู้ป่วยบางรายอาจพบว่าเป็นบ่อยๆ เนื่องจากมีความผิดปกติทางกายวิภาคของของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ
หรืออาจพบว่าเป็นโรคนิ่วร่วมด้วย
ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ พบว่ามีอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้บ่อยภายหลังจาก
การมีเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะในช่วงระยะหลังการแต่งงานใหม่ๆ อาจเกิดการฟกช้ำจากการร่วมเพศ
แล้วทำให้มีอาการอักเสบของท่อปัสสาวะ เชื้อแบคทีเรียหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย
เกิดการอักเสบติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะขึ้น เรียกภาวะดังกล่าวว่า Honeymoon Cystitis

อาการ
ปัสสาวะบ่อย แสบ ขัด ครั้งละไม่มาก รู้สึกถ่ายไม่สุด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เจ็บมากตอนปลายของปัสสาวะ
บางรายมีเลือดออกมาด้วย ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดที่ท้องน้อยร่วมด้วย ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น สีมักจะใส
แต่บางคนอาจขุ่นหรือมีเลือดปน อาการอาจเกิดขึ้นหลังกลั้นปัสสาวะนานๆ หรือหลังมีเพศสัมพันธุ์
ในเด็กเล็กอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอน อาจมีไข้ เบื่ออาหาร และอาเจียน
การตรวจร่างกายมักจะตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน บางคนอาจพบการกดเจ็บเล็กน้อยตรงบริเวณกลางท้องน้อย

การวินิจฉัย
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบสามารถให้การวินิจฉัยได้จากอาการทางปัสสาวะดังกล่าวข้างต้น
ร่วมกับการตรวจปัสสาวะพบเม็ดเลือดขาวและแบคทีเรีย
เม็ดเลือดขาวที่ตรวจพบในปัสสาวะมากกว่า 5-10 ตัว เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยใช้กำลังขยายสูง
โดยเป็นการตรวจปัสสาวะสดและไม่ปั่น แบคทีเรียที่ตรวจพบในปัสสาวะมากกว่า 1 ตัว
เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยใช้กำลังขยายสูง เมื่อตรวจปัสสาวะสดและไม่ปั่น หรือพบแบคทีเรียตั้งแต่ 1ตัวจากการย้อมสีแกรม
การเพาะเชื้อปัสสาวะมีความจำเป็นในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีอาการเกิน 7 วัน ผู้ป่วยที่มีประวัติเคยเป็นหลายๆ ครั้ง
และผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรังอื่น เช่น เบาหวาน โรคตับ โรคไต
การตรวจปัสสาวะด้วยแถบตรวจ วิธีนี้เป็นการตรวจปัสสาวะที่สะดวกและรวดเร็ว กระทำได้ทั่วไป
สามารถตรวจได้หลายอย่าง ถ้าตรวจเม็ดเลือดขาว พบว่าความไวของแถบตรวจสูงกว่าร้อยละ 80
และความจำเพาะสูงกว่าร้อยละ 95 แต่ถ้าตรวจเชื้อแบคทีเรีย พบว่าความไวของแถบตรวจไม่ดีเท่าที่ควร
บางรายแพทย์อาจพิจารณาตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจภาพรังสี หรือการส่องกล้อง

การรักษา
พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ ควรเลือกยาที่มีความไวสูงตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลความไวของเชื้อต่อยาในชุมชนของผู้ป่วย
เชื้อก่อเหตุในผู้ป่วยไทยมีอัตราการดื้อยา amoxicillin และ co-trimoxazole สูง ดังนั้นยาตัวแรกที่เลือกใช้ควรเป็น norfloxacin
สำหรับสตรีตั้งครรภ์และเด็ก เลือกใช้เป็นเศฟาโลสปอรินส์รุ่นที่ 3 ชนิดกิน เช่น cefdinir, cefixime, ceftibuten
ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย หรือมีประวัติได้รับยาปฏิชีวนะมาภายในหนึ่งเดือน
ควรพิจารณาใช้ยาในกลุ่มควิโนโลนรุ่นที่ 2 ได้แก่ ofloxacin, lomefloxacin, ciprofloxacin

โดย: นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ จาก: ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด