โรคฉี่เล็ด สาเหตุของฉี่เล็ด อาการฉี่เล็ด แก้ฉี่เล็ดด้วยหนังสั้น เรียนรู้สุขภาวะทางเพศ


2,608 ผู้ชม

โรคฉี่เล็ด สาเหตุของฉี่เล็ด อาการฉี่เล็ด แก้ฉี่เล็ดด้วยหนังสั้น เรียนรู้สุขภาวะทางเพศ...


โรคฉี่เล็ด สาเหตุของฉี่เล็ด อาการฉี่เล็ด แก้ฉี่เล็ดด้วยหนังสั้น เรียนรู้สุขภาวะทางเพศ


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) จัดให้มีการฉายหนังสั้นพร้อมวงเสวนาเรื่อง "วันนี้ (ฉี่) ไม่เล็ด" ณ ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ ในโครงการวิจัย "การสร้างเสริมสุขภาพบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานในสตรีด้วยตนเอง" โดย รศ.กรกฎ เห็นแสงวิไล จากภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



รศ.กรกฎ
บอก ว่า ปัจจุบันสตรีไทยมีปัญหาเรื่องการอั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือที่เรียกว่า'ฉี่เล็ด' ซึ่งเป็นปัญหาทางกายภาพที่ประสบพบเจอกันเมื่อสตรีมีอายุมากขึ้นเพราะ สมรรถภาพของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานมีสภาพหย่อนยานลง ส่งผลกระทบต่อความยากลำบากในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่นปัสสาวะเลอะ ความอายที่เกิดจากฉี่เล็ดหรือความไม่มั่นใจในตนเอง ทั้งที่การแก้ไขปัญหานี้สามารถทำได้อย่างง่ายดายด้วยการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรงด้วยการ 'ขมิบ' ซึ่งเป็นกระบวนการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง ที่สตรีสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง


ด้าน สมบัติ เหสกุล ผู้ประสานงานโครงการวิจัยกล่าว เสริมว่า ที่ผ่านมาเราพยายามใช้การสื่อสารหลายรูปแบบ สำหรับการใช้หนังสั้นเป็นสื่อถือเป็นเครื่องมือสื่อสารที่เสริมพลังให้แก่ แนวคิดในงานวิจัยได้เป็นอย่างดี พร้อมกันนั้นยังมีส่วนส่งเสริมการพัฒนาสุขภาพสตรีและกระบวนการกลุ่มทางสังคม ของสตรี ให้เข้ามาร่วมเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศร่วมกัน โดยหนังสั้นที่ผลิตขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นปัญหาและนำไปสู่การหาทางแก้ไขร่วม กันของกลุ่มสตรีเสมือนเป็นการย่อยเรื่องยากที่ไม่มีการพูดคุยกันตรงๆ หรือมีกำแพงของความอาย ให้กลายเป็นเรื่องธรรมชาติในที่สุด


ภายในงานมีการฉายหนังสั้นที่จำลองฉากเหตุการณ์ของปัญหาและเปิดเวทีให้ผู้ เกี่ยวข้องได้แสดงความเห็น ท่ามกลางกลุ่มสตรีและเจ้าหน้าที่ อสม. ที่มาร่วมชม


พรทิพย์ สุประดิษฐ์ นักวิชาการสาธารณสุขอิสระ เห็นว่าสื่อหนังมีส่วนช่วยปรับทัศนคติที่มีต่อปัญหาปัสสาวะเล็ด ทำให้เห็นเป็นเรื่องธรรมชาติ อีกทั้งยังมองเห็นความสำคัญของการรวมกลุ่มสตรีเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้



ด้าน ณัฐยา บุญภักดี ผู้ จัดการด้านแผนงานสุขภาวะทางเพศสสส. เห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยต้องทลายกำแพงของอคติและความเข้าใจผิดนี้ให้ได้ โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นเพศหญิง จากเดิมที่มองว่าเป็นของต่ำ ก็ควรปรับเปลี่ยนมาเป็นเรื่องความภาคภูมิใจในคุณค่าของตนเอง ซึ่งนอกจากการใช้หนังสั้นแล้วยังต้องอาศัยกระบวนการอื่นๆ เช่น การเปิดเวทีให้ผู้หญิงได้นั่งล้อมวงเพื่อคุยกันถึงปัญหาในเรื่องนี้อย่างตรง ไปตรงมา

ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด

อัพเดทล่าสุด