ท้อง 1 เดือนห้ามกินอะไรบ้าง อาหารสําหรับคนท้อง 1 เดือน ท้อง 1 เดือน กินน้ำมะพร้าวได้ไหม


3,351 ผู้ชม

ท้อง 1 เดือนห้ามกินอะไรบ้าง อาหารสําหรับคนท้อง 1 เดือน ท้อง 1 เดือน กินน้ำมะพร้าวได้ไหม


อาหารของหญิงมีครรภ์
อาการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่มักเกิดขึ้นในระยะที่มีครรภ์ได้แก่
 คลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการที่พบบ่อยในระยะที่มีครรภ์ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เรียกว่าการแพ้ท้อง อาการแพ้นี้แต่ละคนจะมีอาการไม่เหมือนกัน อาการแพ้จะเริ่มในเวลาเช้า และเป็นอยู่ในระยะ 2-3 เดือนแรก บางครั้งอาจแพ้ในตอนเย็น  เพราะร่างกายอ่อนเพลียจากการทำงาน  อาการแพ้อาจบรรเทาได้โดยการทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว
 ท้องผูก พบในระยะ 2-3 เดือนก่อนคลอด เพราะทารกโตขึ้น และกดทับลำไส้ ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้น้อย ประกอบกับการทานอาหารที่มีกากอาหารน้อยและออกกำลงกายน้อย วิธีแก้ไขคือ ให้กินผักผลไม้และดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกายด้วยการเดิน ทำงานหนักจนเกินไป
 ระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากมีฮอร์โมนบางชนิดเปลี่ยนแปลง ทำให้กระเพาะลำไส้มีการเคลื่อนไหวช้าลง และกรดน้ำย่อยในกระเพาะมีน้อยลง ทำให้มีอาการท้องอืด คลื่นไส้ บางครั้งมีอาการแสบยอดอก เพราะมีการย้อนกลับของน้ำย่อยในกระเพาะเข้าสู่หลอดอาหารบริเวณที่ติดกับกระเพาะ
การน้ำหนักเพิ่ม ในระยะมีครรภ์ 3 เดือนแรก น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นเพียง 1-2 กิโลกรัม เนื่องจากระยะนี้เป็นระยะที่มีการสร้างเนื้อเยื่อของแม่ และอวัยวะของทารกมากกว่าการเติบโตด้านขนาด หลังจาก 3 เดือนแล้ว น้ำหนักตัวแม่จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉลี่ยประมาณ 1.5 กิโลกรัมต่อเดือนจนถึงคลอด หญิงมีครรภ์ควรควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มมากจนเกินไป โดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานมาก
fหญิงมีครรภ์ต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้นเพราะ
 สร้างอวัยวะต่างๆของทารก
 สร้างเนื้อเยื่อของแม่ เช่น สร้างรก เลือด การขยายตัวขงมดลูก การขยายตัวของต่อมน้ำนม
 การทำงานของอวัยวะต่างๆ ได้แก่ หัวใจ ตับ ไต ต่อมไร้ท่อ
สารอาหารที่ต้องการในระหว่างมีครรภ์
โปรตีน ต้องการโปรตีนมากขึ้นกว่าปกติ เพราะใช้ในการสร้างเซลล์ ของแม่และทารก
 สารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ความต้องการพลังงานจะสูงที่สุดในช่วงระยะ 3 เดือนก่อนคลอด เพราะเป็นระยะที่ทารกเติบโตสูงมาก
f เกลือแร่ ได้แก่
    - แคลเซียม เพื่อใช้ในการสร้างกระดูกและฟันของทารก ความต้องการแคลเซียมจะเพิ่มมากขึ้นในเดือนที่ 4 และจะเพิ่มสูงสุดในระยะก่อนคลอดเพราะต้องใช้ในการสร้างนมให้ทารก
    - เหล็ก เพื่อใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง ร่างกายต้องสะสมเหล็กสำหรับแม่ในระหว่างการคลอดและสำหรับทารกหลังคลอด
    - ไอโอดีน ในระหว่างตั้งครรภ์ ต่อมไทรอยด์จะทำงานมากขึ้น ทำให้ร่างกายต้องการไอโอดีนมากขึ้น เพราะไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮอร์โมนไทรอคซิน ซึ่งผลิตโดยต่อมไทรอยด์ การที่แม่ได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ จะทำให้แม่เป็นโรคคอพอก และมีผลถึงทารกด้วย คือ ทำให้ทารกตัวเล็ก แคระแกร็น มีสติปัญญาต่ำ
    - วิตามิน ที่จำเป็นต้องได้รับมากขึ้นคือ วิตามินบี1 วิตามินบี2 ไนอะซิน วิตามินบี12 วิตามินเอ ดี อี เค
อาหารและปริมาณอาหารที่หญิงมีครรภ์ควรได้รับ
 เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ หอย ปลา ฯลฯ ควรได้รับวันละประมาณ 3/4 ถ้วยตวง
 ไข่เป็ด หรือไข่ไก่ ควรกินวันละ 1 ฟอง ไข่นอกจากจะให้โปรตีนแล้ว ยังมีเหล็กและวิตามินเอมากด้วย
 น้ำนม มีโปรตีนและแคลเซียมสูง ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว
 ถั่วเมล็ดแห้ง ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฯลฯ ควรได้รับวันละประมาณ 1/2 ถ้วยตวง
 ข้าวหรือแป้ง ให้พลังงาน ควรได้รับทุกวัน วันละ3-4ครั้ง ครั้งละ 1 1/2-2 ถ้วยตวง ถ้ากินข้าวซ้อมมือก็จะช่วยให้ได้รับวิตามินบี1เพิ่มขึ้น
 น้ำตาล ให้พลังงาน ควรกินแต่พอควรเพื่อไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็ว ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้ความหวานจัด
 ผัก ควรกินผักวันละ 2-3ครั้ง ครั้งละประมาณ 1/2-1ถ้วยตวง การกินผักนอกจากจะทำให้ได้เกลือแร่แล้ว จะทำให้การขับถ่ายดีด้วย
 ผลไม้ ควรกินผลไม้สดทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง เพื่อได้รับวิตามินซี
 ไขมัน ควรได้รับไขมันทุกวัน เพื่อให้วิตามินที่ละลายในน้ำมันดูดซึมได้ดี แต่ไม่ควรกินอาหารที่มีน้ำมันมาก เช่น ข้าวเกรียบ บ่อยเกินไป เพราะให้พลังงานมากเกินไป ทำให้ได้รับน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
อาหารที่หญิงมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ น้ำชา กาแฟ อาหารรสเผ็จัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด และอาหารใส่ผงชูรส

https://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4-5/no12/yingmekun.html

--------

ดื่มน้ำมะพร้าวช่วงท้อง ดีจริงหรือ ?
      ยามตั้งครรภ์ คุณแม่จะได้รายชื่อสารพัดอาหารบํารุงครรภ์ จากทุกสารทิศ หนึ่งในนั้นหนีไม่พ้น ‘น้ำมะพร้าว’ เรียกว่าเป็นเครื่องดื่มสําหรับคนท้องเลยก็ว่าได้ ด้วยสรรพคุณที่ได้ยินกันมาว่า เป็นน้ำที่สะอาด ดื่มเข้าไปแล้ว จะทําให้เด็กในท้อง ตัวสะอาด คลอดออกมาแล้วลูกจะผิวสะอาด ไม่มีไขมันติดตามตัว ฉบับนี้เราได้หาคําตอบ มาให้คุณแม่กันค่ะ
  ดื่มน้ำมะพร้าว ลูกในท้องตัวสะอาด    
   จากการสอบถาม นพ.อนันต์ โลหะพัฒนะบํารุง กุมารแพทย์ คุณหมอได้ให้ความเห็นในเรื่องน้ำมะพร้าวว่า “ในน้ำมะพร้าวมีกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันอิ่มตัวก็มี มีทั้งสองอย่าง ซึ่งเป็นข้อดี เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ดื่มน้ำมะพร้าว จะทําให้การสร้างไขตัวเด็กได้สีค่อนข้างขาว เลยอาจจะดูว่าเด็กออกมาตัวสะอาด คงไม่ใช่ออกมาแล้วเด็กไม่มีไข
 
     จริงๆ แล้วไขตัวเด็กนี้มีประโยชน์มาก เพราะจะทําให้เด็กคลอดง่าย ฉะนั้นคุณแม่ที่ดื่ม
น้ำ มะพร้าวบ่อยๆ อาจจะทําให้ไขตัวเด็กมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ เพียงแต่สีจะสะอาด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลอะไร เนื่องจากเป็นธรรมชาติที่เด็กต้องมีไขมันห่อหุ้มตัว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจากอุณหภูมิจากภายนอกด้วย”
 
 
     ในน้ำมะพร้าวมีอะไรบ้าง
     เอ่ยถึงในแง่ธรรมชาติบําบัด น้ำมะพร้าว เป็นน้ำผลไม้ที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะมีแร่ธาตุสําคัญต่อร่างกาย ได้แก่ โปรตีน น้ำตาล แคลเซียม โปรแตสเซียม ฟอสฟอรัส และไขมันที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย แถมน้ำมะพร้าว ยังเป็นน้ำผลไม้ที่ไม่เหมือนใครตรงที่ มะพร้าวมีลําต้นสูง กว่าต้นมะพร้าวน้ำจะออกดอกเป็นผล มีน้ำให้ได้ดื่มกัน ต้องผ่านการกลั่นกรองตามชั้นต่างๆ มาแล้ว คนไทยจึงถือว่า น้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่บริสุทธิ์มาก
   
 
    ประโยชน์มากมาย   
 น้ำ มะพร้าว สามารถดื่มเป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้นิ่ว บํารุงเส้นเอ็น บํารุงกระดูก มีฤทธิ์เป็นกลาง สามารถขับพยาธิ ร่างกายสามารถดูดซึมกลูโคสจากน้ำมะพร้าวไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ทําให้ร่างกายสดชื่น (ใครชื่นชอบน้ำอัดลมเพื่อดับกระหาย ลองเปลี่ยนเป็นน้ำมะพร้าวเย็นๆ สักแก้ว)
     อาหารทุกชนิดถึงแม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็ต้องมีข้อยกเว้น อย่างคนเป็นโรคไต โรคเบาหวานไม่ควรดื่มมาก และการซื้อน้ำมะพร้าวดื่ม ควรเลือกน้ำมะพร้าวอ่อนเป็นลูก ไม่ควรซื้อที่บรรจุขวดขาย ถ้าไม่แน่ใจในความสะอาด และสารฟอกขาวต่างๆ ที่สามารถฉีดใส่เข้าไปได้ (ส่วนมากพบในมะพร้าวเผา)
ที่มา : Mother&Care Vol.3 No.29 May 2007

อัพเดทล่าสุด