วิธีสังเกตการตั้งครรภ์ ตรวจตั้งครรภ์ได้เมื่อไหร่ ตรวจตั้งครรภ์ได้ตอนไหน ตรวจตั้งครรภ์ ผิดพลาด


1,761 ผู้ชม


จะทราบได้อย่างไรว่าตนเองตั้งครรภ์
เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว  ช่วงอายุระหว่าง10-20ปี  จะเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ไปสู่ความสมบูรณ์ของภาวะการเจริญพันธุ์  โดยเพศชายจะมีฮอร์โมนAndrogen เพิ่มมากขึ้นทำให้มีสิวขึ้นบริเวณใบหน้า
มีเสียงทุ้มใหญ่ขึ้น  มีรูปร่างสูงใหญ่มากขึ้น  มีขนที่รักแร้และบริเวณหัวหน่าว  และมีการหลั่งอสุจิเป็นครั้งแรก  ที่เรียกว่า
"ฝันเปียก" ส่วนเพศหญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ ได้แก่Gonadotrophins  จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
มากระตุ้นรังไข่ให้ทำหน้าที่  มีการเจริญเติบโตของถุงไข่  มีการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้มีการเจริญเติบโตทางเพศ 
ได้แก่มีการเจริญเติบโตของเต้านม  ต่อมน้ำนม  สะโพกผายมีขนที่รักแร้และบริเวณหัวหน่าว  มีส่วนโค้งและส่วนเว้าของ
ร่างกายมากขึ้น  และเริ่มมีประจำเดือน  ซึ่งหมายถึงสตรีผู้นั้นมีความสามารถที่จะตั้งครรภ์ได้  เมื่อมีการผสมกันระหว่าง
ไข่กับอสุจิ จะโดยการมีเพศสัมพันธ์หรือโดยวิธีการอื่นใดก็ตาม  และตัวอ่อนที่ได้รับการผสมแล้วมีการเดินทางไปฝังตัวภายใน
โพรงมดลูก  ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม

วิธีการสังเกตว่าตนเองตั้งครรภ์

การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ด้วยตนเองเป็นเรื่องไม่ยาก   เนื่องจากการตั้งครรภ์จะส่งผลให้สตรีนั้นมีการเปลี่ยนแปลง
ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ   ถ้าสตรีผู้นั้นเป็นคนที่เอาใจใส่ต่อสุขภาพของตนเองและสังเกตตนเองอย่างสม่ำเสมอ  ก็สามารถ
ที่จะสังเกตตนเองได้ว่าตั้งครรภ์หรือไม่  จากอาการและอาการแสดงดังนี้

อาการและอาการแสดงที่สงสัยว่าจะตั้งครรภ์

1. การขาดประจำเดือน  สำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาเป็นปกติทุกเดือนแต่อยู่ๆประจำเดือนขาดหายไป  เมื่อถึงกำหนดควร
    มาก็ไม่มาเหมือนที่เคยเป็น  จุดนี้ให้สงสัยเอาไว้ก่อน   แต่ก็ไม่ใช่ว่าประจำเดือนขาดแล้วจะตั้งครรภ์ทุกรายเสมอไปอาจเกิด
    จากสาเหตุอื่นก็ได้
2. มีอาการคลื่นไส้อาเจียน  วิงเวียนศีรษะ  ส่วนใหญ่อาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ1-3เดือนและจะเกิดขึ้นใน
    ตอนเช้าหลังตื่นนอนใหม่ๆที่เรียกกันว่า "แพ้ท้อง"หรือ"Morning  sickness" แต่สตรีตั้งครรภ์บางคนก็อาจไม่มีอาการนี้
3. มีการเปลี่ยนแปลงของเต้านม  เต้านมขยายใหญ่ขึ้นกว่าปกติ  ลานนมกว้าง  หัวนมมีสีคล้ำและรู้สึกเจ็บที่หัวนม  สตรีบางคน
    อาจมีน้ำนมสีเหลืองๆซึมออกมาจากหัวนมเล็กน้อยได้    ไม่ถือว่าผิดปกติ
4. มีอาการปัสสาวะบ่อย   เนื่องจากมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นและไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะโดยตรง เป็นเหตุให้ปัสสาวะบ่อย
    โดยไม่มีอาการแสบขัดแต่อย่างใด   เป็นเรื่องปกติของคนท้องเช่นกัน
5. มีอาการอ่อนเพลีย  เหนื่อยง่าย  เนื่องจากร่างการมีการเผาผลาญมากขึ้น  น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นและเอาแต่นอนเหมือนคนขี้เกียจ
6. มีการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนัง  โดยเพิ่มการสร้างPigmentation ของผิวหนังมากขึ้น  ทำให้ใบหน้า  คอ  รักแร้  อวัยวะเพศ
     มีสีคล้ำไม่ขาวผ่องเหมือนเคย  นอกจากนี้เส้นที่กลางท้องจะมีสีคล้ำ เรียกว่า Striae
7. อาจมีความรู้สึกเหมือนมีเด็กดิ้นตุ๊บๆอยู่ในท้องเมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ4-5 เดือน เป็นต้นไป
8. สตรีตั้งครรภ์มักมีอารมณ์หงุดหงิด  โกรธง่าย  ใจน้อย อยู่เป็นประจำเมื่อสตรีสังเกตตนเองแล้วว่ามีอาการเหล่านี้คงจะเกิด
    ความสงสัยมากยิ่งขึ้นว่าตั้งครรภ์หรือไม่


อาการและอาการแสดงดังต่อไปนี้จะช่วยตอกย้ำความสงสัยได้ว่า "น่าจะตั้งครรภ์แล้ว" ได้แก่

1. หน้าท้องขยายใหญ่ขึ้น   เมื่อตั้งครรภ์ได้ 3 เดือนไปแล้วมดลูกจะค่อยๆโตขึ้นพ้นกระดูกหัวหน่าวจะคลำพบก้อนนูน ๆ เหนือหัวหน่าวในตอนเช้า
2. อาจมีการหดรัดตัวของมดลูกเป็นบางครั้ง  มักสังเกตได้เมื่อตั้งครรภ์ 4 เดือนไปแล้ว
3. ใช้แถบตรวจปัสสาวะเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์  จะได้ผลเป็นบวก
4. คลำทางหน้าท้องจะพบมดลูกโตเป็นก้อน  มีขอบเขตของทารกชัดเจนมากขึ้น  ใช้มือจับมดลูกโยกเบาๆจะรู้สึกได้ว่าทารกลอยอยู่ในถุงน้ำคร่ำ   โดยเฉพาะในสตรีครรภ์แรก  หรือสตรีที่มีผนังหน้าท้องบาง

อาการทั้งหมดเหล่านี้ค่อนข้างเชื่อถือได้ว่า  น่าจะมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นแล้ว  ควรเตรียมตัวไปพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์โดย
ไม่รอช้า  เมื่อไปพบแพทย์ตรวจ  จะพบว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นแน่นนอน  เมื่อตรวจพบดังต่อไปนี้

1. ตรวจพบการเต้นของหัวใจทารก   ซึ่งปกติจะฟังเสียงหัวใจทารกทางหน้าท้องมารดาได้  เมื่อตั้งครรภ์ได้  4 เดือนเป็นต้นไป ในอัตรา 120-160 ครั้ง/นาที
2. ตรวจพบการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์   เมื่อเอามือสัมผัสบริเวณหน้าท้องของสตรีตั้งครรภ์จะพบทารกดิ้นตุ๊บๆ เมื่อตั้งครรภ์ได้4-5 เดือนเป็นต้นไป   ลักษณะนี้เรียกว่า"ลูกดิ้น"
3. ถ้าตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง  หรือ  อัลตร้าซาวน์   ก็จะพบตัวทารกชัดเจนแล้วส่วนใหญ่สตรีที่มีประจำเดือนมาสม่ำเสมอทุกเดือน และเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์แล้วควรมาพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ   เพราะการฝากครรภ์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่และลูกน้อย  เพื่อจะได้ตั้งครรภ์อย่างมีความสุข และมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งมารดาและทารก

อัพเดทล่าสุด