อาการตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ การตั้งครรภ์สัปดาห์แรก ปฏิทินการตั้งครรภ์


2,202 ผู้ชม


การตั้งครรภ์สัปดาห์แรก

ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ซึ่งก็คือช่วงสามเดือนแรก คุณแม่คงจะรู้สึกตื่นเต้นและมีคำถามมากมายเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปใช่ไหมคะ  เราจึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไว้บนเว็บไซต์ของเราเพื่อให้คุณแม่ทำความเข้าใจได้อย่างครบถ้วน นับตั้งแต่เรื่องอาหารที่ดีต่อสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ อาการแพ้ท้อง ไปจนถึงเวลาที่เหมาะสมในการเตรียมตัวลาคลอด

ประจำเดือนขาด


นับเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่ชัดเจนที่สุด หากปกติแล้วประจำเดือนของคุณมักมาตรงเวลา
ควรลองทดสอบ การตั้งครรภ์ได้แล้ว

แพ้ท้อง สัญญาณบ่งบอกว่าคุณตั้งครรภ์

อาการแพ้ท้อง มักแตกต่างกันไปในแต่ละคน คุณแม่บางท่าน อาจมีอาการคลื่นไส้หรือรู้สึกไม่สบาย โดยมักจะเกิดขึ้นหลังจากตั้งครรภ์ได้สัก 2-3 สัปดาห์ แต่บางท่านก็มีอาการเพียงแค่ไม่กี่วันหลังตั้งครรภ์ ถ้าโชคดี คุณอาจไม่มีอาการแพ้ท้องเลยก็ได้ และการแพ้ท้องอาจเกิดขึ้นเวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นช่วงเช้าเสมอไป

ปัสสาวะบ่อยขึ้น

ถ้าคุณสังเกตเห็นว่าตัวเองเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น นี่อาจเป็นสัญญาณที่น่ายินดีว่าคุณกำลังเริ่มตั้งครรภ์แล้ว ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในช่วง 3เดือนแรกจะทำให้คุณปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ

รู้สึกเหนื่อยง่ายหรือเปล่า

สัญญาณเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ที่พบเห็นได้บ่อยอีกประการหนึ่งก็คือความ รู้สึกเหน็ดเหนื่อยหมดเรี่ยวแรง ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกาย ดังนั้นหากคุณรู้สึกเหนื่อยง่ายโดยไม่มีสาเหตุลองตรวจสอบดูว่าเป็นเพราะคุณ กำลังตั้งครรภ์หรือเปล่า

รสชาติแปลกๆ ในปาก

คุณแม่บางท่านเล่าว่าครั้งแรกที่ตั้งครรภ์จะรู้สึกขมเฝื่อนหรือมีรสชาติ แปลกๆในปากขณะที่คุณแม่อีกหลายท่านก็รู้สึกเหม็นหรือทนไม่ได้กับอาหารหรือ เครื่องดื่มที่เคยทานอยู่ทุกวันเช่นชาหรือกาแฟ

การเปลี่ยนแปลงของเต้านม

ผิวหนังบริเวณรอบเต้านมหรือที่เรียกว่าลานนมจะมีสีคล้ำขึ้นและมีขนาดใหญ่ขึ้น

มีเลือดออกโดยไม่คาดคิดหรือเป็นตะคริว

ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วจะเดินทางจากท่อนำไข่เพื่อไปฝังตัวที่ผนังมดลูกและรอ การเติบโต กระบวนการนี้เรียกว่า การฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว และมักจะเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ 3 และ 4 ซึ่งอาจส่งผลข้างเคียง เช่น การเป็นตะคริว และมีเลือดออกกะปริดกะปรอย โดยเลือดอาจมีสีแดงสด สีชมพู หรือสีน้ำตาล

ตรวจสอบให้แน่ใจด้วยการทดสอบการตั้งครรภ์

แน่นอนว่าหนทางเดียวที่จะแน่ใจว่าคุณตั้งครรภ์แล้วก็คือการทดสอบการตั้ง ครรภ์โดยผลทดสอบนับจากวันแรกที่ประจำเดือนขาดไปหากเป็นผลบวกก็มั่นใจได้ว่า ตั้งครรภ์แน่นอน 
 

การตั้งครรภ์เดือนที่1

สำหรับทานที่ไม่ได้วางแผนการตั้งครรภ์ท่านอาจจะไม่มีอาการอะไร ประจำเดือนที่เลื่อนก็เลื่อนเป็นปกติ


ปฏิสนธิสัปดาห์แรก

สัปดาห์แรก

สัปดาห์ที่สอง

สัปดาห์ที่สี่

แต่สำหรับทานที่ประจำเดือนมาปกติ ช่วงนี้ก็จะมีการเลื่อนของประจำเดือนโดยที่ไม่มีอาการ

สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์

สัปดาห์แรก ขนาดของทารกยังเหมือนวุ้นไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว 5-7 วันจะฝังตัวที่ผนังมดลูก[uterus] ไข่เจริญอย่างรวดเร็วเรียก ตัวอ่อน [embryo] ซึ่งจะมีการสร้าง รก[ placenta] และสายสะดือ umbilical cord ] เพื่อเป็นทางนำอาหารจากแม่สู่ลูกและขับของเสียจากลูกสู่แม่ เด็กจะอยู่ในถุงน้ำเรียก amniotic sac ซึ่งป้องกันแรงเด็กจากการกระแทก

สัปดาห์ที่2-3

จะมีการสร้างประสาทไขสันหลังและกระดูกสันหลังรวมทั้งเส้นประสาท เมือเวลาผ่านไป 6 สัปดาห์เด็กจะมีหัวและลำตัว

สัปดาห์ที่ 4 เซลล์จะแบ่งตัวประมาณ 150 เซลล์และแบ่งเป็น3ชั้นได้แก่

  1. ชั้นนอก ectoderm ซึ่งจะสร้าง สมอง เส้นประสาท และผิวหนัง
  2. ชั้นกลาง mesoderm ซึ่งจะกลายเป็นกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเลือด หัวใจและอวัยวะเพศ
  3. ชั้นใน endoderm ซึ่งจะกลายเป็นอวัยวะภายในเช่น ตับ หัวใจ กระเพาะ ปอด เป็นต้น

เด็กจะมีขนาดประมาณ1/4 นิ้ว เริ่มมีการสร้างหัวใจ (5-6สัปดาห์หลังจากประจำเดือนครั้งสุดท้าย) ตาและแขน แต่ยังฟังเสียงหัวใจไม่ได้ สิ้นสุดสัปดาห์ที 6 เด็กจะมีขนาดครึ่งนิ้ว

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย

ในระยะแรกของการตั้งครรภ์จะมีอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอน ปัสสาวะบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ท้องอืด คัดเต้านม อารมณ์จะผันผวนเหมือนก่อนมีประจำเดือน บางท่านอาจจะมีอาการเลือดออกเล็กน้อยเนื่องจากตัวอ่อนฝังตัวอาการต่างๆจะ เป็นมากน้อยในแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน

การเปลี่ยนแปลงของพ่อบ้าน

จะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ทั้งดีใจ ตื่นเต้น ไม่มั่นใจว่าเด็กเกิดมาจะเลี้ยงเป็นหรือไม่ ใครเป็นเลี้ยง เป็นต้น คุณแม่ควรปรึกษากับพ่อบ้านในเรื่องต่างๆที่สงสัย

ข้อควรปฏิบัติ


เมื่อท่านเริ่มทราบว่าตั้งครรภ์ และไม่แน่ใจว่าตั้งครรภ์หรืไม่เรามีข้อแนะนำสำหรับทาน้

  • สำหรับท่านที่ไม่ได้วางแผนการตั้งครรภ์คงจะไม่ได้รับ วิตามินมาก่อน แนะนำให้ท่านหาวิตามินโฟลิกมารับประทาน เพื่อป้องกันความพิการทางสมอง
  • รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณอาหารเพราะระยะนี้เด็กยังไม่ต้องการพลังจากอาหาร
  • ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว
  • ซื้อแทบตรวจปัสสาวะมาตรวจซึ่งอาจจะให้ผลบวก
  • ตรวจกลุ่มเลือด และหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • ตรวจเลือดเพื่อหาดูว่ามีโรค ซิฟิลิส เอดส์ ไวรัสตับอักเสบ บี หัดเยอรมัน
  • ตรวจปัสสาวะหาไข่ขาว น้ำตาล และการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ตรวจมะเร็งปากมดลูก

กลับหน้าหลัก เดือนที่สอง


อัพเดทล่าสุด