มะหาด มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Artocarpus lakoocha Roxb. เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae มีถิ่นกำเนิดจาก
ทวีปเอเชียใต้ มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร ในประเทศไทยใช้สารสกัดแก่นมะหาดในการถ่ายพยาธิ ปัจจุบันมะหาด
ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นหลังจากมีการค้นพบว่า สารสกัดมะหาดมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอ็นไซม์ tyrosinase ในหลอดทดลอง
โดยสารที่ออกฤทธิ์นี้ ในสารสกัด ได้แก่ oxyresveratrol และ resveratrol โดย oxyresveratrol ยับยั้งเอ็นไซม์
tyrosinase ได้มากกว่าสาร resveratrol ถึง 20 เท่า
จากผลการทดสอบสารสกัดมะหาดในการยับยั้งเอ็นไซม์ tyrosinase ในหลอดทดลอง และประสิทธิภาพในการ
ยับยั้งการสร้างเมลานินในอาสาสมัคร พบว่า ค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ tyrosinase
ของสารสกัดมะหาด และ สาร oxyresveratrol มีค่าเท่ากับ 0.76 และ 0.83 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ
และผลการยับยั้งการสร้างเมลานินในอาสาสมัคร โดยใช้สารสกัดมะหาดที่ความเข้มข้น 0.25% w/v ในสารละลาย
propylene glycol เปรียบเทียบกับสารที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งเมลานิน ได้แก่ สารสกัด licorice ที่ความเข้มข้น 0.25%
w/v และ kojic acid ที่ความเข้มข้น 3% w/v ในสารละลายเดียวกัน โดยให้อาสาสมัรทาสารสกัดบริเวณต้นแขน
ข้างใดข้างหนึ่ง อีกข้างให้ใช้สารละลาย propylene glycol เพื่อเป็นตัวเปรียบเทียบปริมาณเมลานินที่ลดลง
จากผลการทดลองพบว่าสารสกัดมะหาดช่วยให้ผิวขาวขึ้นได้เมื่อใช้ทาติดต่อกันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ในขณะที่ kojic acid
และ สารสกัด licorice ต้องใช้เวลา 6 และ 10 สัปดาห์ ตามลำดับ จึงจะเห็นความแตกต่างของสีผิว นอกจากนี้ตำรับ
เครื่องสำอางโลชั่นชนิดไขมันในน้ำ (oil-in-water emulsion) สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของสารสกัดมะหาด (0.10 %w/w)
ในการทำให้ผิวขาวได้ดีขึ้น เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์
ดังนั้นการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สารสกัดมะหาดเพื่อให้ผิวขาว นอกจากจะต้องพิจารณาถึงความเข้มข้นของสารสกัด
มะหาดในผลิตภัณฑ์แล้ว รูปแบบของผลิตภัณฑ์ ก็มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของสารสกัดมะหาดเช่นกัน
แหล่งที่มา: www.thearokayashop.com