![]() 5 ท่าเด็ดพิชิตการเมื่อยด้วยลูกเทนนิส
อาการปวดเมื่อยจากพฤติกรรมประจำวันของเรา เช่น ก้มหน้าเล่นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ถือของหนัก หรือแม้แต่สะพายกระเป๋าเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว ลองมาดูวิธีง่าย ๆ แก้เมื่อยให้หายภายใน 5 นาทีด้วยอุปกรณ์หาง่าย ใกล้ตัวเรา นั่นก็คือ ลูกเทนนิส บ่อยครั้งที่เรารู้สึกปวดเมื่อยจากการนั่งนาน ๆ ยกของหนัก หรือยืนเป็นเวลานาน คนส่วนใหญ่มักเลือกบรรเทาอาการปวดเหล่านั้นด้วยวิธีการกินยาแก้ปวด ยาคลายเส้น หรือยาทาบรรเทาอาการปวดเพื่อให้หายเร็ว ๆ แต่กระปุกดอทคอมมีวิธีแก้เมื่อยที่ง่ายกว่านั้นมาฝาก และขอแนะนำให้ลองนำไปใช้กันดู รับรองว่าหายเมื่อยแน่นอน ไม่ต้องกินยาเลยด้วย ![]() ลูกเทนนิสเป็นอุปกรณ์กีฬาที่มีลักษณะกลมแข็งเล็กน้อย มีน้ำหนักเบา ผิวสัมผัสที่นุ่ม มีน้ำหนักกำลังเหมาะมือ ซึ่งด้วยรูปทรงกลมที่มีความแข็งกำลังดี เมื่อน้ำหนักตัวเรากดทับลงไปแล้วก็ไม่เสียรูปทรงง่าย ด้วยเหตุนี้เราจึงสามารถนำลูกเทนนิสมาใช้บริหารกายคลายอาการปวดเมื่อยต่าง ๆ ของเราได้ เช่น อาการเส้นยึด ปวดไหล่ ปวดคอ ปวดหลัง และปวดบริเวณกระดูกสันหลัง เป็นต้น ![]() อาการปวดเมื่อยของเราเกิดจากการที่เซลล์กล้ามเนื้อที่เรียกว่าเอ็นและพังผืดขาดความยืดหยุ่นจากการที่เลือดในบริเวณนั้นไม่ไหลเวียนดี ทำให้เราเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่เต็มที่ และบางครั้งการนวดคลายกล้ามเนื้ออาจยังแก้เมื่อยไม่ตรงจุดพอ เราจึงขอแนะนำวิธีที่ตรงจุดมากกว่า คือการใช้ลูกเทนนิสกดคลายเส้น ![]()
![]() เอ็นข้อไหล่เป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อระหว่างหัวไหล่กับกล้ามเนื้อแผ่นหลัง เราต้องเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนนี้เป็นประจำทุกวันไม่ว่าจะเป็นตอนสะพายกระเป๋า ถือของหนัก หรือนั่งพิมพ์งานหน้าคอมพิวเตอร์ ซึ่งการทรงตัวในท่าเดิมเป็นเวลานานย่อมส่งผลให้มีอาการปวดเมื่อยกับอวัยวะตำแหน่งนี้ได้ ลองมาดูท่าบริหารกันเถอะ ![]() ![]() ![]() กล้ามเนื้อแผ่นหลังเป็นตำแหน่งยอดฮิตที่คนเรามักปวดเมื่อยจากการนั่งทำงานในท่าเดิม ๆ นานติดต่อกันหลายชั่วโมง ลองมาดูกันว่าลูกเทนนิสจะช่วยคลายเมื่อยการปวดแผ่นหลังได้อย่างไร ![]() ![]() ![]() สำหรับคนที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทก็สามารถใช้ท่าบริหารนี้คลายอาการปวดเมื่อยได้เช่นกัน ดังนี้ ![]() ![]() ![]() คนส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมนั่งห่อตัว ทำให้เส้นเอ็นบริเวณกล้ามเนื้อหน้าอกของเราตึงโดยไม่รู้ตัว หากลองกดดูจะพบว่ามีอาการเจ็บจี๊ดอยู่ข้างใน แม้จะดูเหมือนว่ากล้ามเนื้อส่วนนี้ไม่สำคัญ ไม่จำเป็นต้องบริหารก็ได้แต่ความจริงแล้วก็เป็นกล้ามเนื้อส่วนสำคัญไม่แพ้กล้ามเนื้อส่วนอื่นเลย ดังนั้นเราลองมาดูท่าบริหารอวัยวะส่วนนี้กันเถอะ ![]() ท่านวดแก้ปวดเมื่อยที่เรานำมาฝากสามารถพลิกแพลงได้นะคะ อาจจะไม่ต้องบริหารเต็มรูปแบบตามที่เรานำมาฝากก็ได้ สามารถใช้คลึงเฉพาะบริเวณที่รู้สึกปวดเมื่อยก็ได้ค่ะ เช่น เอาไว้คลึงกับมือ เท้า น่องขา เป็นต้น โดยควรคลึงขึ้น-ลง ไป-มานานประมาณ 1-2 นาที เพียงเท่านี้ก็อาการเมื่อยก็หายได้อย่างงายดายแล้วล่ะค่ะ |
แหล่งที่มา: health.kapook.com |