โรคตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)


1,469 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ตับอ่อน  ระบบทางเดินอาหาร 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ไข้  ปวดท้อง  ตัวเหลือง  ปวดหลัง  ตาเหลือง 

บทนำ

โรคตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) เป็นโรคเกิดจากมีการอักเสบของเซลล์ของตับอ่อน (Pancreas) อาจทั้งจากการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อ เช่น เกิดจากพิษของสุรา หรือ จากการติดเชื้อ เช่น จากเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย

ตับอ่อน เป็นอวัยวะในช่องท้อง อยู่ใต้ต่อกระเพาะอาหาร จัดเป็นอวัยวะในระบบทางเดินอา หารเช่นเดียวกับตับ (Liver) แต่ตับอ่อนไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของตับ เป็นคนละอวัยวะกัน ไม่ได้เกี่ยวข้องกัน เพียงแต่มีชื่อภาษาไทยที่พ้องกัน ซึ่งผู้เขียนไม่ทราบที่มา แต่เข้าใจเอาเองว่า อาจเป็นเพราะ เป็นอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร และมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อเหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดเล็ก และเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มกว่าตับ จึงได้ชื่อว่า ตับอ่อน (ในภาษาไทย) ซึ่ง Pancreas มาจากภาษากรีก แปล ว่า เนื้อ (Flesh)

บางท่านเปรียบเทียบว่า ตับอ่อนมีลักษณะและขนาดเหมือนกล้วยหอม ประกอบด้วยเซลล์หลัก 2 ชนิด คือ เซลล์จากต่อมไร้ท่อ(Endocrine gland) และเซลล์จากต่อมมีท่อ หรือ ต่อมขับออก (Exocrine gland) โดยต่อมไร้ท่อ มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนหลายชนิด ที่เรารู้จักกันดี คือ ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของน้ำตาลในเลือด ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวาน ส่วนต่อมมีท่อ มีหน้าที่สร้างน้ำย่อยอาหาร ซึ่งช่วยย่อยอาหารในลำไส้เล็ก โดยเฉพาะการย่อยไขมัน

โรคตับอ่อนอักเสบ เป็นโรคของผู้ใหญ่ มักพบในอายุ ตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป จนถึงในผู้สูงอายุ ทั้งนี้การอักเสบของตับอ่อนพบเกิดได้ 2 แบบ คือ โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Acute pan creatitis) และ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง (Chronic pancreatitis)

 

โรคตับอ่อนอักเสบเกิดได้อย่างไร?

กลไกที่ทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบที่แน่ชัดยังไม่ทราบ แต่เชื่อว่า การอักเสบของตับอ่อน เกิดจากน้ำย่อยอาหารจากตับอ่อน โดยเฉพาะชนิดที่เรียกว่า ทริปซิน (Trypsin) ซึ่งเป็นน้ำย่อยโปรตีน ที่ปกติจะไม่ทำงานเมื่ออยู่ในตับอ่อน จะทำงานต่อเมื่อเข้าไปอยู่ในลำไส้เล็ก โดยเซลล์ของลำไส้เล็กตอนบนจะสร้างเอนไซม์ ชื่อ Enterokinase หรือ Enteropeptidase ซึ่งจะเป็นตัว กระตุ้นให้น้ำย่อยตับอ่อนทำงาน แต่เมื่อเซลล์/เนื้อเยื่อตับอ่อนอักเสบจากสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ จะส่งผลให้เกิดสารเคมีผิดปกติต่างๆขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นให้น้ำย่อยของตับอ่อนโดยเฉพาะ ทริปซินทำงาน น้ำย่อยเหล่านี้จึงย่อยสลายเซลล์/เนื้อเยื่อของตับอ่อนจึงก่อให้เกิดเป็นโรคตับอ่อนอักเสบขึ้น ซึ่งในการอักเสบเฉียบพลัน การอักเสบจะเป็นชั่วขณะ ประมาณ 1-2 สัปดาห์เซลล์/เนื้อเยื่อตับอ่อนก็จะฟื้นตัวกลับสู่สภาพปกติ แต่ถ้าเป็นการอักเสบเรื้อรัง เซลล์/เนื้อเยื่อจะค่อยๆถูกทำลายกลายเป็นพังผืดอย่างถาวร ไม่สามารถสร้างน้ำย่อยและสร้างฮอร์โมนได้ ดังนั้นร่างกายจึงขาดน้ำย่อยอาหาร และขาดฮอร์โมนต่างๆ โดยเฉพาะฮอร์โมนอินซูลิน ผู้ป่วยจึงเกิดภาวะขาดอาหาร และมักเกิดเป็นโรคเบาหวานขึ้น

นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากมีการทำลาย หรือก่อให้เกิดการอักเสบโดยตรงต่อเซลล์ของตับอ่อนจากสาเหตุต่างๆ เช่น จากแอลกอฮอล์จากการดื่มสุรา หรือการอักเสบของเนื้อเยื่อตับอ่อนจากโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง เป็นต้น

โรคตับอ่อนอักเสบมีสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงจากอะไร?

ดังกล่าวแล้วในบทนำว่า โรคตับอ่อนอักเสบทั้งอักเสบเฉียบพลันและอักเสบเรื้อรัง มีการเกี่ยวพันกัน โดยการอักเสบเรื้อรัง เกิดต่อเนื่องมาจากการอักเสบเฉียบพลัน ดังนั้นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงเดียวกัน ที่พบบ่อยมี 2 สาเหตุซึ่งรวมกันเป็นประมาณ 80% ของโรคตับอ่อนอักเสบทั้งหมด คือ จากโรคนิ่วในถุงน้ำดี (และโรคนิ่วในท่อน้ำดี) และจากการดื่มสุรา

 

โรคตับอ่อนอักเสบมีอาการอย่างไร?

 

แพทย์วินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรังได้ด้วยวิธีการเดียวกัน คือ จากประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยและการรักษาทั้งในอดีตและในปัจจุบัน การดื่มสุรา สูบบุหรี่ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือดดูค่าน้ำย่อยต่างๆ การตรวจภาพตับอ่อนด้วยอัลตราซาวด์ และ/หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และอาจมีการตรวจด้วยวิธีเฉพาะอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพิ นิจของแพทย์ เช่น การส่องกล้องตรวจทางเดินน้ำดี และท่อตับอ่อน ที่เรียกว่า อีอาร์ซีพี (ERCP ,Endoscopic retrograde cholangiopancreatography) เป็นต้น

รักษาโรคตับอ่อนอักเสบอย่างไร?

การรักษาโรคตับอ่อนอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง คือ การรักษาสาเหตุ/ปัจ จัยเสี่ยง และการรักษาประคับประคองตาอาการ

นอกจากในเรื่องน้ำและอาหารแล้ว ยาแก้ปวด และยาบรรเทาอาการคลื่นไส้ อา เจียน ก็เป็นอีกตัวยาที่สำคัญ

อนึ่ง ในผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง

 

โรคตับอ่อนอักเสบรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอย่างไร?

โดยทั่วไปโรคตับอ่อนเฉียบพลันเป็นโรคไม่รุนแรง รักษาได้หายประมาณ 80% ภายในประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่ประมาณ 20% เป็นโรครุนแรงและทำให้มีโอกาสเสียชีวิตได้ประมาณ 30% ซึ่งโอกาสเกิดโรครุนแรงจะสูงกว่าเมื่อมีสาเหตุจากโรคนิ่วในถุงน้ำดี หรือนิ่วในท่อน้ำดี มากกว่ามีสาเหตุจากสุรา นอกจากนี้ ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันยังสามารถเกิดเป็นซ้ำได้ ถ้ายังไม่สามารถรักษาควบคุมสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงได้

ตับอ่อนอักเสบ กลุ่มที่มีอาการรุนแรง มักเกิดจากเมื่อเซลล์/เนื้อเยื่อตับอ่อนอักเสบ จะก่อ ให้เกิดสารเคมีหลายชนิดเข้าสู่กระแสโลหิต/เลือด และไปก่อให้เกิดการอักเสบในหลายๆอวัยวะ ที่พบบ่อย คือ ปอด กล้ามเนื้อหัวใจ และไต ก่อภาวะ หายใจล้มเหลวและภาวะหัวใจล้มเหลว และไตวายเฉียบพลัน ซึ่งทั้งหมดเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

ในโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ทางการแพทย์จัดเป็นโรครุนแรง รักษาไม่หาย แต่บรรเทาอา การได้โดยผู้ป่วยต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ตลอดชีวิต เพราะมักมีผลข้างเคียงหลายอย่างตามมา เช่น อาการปวดท้องรุนแรงเรื้อรัง โรคเบาหวาน ท้องเสียเรื้อรัง ภาวะขาดอาหาร ส่งผลถึงคุณภาพชีวิต และเป็นสาเหตุเสียชีวิตได้เช่นกัน

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

เมื่อมีอาการดังกล่าวแล้วในหัวข้อ อาการ จำเป็นต้องรีบพบแพทย์เสมอ อาจภายใน 24 ชั่วโมง หรือฉุกเฉิน ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ ต่อจากนั้น ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล ซึ่งที่สำคัญ คือ

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล
  • กินยาต่างๆให้ครบถ้วน ถูกต้อง โดยเฉพาะยาแก้ปวด และยาช่วยย่อยอาหารต่างๆ
  • เลิก/ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลิก/ไม่สูบบุหรี่
  • จำกัดอาหารไขมัน
  • พบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือมีอาการเลวลง หรือกังวลในอาการ
 

ป้องกันโรคตับอ่อนอักเสบอย่างไร?

การป้องกันโรคตับอ่อนอักเสบ ที่สำคัญ คือ การลดปัจจัยเสี่ยง ซึ่งที่สำคัญคือ


ที่มา   https://haamor.com/th/โรคตับอ่อนอักเสบ/

อัพเดทล่าสุด