โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection)


2,651 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

กระเพาะปัสสาวะ  ไต  ระบบทางเดินปัสสาวะ  ระบบโรคติดเชื้อ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ไข้ 

บทนำ

การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection) หรือเรียกย่อว่า ยูทีไอ (UTI) คือ โรคหรือภาวะที่เกิดจากอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ทั้งนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากเชื้อโรคทุกชนิด เช่น เชื้อรา และเชื้อไวรัส แต่พบได้น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับการติดเขื้อจากแบคทีเรีย ดัง นั้นในบทนี้จึงจะกล่าวถึงเฉพาะการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น

ระบบทางเดินปัสสาวะ คือระบบที่มีหน้าที่ในการกรองน้ำปัสสาวะจากเลือด และกำจัดออกจากร่างกายทางน้ำปัสสาวะ ประกอบด้วย

โดย  

บางคนแบ่งระบบทางเดินปัสสาวะเป็น 2 ส่วน คือ

  1. ระบบทางเดินปัสสาวะตอนบน (Upper urinary tract) ซึ่งประกอบด้วยไต กรวยไต (ไตส่วนที่มีลักษณะเป็นโพรง มีหน้าที่เก็บกักปัสสาวะก่อนปล่อยลงสู่ท่อไต) และท่อไต
  2. และระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่าง (Lower urinary tract) ซึ่งประกอบด้วย กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นโรค/ภาวะที่พบได้บ่อยมาก พบเกิดได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็ก (พบได้ประมาณ 10% ของโรค/ภาวะนี้) ไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยทั่วไปมักพบในช่วงอายุ 16-35 ปี เป็นโรคพบในผู้หญิงบ่อยกว่าในผู้ชายประมาณ 4 เท่า โดยประมาณ 60%ของผู้ หญิงต้องเคยเกิดโรค/ภาวะนี้อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต เป็นโรค/ภาวะที่เกิดซ้ำได้บ่อย โดยพบว่า ประมาณ 50% เมื่อเกิดโรคแล้ว จะเกิดโรคซ้ำภายใน 1 ปี

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะมักเกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่างซึ่งเรียกว่า การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่าง (Lower Urinary tract infection หรือ Lower UTI) คือ โรค/ภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) และโรค/ภาวะท่อปัสสาวะอักเสบ (Urethri tis) มากกว่าประมาณ 20-30 เท่าของการเกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะตอนบนซึ่งเรียกว่า การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะตอนบน (Upper Urinary tract infection หรือ Upper UTI) ซึ่งมักเป็นการติดเชื้อของกรวยไต (โรคกรวยไตอักเสบ)

การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะเกิดได้อย่างไร? มีสาเหตุจากอะไร?

โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ

ประมาณ 75-95% ของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด อีโคไล (E.coli, Escherichia coli) ซึ่งเป็นแบคทีเรียประจำถิ่นอยู่ในลำไส้ใหญ่ จึงปน เปื้อนอยู่ในอุจจาระและในบริเวณรอบปากทวารหนัก ซึ่งจะอยู่ใกล้เคียงกับปากท่อปัสสาวะ โดย เฉพาะในผู้หญิง นอกจากนั้น ในผู้หญิงโอกาสรับเชื้อแบคทีเรียยังมาจากช่องคลอด ซึ่งปากช่องคลอดเปิดออกภายนอกใกล้กับปากท่อปัสสาวะ ดังนั้น ท่อปัสสาวะในผู้หญิง จึงได้รับเชื้อโรคได้ง่ายทั้งจาก ช่องคลอดและจากทวารหนัก ซึ่งลักษณะทางกายภาพนี้ จึงส่งผลให้ผู้หญิงเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะสูงกว่าผู้ชายมาก

เชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อยรองลงไปจาก อีโคไล คือ เชื้อ Staphylococcus saprophyti cus (ประมาณ 5-20%) และจากการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทั้งจาก หญิง-ชาย ชาย-ชาย และหญิง-หญิง รวมทั้งจากการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักและทางช่องปาก เช่น โรคหนอง และโรคหนองในเทียม นอกจากนั้นที่พบได้บ้างประปราย คือ จากแบคทีเรียในกลุ่ม Enterobacteriaceae (เช่น Klebsiella และ Proteus)

ภายหลังได้รับเชื้อ เชื้อจะเดินทางเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ก่อการอักเสบของท่อปัสสาวะ (โรคท่อปัสสาวะอักเสบ) เข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ก่อการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ (โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ) เข้าสู่ท่อไต ซึ่งมักไม่ก่ออาการอะไร หลังจากนั้นจะเดินทางเข้าสู่ไต/กรวยไต ก่อให้เกิดโรคกรวยไตอักเสบ ซึ่งการอักเสบของอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง หรือทุกอวัยวะดังกล่าว เรียกในภาพรวมว่า “โรค/ภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะมีอะไรบ้าง?

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ คือ

 

การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะมีอาการอย่างไร?

 

แพทย์วินิจฉัยการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะอย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆ ประวัติเพศสัมพันธ์ การตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะดูเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง อาจตรวจภายในในผู้ป่วยหญิง การตรวจทางทวารหนักในผู้ชายเพื่อตรวจคลำต่อมลูกหมาก และอาจมีการตรวจอื่นๆทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น ตรวจย้อมเชื้อ และ/หรือเพาะเชื้อ จากปัสสาวะร่วมกับตรวจหาชนิดของยาปฏิชีวนะที่จะใช้ฆ่าเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น การเอกซเรย์ช่องท้องและอุ้งเชิงกราน และ/หรือการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ ทั้งนี้ขึ้นกับอาการของผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์

รักษาการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะอย่างไร?

แนวทางการรักษาการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ คือ การใช้ยาปฏิชีวนะ การรักษาสาเหตุ และการรักษาประคับประคองตาอาการ

 

การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอย่างไร?

โดยทั่วไปเมื่อพบแพทย์ได้เร็ว การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจะไม่รุนแรง อาการจะดีขึ้นหรือหายได้ภายใน 2-3 วัน ทั้งนี้โดยเป็นการรักษาแบบผู้ป่วยนอกด้วยการกินยาปฏิชีวนะ แต่ในโรค/ภาวะกรวยไตอักเสบ โรคมักรุนแรง การให้ยาปฏิชีวนะมักให้ทางหลอดเลือดดำ และอาจจำเป็นต้องรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล

แต่ถ้าพบแพทย์ช้า หรือมีการเกิดเป็นซ้ำบ่อยๆ (พบได้ประมาณ 25%ของผู้ป่วย โดย เฉพาะในผู้หญิง) อาจส่งผลให้เชื้อดื้อยาและโรครุนแรงจนเกิดการติดเชื้อในกระแสโลหิต (เลือด)ได้ (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด) หรือเกิดเป็นโรคไตเรื้อรังได้

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเองและการพบแพทย์เมื่อมีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ คือ

  • เมื่อมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์ เพราะการรักษาจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องทั้งชนิดของยา ปริมาณยา (Dose) และระยะเวลาที่ได้รับยา เพื่อลดโอกาสเกิดโรคย้อนกลับเป็นซ้ำจากการรักษาที่ไม่เหมาะสม และเชื้อดื้อยา ดังนั้นจึงเป็นโรคที่ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองให้โรคหายได้
  • เมื่อพบแพทย์แล้ว ควรปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ
  • กินยาต่างๆให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่หยุดยาเอง ถึงแม้อาการจะดีขึ้น/หายแล้วก็ตา
  • ดื่มน้ำสะอาดให้มากกว่าเดิม อย่างน้อยวันละ 8-10แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
  • ไม่กลั้นปัสสาวะนาน
  • พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่นั่งนานๆ เช่น เมื่อรถติดมาก
  • งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าโรคจะหายแล้ว
  • สวมใส่กางเกงในเป็นผ้าฝ้าย100% ไม่รัดแน่นเกินไป เพื่อลดการระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศ และปากท่อปัสสาวะ และเพิ่มการระบายอากาศไม่ให้บริเวณนั้นอับชื้น
  • ในผู้หญิงควรล้างบริเวณอวัยวะเพศและปากท่อปัสสาวะจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อลดการปนเปื้อนแบคทีเรียจากปากทวารหนัก
  • ลองปรับเปลี่ยนชนิดยาคุมกำเนิด (ในผู้หญิง) หรือ เจลหล่อลื่น เมื่อเกิดโรคกระ เพาะปัสสาวะอักเสบโดยหาสาเหตุอื่นไม่ได้
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) ลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ
  • หลังการขับถ่ายควรล้างด้วยน้ำสะอาด และซับให้แห้งเสมอ อาจใช้กระดาษเปียกสำหรับทำความสะอาดของเด็กอ่อนเมื่อไม่สะดวกที่จะล้างทำความสะอาด
  • ใช้ทิชชูชนิดอ่อนนุ่ม ไม่แข็งกระด้างในบริเวณอวัยวะเพศเสมอ
  • รักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคต่อมลูกหมากโต
 

ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะอย่างไร?

การป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สำคัญ คือ


ที่มา   https://haamor.com/th/โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ/

อัพเดทล่าสุด