เยื่อบุหัวใจอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ (Endocarditis and Infective endocarditis)


1,620 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

หัวใจ  ระบบหัวใจและหลอดเลือด 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

เหนื่อยง่าย 

บทนำ

เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis) คือ การอักเสบที่เกิดขึ้นกับเยื่อบุภายในหัวใจ (Endo cardium) โดยเฉพาะส่วนที่บุลิ้นหัวใจซึ่งการอักเสบนี้ เกิดได้ทั้งจากการติดเชื้อ (เยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ Infective endocarditis หรือ Infectious endocarditis) และการอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อ (Non bacterial thrombotic endocarditis หรือ non infectious endocarditis)

  • เยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ (Infective endocarditis หรือ Infectious endocarditis) เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก ประมาณ 5-7.9 รายต่อประชากร 100,000 คน เป็นโรคที่พบได้ในทุกอายุ แต่พบได้สูงขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยประมาณ 50% ของผู้ป่วย พบเกิดในอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ผู้ชายพบได้บ่อยกว่าผู้หญิงประมาณ 3 เท่าโดยหาคำอธิบายไม่ได้ว่าทำไม
  • เยื่อบุหัวใจอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อ (Non bacterial thrombotic endocarditis หรือ non infectious endocarditis) เป็นโรคพบได้น้อย เป็นโรคที่วินิจฉัยได้ยากมาก ดังนั้นการวินิจ ฉัยมักเป็นการตรวจพบจากการตรวจศพ (Autopsy) ภายหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว ซึ่งพบได้ประ มาณ 0.3-9.3% ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตและได้รับการตรวจศพ เป็นโรคพบได้ในทุกอายุ แต่พบได้สูงกว่าในผู้ใหญ่ และจะสูงขึ้นในผู้สูงอายุ โดยพบในผู้หญิงและในผู้ชายใกล้เคียงกัน

เยื่อบุหัวใจอักเสบเกิดได้อย่างไร?

เยื่อบุหัวใจอักเสบเกิดได้กับทุกส่วนของหัวใจ แต่เกือบทั้งหมดมักเกิดที่ลิ้นหัวใจ โดย เฉพาะลิ้นหัวใจที่มีโรคอื่นๆอยู่หรือมีการบาดเจ็บ เช่น จากโรคไข้รูมาติก จากโรคลิ้นหัวใจแต่กำเนิด จากการผ่าตัดหัวใจ จากการผ่าตัดลิ้นหัวใจ หรือการใส่ลิ้นหัวใจเทียม โดยลิ้นหัวใจที่พบเกิดโรคได้บ่อย คือลิ้นหัวใจที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายกับห้องล่างซ้าย (Mitral valve) รองลงไป คือลิ้นหัวใจที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายกับท่อเลือดแดง (Aortic valve) (อ่านเพิ่มเติมในหัวใจ:กายวิภาคและสรีรวิทยา) และในการอักเสบ อาจเกิดขึ้นเพียงจุดใดจุดหนึ่ง หรือลิ้นใดลิ้นหนึ่งของหัวใจ หรือเกิดหลายๆจุด หรือหลายๆลิ้นหัวใจพร้อมกันก็ได้ ขึ้นกับความรุนแรงของโรค

กลไกการเกิดเยื่อบุหัวใจอักเสบ จะเกิดจากการมีโรคหัวใจ จึงส่งผลให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุหัวใจ โดยเฉพาะบริเวณลิ้นหัวใจ ซึ่งการอักเสบต่างๆจะส่งผลให้การไหลเวียนโลหิตในห้องต่างๆของหัวใจผิดปกติ ส่งผลให้เกิดเป็นก้อนเลือดเล็กๆ (Thrombus) ที่มักจะไปจับติดอยู่ที่ลิ้นของหัวใจ รองลงไปคือที่ผนังห้องหัวใจ ก้อนเลือดเล็กๆเหล่านี้จะจับตัวรวมกัน และอาจหลุดลอยเข้าไปในกระแสโลหิต ก่อให้เกิดการอุดตันหลอดเลือดต่างๆได้ทั่วร่างกาย ส่งผลให้อวัยวะที่มีหลอดเลือดอุดตันเกิดการทำงานผิดปกติจากขาดเลือด ซึ่งถ้าเกิดกับอวัยวะสำคัญ จะเป็นสาเหตุให้เกิดความพิการ และ/หรือ เสียชีวิตได้ เช่น หลอดเลือดหัวใจเอง หลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดปอด เป็นต้น

เมื่อก้อนเลือดที่เกิดขึ้นไม่มีการติดเชื้อ เรียกโรคที่เกิดการอักเสบของเยื่อบุหัวใจในลักษณะนี้ว่า “โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบโดยไม่ติดเชื้อ (Non bacterial thrombotic endo carditis)” แต่ถ้าเกิดมีเชื้อโรคในกระแสโลหิตจากสาเหตุใดๆก็ตาม เช่น จากมีฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือร่างกายมีการติดเชื้อต่างๆ เชื้อนี้จะไปจับที่ก้อนเลือดเล็กๆเหล่านี้ ที่จับอยู่ตามลิ้นหัวใจหรือตามผนังหัวใจเรียกว่า “ก้อนเชื้อ (Vegetation)” ซึ่งก้อนเลือดเล็กๆที่ติดเชื้อเหล่านี้ เมื่อหลุดลอยเข้ากระแสโลหิต นอกจากจะก่อให้เกิดหลอดเลือดอุดตันแล้ว ยังก่อให้เกิดการอักเสบติดเชื้อ และเกิดฝีหนองขึ้นกับอวัยวะต่างๆได้ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะ สมอง ปอดและตับ จึงส่งผลให้อวัยวะต่างๆทั้งขาดเลือด และทั้งติดเชื้ออย่างรุนแรง จัดเป็นโรคที่รุนแรง และเป็นสาเหตุของความพิการ หรือการเสียชีวิตได้สูง เรียกโรคของเยื่อบุหัวใจที่เกิดในลักษณะนี้ว่า “โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ (Infective endocarditis หรือ Infectious endo carditis)”

เยื่อบุหัวใจอักเสบมีสาเหตุจากอะไร?

สาเหตุของเยื่อบุหัวใจอักเสบ

ใครมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดเยื่อบุหัวใจอักเสบ?

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเยื่อบุหัวใจอักเสบ

เยื่อบุหัวใจอักเสบมีอาการอย่างไร?

อาการของเยื่อบุหัวใจอักเสบ

แพทย์วินิจฉัยเยื่อบุหัวใจอักเสบได้อย่างไร?

การวินิจฉัยโรค

รักษาเยื่อบุหัวใจอักเสบอย่างไร?

แนวทางการรักษา

นอกจากนั้น คือ การรักษาสาเหตุ เช่น รักษาโรคหัวใจ หรือ โรคมะเร็ง เป็นต้น และการรักษาตาอาการ เช่น ให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำเมื่อกินได้น้อย หรือการให้ออกซิเจนเมื่อมีอาการทางการหายใจ เป็นต้น

ในบางครั้ง เมื่อเป็นโรคลิ้นหัวใจ และ/หรือ เกิดภาวะเชื้อดื้อยา อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดลิ้นหัวใจเพื่อผ่าตัดเอาก้อนเชื้อออก

เยื่อบุหัวใจอักเสบรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?

ความรุนแรงของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

โดยทั่วไป อัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่ไม่ได้ใส่ลิ้นหัวใจเทียมอยู่ที่ประมาณ 16-27% ส่วนผู้ที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม อัตราเสียชีวิตจะอยู่ที่ประมาณ 25-40%

ผลข้างเคียงที่เกิดจากโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ ที่สำคัญ คือ มีการอุดตันของหลอดเลือดสมอง (โรคหลอดเลือดสมอง) ของปอด หัวใจเอง ตับและไต รวมทั้งการเกิดฝีหนองในอวัยวะเหล่านี้ จากการอุดตันของก้อนเลือดเล็กๆที่ติดเชื้อ ส่งผลให้อวัยวะเหล่านี้ล้มเหลว ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จนอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

ภาวะขาดไอโอดีนรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?

การดูแลตนเองที่สำคัญ คือ เมื่อมีอาการผิดปกติดังกล่าวควรรีบพบแพทย์เสมอ

ส่วนเมื่อวินิจฉัยได้แล้วว่าเป็นโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ เมื่ออยู่ในโรงพยาบาล จะอยู่ในการดูแลของแพทย์ พยาบาล ซึ่งเมื่อแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว การดูแลตนเอง คือ

ป้องกันเยื่อบุหัวใจอักเสบอย่างไร?

การป้องกันเยื่อบุหัวใจอักเสบโดยเฉพาะโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ เช่นเดียวกับดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ การดูแลตนเอง ซึ่งที่สำคัญ คือ

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อการมีสุขภาพแข็งแรง ลดโอ กาสติดเชื้อ
  • รักษาสุขภาพ ฟัน เหงือก และช่องปาก และพบทันตแพทย์เสมอ ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ การดูแลตนเอง
  • ป้องกัน รักษา ควบคุมโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
  • เลิกใช้สารเสพติด เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อทุกชนิด
  • ระมัดระวังในเรื่องความสะอาด ในการสักผิวหนัง หรือการเจาะผิวหนังต่างๆ
  • เมื่อเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค ต้องปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ อย่างเคร่งครัด และถ้าแพทย์แนะนำให้กินยา (อาจจำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อเมื่อเกิดแผล เช่น กรณีถอนฟัน เป็นต้น) ต้องกินให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยา
  • เมื่อมีการติดเชื้อต่างๆ เช่น มีบาดแผล หรือมีไข้สูง และไข้ไม่ลงหลังการดูแลตน เองภายใน 1-3 วัน ควรรีบไปโรงพยาบาล

ที่มา   https://haamor.com/th/เยื่อบุหัวใจอักเสบ/

อัพเดทล่าสุด