บทนำ
เนื้อเยื่ออ่อน (Soft tissue) หรืออาจเรียก เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) ได้ แก่ เนื้อเยื่อในกลุ่ม กล้ามเนื้อ หลอดเลือด ท่อ/สาย/หลอดน้ำเหลือง เอ็น และเส้นประสาท ซึ่งเนื้อเยื่อในกลุ่มนี้เมื่อเกิดเป็นโรคมะเร็ง จะมีธรรมชาติของโรคคล้ายคลึงกัน รวมทั้ง ปัจจัยเสี่ยง อาการ การวินิจฉัย แนวทางการรักษา ความรุนแรงของโรค การตรวจคัดกรอง และการป้องกัน ดังนั้นทางการแพทย์ด้านโรคมะเร็งจึงจัดให้เป็นโรครวมอยู่ในกลุ่มเดียวกัน และเมื่อเป็นโรคมะ เร็งจะเรียกว่า “ โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนหรือ โรคมะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Soft tissue sar coma หรือ Connective tissue sarcoma)” แต่นิยมเรียกว่า โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนมาก กว่า ดังนั้นในบทนี้ จึงขอใช้คำว่า “โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน”
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน เป็นโรคที่พบได้น้อย เพียงประมาณ 1%ของโรคมะเร็งทั้งหมดในผู้ใหญ่ และประมาณ 3% ของโรคมะเร็งในเด็ก พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอา ยุ พบในผู้ใหญ่ได้สูงกว่าในเด็กมาก อายุที่พบได้บ่อยอยู่ในช่วงประมาณ 50-60 ปี โดยพบโรคได้ในผู้ชายสูงกว่าในผู้หญิงเล็กน้อย ทั้งนี้ เนื่องจากเนื้อเยื่ออ่อนมีหลากหลายชนิด โรคมะเร็งจึงมีได้หลากหลายชนิดมาก ดังนั้นทั่วโลกและรวมทั้งในประเทศไทย จึงไม่มีสถิติที่ชัดเจนในภาพรวมของโรคมะเร็งทั้งหมดของเนื้อเยื่ออ่อน
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนมีกี่ชนิด? เกิดกับเนื้อเยื่ออ่อนส่วนไหนบ้าง?
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน/เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน มีหลากหลายชนิด แต่ทุกชนิดเป็นเซลล์มะเร็งที่เรียกว่า ซาร์โคมาร์ (Sarcoma) ทั้งนี้
- ประมาณ 40% จะเกิดกับเนื้อเยื่ออ่อนของขา
- ประมาณ 20% เกิดกับเนื้อเยื่ออ่อนของแขน
- ประมาณ 20% เกิดกับเนื้อเยื่ออ่อนในช่องท้อง (Intra and retroperitoneal cavity)
- ประมาณ 10% เกิดกับเนื้อเยื่ออ่อนในส่วนลำตัว
- และประมาณ 10% เกิดกับเนื้อเยื่ออ่อนในส่วนศีรษะและลำคอ
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนเกิดจากอะไร? มีปัจจัยเสี่ยงไหม?
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน/เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน แต่มีปัจจัยเสี่ยง คือ
- การได้รับสารเคมีบางชนิดเรื้อรัง เช่น สารฆ่าหญ้า Phenoxy herbicide หรือ สารบางชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก เช่น Vinyl chloride
- เคยได้รับรังสีไอออนไนซ์ (รังสีจากการตรวจโรค รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา) ในปริ มาณสูง เช่น จากรังสีรักษาในการรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ
- มีพันธุกรรมผิดปกติบางชนิด ทั้งชนิดถ่ายทอดได้ และชนิดไม่ถ่ายทอด
- อาจจากมีภาวะบวมเรื้อรังจากท่อน้ำเหลืองอุดตัน เช่น ภาวะแขน หรือขาบวมเรื้อรัง แต่ปัจจัยเสี่ยงจากสาเหตุนี้พบเป็นสาเหตุได้น้อยมาก
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนมีอาการอย่างไร?
อาการที่พบบ่อยของโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน/เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน คือ มีก้อนเนื้อโตผิดปกติในบริเวณ/ส่วนไหนของร่างกายก็ได้ มักโตเร็ว ไม่ปวด ไม่เจ็บ นอกจากนั้น อาการจะขึ้นกับตำ แหน่งที่เกิดโรค เช่น
- ถ้าเกิดใกล้บริเวณข้อ จะก่ออาการติดขัดในการใช้ข้อ
- เมื่อเกิดในช่องท้องส่วนใกล้กับกระเพาะอาหาร จะกดเบียดทับกระเพาะอาหาร ก่ออาการ แน่นอึดอัด และ/หรือคลื่นไส้อาเจียนเมื่อกินอาหาร
- หรือเมื่อเกิดในช่องท้องส่วนล่างจะกดลำไส้ใหญ่ ก่ออาการ ท้องผูก ปวดท้อง จากลำไส้ใหญ่อุดตัน เป็นต้น
เมื่อโรคมะเร็งนี้เกิดในเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่ภายนอกร่างกาย เช่น แขน ขา ลำตัว เมื่อโรคลุก ลามมาก ก้อนเนื้ออาจแตกเป็นแผลเรื้อรัง เลือดออก แผลอาจติดเชื้อ และเกิดอาการเจ็บปวดที่ก้อนเนื้อได้
นอกจากนั้น เมื่อโรคลุกลามมาก อาจลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองใกล้ๆก้อนมะเร็ง หรือแพร่ กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไป ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองเหล่านั้น โต คลำได้ เช่น เมื่อเกิดโรคที่ขา อาจคลำได้ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบด้านเดียวกับโรคและ/หรือคลำได้ต่อมน้ำ เหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้าซึ่งมักพบด้านซ้ายมากกว่าด้านขวา เป็นต้น
แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนได้อย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน/เนื้อเยื่อเกี่ยวพันได้จาก ประวัติอาการ การตรวจร่าง กาย การตรวจคลำก้อนเนื้อและต่อมน้ำเหลืองต่างๆ การตรวจภาพเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เกิดโรคด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ/หรือคลื่นแม่เหล็กเอมอาร์ไอ (MRI) แต่การวินิจฉัยโรคที่แน่นอน คือ การตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อ เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา
นอกจากนั้น คือ การตรวจต่างๆเพื่อประเมินระยะโรคและสุขภาพผู้ป่วย เช่น การตรวจเลือด เพื่อดูการทำงานของไขกระดูก ตับและของไต การตรวจภาพปอดและหัวใจด้วยเอกซ เรย์ธรรมดา ดูโรคของปอด หัวใจและการแพร่กระจายของโรคสู่ปอด และการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ตามอาการของผู้ป่วยและดุลพินิจของแพทย์ เช่น ตรวจสแกนกระดูกเพื่อดูโรคแพร่กระจายเข้ากระดูกเมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดหลัง หรือปวดกระดูกส่วนต่างๆมาก เป็นต้น
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนมีกี่ระยะ?
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน/เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน แบ่งเป็น 4 ระยะเช่นเดียวกับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ และในบางระยะอาจแบ่งย่อยได้อีกซึ่งแพทย์โรคมะเร็งใช้เพื่อช่วยในการรักษาและเพื่อการศึก ษา แต่ที่แตกต่างกับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ คือ ยังขึ้นกับว่าเป็นเซลล์มะเร็งชนิดแบ่งตัวต่ำ หรือ ชนิดแบ่งตัวสูง ซึ่งทั้ง 4 ระยะได้แก่
- ระยะที 1 ก้อน/แผลมะเร็ง เป็นเซลล์ชนิดแบ่งตัวต่ำ และยังไม่มีโรคลุกลามเข้าต่อมน้ำ เหลือง
- ระยะที่ 2 ก้อน/แผลมะเร็ง ขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร(ซม.) ชนิดเซลล์มะเร็งแบ่งตัวสูง หรือก้อนมะเร็งขนาดใหญ่กว่า 5ซม. ชนิดเซลล์มะเร็งแบ่งตัวต่ำ และทั้งหมดยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง
- ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม.และ/หรือมีโรคลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองใกล้กับก้อนมะเร็ง
- ระยะที่ 4 โรคมะเร็งแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลจากก้อนมะเร็ง และ/หรือแพร่กระจายทางกระแสโลหิต (เลือด) เข้าสู่อวัยวะต่างๆที่อยู่ไกลออกไป ซึ่งเมื่อแพร่กระจาย มักแพร่กระจายเข้าสู่ปอด
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนรักษาอย่างไร?
วิธีหลักในการรักษาโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน/เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน คือ การผ่าตัดก้อนเนื้อ ต่อ จากนั้นพิจารณาจาก การผ่าตัดก้อนเนื้อออกได้หมดหรือไม่ ระยะของโรคมะเร็ง และชนิดของเซลล์มะเร็ง เพื่อการรักษาต่อเนื่องเพิ่มเติมด้วย รังสีรักษา และ/หรือยาเคมีบำบัด ส่วนยารักษาตรงเป้ายังอยู่ในการศึกษา
มีผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนอย่างไร?
ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน/เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ขึ้นกับวิธีรักษา
- การผ่าตัด เช่น การสูญเสียเนื้อเยื่อ/อวัยวะ การเสียเลือด แผลผ่าตัดติดเชื้อ และเสี่ยงต่อการดมยาสลบ
- รังสีรักษา คือ ผลข้างเคียงต่อผิวหนัง (การดูแลผิวหนัง และผลข้างเคียงต่อผิวหนังบริเวณฉายรังสีรักษา) และเป็นปัจจัยเสี่ยงเพิ่มโอกาสเกิดกระดูกหัก และการบวมแขน หรือขา เมื่อฉายรังสีรักษาโรคบริเวณ แขน หรือขา
- ยาเคมีบำบัด คือ อาการ คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง ภาวะซีด และการติดเชื้อจากภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจากเคมีบำบัด และ/หรือรังสีรักษา : การดูแลตนเอง)
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนรุนแรงไหม?
โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน/เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เป็นโรคมีความรุนแรงปานกลาง โอกาสรักษาได้หายขึ้นกับ ระยะโรค ชนิดเซลล์มะเร็งขนาดก้อนมะเร็ง การผ่าตัดก้อนเนื้อออกได้หมด ตำ แหน่งเกิดโรค (บางตำแหน่งผ่าตัดไม่ได้) การดื้อต่อรังสีรักษาและต่อยาเคมีบำบัดของเซลล์มะ เร็ง อายุ และสุขภาพผู้ป่วย
อัตรารอดที่ 5 ปีหลังการรักษาใน
- โรคระยะที่ 1 ประมาณ 80-90%
- โรคระยะที่ 2 ประมาณ 60-70%
- โรคระยะที่ 3 ประมาณ 20-50% และ
- โรคระยะที่ 4 ประมาณ 0-10%
มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนไหม?
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน/เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ดังนั้นที่ดีที่สุด คือการสังเกตตนเอง เมื่อพบมีก้อนเนื้อผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาโรคแต่เนิ่นๆ
ป้องกันโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนอย่างไร?
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน/เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน แต่การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแล้วที่หลีกเลี่ยงได้ อาจช่วยลดโอกาสเกิดโรคนี้ลงได้ เช่น การหลีกเลี่ยงการสัม ผัสสารเคมีมีพิษต่างๆอย่างเรื้อรัง เป็นต้น
ดูแลตนเองอย่างไร? ดูแลผู้ป่วยมะเร็งอย่างไร?
การดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคมะเร็งและการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง อ่านเพิ่มเติมใน บทความเรื่อง การดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคมะเร็ง และการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง และเรื่อง การดูแลตนเอง การดูแลผู้ป่วยเคมีบำบัด
ที่มา https://haamor.com/th/มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน/