มะเร็งดวงตา (Malignant eye tumors)


1,209 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ระบบมะเร็งวิทยา  ระบบตา 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ตามัว 

บทนำ

โรคมะเร็งของดวงตา (Malignant eye tumors) เป็นโรคที่พบได้น้อยมากๆ บางการศึก ษาระบุว่า พบได้ประมาณ 5-6 รายต่อประชากร 1 ล้านคนต่อปี โดยพบได้กระจัดกระจายในทุกวัย ตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงผู้สูงอายุ ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคได้ใกล้เคียงกัน

โรคมะเร็งของดวงตา พบเกิดได้ทั้งดวงตาเพียงข้างเดียว ซึ่งพบได้บ่อยกว่า แต่พบเกิดทั้งสองข้างพร้อมๆกัน หรือตามกันมาได้ ทั้งนี้ ด้านซ้ายและด้านขวามีโอกาสเกิดได้เท่าๆกัน

ในสหรัฐอเมริกาช่วงปี พ.ศ. 2547-2551 พบโรคนี้ในผู้ชาย 1 รายต่อประชากรชาย 100,000 คนต่อปี และในผู้หญิง 0.7 รายต่อประชากรหญิง 100,000 รายต่อปี ส่วนในประเทศไทย ช่วง พ.ศ. 2544-2546 พบโรคนี้ในผู้หญิง 0.2 รายต่อประชากรหญิง 100,000 รายต่อปี และในผู้ชาย 0.3 รายต่อประชากรชาย 100,000 รายต่อปี

โรคมะเร็งของดวงตามีกี่ชนิด?

มะเร็งของดวงตา

โรคมะเร็งของดวงตามีได้หลากหลายชนิด ขึ้นกับว่าเกิดโรคมะเร็งกับ เนื้อเยื่อชนิดใดของดวงตา

อนึ่ง โรคมะเร็งที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด เป็นโรคมะเร็งที่เกิดกับเนื้อเยื่อต่างๆของดวงตาเอง (ทั้งในเบ้าตา และในลูกตา) ซึ่งเรียกว่า โรคมะเร็งชนิดปฐมภูมิ (Primary malignant eye tumor) แต่โรคมะเร็งของอวัยวะต่างๆก็สามารถแพร่กระจายตากระแสโลหิตมาสู่ลูกตาได้ ถึง แม้จะพบได้น้อยมากๆ ซึ่งเรียกว่า โรคมะเร็งทุติยภูมิ (Secondary malignant eye tumor หรือ Metastatic eye tumor) โดยโรคมะเร็งที่พบมีการแพร่กระจายมายังลูกตาได้สูง คือ โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งเต้านม และโรคมะเร็งของระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งของดวงตาเกิดจากอะไร? มีปัจจัยเสี่ยงไหม?

โรคมะเร็งตาในเด็กเล็ก มักมีปัจจัยเสี่ยงจากพันธุกรรมผิดปกติ แต่โรคมะเร็งของดวงตาในผู้ใหญ่ ยังไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนั้น ยังไม่ทราบปัจจัยเสี่ยงด้วย เพราะดังกล่าวแล้วว่า เป็นโรคที่พบได้ประปราย น้อยมากๆ การศึกษาต่างๆจึงมักมีข้อจำกัด

โรคมะเร็งของดวงตามีอาการอย่างไร?

อาการของโรคมะเร็งของดวงตาที่พบบ่อย คือ

 

แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งของดวงตาได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งของดวงตาได้จาก ประวัติอาการ ประวัติเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งต่างๆ การตรวจร่างกาย การตรวจดวงตาการส่องกล้องตรวจภายในดวงตา และการถ่ายภาพดวงตาด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ/หรือ คลื่นแม่เหล็กเอมอาร์ไอ (MRI) แต่การวินิจฉัยโรคที่แน่นอน คือ การตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

นอกจากนั้น คือการตรวจต่างๆเพิ่มเติม เพื่อประเมินระยะโรค และประเมินสุขภาพผู้ป่วย เช่น การตรวจเลือด ดูการทำงานของไขกระดูก (การตรวจซีบีซี/CBC) ดูโรคเบาหวาน ดูการทำ งานของตับและไต และการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดดูโรคของหัวใจ ปอด และดูการแพร่กระจายของโรคสู่ปอด

โรคมะเร็งของดวงตามีกี่ระยะ?

การจัดระยะของโรคมะเร็งของดวงตา ขึ้นกับชนิดของมะเร็ง เช่น การจัดระยะในโรคมะเร็งตาในเด็ก แต่โดยทั่วไป มักจัดระยะโดยแบ่งเป็น 4 ระยะ หรือ 4 กลุ่ม คือ

 

โรคมะเร็งของดวงตารักษาอย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งของดวงตา จะขึ้นอยู่กับการมองเห็นของผู้ป่วยเป็นสำคัญที่ สุด รองลงมา คือ เป็นโรคเกิดกับตาเพียงข้างเดียว หรือ ทั้งสองด้าน ชนิดของเซลล์มะเร็ง และการมีโรคลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง หรือ แพร่กระจายไปอวัยวะอื่นแล้ว ซึ่งแพทย์มักพิจารณาแนวทางการรักษาผู้ป่วยเป็นรายๆไป ซึ่ง วิธีรักษา คือ การรักษาหลักทั้ง 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด รังสีรักษา และยาเคมีบำบัด ส่วนยารักษาตรงเป้า ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา

มีผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งของดวงตาอย่างไร?

ผลข้างเคียงสำคัญ จากการรักษาโรคมะเร็งของดวงตา คือ ตาบอด ซึ่งมักเป็นผลข้าง เคียงจากการผ่าตัด และจากการฉายรังสีรักษา ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ปฏิเสธการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน จะยอมรักษาต่อเมื่อโรคลุกลามจนตาบอดไปแล้ว

นอกจากนั้น ผลข้างเคียงอื่นๆจะเช่นเดียวกับในการรักษาโรคมะเร็งของอวัยวะอื่นๆ ด้วยการผ่าตัด รังสีรักษา และยาเคมีบำบัดกล่าวคือ

 

โรคมะเร็งของดวงตารุนแรงไหม?

โรคมะเร็งของดวงตามีความรุนแรงปานกลาง เป็นโรคที่รักษาได้หาย เมื่อเป็นการรักษาโรคในระยะเริ่มแรก แต่เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดกับดวงตา ที่เป็นอวัยวะในการมองเห็น โรคมะเร็งดวงตาจึงเป็นโรครุนแรง เพราะอาจเป็นสาเหตุให้สูญเสียการมองเห็น/ตาบอดได้

และดังกล่าวแล้วว่า โรคมะเร็งของดวงตาเป็นโรคพบได้เพียงประปราย ดังนั้นจึงไม่มีสถิติที่ชัดเจนในอัตรารอดที่ 5 ปีภายหลังการรักษา แพทย์จะพูดคุยกับผู้ป่วย และครอบครัวของผู้ ป่วยเป็นคนๆไป

มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งของดวงตาไหม? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งของดวงตาให้พบโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ดัง นั้นที่ดีที่สุดในขณะนี้คือ เมื่อพบมีความผิดปกติดังกล่าวแล้วในหัวข้ออาการ ควรรีบพบแพทย์/จักษุแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่นๆ

ป้องกันโรคมะเร็งของดวงตาอย่างไร?

เนื่องจากเป็นโรคมะเร็งที่ไม่ทราบทั้งสาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งของดวงตา จึงเป็นโรคที่ยังไม่มีการป้องกัน

ดูแลตนเองอย่างไร? ดูแลผู้ป่วยมะเร็งอย่างไร?

การดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคมะเร็งและการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง การดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคมะเร็ง และการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง และเรื่อง การดูแลตนเอง การดูแลผู้ป่วยเคมีบำบัด
ที่มา   https://haamor.com/th/มะเร็งดวงตา/

อัพเดทล่าสุด