มะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric cancer)


1,847 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

กระเพาะอาหาร  ระบบทางเดินอาหาร  ระบบมะเร็งวิทยา 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

อาเจียนเป็นเลือด 

บทนำ

กระเพาะอาหาร (Stomach หรือ Gaster) เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบทางเดินอาหาร เป็นอวัยวะที่ต่อเนื่องมาจากหลอดอาหาร ทำหน้าที่หลักเป็นที่พักอาหาร และมีบางส่วนของอาหารที่จะถูกย่อยที่กระเพาะอาหารก่อนจะถูกส่งไปยังลำไส้เล็กซึ่งมีหน้าที่ในการย่อยและดูดซึมอาหารเป็นส่วนใหญ่ กระเพาะอาหารประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ได้แก่ เยื่อบุชั้นในสุด หรือเยื่อเมือก(Mucosa) ชั้นถัดมาตรงกลางคือชั้นกล้ามเนื้อ และชั้น นอกสุดเป็นชั้นของเยื่อเลื่อม (Serosa) ปกคลุมกระเพาะอาหารด้านนอกสุด

ในบทนี้จะกล่าวถึงทั้งมะเร็งของกระเพาะอาหาร ที่ในภาษาแพทย์เรียกว่า Gas tric cancer หรือ Carcinoma of stomach ซึ่งในบทนี้ต่อไปขอเรียกโรคนี้ว่า มะเร็งกระ เพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหารคืออะไร?

มะเร็งของกระเพาะอาหารเป็นโรคมะเร็งที่เหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ กล่าวคือ การที่เซลล์เยื่อเมือกมีการแบ่งจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งขึ้นมา และเจริญเติบโตลุกลามออกมาถึงบริเวณเยื่อบุผิวด้านนอก และลุกลามไปยังเนื้อเยื่อ/อวัยวะรอบๆกระเพาะอาหารได้ เช่น ตับอ่อน หลอดอาหาร และลำไส้ นอกจากนั้นเซลล์มะเร็งเหล่านี้จะมีการแพร่กระจายเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง หรือกระแสเลือด (โลหิต) ทำให้เกิดการแพร่กระจายของตัวโรคได้

อนึ่ง มะเร็งกระเพาะอาหารที่เกิดจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิด GIST (Gastrointes tinal Stromal Tumor) นั้นจะมีลักษณะการดำเนินของโรคและการรักษาที่แตกต่างจากมะเร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงในบทนี้ เพราะเป็นมะเร็งชนิดที่พบได้น้อย และโดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึง โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร จะหมายถึง โรคมะเร็งที่เกิดจากเยื่อเมือก (Carcinoma of stomach)

มะเร็งกระเพาะอาหารมักพบในใคร?

มะเร็งกระเพาะอาหารมักพบในผู้ชายมากกว่าในผู้หญิงประมาณ 3 เท่า และมักพบในช่วงอายุ 60-70 ปี

อะไรเป็นสาเหตุของมะเร็งกระเพาะอาหาร?

ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร แต่มีการศึกษาพบว่า มีปัจจัยบางอย่างที่อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค คือ

 

มะเร็งกระเพาะอาหารมีอาการอย่างไรบ้าง?

อาการที่พบได้ในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารในระยะเริ่มแรกนั้นอาจจะไม่แสดงอาการอะไร แต่เมื่อรอยโรคมีการเจริญเติบโตมากขึ้น ก็จะมีอาการคล้ายอาการของการเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือโรคแผลในกระเพาะอาหาร (โรคแผลเปบติคและโรคแผลในกระเพาะอาหาร) ดังต่อไปนี้

อนึ่ง เมื่อให้การรักษาเหมือนในผู้ป่วยที่เป็นกระเพาะอาหารอักเสบหรือแผลในกระเพาะอาหารไปแล้ว ผู้ป่วยอาจมีอาการดีขึ้นได้ แต่มักมีอาการขึ้นมาอีก หรือมีอาการมากขึ้นเมื่อโรคเป็นมากขึ้น โดยอาจมีอาการดังต่อไปนี้ คือ

 

แพทย์วินิจฉัยมะเร็งกระเพาะอาหารได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้จาก

  1. ซักประวัติทางการแพทย์ต่างๆ เช่น ลักษณะอาการปวด และสีของอุจจาระ และการตรวจร่างกาย
  2. เอกซเรย์ทางเดินอาหารส่วนบน หรือการเอกซเรย์กลืนแป้ง เป็นการตรวจที่ให้ผู้ป่วยกลืนน้ำที่มีส่วนผสมของแป้งแบเรียม (Barium) ซึ่งเป็นผงสีขาวคล้ายแป้ง ซึ่งน้ำแป้งแบเรียมนั้นจะไปเคลือบผิวของหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร จึงเห็นรอยโรคได้จากการตรวจทางเอกซเรย์
  3. อัลตราซาวน์ภายในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร (Endoscopic ultra sound) เพื่อดูรอยโรคว่ามีการลุกลามไปที่ชั้นต่างๆของกระเพาะอาหารชั้นใดบ้างหรือไม่
  4. เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง เพื่อดูรอยโรค ลักษณะของโรค และการแพร่ กระจายของโรคในช่องท้อง
  5. ตรวจส่องกล้องช่องท้องส่วนบน เพื่อดูรอยโรคบริเวณหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น นอกจากนั้นยังสามารถตัดชิ้นเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิ เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง
  6. การตรวจเลือดซีบีซี (CBC) เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไปของผู้ป่วยก่อนการรักษา
  7. การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ
  8. การตรวจเลือดเพื่อหาสารมะเร็ง (Tumor marker) ชนิดซีอีเอ (CEA) ซึ่งค่านี้อาจจะปกติหรือผิดปกติก็ได้ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร แต่ถ้าค่าผิด ปกติตั้งแต่แรกก่อนเริ่มการรักษาจะเป็นประโยชน์ในการตรวจติดตาโรคได้
  9. เอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องอก ปอด และการแพร่กระจายของโรคสู่ปอด
  10. การตรวจอุจจาระว่ามีเลือดออกร่วมด้วยหรือไม่ โดยการดูผ่านทางกล้องจุลทรรศน์
  11. การตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไปของผู้ป่วยก่อนการรักษา
 

มะเร็งกระเพาะอาหารมีกี่ระยะ?

มะเร็งกระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1:   มะเร็งกระเพาะอาหารลุกลามอยู่ในชั้นเยื่อเมือกถึงชั้นกล้ามเนื้อ ไม่มีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง หรือโรคลุกลามเฉพาะชั้นเยื่อเมือกร่วมกับมีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ติดกระเพาะอาหารไม่เกิน 2 ต่อม

ระยะที่ 2:   มะเร็งกระเพาะอาหารลุกลามเข้าเยื่อเลื่อม หรือลุกลามเข้า เยื่อบุช่องท้อง โดยไม่มีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองหรือโรคลุกลามถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือชั้นเยื่อเลื่อม ร่วมกับ ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 2 ต่อม หรือโรคลุกลามเข้าชั้นเยื่อเมือก และ/หรือชั้นกล้ามเนื้อ ร่วมกับลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง 3-6 ต่อม หรือโรคลุก ลามเข้าชั้นเยื่อเมือกร่วมกับลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองมากกว่า 6 ต่อม

ระยะที่ 3:   มะเร็งกระเพาะอาหารลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง เช่น ม้าม ลำไส้เล็ก ตับอ่อน และเยื่อบุช่องท้องร่วมกับลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 2 ต่อม หรือโรคลุก ลามเข้าเยื่อเลื่อมร่วมกับลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่ 3 ต่อมขึ้นไป หรือโรคลุกลามเข้าชั้นกล้ามเนื้อร่วมกับลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่ 7 ต่อมขึ้นไป

ระยะที่ 4:   มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ซึ่งเมื่อแพร่กระจายมักเข้าสู่ ตับ ปอด และเยื่อบุช่องท้องจนก่อให้เกิดน้ำในช่องท้อง

รักษามะเร็งกระเพาะอาหารอย่างไร?

ในการดูแลรักษามะเร็งกระเพาะอาหารนั้น มีการรักษาหลักๆร่วมกันอยู่ 4 วิธี คือ การผ่าตัด ยาเคมีบำบัด รังสีรักษา และการรักษาประคับประคองตาอาการ ส่วนการรักษาด้วยยารักษาตรงเป้า ยังอยู่ในการศึกษา และยายังมีราคาแพงมหาศาลเกินกว่าผู้ป่วยทุกคนจะเข้าถึงยาได้

  1. การผ่าตัด เป็นการรักษาหลักของการรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งมีการผ่า ตัดอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะของโรคความสมบูรณ์แข็งแรงของผู้ป่วยและดุลพินิจของแพทย์ที่ทำการรักษา ตัวอย่างเช่น
  2. การให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งการให้ยาเคมีบำบัดนั้นจะใช้ในหลายกรณี ได้แก่
    • เพื่อลดขนาดของก้อนมะเร็งก่อนการผ่าตัด
    • ให้ร่วมกับรังสีรักษาหลังการผ่าตัด ในผู้ป่วยบางรายที่มีโอกาสการกลับเป็นซ้ำของโรคหลังผ่าตัด เช่น มีมะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง หรือในโรคระยะที่ 3 รวมทั้งใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำการผ่าตัดได้ แต่ยังไม่มีโรคแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ และยังมีร่างกายที่แข็งแรงพอที่จะทำการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษาได้
    • เพื่อบรรเทาอาการในผู้ป่วยระยะโรคแพร่กระจาย
  3. การใช้รังสีรักษา มีการใช้รังสีรักษา 2 กรณี ได้แก่
  4. การรักษาประคับประคองเพื่อบรรเทาอาการในผู้ป่วยที่ร่างกายไม่แข็งแรงพอ ที่จะให้การรักษาด้วยวิธีอื่นๆได้ หรือในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
 

การรักษามะเร็งกระเพาะอาหารมีผลข้างเคียงอย่างไร?

ผลข้างเคียง (ผลแทรกซ้อน) จากการรักษาในแต่ละวิธีนั้นจะแตกต่างกันตามแต่ละวิธีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษา และผลข้างเคียงอาจพบได้มากขึ้นหากผู้ป่วยได้รับการรัก ษาด้วยหลายๆวิธีร่วมกัน

 

มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นโรครุนแรงไหม?

ความรุนแรงของมะเร็งกระเพาะอาหารขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก คือ จากตัวผู้ป่วยเอง และจากการรักษา

  • ปัจจัยจากตัวผู้ป่วยเอง ได้แก่
    • อายุ คือ ผู้ป่วยอายุน้อย มักจะทนการรักษาได้ดีกว่าผู้ป่วยสูงอายุ จึงมีผลการรักษาที่ดีกว่า
    • สุขภาพร่างกายทั่วๆไปของผู้ป่วย คือ ถ้าผู้ป่วยมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์จะสามารถทนการรักษาได้ดีกว่า จึงมีผลการรักษาดีกว่าด้วย
    • โรคร่วมต่างๆของผู้ป่วย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง อาจเป็นอุปสรรคต่อการรักษาและส่งผลให้มีผลข้างเคียงจากการรักษามาก กว่าคนปกติ
  • ปัจจัยจากการรักษา กล่าวคือ ผู้ป่วยที่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้มักมีผลการรักษาที่ดีกว่าผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ โดยอัตรา อยู่รอดเมื่อสามารถผ่าตัดก้อนเนื้อมะเร็งได้หมดเป็นดังนี้ คือ
    • โรคระยะที่ 1   อัตรารอดชีวิตที่ 5 ปี ประมาณ 70%
    • โรคระยะที่ 2   อัตรารอดชีวิตที่ 5 ปี ประมาณ 30 - 40%
    • โรคระยะที่ 3   อัตรารอดชีวิตที่ 5 ปี ประมาณ 15%
    • โรคระยะที่ 4   ที่ผ่าตัดไม่ได้ อัตรารอดชีวิตที่ 5 ปี 0-5%
 

มีวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหารไหม? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งกระเพะอาหารตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ดังนั้นจึงควรสังเกตอาการผิดปกติต่างๆดังกล่าวแล้ว หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่นๆ

ป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหารได้อย่างไร?

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร แต่มีข้อแนะนำ เพราะอาจลดโอกาสเกิดโรคนี้ได้บ้าง คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคดังกล่าวแล้วที่หลีกเลี่ยงได้ เช่น การรับประทานอาหารปิ้งย่าง หมักดองอาหารเค็ม และการสูบบุหรี่

ดูแลตนเองอย่างไร? ดูแลผู้ป่วยมะเร็งอย่างไร?

การดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคมะเร็งและการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง การดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคมะเร็งและการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง และ การดูแลตนเอง การดูแลผู้ป่วยเคมีบำบัด
ที่มา   https://haamor.com/th/มะเร็งกระเพาะอาหาร/

อัพเดทล่าสุด