ภาวะหายใจล้มเหลว (Respiratory failure)


2,077 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

หัวใจ  ระบบหัวใจและหลอดเลือด 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

บทนำ

ภาวะหายใจล้มเหลว (Respiratory failure) คือ ภาวะซึ่งระบบหายใจทำหน้าที่แลก เปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้มีระดับออกซิเจนในเลือดแดงต่ำ (Hypoxia) หรือมีคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือดมาก (Hypercapnia) เป็นภาวะที่เป็นผลมาจากการเป็นโรคต่างๆ มีทั้งชนิดที่เกิดขึ้นเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง การรักษาคือการพยายามเพิ่มระดับออกซิเจน และการลดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ ในเลือด ร่วมกับการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละโรค ภาวะหายใจล้มเหลว เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ โดยสา เหตุการเกิดจะแตกต่างกันไปในแต่ละเพศ แต่ละวัย

ระบบการหายใจทำงานอย่างไร?

ภาวะหายใจล้มเหลว

การทำงานของระบบหายใจ ประกอบไปด้วย

  • ระบบประสาทและสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการหายใจเข้า-ออก
  • ระบบของกล้ามเนื้อทั้งกล้ามเนื้อกระบังลม และกล้ามเนื้อระหว่างซี่โครง ซึ่งทำหน้าที่ช่วยในการยืดขยายของปอด
  • ส่วนปอดเองซึ่งประกอบไปด้วยทางผ่านเข้า-ออกของอากาศ (หลอดลม) และถุงลมซึ่งทำหน้า ที่แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์
  • รวมไปถึงระบบการไหลเวียนโลหิต ที่นำเลือดที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไหลเวียนมาแลก เปลี่ยนกับก๊าซออกซิเจนจากอากาศในถุงลม และนำเลือดที่มีก๊าซออกชิเจนไปให้อวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ และผลิตเป็นพลังงานขึ้นมาใช้ในร่างกาย

    ดังนั้นหากการทำงานของระบบต่างๆเหล่านี้ผิดปกติขึ้นมา ย่อมส่งผลต่อระบบการหายใจ และอาจทำให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลวขึ้นมาได้

อะไรเป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงของภาวะหายใจล้มเหลว?

ภาวะหายใจล้มเหลว แบ่งออกได้เป็น

  1. ภาวะหายใจล้มเหลวที่มีระดับก๊าซออกซิเจนในเลือดแดงต่ำกว่าปกติ คือมีความดันก๊าซน้อยกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท จะเรียกว่า Hypoxemic respiratory failure ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดแดงเป็นปกติ หรือต่ำกว่าปกติเล็กน้อย สาเหตุเกิดจากความไม่สมดุลระหว่างอากาศ และเลือดที่ไหลเวียนเข้าสู่ปอดเพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซ โดยอาจเกิดจากมีอากาศไหลเวียนเข้าสู่ถุงลมเพียงพอ แต่มีเลือดไหลมาแลกเปลี่ยนก๊าซไม่เพียงพอ (เรียกว่าเกิด V/Q mismatch) หรือเกิดจากไม่มีอากาศไหลเวียนเข้าสู่ถุงลม แต่มีเลือดไหลมาที่ถุงลม ซึ่งทำให้เลือดไม่ได้มีการแลกเปลี่ยนก๊าซเกิดขึ้น (เรียกว่าเกิด Shunt) ในทั้ง 2 กรณี ผลที่ตามมาคือทำให้มีระดับก๊าซออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ โรคและภาวะที่ทำเกิด V/Q mismatch และ Shunt เกิดขึ้น ได้แก่
  2. ภาวะการหายใจล้มเหลวที่มีระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงกว่าปกติ คือมีความดันก๊าซมากกว่า 50 มิลลิเมตรปรอท จะเรียกว่า Hypercapnic respiratory failure นอก จากนี้ระดับก๊าซออกซิเจนในเลือดแดงก็จะต่ำกว่าปกติด้วย สาเหตุเกิดจากการหายใจเข้า ลดลง อาจเป็นจำนวนครั้งของการหายใจเข้าที่ลดลง หรือหายใจเข้าตื้นกว่าปกติ โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากโรคของระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ควบคุมหายใจเข้าออกของปอด เช่น

ภาวะหายใจล้มเหลวมีอาการอย่างไร?

อาการของภาวะหายใจล้มเหลว ขึ้นอยู่กับแต่ละโรค แต่ละภาวะที่เป็นสาเหตุ แต่โดยภาพ รวม

เมื่อเกิดภาวะหายใจล้มเหลวที่ทำให้มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อย รู้สึกหายใจไม่อิ่ม หากรุนแรงจะรู้สึกหายใจไม่ออก หายใจลำบาก เหมือนคนกำลังจมน้ำ นอกจากนี้ บริเวณริมฝีปาก เล็บ และผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ

ส่วนผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวที่มีระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง มักจะมีอาการเหนื่อย และหายใจหอบลึก

ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม หากอาการรุนแรงอาจมีอาการซึมจนถึงขั้นโคม่า กระสับกระส่าย หรือสับสนได้

แพทย์วินิจฉัยภาวะหายใจล้มเหลวอย่างไร?

สิ่งที่ต้องทำคู่กันเสมอเมื่อให้การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีภาวะหายใจล้มเหลวเกิดขึ้นแล้ว คือ ต้องให้การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรค หรือมีภาวะอะไรที่เป็นสาเหตุ ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น หรือเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดภาวะหายใจล้มเหลว การจะวิ นิจฉัยว่าเกิดภาวะหายใจล้มเหลวเกิดขึ้น อาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ คือ การเจาะเลือดจากหลอดเลือดแดง ดูค่าความดันก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ (Arterial blood gas ) โดยจะพบค่าความดันก๊าซออกซิเจนต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท หรือพบค่าความดันก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์สูงกว่า 50 มิลลิเมตรปรอท นอกจากนี้การตรวจ Arterial blood gas จะช่วยบอกว่าผู้ป่วยเกิดอาการแบบเฉียบพลันหรือแบบเรื้อรังได้ โดยในผู้ป่วย Hypercapnic respira tory failure หากตรวจพบว่าเลือดเป็นกรด (pH อาการเฉียบพลัน แต่หากค่า pH ลดลงกว่าปกติเพียงเล็กน้อย แสดงว่าเกิดการหายใจล้มเหลวมานานหลายวันหรือมากกว่านั้นแล้ว

ส่วนในผู้ป่วย Hypoxemic respiratory failure จะใช้การตรวจเลือดดูปริมาณเม็ดเลือดแดง หากมีปริมาณเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ บ่งว่าผู้ป่วยเกิดการหายใจล้มเหลวมาเรื้อรังแล้ว

เมื่อวินิจฉัยว่าเกิดภาวะหายใจล้มเหลวแล้ว แพทย์จะตรวจร่างกายและตรวจพิเศษอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุ รวมทั้งภาวะแทรกซ้อน/ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ตัวอย่าง ได้แก่

 

ภาวะหายใจล้มเหลวมีผลข้างเคียงอย่างไร?

ภาวะแทรกซ้อน/ผลข้างเคียงที่เกิดจากภาวะหายใจล้มเหลว เกิดจากการที่อวัยวะต่างๆในร่างกายได้รับออกซิเจนจากเลือดไปเลี้ยงไม่พอ ร่วมกับภาวะที่เลือดเป็นกรดจากการมีระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้อวัยวะต่างๆทำงานผิดปกติไป ได้แก่

ภาวะหายใจล้มเหลวรุนแรงไหม?

ภาวะหายใจล้มเหลว เป็นภาวะที่รุนแรง โดยอัตราการเสียชีวิตจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะหายใจล้มเหลว

ความรุนแรงของอาการ ยังขึ้นกับระดับออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดแดง ความรวดเร็วในการวินิจฉัยภาวการณ์หายใจล้มเหลว และให้การรักษาที่ทันท่วงที โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน

นอกจากนี้ความรุนแรงยังขึ้นกับโรคประจำตัว และอายุของผู้ป่วยอีกด้วย

มีแนวทางรักษาภาวะหายใจล้มเหลวอย่างไร?

แนวทางการรักษาภาวะหายใจล้มเหลว แบ่งออกเป็น การรักษาตัวภาวะหายใจล้มเหลวเอง และการรักษาโรค หรือภาวะที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลว (ซึ่งจะไม่กล่าว ถึงในที่นี้ เพราะเป็นการรักษาที่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ แต่ละสาเหตุ) สำหรับการรักษาภาวะหายใจล้มเหลว ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และการเกิดอา การว่า เป็นแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง

ผู้ป่วยที่มีอาการเกิดขึ้นเฉียบพลัน หรือผู้ป่วยที่เป็นเรื้อรังแต่เกิดอาการรุนแรงขึ้นมา จะ ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลภายในหอผู้ป่วยวิกฤต (ไอฃียู/ICU/Intensive Care Unit) โดยแพทย์จะแก้ไขให้ระดับออกซิเจนในเลือดแดงเพิ่มขึ้น และระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดแดงลดลง ได้แก่ การใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งอาจใส่ท่อช่วยหายใจให้ผู้ป่วยด้วยหรือไม่ก็ได้ ร่วมกับการให้ออกซิเจนเพิ่มในอากาศที่ผู้ป่วยใช้หายใจ

ในผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังและไม่รุนแรง สามารถให้การดูแลรักษาอยู่ที่บ้านได้ โดยใช้อุป กรณ์ต่างๆ เช่น ถังออกซิเจน สายให้ออกซิเจน หรืออาจใช้เป็นหน้ากากครอบให้ออกซิเจน บางรายอาจต้องมีเครื่องช่วยหายใจไว้ที่บ้านด้วย

ป้องกันภาวะหายใจล้มเหลวได้อย่างไร?

เนื่องจากภาวะหายใจล้มเหลวนั้นเป็นผลมาจากการเป็นโรค หรือภาวะต่างๆ การป้องกันจึงขึ้นกับการป้องกันโรคหรือภาวะต่างๆเหล่านั้น เช่น การป้องกันโรคปอดบวม หรือการป้องกันปอดบวมน้ำในโรคจากขึ้นที่สูง เป็นต้น

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไหร่?

การดูแลตนเองและการพบแพทย์เมื่อมีภาวะหายใจล้มเหลว คือ

  1. สำหรับผู้ป่วยเรื้อรังที่ดูแลรักษาอยู่กับบ้าน ต้องรู้จักวิธีใช้และการดูแลรักษาเครื่อง มืออุปกรณ์ต่างๆให้ถูกต้องเหมาะสม จัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสมกับโรคที่เป็นสา เหตุของภาวะหายใจล้มเหลว รวมทั้งเพื่อลดอาการเหนื่อยและความต้องการใช้ออกซิเจน เช่น พยายามไม่ให้ผู้ป่วยต้องใช้บันไดขึ้น-ลงเพื่อทำกิจวัตรต่างๆ หากสภาพแวดล้อมที่บ้านตั้งอยู่ในที่มีฝุ่นละอองหรือควันเยอะ ควรใช้เครื่องฟอกอากาศ เป็นต้น
  2. ผู้ป่วยเรื้อรังจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารเพื่อเพิ่มสมรรถภาพของปอดที่เหมาะสมในแต่ละโรค ผู้ป่วยจึงควรปฏิบัติตามอย่างสม่ำเสมอ
  3. หากผู้ป่วยเรื้อรังมีอาการกำเริบ เช่น รู้สึกเหนื่อยขึ้นจากเดิมเมื่อทำกิจกรรมเดียวกัน หรือเหนื่อยจนรู้สึกหายใจไม่ออก ควรรีบพบแพทย์ก่อนนัด
  4. ผู้ป่วยทุกประเภท หากสูบบุหรี่ หรือยาเส้นต่างๆ ต้องหยุดสูบ เพราะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ ที่จะนำมาซึ่งภาวะหายใจล้มเหลว และทำให้ผู้ที่มีภาวะหายใจล้มเหลวแล้ว รักษาไม่หายหรือมีอาการกำเริบขึ้นได้

ที่มา   https://haamor.com/th/ภาวะหายใจล้มเหลว/

อัพเดทล่าสุด