บทนำ
ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) ได้แก่ ภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่บางชนิดจนอวัยวะต่างๆไม่สามารถทำงานตามปกติได้ จึงก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆขึ้น ซึ่งเกลือแร่ที่สำ คัญ เช่น โซเดียม (Sodium) โปแตสเซียม (Potassium) คลอไรด์ (Chloride ) ไบคาร์บอเนต (Bicarbonate) และแมกนีเซียม (Magnesium)
ภาวะขาดน้ำ เป็นภาวะพบได้บ่อย โดยมากมักเกิดจากอาการท้องเสีย (ท้องเดิน) รุนแรง หรือที่เรียกว่า ท้องร่วง เป็นภาวะพบได้ทุกเพศ และทุกวัย โดยเมื่อมีท้องเสีย โอกาสเกิดภาวะขาดน้ำ จะพบได้สูงในเด็กโดยเฉพาะเมื่ออายุต่ำกว่า 5 ปี และในผู้สูงอายุ
ภาวะขาดน้ำเกิดได้อย่างไร?
ภาวะขาดน้ำมีกลไกเกิดได้จาก การดื่มน้ำน้อย การเสียน้ำ จากทั้งดื่มน้ำน้อยและเสียน้ำพร้อมๆกัน หรือจากภาวะผิดปกติบางอย่าง หรือจากบางโรค
- การดื่มน้ำน้อย เมื่อร่างกายเสียน้ำมากกว่าปกติ เช่น จากเหงื่อ แต่เราดื่มน้ำชดเชยได้น้อย ร่างกายจะเกิดภาวะขาดน้ำได้ เช่น ในหน้าร้อน อาจเกิดภาวะ/โรคลมแดดได้ หรือในภาวะปกติแต่เราดื่มน้ำน้อย จนปริมาณน้ำในเลือดไม่พอต่อการคงความดันโลหิต (เลือด) ดังนั้นเมื่อเราเปลี่ยนท่าทางจาก นอน หรือ จากนั่ง เป็นการลุกขึ้นยืนทันที จะก่อให้เกิดภาวะความดันโล หิตต่ำชั่วคราวทันที (วิงเวียน หน้ามืด จะเป็นลม จนเกิดการล้มได้) จากการลดลงของปริมาณการไหลเวียนเลือด เพราะเลือดส่วนหนึ่งไปขังอยู่ที่ขาตามแรงโน้มถ่วงของโลก กลไกนี้ พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ หรือจากการดื่มน้ำน้อยเมื่อมีอาการไข้สูง เป็นต้น
- การเสียน้ำ เป็นกลไกที่เป็นสาเหตุบ่อยที่สุดของภาวะขาดน้ำ ได้แก่ การที่ร่างกายเสียน้ำ ซึ่งมักเกิดร่วมกับการเสียเกลือแร่ โดยสาเหตุที่พบบ่อย คือ จากอาการท้องเสีย นอกจากนั้น เช่น จากอาเจียนมาก เหงื่อออกมาก (เช่น ในฤดูร้อน ในที่แออัด ในสถานที่อบอ้าว) หรือโรคที่เป็นสาเหตุให้ปัสสาวะมากผิดปกติ เช่น โรคไตเรื้อรังบางชนิด โรคเนื้องอกสมองบางชนิด และโรคเบาหวาน
- ทั้งดื่มน้ำน้อยและเสียน้ำพร้อมๆกัน เช่น ในฤดูร้อน หรือ เมื่อมีไข้สูง
- ภาวะผิดปกติบางอย่าง หรือบางโรค ที่ทำให้น้ำและเกลือแร่ในร่างกายซึมออกจากหลอดเลือดเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อ หรือ ในช่องต่างๆของร่างกาย น้ำและเกลือแร่ในหลอดเลือดจึงลดปริมาณลง จนส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำลง จนก่ออาการจากการขาดน้ำได้ เช่น ในโรคไข้เลือดออกระยะรุนแรง ภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระ แสเลือด) โรคตับแข็งในระยะมีน้ำในช่องท้อง และภาวะผิวหนังถูกไฟไหม้รุนแรง
อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ?
ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ ได้แก่
- ท้องเสีย
- อาเจียน
- เหงื่อออกมากผิดปกติ เช่น ฤดูร้อน หรือ สถานที่อบอ้าว
- ปัสสาวะมากผิดปกติ เช่น โรคไตเรื้อรังบางโรค โรคเบาหวาน
- มีไข้สูง เพราะเป็นสาเหตุให้เหงื่อออกมาก และหลอดเลือดขยายตัว จึงเสียน้ำทางผิวหนัง และทางการหายใจเพิ่มขึ้น
- คลื่นไส้ เบื่ออาหาร หรือความรู้สึกรับรสอาหารเปลี่ยน จึงไม่อยากดื่มน้ำ
- เจ็บคอ และ/หรือ มีแผลในช่องปาก จึงไม่อยากกิน หรือ ดื่มน้ำ
- ภาวะผิวหนังถูกไฟไหม้รุนแรง
- โรคต่างๆที่เป็นสาเหตุให้มีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด และ/หรือ ในช่องท้อง เช่น โรคไข้เลือดออกระยะรุนแรง
- โรคติดเชื้อในกระแสโลหิต (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด)
- คนที่เสียเหงื่อมาก เช่น ทำงานในสถานที่อบอ้าว กลางแดดจัด หรือในฤดูร้อน หรือ นักกีฬา
ภาวะขาดน้ำมีอาการอย่างไร?
อาการจากภาวะขาดน้ำ แบ่งความรุนแรงของอาการเป็น 2 ระดับ คือ ความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง และความรุนแรงมาก
- อาการขาดน้ำที่รุนแรงน้อยถึงปานกลาง ได้แก่
- อาการจากขาดน้ำรุนแรง ซึ่งควรต้องพบแพทย์ฉุกเฉิน
- กระหายน้ำรุนแรง
- สับสน กระสับกระส่าย หรือ ซึมมาก
- ผิวหนังแห้งมาก ยกจับตั้งได้ ปากแห้งมาก ตาลึกโหล
- ไม่มีเหงื่อ ปัสสาวะน้อยมาก สีเหลืองเข็มมาก หรือ ไม่มีปัสสาวะเลยใน 4-6 ชั่ว โมง
- ในเด็กอ่อน กระหม่อมจะบุ๋มลึก ร้องไห้ไม่มีน้ำตา
- ชีพจรเต้นเร็ว หายใจ ถี่ เร็ว
- มีไข้ มักเป็นไข้ต่ำ แต่บางคนไข้สูงได้
- ความดันโลหิตต่ำ เมื่อเป็นรุนแรงอาจเพ้อ มีอาการชัก และโคมา ในที่สุด
แพทย์วินิจฉัยภาวะขาดน้ำได้อย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยภาวะขาดน้ำได้จาก ประวัติอาการ ประวัติโรคที่เป็นสาเหตุ การตรวจร่าง กาย การตรวจสัญญาณชีพ (ชีพจรอัตราการหายใจ ความดันโลหิต และอุณหภูมิของร่างกาย) การตรวจเลือดเพื่อดูค่าเกลือแร่ นอกจากนั้น อาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ขึ้นกับอาการผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ เช่น ตรวจเลือดดูน้ำตาลในเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวาน หรือ ตรวจเลือดซีบีซี (CBC) ดูการติดเชื้อแบคทีเรีย และตรวจเลือดดูการทำงานของไต เป็นต้น
รักษาภาวะขาดน้ำอย่างไร?
แนวทางการรักษาภาวะขาดน้ำ ได้แก่ การแก้ไขให้ร่างกายมีน้ำเพียงพอ และให้เกลือแร่สำคัญต่างๆกลับมามีสมดุลตามปกติ ซึ่ง ได้แก่ การดื่มน้ำมากๆเพิ่มกว่าปกติ และ/หรือการดื่มน้ำเกลือแร่ในกรณี เสียเหงื่อ ท้องเสีย หรือ อาเจียน เมื่อมีอาการไม่มาก และยังกิน ดื่มได้ แต่กรณีอาการรุนแรง การรักษาคือ การให้น้ำและเกลือแร่ผ่านทางหลอดเลือดดำ
นอกจากนั้น คือ การรักษาสาเหตุ เช่น การให้ยาปฏิชีวนะเมื่อท้องเสียเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น และการรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การพักผ่อน ให้ยาลดไข้ หรือ ให้ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้
ภาวะขาดน้ำรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?
โดยทั่วไป เมื่อได้รับการรักษาทันเวลา ภาวะขาดน้ำมักไม่รุนแรง รักษาแก้ไขได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อปล่อยให้อาการรุนแรงมาก ความรุนแรงจะสูงจนถึงเสียชีวิตได้
นอกจากนั้นความรุนแรงของภาวะขาดน้ำยังขึ้นกับ
- สาเหตุ เช่น ถ้าเกิดจากดื่มน้ำน้อย ความรุนแรงก็จะน้อย
- และขึ้นกับอายุ เช่น ความรุนแรงจะสูงขึ้นในผู้ป่วยเด็ก โดยเฉพาะเด็กอ่อนและเด็กเล็ก รวมทั้งผู้สูงอายุ เพราะเป็นผู้ที่ดูแลตนเองไม่ได้ หรือ ได้น้อย และร่างกายอ่อนแอ จากมีภูมิคุ้ม กันต้านทานโรคต่ำ
ผลข้างเคียงจากภาวะขาดน้ำ เมื่อขาดน้ำไม่มาก คือ ภาวะความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทางดังได้กล่าวแล้ว แต่เมื่อขาดน้ำมาก อาจเกิดโรคลมแดด การล้มจากวิงเวียนจากความดันโลหิตต่ำ (อาจเกิดกระดูกหัก หรือ อุบัติเหตุต่อศีรษะได้) หรือ เมื่อความดันโลหิตต่ำมากๆ อาจส่งผลให้เกิดไตวายเฉียบพลันได้
ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?
การดูแลตนเอง การพบแพทย์เมื่อมีภาวะขาดน้ำ ได้แก่
- ดื่มน้ำให้พอเพียงอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว และดื่มให้มากขึ้นเมื่อมีภาวะที่ต้องเสียน้ำเพิ่มขึ้น เช่น เล่นกีฬา หรือ มีไข้ ทั้งนี้เมื่อไม่เป็นโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม
- เมื่อมีท้องเสีย และอุจจาระเป็นน้ำหลายครั้ง หรือ อาเจียนมาก จนรู้สึกอ่อนเพลีย นอกจากดื่มน้ำแล้ว ยังควรดื่มน้ำเกลือแร่ด้วย
- รีบพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อ
- พบแพทย์ฉุกเฉินเมื่อ
ป้องกันภาวะขาดน้ำได้อย่างไร?
ป้องกันภาวะขาดน้ำได้โดย
- รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) ลดโอกาสติดเชื้อทางเดินอาหาร เพื่อลดโอกาสเกิดอาการไข้ ท้องเสียและคลื่นไส้ อาเจียน
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในทุกๆวัน อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วเมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
- ดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้น อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว (หรือให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่สูญเสียไป) เมื่อต้องเสียเหงื่อ หรือ เสียน้ำเพิ่มขึ้น เช่น เล่นกีฬา มีไข้ ท้อง เสีย
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อบอ้าว หรือ แสงแดดจัด
- ป้องกัน รักษา ควบคุม โรคที่ทำให้มีปัสสาวะมาก เช่น โรคเบาหวาน และ โรคไตเรื้อรัง
ที่มา https://haamor.com/th/ภาวะขาดน้ำ/