ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism)


1,286 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ต่อมไทรอยด์  ระบบต่อมไร้ท่อ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

บวม  เหนื่อยง่าย  อ้วน 

บทนำ

ภาวะ หรือโรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism) หรือบางคนเรียกว่า ภาวะ/โรคต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ หรือภาวะ/โรคพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน คือภาวะ หรือโรคที่เกิดจากร่าง กายพร่อง หรือขาดไทรอยด์ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง หรือไม่สามารถสร้างไท รอยด์ฮอร์โมนได้ ซึ่งเมื่อเกิดจากตัวโรคของตัวต่อมไทรอยด์เองเรียกว่า “ภาวะ/โรคขาดไท รอยด์ฮอร์โมนปฐมภูมิ (Primary hypothyroidism)” และเมื่อเกิดจากโรคของต่อมใต้สมองหรือโรคของสมองไฮโปธาลามัสแล้วส่งผลกระทบมายังการทำงานของต่อมไทรอยด์ เรียกว่า “ภาวะ/โรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมนทุติยภูมิ (Secondary hypothyroidism)”

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบต่อมไร้ท่อ ตั้งอยู่ด้านหน้าของลำคอ ในส่วนหน้าต่อลูกกระเดือก หรือกระดูกอ่อนไทรอยด์ (Thyroid cartilage) มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ ประกอบด้วย 2 กลีบใหญ่ คือ กลีบด้านซ้าย และกลีบด้านขวา ซึ่งทั้งสองกลีบเชื่อมต่อถึงกันด้วยเนื้อเยื่อบางๆที่เรียกว่า อิสธ์มัส (Isthmus)

ต่อมไทรอยด์ปกติของผู้ใหญ่มีน้ำหนักประมาณ 18-30 กรัม แต่ละกลีบของต่อมไท รอยด์ ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร(ซม.) ส่วนที่กว้างที่สุด ประมาณ 2-3 ซม. และส่วนที่หนาสุดประมาณ 0.8-1.6 ซม. ซึ่งต่อมไทรอยด์ปกติไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และไม่สามารถคลำพบได้

ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนสำคัญ 3 ชนิด คือ ไทรอกซีน หรือ ที4 (Thyro xine, T4) ไตไอโอโดไธโรนีน หรือ ที3 (Triiodothyronine, T3) และ แคลซิโทนิน (Calcitonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญน้อยกว่า ฮอร์โมน ที4 และ ที3 เป็นอย่างมาก ดังนั้นโดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึง ไทรอยด์ฮอร์โมน จึงมักหมายความถึงเฉพาะฮอร์โมน ที4 และ ที3 เท่านั้น

ฮอร์โมน ที4 และฮอร์โมน ที3 มีหน้าที่สำคัญมาก คือ ควบคุมดูแลการใช้พลังงานทั้งจากอาหาร และจากออกซิเจน หรือ ที่เรียกว่า เมตาโบลิซึม (Metabolism หรือ กระบวนการแปรรูปอณู) ของเซลล์ต่างๆ เพื่อการเจริญเติบโต เพื่อการทำงาน และเพื่อการซ่อมแซมเซลล์ที่บาดเจ็บสึกหรอ และยังช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายด้วย ส่วนฮอร์โมนแคลซิโทนิน มีหน้าที่ช่วยควบคุมการทำงานของเกลือแร่แคลเซียมในร่างกายให้อยู่ในสมดุล

ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่ทำงานโดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของต่อมใต้สมอง (Pituita ry gland) และของสมองส่วนที่เรียกว่าไฮโปธาลามัส (Hypothalamus เป็นสมองส่วนหนึ่งของสมองใหญ่/Cerebrum โดยอยู่ในส่วนลึกกลางสมองใหญ่) ซึ่งทั้งต่อมใต้สมอง และสมอง ไฮโปธาลามัส ยังควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่นๆด้วย เช่น ต่อมหมวกไต รังไข่ และอัณฑะ และยังมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ และจิตใจ ดังนั้น การทำงานของต่อมไทรอยด์ รวมทั้งโรค หรือ ภาวะผิดปกติต่างๆของต่อมไทรอยด์จึงสัมพันธ์กับการทำงาน และโรคต่างๆของอวัยวะเหล่านั้น รวมถึงความสัมพันธ์กับอารมณ์และจิตใจ

เนื่องจาก ฮอร์โมน แคลซิโทนิน มีบทบาทน้อยมากในการดำรงชีวิต และในโรคของต่อมไทรอยด์ ดังนั้นในบทนี้ เมื่อกล่าวถึงเรื่องของต่อมไทรอยด์ จึงกล่าวถึงเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับฮอร์โมน ที4 และฮอร์โมน ที3 เท่านั้น และจะรวมเรียก “ฮอร์โมน ที4 และ ที3 ว่า ไทรอยด์ฮอร์โมน

ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นภาวะพบได้บ่อยภาวะหนึ่ง พบได้ประมาณ 2-5% ของประชากรทั่วไป โดยพบได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็กแรกเกิด (พบได้ประมาณ 1 คนในเด็กเกิดใหม่ทุก 3,000-4,000 คน) ไปจนถึงผู้สูงอายุ (ประมาณ 15% ของผู้มีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป) พบในผู้หญิงได้บ่อยกว่าในผู้ชายถึงประมาณ 2-8 เท่า

ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนมีสาเหตุจากอะไร?

ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
 

ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนมีอาการอย่างไร?

อาการจากภาวะ/โรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมนจะค่อยๆเป็นค่อยๆไป ค่อยๆเกิดอาการ ไม่ใช่อาการที่เกิดเฉียบพลัน นอกจากนั้นยังมีได้หลายๆอาการร่วมกัน ทั้งนี้ความรุนแรงของอาการขึ้นกับว่าขาดฮอร์โมนในปริมาณเล็กน้อย หรือในปริมาณมาก ซึ่งอาการที่พบได้บ่อย คือ

 

แพทย์วินิจฉัยภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยภาวะ/โรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมนได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยและการรักษาโรคในอดีต ประวัติกินยาต่างๆ การตรวจร่างกาย การตรวจคลำต่อมไทรอยด์ การตรวจเลือดดูค่า ไทรอยด์ฮอร์โมน ฮอร์โมนต่างๆที่ สัมพันธ์กับต่อมไทรอยด์ และค่าไขมันในเลือด และอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติมทั้งนี้ขึ้นกับอาการผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ เช่น ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และเอกซเรย์ปอด เพื่อดูภาพหัวใจ เป็นต้น

รักษาภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนอย่างไร?

แนวทางการรักษาภาวะ/โรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมน คือ การให้กินยาไทรอยด์ฮอร์โมนชดเชย ซึ่งหลายสาเหตุอาจต้องกินยาไทรอยด์ฮอร์โมนตลอดชีวิต เช่น หลังผ่าตัดต่อมไท รอยด์ หลังการฉายรังสีรักษาบริเวณลำคอ และหลังการกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน

ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?

โดยทั่วไปภาวะ/โรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นภาวะ/โรคไม่รุนแรง รักษาได้ แต่อาจต้องกินยาไทรอยด์ฮอร์โมนตลอดชีวิตดังได้กล่าวแล้ว ซึ่งผลข้างเคียงของภาวะนี้ที่สำคัญ คือ โรค หัวใจ อาการง่วงซึม เชื่องช้า และบวม ซึ่งจะส่งผลกระทบถึงการใช้ชีวิต และในด้านการงาน ส่วนในเด็กที่เพิ่มเติมจากในผู้ใหญ่ คือ ภาวะสติปัญญาด้อยกว่าเกณฑ์ และตัวเตี้ยมาก

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเอง การพบแพทย์ คือ เมื่อมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ ไม่ควรดูแลตนเอง หลังจากพบแพทย์แล้ว ควรดูแลตนเองดังนี้

  • ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำเสมอ
  • กินยาให้ครบถ้วน ไม่ขาดยา โดยเฉพาะไม่ขาดยาไทรอยด์ฮอร์โมน
  • พบแพทย์ตามนัดเสมอ
  • รีบพบแพทย์ก่อนนัด เมื่ออาการต่างๆเลวลง หรือมีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือมีความกังวลในอาการ
 

ป้องกันภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนอย่างไร?

เมื่อดูจากสาเหตุแล้ว การป้องกันภาวะ/โรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นเรื่องยาก เพราะมักเกิดจากการรักษาโรคต่างๆ และสาเหตุแต่กำเนิด ดังนั้นที่ดีที่สุด คือ การสังเกตอาการตนเองเสมอ เมื่อพบมีอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัย และการรักษาแต่เนิ่นๆ

อีกประการดังกล่าวแล้วว่าสาเหตุของภาวะนี้ อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิดได้ ดังนั้นในการใช้ยาต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อซื้อยาใช้เอง จึงควรปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ รวมทั้งอ่านเอกสารกำกับยาให้เข้าใจ และควรรู้ว่ายาชนิดนั้นๆ อาจมีผลข้างเคียงอะไรได้บ้าง
ที่มา    https://haamor.com/th/ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน/

อัพเดทล่าสุด