ทั่วไป
ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (Venous thrombosis) หรือบางคนอาจคุ้น เคยกับชื่อ “ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน” มีความสำคัญที่ควรรู้อย่างยิ่ง เนื่องจากหากเกิดภาวะนี้แล้วไม่สามารถวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงที อาจมีปัญหาสำคัญตามมาจนผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ทั้งๆที่ภาวะนี้รักษาได้ผลดีเมื่อรู้ตั้งแต่แรก
ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ พบได้ทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ แต่พบในผู้ ใหญ่มากกว่า และเกิดได้ทั้งกับหลอดเลือดดำที่อยู่ลึก (อยู่ลึกในกล้ามเนื้อ หรือในเนื้อเยื่อ หรือในอวัยวะต่างๆในร่างกาย เช่น ในช่องอก) และกับหลอดเลือดดำที่อยู่ตื้นๆ (อยู่ใต้ผิวหนัง) ซึ่งเมื่อเกิดลิ่มเลือดกับหลอดเลือดดำที่อยู่ตื้นๆ อาการจะรุน แรงน้อยกว่าที่เกิดกับหลอดเลือดดำที่อยู่ลึก

ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำสำคัญอย่างไร?
เมื่อเกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ จะส่งผลทำให้เลือดผ่านหลอดเลือดนั้นได้ยาก มีผลเสียต่ออวัยวะที่เกี่ยวข้อง และหากลิ่มเลือดนั้นหลุดไปตามกระแสเลือด (โลหิต) และไปอุดตันในหลอดเลือดที่ปอด (Pulmonary artery หรือ หลอดเลือดที่แตกออกเป็นหลอดเลือดสาขา) จะทำให้เกิด “ภาวะหลอดเลือดอุดตันในปอด” (Pulmo nary embolism) ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ และระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ในเวลารวดเร็ว ถ้าไม่สามารถรักษาแก้ไขได้ทัน
ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำเกิดได้อย่างไร?
การเกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำเป็นผลจากปัจจัยสำคัญ 3 อย่างคือ
- การเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของเลือดดำ เช่น เลือดไหลเวียนช้าลง หรือไม่ไหลเวียน (Stasis)
- การมีบาดแผลที่ผนังด้านในของหลอดเลือดดำ (Vascular endothe lial injury)
- เลือดแข็งตัวได้ง่าย (Hypercoagulability) เช่น มีปัจจัยการแข็งตัว ของเลือดมาก เช่น มีเกล็ดเลือดสูงมาก หรือมีเลือดข้นมากกว่าปกติ หรือมีสารที่ต้านการแข็งตัวของเลือดต่ำกว่าปกติ (ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ หัวข้อกลไกการแข็งตัวของเลือด)
ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำมีสาเหตุจากอะไร?
สาเหตุที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำมีทั้งสาเหตุที่เกิดจากกรรม พันธุ์ คือเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งเมื่อศึกษารายละเอียดพบว่ามีความผิดปกติในระดับ ยีน หรือ จีน (Gene,หน่วยพันธุกรรมที่นำสารพันธุกรรมจากบิดาหรือมารดาสู่บุตร) และสาเหตุส่วนที่เกิดตามหลังการเกิดโรคหรือเกิดภาวะต่างๆ ทั้งที่ปกติ (เช่น การตั้งครรภ์) และผิดปกติ
มีการศึกษาพบว่า สาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำประมาณครึ่งหนึ่ง เกิดจากทั้งสาเหตุทางพันธุกรรม ร่วมกับปัจจัยเสริมอื่นๆอีกหลายปัจจัย ซึ่งปัจจุบัน 80% ของภาวะนี้ แพทย์สามารถหาสาเหตุได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ ได้แก่
- สาเหตุจากพันธุกรรม เช่น
- มีปัจจัยแข็งตัวของเลือดเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ
- ขาดโปรตีนที่ต้านการแข็งตัวของเลือด เช่นโปรตีนซี (Protein C) โปรตีนเอส (Protein S) แอนติธรอมบิน III (Antithrombin III)
ทั้งนี้ การเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำจากสาเหตุทางพันธุกรรม จะมีอุบัติ การณ์และความชุกแตกต่างกันในแต่ละชาติพันธุ์
- สาเหตุที่เกิดตามหลังภาวะต่างๆ ได้แก่
- การตั้งครรภ์ หรือ ภาวะที่มีการกระตุ้นให้เลือดแข็งตัวง่ายหลังคลอด
- การได้รับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน (Estrogen) เช่น ยาคุมกำ เนิด (ยาเม็ดคุมกำเนิด) หรือการรักษาอาการวัยทองด้วยฮอร์โมน
- การนอนนิ่งๆอยู่กับที่นานๆ (Immobilization) จึงทำให้เลือดอยู่ในภาวะนิ่ง จึงแข็งตัวได้ง่าย
- การได้รับบาดเจ็บ ภยันตราย ทำให้หลอดเลือดมีบาดแผล
- ภาวะหลังผ่าตัด
- ผู้สูงอายุ
- คนอ้วน โรคอ้วน
- ผู้ที่นั่งอยู่กับที่นานๆ เช่น นั่งเครื่องบินระยะทางไกลๆ
- การเกิดลิ่มเลือดในโรคบางชนิด เช่น โรคลูปัส หรือ เอสแอลอี หรือโรคพุ่มพวง (Lupus, SLE, Systemic lupus erythematosus) โรคมะเร็ง หรือเกิดตามหลังจากให้ยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด เช่น ยา L-asparaginase
- การให้สารเพื่อให้เลือดแข็งตัวในผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติ เช่น การให้ Prothrombin complex
- โรคไตบางชนิด เช่น โรค Nephrotic syndrome (โรคที่มีสารไข่ขาว หรือแอลบูมิน/albumin ออกมากับปัสสาวะ ทั้งนี้ในปัสสาวะปกติจะไม่มีสารไข่ขาว)
- การใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่ชื่อ เฮพาริน (Heparin, ยาชนิดนี้เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด แต่มีอาการข้างเคียงที่อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำได้บ้าง)
- โรคที่มีความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือดต่างๆ (Myeloprolifera tive disorder)
- ภาวะมีลิ่มเลือดกระจายทั่วไปในหลอดเลือด (Disseminated intra vascular coagulation) ซึ่งอาจเกิดตามหลังภาวะติดเชื้อ ภาวะช็อก หรือภาวะเนื้อ เยื่อขาดออกซิเจน
อนึ่งยาปฏิชีวนะ และ/หรือ อื่นๆ ที่จำเป็นในการรักษาโรคต่างๆ หรือเกิดตามหลังโรคหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด ในผู้ป่วยเด็กภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนใหญ่ (สองในสาม) เกิดจากการใส่สายสวน (Catheter) เข้าไปในหลอดเลือดดำ เช่น เป็นทางให้สารน้ำ เลือด สารอาหาร
ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำตำแหน่งที่พบบ่อย
ลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ เกิดได้ทั้งในหลอดเลือดดำที่อยู่ตื้นๆ (Superfi cial vein thrombosis) หรือเกิดในหลอดเลือดที่อยู่ลึก (Deep vein thrombosis) แต่อาการที่พบบ่อย คือ จากมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำที่อยู่ลึกของขาและของปอด
อาการของภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำที่อยู่ลึก หรือภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน จะขึ้นอยู่กับ ตำแหน่งของหลอดเลือด ตำแหน่งในหลอดเลือดที่เกิดลิ่มเลือด และขนาดความยาวของตัวลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
-
การเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึกที่ขา
จะมีอาการ ขาบวม ปวด คลำดูร้อน หรือคลำได้หลอดเลือดเป็นเส้นแข็ง เนื่องจากมีการแข็งตัวของเลือดในหลอดเลือดดำ และเห็นมีการเปลี่ยนสีที่ผิวหนัง เริ่มแรกจะมีสีแดง หากนานไปจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ การเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำที่ขาส่วนต้น หรือเกิดในหลอดเลือดดำแถวช่วงต้นขา จะเสี่ยงต่อการมีหลอดเลือดอุดตันที่ปอดด้วย -
การเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดของปอด
- หายใจลำบาก
- เวลาหายใจเข้าเจ็บเหมือนถูกมีดแทง
- ไอ หรือไอเป็นเลือด
- หัวใจเต้นเร็ว
- ช็อก (วัดความดันโลหิตไม่ได้)
ซึ่งหากให้การรักษาไม่ทันท่วงที ผู้ป่วยอาจเสียชีวิต ดังนั้นควรมีเบอร์โทร ศัพท์ของโรงพยาบาลที่มีรถรับส่งฉุกเฉินติดไว้ใกล้มือเสมอ เพราะหากมีอาการดัง กล่าว ต้องรีบตามรถพยาบาลฉุกเฉินมารับอย่างรวดเร็ว (ในต่างประเทศมีเบอร์โทร ศัพท์ 9-1-1 ในประเทศไทยอาจประสาน 191 ให้ติดต่อให้)
ภาวะนี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดังนี้ -
การเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึกที่แขน
มักเกิดจากมีการกดหลอดเลือดดำแขนส่วนที่ออกมาจากทรวงอก เช่น ถูกกดจากกระดูกซี่โครง หรือจากพัง ผืดหรือเอ็น เป็นต้น ซึ่งจะพบว่าแขนและบริเวณหน้าอก หรือใบหน้าบวม มีอาการปวด หรืออาจมีการเปลี่ยนสีของผิวหนังในบริเวณนั้น เริ่มจากสีแดงก่อน ต่อไปสีจึงคล้ำลง
อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำที่อยู่ลึก?
มีผู้ศึกษาว่า ผู้ที่มีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำที่อยู่ลึกพบปัจจัยเหล่านี้บ่อยคือ
- ประมาณ 45% ของผู้ป่วยมีประวัตินอนนิ่งๆ นานกว่า 48 ชั่วโมงติดต่อกัน ในเดือนก่อนที่จะป่วย
- ประมาณ 38% มีประวัติผ่าตัดภายใน 3 เดือนนำมาก่อน
- ประมาณ 34% มีประวัติเป็นโรคมะเร็งเมื่อ 3 เดือนนำมาก่อน
- ประมาณ 34% มีประวัติติดเชื้อ
- ประมาณ 26% มีประวัตินอนรักษาตัวในโรงพยาบาลก่อนหน้านั้น
- มีผู้ป่วยเพียงประมาณ 11% ที่ไม่มีปัจจัยดังกล่าวข้างต้น และพบหนึ่งในสาม มีปัจจัยข้างต้น 1 ถึง 2 ปัจจัย และครึ่งหนึ่งมีปัจจัยตั้งแต่ 3 ปัจจัยขึ้นไป
- สำหรับผู้ป่วยที่มีประวัติครอบครัวมีภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้สูงขึ้นมาก
การเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำที่อยู่ตื้นๆมีความสำคัญอย่างไร?
การเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำที่อยู่ตื้นๆอาจไม่ทำให้เกิดอาการมากนักแต่ก็อาจเป็นอาการเกิดตามมาจากโรครุนแรงอื่นๆได้ ที่สำคัญและต้องการการวินิจ ฉัย และการตรวจรักษาอย่างทันท่วงที เช่น โรคมะเร็งที่ซ่อนเร้นอยู่ในอวัยวะภายใน เช่น โรคมะเร็งของอวัยวะในช่องท้อง เป็นต้น จึงไม่ควรละเลย ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุต่อไป
อาการจากเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำตื้นๆ มักเป็นการอักเสบของหลอดเลือดนั้นๆร่วมด้วย จึงส่งผลให้เกิดการบวมไม่มาก แดง อุ่น เจ็บ ตามแนวของหลอดเลือด รวมทั้งคลำได้หลอดเลือดเส้นนั้นแข็งเป็นลำ มักพบได้ตามหลอดเลือด ขา และแขน
แพทย์วินิจฉัยอย่างไรเมื่อสงสัยภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ?
แพทย์วินิจฉัยภาวะมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำได้จาก การซักประวัติทางการแพทย์ เช่น อาการ และการเจ็บป่วยต่างๆโดยละเอียด เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ ดังได้กล่าวแล้ว รวมถึงประวัติครอบครัว หรือประวัติหญิงที่มีการตายของทารกในครรภ์หลายครั้ง จากนั้นแพทย์จะตรวจร่าง กายโดยละเอียด เพื่อตรวจดูว่า ผู้ป่วยมีอาการลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ หรือเป็นอาการจากสาเหตุอื่นๆที่คล้ายกัน เนื่องจากอาการปวด บวม แดงร้อน เป็นอาการของการอักเสบอื่นๆได้ เช่น การติดเชื้อ การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ หรือเอ็น เป็นต้น และแพทย์จะตรวจหาโรคอื่นๆ ที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ เช่น โรคมะเร็ง โรคเอสแอลอี โรคไตเรื้อรัง ซึ่งในเด็ก มักพบมีสาเหตุจากโรคหัวใจแต่กำเนิดได้บ่อย
อย่างไรก็ตามแพทย์จะไม่สามารถวินิจฉัยได้แน่นอนจากการซักประวัติ และการตรวจร่างกายเท่านั้น แพทย์จะเจาะเลือดตรวจหาหลักฐานการมีลิ่มเลือดในหลอดเลือด หรือการมีปัจจัยผิดปกติในเลือดดังได้กล่าวแล้ว และร่วมกับการตรวจทางเอกซเรย์ต่างๆ เช่น การตรวจอัลตราซาวด์หลอดเลือด (Compression ultraso nography) หรือการตรวจภาพหลอดเลือดด้วยคลื่นแม่เหล็กเอ็มอาร์วี (MRV, Mag netic resonance venography) และในกรณีที่มีลิ่มเลือดเกิดในหลอดเลือดดำที่อยู่ลึก แพทย์อาจตรวจภาพปอดทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (รังสีที่ใช้ตรวจและรักษาโรค) ที่เรียกว่า การสะแกนภาพปอด (Lung scan) เพื่อหาหลักฐานของลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด ทั้งนี้แพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสมว่า จะใช้การตรวจชนิดใดร่วม กับการตรวจอะไร เพื่อให้ได้ผลการวินิจฉัยที่ถูกต้องรวดเร็ว เพราะการรักษาทันท่วง ทีจะได้ผลการรักษาที่ดี
เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่ามีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำได้แล้ว แพทย์ก็จะหาสา เหตุของภาวะ หรือโรคอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดลิ่มเลือดด้วย เพื่อการรักษาต่อไป
รักษาภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำอย่างไร?
เมื่อวินิจฉัยว่ามีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ แพทย์จะให้ยาเพื่อยับยั้งไม่ให้มี ลิ่มเลือดเกิดมากขึ้นไปอีก การให้ยามีทั้งยาฉีดและยากิน การให้ยาฉีดอาจให้ในระยะแรกๆ และให้ยากินต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน ยากินที่แพร่หลายคือ ยาWarfa rin (ชื่อการค้า Coumadin) เมื่อให้ยานี้แพทย์จะเจาะเลือดติดตามผลของยาโดย เฉพาะในระยะแรกๆ ดังนั้นอาจมีการปรับขนาดยา ผู้ป่วยควรพบแพทย์ตามนัด และกินยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด การกินยาผิดขนาดอาจไม่ได้ผลต่อการรักษาและถ้ากินมากเกินไปอาจมีเลือดออกผิดปกติได้
ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อมีภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ? ควรพบแพทย์เมื่อ ไร?
เมื่อมีภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ ควรระวังเรื่องการกินยาตามแพทย์แนะ นำ ควรตรวจติดตามอาการตามแพทย์นัด ควรต้องป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำซ้ำ ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อต่อไป หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดแขน ขา ปวดศีรษะปวดท้อง เจ็บหน้าอก หรือมีเลือดออกผิดปกติให้รีบพบแพทย์ก่อนนัด หรือ ฉุกเฉิน ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ
เนื่องจากการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำให้ผลการรักษาที่ดี แต่หากไม่รัก ษาอาจเป็นมากขึ้น และอาจเกิดหลอดเลือดอุดตันที่ปอดตามมาได้ซึ่งหากรักษาไม่ทันอาจถึงกับเสียชีวิต ดังนั้นถ้ามีอาการปวด บวม แดง ร้อน ที่ขา แขน หน้าอก ใบ หน้า หรืออาจปวดท้องรุนแรง ควรต้องรีบไปพบแพทย์ เนื่องจากอาจเป็นอาการลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึก
แต่หากมีอาการหายใจลำบาก เจ็บหน้าอกเหมือนถูกแทงเวลาหายใจเข้า ไอ หรือไอเป็นเลือด หัวใจเต้นเร็ว ถือเป็นภาวะฉุกเฉินต้องรีบเรียกการรักษาพยา บาลสายด่วน (โปรดศึกษาข้อมูลการพยาบาลสายด่วนที่สุดของท่านไว้ล่วงหน้า และติดเบอร์โทรศัพท์ไว้ในที่ที่เห็นได้ชัดเจน)
การพบภาวะลิ่มเลือดที่หลอดเลือดดำส่วนตื้น เช่น หลอดเลือดขอดที่ขา ไม่ควรวางใจ อาจมีสาเหตุมาจากโรคหรือภาวะที่ต้องการการตรวจวินิจฉัยและรักษาเช่นกันดังกล่าวแล้ว ดังนั้นจึงควรรีบพบแพทย์ แต่สามารถรอพบในวัน เวลาราชการได้
ป้องกันภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำอย่างไร?
ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำอาจเกิดจากปัจจัยที่สามารถป้องกันได้ และยังป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำได้ ดังนั้นควรปฏิบัติตัวดังนี้
- อย่านั่งท่าเดียวนานๆ เช่น การเดินทางโดยเครื่องบินในระยะไกล ควรยืนขึ้น และเดินไปมาทุก 1-2 ชั่วโมง
- ไม่สูบบุหรี่ก่อนเดินทาง เนื่องจากบุหรี่เป็นปัจจัยในการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดอย่างหนึ่ง หากหลีกเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่เสียเลย
- ใส่เสื้อผ้าสบายๆ ไม่รัดแน่น เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
- หมั่นขยับ แขน ขา ข้อเท้า และเท้า เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
- ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วเมื่อไม่มีโรคที่แพทย์ให้จำกัดน้ำดื่ม
- ใส่ถุงเท้ายาวชนิดช่วยพยุงขา เพื่อช่วยพยุงหลอดเลือดขา เมื่อต้องทำ งานที่ต้องยืนนานๆ
- อย่าดื่มเหล้า หรือกินยานอนหลับที่จะทำให้นอน หรือนั่งนิ่งๆ อยู่ในท่าเดียวนานเกินไป
ที่มา https://haamor.com/th/ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ/