ฝีดาษ ไข้ทรพิษ (Smallpox)


1,355 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ผิวหนัง  ระบบโรคติดเชื้อ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ไข้ 

บทนำ

โรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ หรือไข้หัว สำหรับในภาษาอังกฤษเรียกว่า Small pox หรือ Variola โดยคำว่า Variola มาจากภาษาละติน แปลว่า จุด หรือตุ่ม โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยอาการหลักของผู้ป่วย คือ มีผื่นที่เป็นตุ่มหนองขึ้นตาผิวหนัง ซึ่งดูเป็นที่น่ารังเกียจ และผื่นเหล่านี้เองก็สามารถแพร่เชื้อได้ด้วย โรคนี้ติด ต่อกันได้ค่อนข้างง่าย มีโอกาสเสียชีวิตได้สูง ยังไม่มียารักษา มีวัคซีนสำหรับป้องกันได้ แต่ในปัจจุบันโรคนี้ได้ถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปแล้ว จึงไม่มีการแนะนำให้ฉีดวัคซีนในประชากรทั่วไปอีกต่อไป

สันนิษฐานว่าโรคฝีดาษน่าจะปรากฏในมนุษย์มาตั้งแต่ 10,000 ปีก่อนคริสตกาล แต่หลักฐานที่ชัดเจนได้มาจากการตรวจศพมัมมี่ของฟาโรห์นามว่า Rammes ses ที่ 5 ซึ่งตรวจพบรอยโรคที่คล้ายตุ่มหนองขึ้นตามลำตัว คาดว่าน่าจะเป็นโรคฝี ดาษ โดยฟาโรห์ท่านนี้เสียชีวิตเมื่อ 1,157 ปีก่อนคริสตกาล จากนั้นโรคฝีดาษจากประเทศอียิปต์ก็ได้แพร่เข้าสู่ประเทศอินเดีย ไปยังประเทศจีน แล้วเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นในช่วงศตวรรษที่ 6 และโรคนี้ก็ได้แพร่เข้าไปในทวีปยุโรปในช่วงประมาณศตวรรษที่ 11-12 เมื่อผู้คนเริ่มรู้จักโรคนี้มากขึ้น คำว่า Smallpox จึงได้ถูกนำมาเรียกชื่อกับโรคนี้ในช่วงศตวรรษที่ 15 เพื่อแยกกับโรคซิฟิลิส (ซึ่งคนในสมัยก่อนเรียกว่า Greatpox ) ในช่วง พ.ศ. 2297-2300 ได้เกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับอังกฤษ (French and Indian War) ที่ทวีปอเมริกาเหนือ และนับเป็นครั้งแรกที่มีการนำเชื้อฝีดาษมาใช้เป็นอาวุธเชื้อโรค ทำให้โรคฝีดาษแพร่สู่ชาวอเมริกัน-อินเดียน ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของทวีปอเมริกา หลังจากนั้นก็ได้แพร่ไปสู่ทุกทวีปทั่วโลก โดยประเทศออสเตรเลีย เป็นประเทศสุดท้ายที่โรคได้แพร่เข้าไปในช่วงศตวรรษที่ 18

ในช่วงศตวรรษที่ 10 ประเทศจีนและอินเดียได้พยายามคิดค้นหาวิธีต่างๆในการป้องกันโรคฝีดาษ เช่น การให้สูดหายใจเอาสะเก็ดแผลของผู้ป่วยเข้าไป หรือการสะกิดเอาหนองของผู้ที่เป็นโรคนี้ไปฉีดให้กับผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคมาก่อน ซึ่งพบว่า เมื่อติดเชื้อฝีดาษในภายหลังจะช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้รับการป้องกันโรคฝีดาษด้วยวิธีต่างๆเหล่านี้ ก็ยังมีโอกาสเสียชีวิตได้อยู่ อีกทั้งวิธี การเก็บเชื้อที่ไม่ปลอดภัยเหล่านี้ สามารถเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคได้ จึงไม่มีการนำมาใช้อีกต่อไป

ในปี พ.ศ. 2341 Edward Jenner นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้เก็บข้อมูลและพบว่าคนที่เป็นโรคฝีดาษวัวซึ่งติดมาจากวัวนั้น แทบไม่มีใครเป็นโรคฝีดาษคนเลย (โรคฝีดาษวัวจะมีผื่นที่คล้ายกับโรคฝีดาษในคน แต่อาการจะเป็นเฉพาะที่ ไม่รุน แรง และไม่ทำให้เสียชีวิต) จึงได้ทำการทดลอง โดยการสะกิดเอาหนองจากตุ่มที่มือของคนรีดนมวัวที่เป็นโรคฝีดาษวัวอยู่ มาฉีดเข้าที่แขนให้กับเด็กอายุ 8 ขวบ ก็พบว่าสามารถป้องกันโรคนี้ได้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษที่ต่อมาได้แพร่หลายนำไปใช้ทั่วโลก และสามารถช่วยชีวิตคนได้มากมาย

เนื่องจากโรคนี้ทำให้ประชากรทั่วโลกต้องเสียชีวิตลงอย่างมาก โดยในช่วงศตวรรษที่ 20 มีผู้เสียชีวิตจากโรคฝีดาษไปประมาณ 300 ล้านคน องค์การอนามัยโลกจึงได้พยายามกำจัดโรคนี้ให้สูญสิ้นไปโดยการใช้วัคซีน และในปี พ.ศ. 2520 นับเป็นปีสุดท้ายที่มีรายงานผู้ป่วยโรคฝีดาษที่เกิดจากการระบาดตามธรรมชาติ ดัง นั้นในปี พ.ศ. 2522 องค์การอนามัยโลกจึงให้ยกเลิกการฉีดวัคซีนในประชาชนทั่วไป และในปี พ.ศ. 2523 ก็ได้มีประกาศการสูญสิ้นของโรคฝีดาษ ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา ทุกประเทศก็ได้ยกเลิกการฉีดวัคซีนชนิดนี้

อะไรเป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงของโรคฝีดาษ?

โรคฝีดาษเกิดจากไวรัสชื่อ Orthopoxvirus หรือ Variola virus ซึ่งเป็นสายพันธุ์ (Genus) เดียวกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษใน วัว ควาย แพะ แกะ และลิง รวมทั้งอยู่ในกลุ่มเดียวกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหูดข้าวสุกในคน โรคฝีดาษในสัตว์สามารถติดต่อมาสู่คนได้ แต่อาการจะเป็นเฉพาะที่ และไม่รุนแรง สำหรับโรคฝีดาษในคน จะติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง ไม่มีสัตว์ หรือแมลงที่เป็นรังโรค หรือเป็นพาหะโรคนำมาสู่คน (ดังนั้น เราจึงสามารถกวาดล้างโรคได้หมด)

การติดเชื้อเกิดจากการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย (Face-to-face contact) และหายใจเอาเชื้อไวรัสที่กระจายอยู่ในละอองเสมหะน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยเข้าไป (Air droplets transmission) บางครั้งอาจรับเชื้อมาจากเสื้อผ้า หรือที่นอนของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อจากหนอง หรือสะเก็ดแผลอยู่ การติดเชื้อเกิดได้ค่อนข้างง่าย โดยพบว่าเป็นรองต่อโรคหัด และโรคไข้หวัดใหญ่เท่านั้น

โรคฝีดาษเกิดได้อย่างไร?

การก่อโรคฝีดาษ คือ เมื่อเราหายใจรับเชื้อฝีดาษเข้าไป เชื้อก็จะทะลุผ่านเยื่อเมือกบุคอหอย และเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ เดินทางไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง และเจริญเติบโตแบ่งตัวจนเซลล์ของต่อมน้ำเหลืองแตกออก เชื้อก็จะเข้าสู่กระแสเลือด(โลหิต) เดินทางไปยัง ม้าม ไขสันหลัง และต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย แล้วแบ่งตัวเจริญเติบโต และกลับเข้าสู่กระแสเลือดอีกครั้ง ซึ่งในครั้งหลังนี้เองที่เชื้อโรคเดินทางไปยังผิวหนัง และทำให้เกิดผื่นขึ้นมา

โรคฝีดาษมีอาการอย่างไร?

ระยะฟักตัวของโรคฝีดาษ คือตั้งแต่รับเชื้อจนกระทั่งแสดงอาการจะประมาณ 7-17 วัน โดยสามารถแบ่งอาการของโรคฝีดาษออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่เรียกว่า “Variola major““Variola minor” ซึ่งมีอาการรุนแรง และกลุ่ม ซึ่งมีอาการรุนแรงน้อยกว่า

  • กลุ่มมีอาการรุนแรง Variola major แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ
    1. โรคฝีดาษชนิดที่เรียกว่า โรคฝีดาษทั่วไป หรือ Ordinary smallpox จะมีอาการที่แบ่งออกได้เป็น 2 ระยะคือ
      • ระยะก่อนผื่นขึ้น ผู้ป่วยจะมีไข้สูง 38.3 ถึง 40 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณหลัง รู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรง และอาจมีอาการอาเจียนได้ อาการในระยะนี้จะเป็นอยู่ 2-4 วัน
      • ระยะผื่นขึ้น เริ่มแรกจะพบจุดสีแดงขึ้นตามลิ้น เยื่อบุช่องปากและเยื่อบุโพรงจมูก จุดเหล่านี้เมื่อแตกออกจะมีเชื้อออกมามากมายอยู่ในช่องปากและลำคอ เป็นระยะที่ผู้ป่วยจะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ง่ายที่สุด โดยแพร่ผ่านทางเสมหะ น้ำมูก น้ำ ลายนั่นเอง ต่อมาจะเริ่มปรากฏผื่นตาผิวหนัง โดยเริ่มที่บริเวณใบหน้าก่อน และกระ จายไปตาม แขน ขา มือ เท้า และลำตัวจนทั่วภายใน 24 ชั่วโมง โดยที่ผื่นตามใบ หน้า มือ เท้า ปลายแขน และขาจะหนาแน่นมากกว่าตามลำตัว เมื่อผื่นขึ้นแล้ว ไข้ก็จะลดลง

        ลักษณะของผื่น เริ่มต้นจะเป็นผื่นแบบแบนราบ ต่อมาจะนูนขึ้นเป็นตุ่มกลมๆ ซึ่งมีรอยบุ๋มตรงกลาง หลังจากนั้นผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนองซึ่งค่อนข้างแข็ง เวลาสัม ผัสจะรู้สึกเหมือนมีเม็ดพลาสติกฝังอยู่ในผิวหนังผื่นเหล่านี้จะมีเชื้อไวรัสอยู่และสามารถแพร่เชื้อได้ หลังจากผื่นขึ้นได้ 2 สัปดาห์ ผื่นจะตกสะเก็ด และค่อยๆลอกร่อนออกไปจนหมดกลายเป็นแผลเป็นแบบบุ๋ม และมีสีจางกว่าผิวหนังปกติ เมื่อมาถึงระยะนี้ ผู้ป่วยจะไม่แพร่เชื้ออีกต่อไป

    2. โรคฝีดาษชนิดมีเลือดออก เรียกว่า Hemorrhagic smallpox หรือ Black pox พบได้ประมาณ 2% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคฝีดาษ เป็นชนิดที่มีอาการรุนแรงมาก โดยเมื่อผิวหนังปรากฏผื่นแบบแนบราบขึ้นมาแล้ว ผู้ป่วยจะมีเลือดออกใต้ผิว หนัง ใต้เยื่อบุตา ใต้เยื่อบุลำไส้ และเกิดจุดเลือดออกใน ไต ม้าม กล้ามเนื้อลาย (กล้ามเนื้อที่ใช้ออกแรง เช่น แขน ขา ไหล่) ผู้ป่วย 95-100% จะเสียชีวิตภายใน 5-7 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการ
    3. โรคฝีดาษชนิดที่ผื่นไม่นูน เรียกว่า โรคฝีดาษรุนแรง หรือ Malignant smallpox หรือโรคฝีดาษแบบแบนราบ หรือ Flat smallpox เป็นชนิดที่อาการรุนแรง เช่นกัน พบได้ประมาณ 6% ของผู้ป่วยโรคฝีดาษ และมักจะเป็นในเด็ก ในช่วงอาการระยะก่อนผื่นขึ้น ไข้จะสูงมาก อาการจะดูแย่มาก แต่ในช่วงระยะผื่นขึ้น ผื่นจะขึ้นค่อน ข้างช้ากว่าโรคฝีดาษชนิดอื่นๆ และที่สำคัญ จะไม่นูนกลมแบบโรคฝีดาษทั่วไป Ordi nary smallpox แต่จะค่อนข้างแบนเรียบ มีน้ำ หรือหนองอยู่เพียงเล็กน้อย ผื่นค่อน ข้างนุ่มไม่แข็งเหมือนผื่นในโรคฝีดาษทั่วไป Ordinary smallpox ผู้ป่วยเกือบ 100% จะเสียชีวิต
    4. โรคฝีดาษชนิดที่เกิดในคนที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน เรียกว่า โรคฝีดาษชนิดดัดแปลง หรือ Modified smallpox อาการในระยะก่อนผื่นขึ้นจะมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเมื่อเข้าสู่ระยะผื่น ผื่นจะปรากฏรวดเร็วกว่าในโรคฝีดาษทั่วไป Ordinary smallpox แต่จะมีปริมาณผื่นน้อยกว่ามาก
  • โรคฝีดาษชนิดอาการไม่รุนแรง ที่เรียกว่า Variola minor หรือมีอีกหลายๆ ชื่อคือ Alastrim, Cottonpox, Milkpox, Whitepox ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายโรคฝีดาษ Ordinary smallpox แต่รุนแรงน้อยกว่ามาก

แพทย์วินิจฉัยโรคฝีดาษได้อย่างไร?

เนื่องจากในปัจจุบันโรคนี้ได้หายไปนานแล้ว แพทย์ในปัจจุบันจะไม่ได้นึกถึงโรคนี้ในการวินิจฉัยแยกโรคต่างๆอีกต่อไป แต่ในกรณีพิเศษ คือ เมื่อเกิดภาวะสงคราม หรือการก่อการร้ายข้ามชาติ อย่างเช่นที่เกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เกิดเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายปล้นเครื่องบินโดยสารแล้วขับชนตึก เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 จะต้องตระหนักว่าอาจมีการใช้อาวุธเชื้อโรค จึงอาจมีการปรากฏของโรคนี้อีกครั้ง การวินิจฉัยโรคนี้ ถ้าเป็นในสมัยก่อนจะวินิจฉัยได้ไม่ยาก โดยอาศัยจากอาการดังกล่าวข้างต้น แต่หากเป็นการติดเชื้อที่เกิดจากอาวุธเชื้อโรค อาการแสดงของโรคอาจไม่ตรงไปตรงมา เนื่องจากเชื้ออาจถูกดัดแปลงพันธุกรรม การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการจะนำมาช่วยในการวินิจฉัยได้ โดยการป้ายเอาสารคัดหลั่งจากลำคอ หรือใช้เครื่องมือขูดเอาหนองจากผื่นที่สงสัยว่าอาจเป็นฝีดาษ มาตรวจโดยวิธีต่างๆ เช่น

  • การใช้เทคนิคเรืองแสงที่เรียกว่า Direct fluorescent antibody assay
  • การตรวจหาสารพันธุกรรมโดยเทคนิคที่เรียกว่า พีซีอาร์ PCR (Polymerase chain reaction)
  • การเพาะเชื้อ

โรคฝีดาษมีผลข้างเคียงจากโรคและมีความรุนแรงอย่างไร?

ผลข้างเคียงและความรุนแรงของโรคฝีดาษ คือ

  1. ผู้ป่วยโรคฝีดาษทั่วไป Ordinary smallpox มีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 30% ส่วนผู้ป่วยฝีดาษชนิดรุนแรงน้อย Variola minor มีอัตราการเสียชีวิตเพียง 1%
  2. ผู้หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่า โดยหากเป็นโรคฝีดาษทั่วไป Ordinary smallpox จะมีโอกาสเสียชีวิตถึงประมาณ 60% นอกจากนี้ยังมีโอกาสเป็นโรคฝีดาษชนิดที่รุนแรงคือ ชนิดที่มีเลือดออกได้มากกว่า
  3. ผู้ป่วยโรคฝีดาษชนิดมีเลือดออก Hemorrhagic smallpox และชนิดรุน แรง Malignant smallpox มีโอกาสเสียชีวิตเกือบ 100%
  4. ภาวะแทรกซ้อนที่มักทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต คือ โรคปอดบวม ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อไวรัสเอง หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้ำซ้อน การเกิดภาวะ/โรคสมองอักเสบ และการสูญเสียน้ำจากร่างกายออกทางผิวหนังจนเกิดภาวะช็อก
  5. ผู้ป่วยที่รอดชีวิต จะมีแผลเป็นแบบเป็นหลุมที่เกิดจากผื่น เรียกว่า Pock mark โดยจะเห็นชัดเจนบริเวณใบหน้า บางครั้งผื่นตุ่มหนองนี้อาจเกิดที่เยื่อบุตา และ กระจกตา (ตาดำ) เมื่อผื่นหายจะทำให้เกิดแผลเป็น และทำให้ตาบอดได้ โดยในศตวรรษที่ 18 พบว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่ตาบอด เกิดมาจากโรคฝีดาษ นอกจากนี้เชื้อไวรัสอาจเข้าไปทำลายกระดูก และข้อ โดยเฉพาะข้อศอก และข้อเข่า ทำให้เกิดข้อผิดรูป พิการได้

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเองที่สำคัญ คือ เมื่อมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยโรคที่แน่นอน และเพื่อการแยกตัวไม่ให้สัมผัสกับผู้อื่น อย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค ซึ่งในโรงพยาบาล ขณะแยกตัวการดูแล คือการพักผ่อน การดูแลเรื่องสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) การดูแลเรื่องอาหารให้ได้อาหารมีประโยชน์ 5 หมู่เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และการดูแลรักษาประคับประ คองตามอาการ

ส่วนผู้ที่สัมผัสโรค ควรรีบพบแพทย์เช่นกันภายใน 1-2 วันเพื่อการรับวัคซีนป้องกันโรค และแพทย์มักแนะนำการแยกตัวสังเกตอาการอยู่ที่บ้าน อย่างน้อยๆ 2 สัปดาห์ หรือตามแพทย์แนะนำ ซึ่งระหว่างแยกตัว ควรวัดไข้ เมื่อมีไข้ควรรีบพบแพทย์

รักษาโรคฝีดาษอย่างไร?

ที่ผ่านมาไม่มียาสำหรับรักษาโรคฝีดาษ การรักษาหลักคือการรักษาประคับ ประคองตาอาการเท่านั้น ได้แก่ การให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด การให้สารน้ำทดแทน ปัจจุบันมีการทดลองในห้องปฏิบัติการ และพบว่ายา Cidofovir สามารถทำให้เชื้อฝี ดาษตายได้ แต่องค์การอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา หรือเอฟดีเอ (FDA, Food and Drug Administration) ยังไม่ยอมรับให้ใช้ในคน และยังมียาตัวอื่นๆอีกหลายตัวที่กำลังอยู่ในขั้นทดลองศึกษา

ป้องกันโรคฝีดาษอย่างไร?

ในสมัยก่อน การป้องกันโรคฝีดาษ ทำได้โดยการฉีดวัคซีน หรือที่เรียกกันว่าการปลูกฝี วัคซีนทำมาจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในสายพันธุ์เดียวกันกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษ การฉีดวัคซีนอาจไม่ได้ช่วยป้องกันโรคได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเกิดการติดเชื้อขึ้นมา โรคจะไม่รุนแรง อัตราการเสียชีวิตจะน้อยกว่าผู้ที่ไม่เคยรับวัคซีนมาก่อน ทั้งนี้โอกาสที่จะเป็นโรคมากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นกับว่าได้รับวัคซีนครั้งสุดท้ายมานานเท่าไหร่แล้ว เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนจะค่อยๆลดลงตามกาลเวลา ในสมัยก่อนก็จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นทุกๆ 10 ปี

การฉีดวัคซีน ทำโดยนำเข็มแบบที่มี 2 ง่าม ไม่มีรู แตะน้ำยาวัคซีน และแทงเข้าไปที่ชั้นผิวหนังบริเวณต้นแขนต่อมผิวหนังบริเวณนี้จะกลายเป็นตุ่มหนองและตกสะเก็ดคล้ายกับคนเป็นโรคฝีดาษ และกลายเป็นแผลเป็นชนิดบุ๋มไปในที่สุด ซึ่งเราจะสังเกตุเห็นแผลเป็นบริเวณต้นแขนได้จากคนในสมัยก่อนที่เคยฉีดวัคซีนนั่นเอง การฉีดวัคซีนอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ได้แก่ การลุกลามของตุ่มหนองไปยังบริเวณใกล้เคียง เช่น ใบหน้า จมูก เปลือกตา ซึ่งถ้าโดนเยื่อบุตาสมองอักเสบ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่รุนแรง มีอัตราการเสียชีวิตโดยเฉลี่ย คือ ผู้ที่ได้รับวัคซีน 1 ล้านคน มีโอกาสเสียชีวิตได้ 1 คน ดังนั้น เมื่อกวาดล้างโรคฝีดาษให้หมดไปได้แล้ว องค์การอนามัยโลกจึงได้ประกาศให้หยุดการฉีดวัคซีน เนื่องจากไม่คุ้มกับผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น แต่การฉีดวัคซีนยังคงดำเนินอยู่กับนักวิทยา ศาสตร์ และบุคคลต่างๆที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับเชื้อชนิดนี้ โดยวัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันเป็นชนิดที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ ไม่ใช่วัคซีนแบบที่เคยใช้ในสมัยก่อน โดยจะมีผลข้างเคียงที่น้อยกว่า ก็อาจทำให้ตาบอดได้ หรือในกรณีที่รุนแรง ตุ่มหนองอาจลุกลามทั่วตัว นอกจากนี้อาจทำให้เกิดภาวะ/โรค

ปัจจุบัน เชื้อฝีดาษในคน ยังคงถูกเก็บไว้ที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Center for Diseases Control and Prevention หรือ CDC) ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การอนามัยโลกที่เมืองแอตแลนตา ประเทศสหรัฐอเมริกา และในประเทศรัสเซีย การที่ยังไม่ได้กำจัดเชื้อฝีดาษสองชุดสุดท้ายนี้ให้หมดไปจากโลก เพราะนัก วิทยาศาสตร์มีความเห็นแตกแยกเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายที่ต้องการกำจัดฝีดาษให้หมดโลก ซึ่งให้เหตุผลว่าเพื่อไม่ให้โรคร้ายนี้ระบาดอีกต่อไป ส่วนฝ่ายที่ต้องการเก็บรัก ษาเชื้อก็ให้เหตุผลว่า การฆ่าเชื้อฝีดาษตัวสุดท้ายจะเป็นการฆ่าสิ่งมีชีวิตอื่นอย่างจงใจให้สูญพันธุ์ ซึ่งเราไม่มีสิทธิ์ และโดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 องค์การอนามัยโลกจึงได้ลงมติให้ทั้งอเมริกาและรัสเซียเก็บเชื้อฝีดาษให้นักวิทยาศาสตร์วิจัยต่อ เพราะเกรงว่าถ้าผู้ก่อการร้ายใช้เชื้อฝีดาษ (ที่สังเคราะห์ได้) เป็นอาวุธชีวภาพ มนุษยชาติจะเป็นอันตราย ดังนั้นการมีเชื้อฝีดาษไว้เพื่อพัฒนาวัคซีนป้องกัน จึงเป็นเรื่องจำเป็น และในขณะนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีวัคซีนเก็บไว้เพียงพอที่จะฉีดให้กับประชาชนชาวอเมริกันทุกคนในกรณีที่เกิดเหตุ การณ์ไม่ปกติขึ้นมา
ที่มา   https://haamor.com/th/ฝีดาษ/

อัพเดทล่าสุด