ผึ้ง ต่อ มด กัดต่อย: การปฐมพยาบาล การรักษาและการป้องกัน (Bee, Wasp, Hornet, and Ant stings)


2,004 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ผิวหนัง  ระบบโรคผิวหนัง 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ผื่น 

ทั่วไป

ผึ้ง ต่อและมดกัดต่อย (Bee, Wasp, Hornet, and Ant stings) พบได้บ่อย ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการมาก แต่มีผู้ป่วยบางส่วนอาการหนักมากจากการแพ้รุนแรงที่เรียกทับศัพท์การแพทย์ว่า แอนาฟิแล็กซิส (Anaphylaxis) ซึ่งถ้าให้การรักษาไม่ทัน ผู้ป่วยจะเสียชีวิต การรายงานผู้ ป่วยในกรณีนี้น้อยกว่าความเป็นจริง เพราะอาจไม่ได้ประวัติสัตว์เหล่านี้กัดต่อย แต่จะถูกราย งานการเสียชีวิตจากเรื่องของหัวใจและระบบหายใจล้มเหลวซึ่งให้อาการได้คล้ายคลึงกัน

ผึ้ง ต่อ จัดเป็นแมลงกลุ่มไฮเมนอพเทอรา (Hymenoptera) ที่มีปีก ส่วนมดเป็น Hyme noptera ที่ไม่มีปีก ส่วนใหญ่สัตว์เหล่านี้จะกัดหรือต่อยคนเพื่อป้องกันตนเองหรือป้องกันรังของมันจากการรุกรานของมนุษย์

ปฐมพยาบาล ผึ้ง ต่อ มด กัดต่อยอย่างไร?

การปฐมพยาบาล ผึ้ง ต่อ มด กัดต่อย คือ

  • ถ้าผู้ถูกกัดต่อย มีอาการรุนแรงตั้งแต่แรก เช่น หายใจไม่ออก เหงื่อออกมาก ขึ้นผื่นทั้ง ตัว แน่นหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว เป็นลม และ/หรือขึ้นผื่นทั่วตัว ควรต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลเป็นการฉุกเฉิน
  • ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงทางการหายใจ ทางการเต้นของหัวใจ และ/หรืออาการขึ้นผื่นรุนแรง การปฐมพยาบาล คือ
    • ล้างบริเวณที่ถูกกัดต่อยเบาๆให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด
    • ต่อจากนั้นใช้สันของบัตรเครดิต หรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายกันขูดเบาๆบริเวณที่ถูกกัดต่อยเพื่อเอาเหล็กในของสัตว์ที่กัดต่อยออก เพราะเหล็กในเหล่านี้ยังมีพิษอยู่เมื่อไม่เอาออก ร่างกายจะได้รับพิษสูงขึ้น อย่าใช้วิธีบีบ หรือกดเพราะจะทำให้เนื้อเยื่อบวมช้ำและได้รับพิษสูง ขึ้น
    • ประคบบริเวณถูกกัดต่อยด้วยความเย็นเพื่อลดการปวด บวม และอาการคัน
    • หลังจากนั้นดูแลตนเองต่อ ดังจะได้กล่าวในหัวข้อการดูแลรักษา

ผึ้ง ต่อ มด กัดต่อยมีอาการอย่างไร? ดูแลรักษาอย่างไร?

เมื่อถูกกัดหรือต่อยจากสัตว์กลุ่มนี้จะเกิดผลต่อร่างกายได้ 3 อย่างคือ

  1. อาการเฉพาะที่

    1. กลุ่มที่อาการไม่มาก

      การรักษาอาการในกลุ่มนี้รักษาด้วยการประคบเย็น เช่น ใช้ผ้าเย็นหรือผ้าห่อน้ำ แข็งประคบบริเวณที่ปวดบวม แดง หลังจากนั้นทาบริเวณที่ถูกกัดต่อยด้วยยา สเตียรอยด์ หรือยาแอนติฮีสตามีน/antihistamine (ยาแก้คัน ยาแก้แพ้) ซึ่งดังกล่าวแล้วแม้ไม่ทายา อาการก็จะหายไปเองภายใน 2-3 ชั่วโมง

      ข้อควรระวัง คือหากมดกัด (เช่น มดแดงไฟ มดตะนอย) มักจะทำให้เกิดรอยบวมแดง และลักษณะเป็นเหมือนหัวหนอง เกิดจากพิษของมดที่มีสารอัลคาลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งจะก่อให้เกิดลักษณะดังกล่าวภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากถูกมดกัด ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นหนอง หากเกิดลักษณะดังกล่าวอย่าไปเจาะหรือเปิดแผล เพราะส่วนใหญ่ การรักษาหนองทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียจะทำโดยการเจาะหรือผ่าบริเวณที่เป็นหนอง เพื่อระบายหนองออก แต่อาการทางผิวหนังจากมดกัดนี้คล้ายหนองแต่ไม่ใช่จากติดเชื้อแบคทีเรีย การเปิดแผลจะยิ่งมีโอกาสทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียได้สูงขึ้น

      (Uncomplicated local reaction) ผิวหนังบริเวณรอยที่ถูกกัดหรือต่อยจะบวมแดง ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร(ซม.) จนถึง 5 ซม. โดยจะเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่กี่นาที และหายไปได้เองภายใน 2-3 ชั่วโมง แม้บางครั้งอาการบวมอาจจะอยู่ได้นาน 1-2 วัน
    2. กลุ่มที่อาการเฉพาะที่ขนาดใหญ่ จะมีอาการบวมแดงที่ผิวหนังตรงบริเวณที่ถูกกัดขนาดใหญ่ประมาณ 10 ซม. อาการจะค่อยๆบวมแดงมากขึ้นภายใน 2 วัน จะบวมถึงที่ สุดประมาณ 48 ชั่วโมงหลังจากถูกสัตว์กัดต่อย และจะค่อยๆยุบหายไปภายใน 5-10 วัน ผู้ที่ถูกกัดแล้วมีอาการนี้คิดเป็นประมาณ10% ของผู้ที่ถูกผึ้งต่อ ต่อย หรือมดกัด

      การรักษา ขึ้นกับอาการ ได้แก่

      • ประคบเย็น เพื่อช่วยให้ผิวหนังรู้สึกสบายขึ้น ถ้าถูกกัดต่อยที่แขน ขา ยกแขน ขาส่วนนั้นให้สูงขึ้นเพื่อลดอาการบวม
      • กินยาสเตียรอยด์ระยะสั้นๆ ทั้งนี้ต้องอยู่ในภายใต้การสั่งยาของแพทย์
      • ใช้ยาทาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ยาในกลุ่มเอนเสดส์ (NSAIDs) เพื่อลดอาการปวด
      • หากมีอาการคันมากให้กินยาแอนติฮิสตามีนแก้คัน เช่น ยาคลอร์เฟน (Chlor pheniramine, CPM) หรือทายาครีมสเตียรอยด์จนอาการดีขึ้น

        อนึ่งอาการที่ผิวหนังส่วนใหญ่มักจะไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรก แต่ควรสงสัยว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรก เมื่อบริเวณที่ถูกกัดต่อยมีอาการปวด บวม แดง ร้อน โดยเป็นมากขึ้นหลัง 3-5 วันนับจากถูกกัดต่อย ซึ่งโดยปกติหากไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรก อาการจะดีขึ้นแล้ว

    (Local reaction) ซึ่งอาการเฉพาะที่ยังแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
  2. อาการแพ้พิษ

    อาการรุนแรงนี้ อาจเกิดได้แม้แต่ถูกสัตว์ดังกล่าวกัดต่อยเพียงครั้งเดียว บางครั้งยังมีอาการรุนแรงทั้งๆที่ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดเอปิเนฟรีน (Epinephrine) ซึ่งเป็นยาที่ใช้ฉุกเฉินสำหรับภาวะนี้โดยตรง และในบางคนอาจไม่ได้ผลทั้งๆที่ฉีดยานี้ไปแล้วหลายครั้ง

    โดยทั่วไปการแพ้พิษ Anaphylaxis พบได้ประมาณ 0.3 ถึง 8% ของผู้ที่ถูกผึ้ง ต่อหรือมด กัดต่อย ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของแมลง และจำนวนแผลที่ถูกกัดต่อย

    ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบสาเหตุการตายจากสัตว์กลุ่มนี้ปีละ 40 ถึง 100 ราย อัตราการตายใกล้เคียงกันทั่วโลก แต่คาดว่าอัตรานี้น้อยกว่าความเป็นจริงเพราะผู้ป่วยอาจถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะโรคหัวใจ หรือจากโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) และครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากการแพ้พิษอย่างรุนแรงของสัตว์เหล่านี้ ไม่เคยทราบมาก่อนว่าตนเองแพ้พิษสัตว์เหล่านี้

    อาการแพ้พิษนี้เกิดได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่หากเกิดในผู้ใหญ่จะมีอาการมากกว่าในเด็ก และอาจเสียชีวิตในประชากรกลุ่มผู้ใหญ่มากกว่าในกลุ่มเด็ก พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงและพบในคนที่ทำงานนอกสถานที่ โดยเฉพาะ อาชีพเลี้ยงผึ้ง จะพบได้สูงขึ้น เนื่องจากมีโอกาสที่จะถูกผึ้งกัดต่อยได้มากกว่าคนอื่นๆ

    • อาการที่ต้องสงสัยว่าเกิด Venom-induced anaphylaxis
      1. อาการทางผิวหนัง ที่พบบ่อยคือ อาการลมพิษกระจายไปทั่วทั้งตัว ผิวหนังแดง บวม ซึ่งในกลุ่มผู้ป่วยเด็กจะพบอาการทางผิวหนังมากกว่าผู้ใหญ่คือพบได้ประมาณ60% ของอาการแพ้รุนแรงนี้ ขณะที่ผู้ใหญ่พบเพียงประมาณ15%
      2. อาการทางระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ มีอาการอุดกั้นทางเดินหายใจเฉียบพลัน เนื่องจากมีการบวมของหลอดลมเฉียบพลัน ทำให้หายใจลำบาก หายใจหอบ และมีเสียงแหบจากการบวมของกล่องเสียง
      3. อาการทางระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือดล้มเหลว ซึ่งพบได้ตั้งแต่ มีอาการหน้ามืด วิงเวียน เป็นลม เนื่องจากความดันโลหิตต่ำ เลือดจึงไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายไม่เพียง พอ จึงเกิดภาวะช็อกอาการนี้นับว่าเป็นอาการรุนแรงที่สุดของการแพ้พิษสัตว์พวกนี้ และเป็นเหตุให้เสียชีวิต

      ดังนั้นในผู้ที่ทำงานนอกบ้าน เช่น ทำงานในสวน หรือสนามกอล์ฟ หรือคนที่เล่นกอล์ฟ หากมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ หรืออาการทางระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด ซึ่งส่วนใหญ่อาจคิดว่าเป็นโรคหัวใจหรือโรคหืด คงต้องคิดถึงภาวะที่ถูกสัตว์กลุ่มนี้กัดต่อยด้วย เพื่อจะได้รักษาได้ถูกต้องทันท่วงที

    • การรักษาภาวะ Venom-induced anaphylaxis โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อจะได้ทราบวิธีการฉีดยานี้

      ในเด็ก พ่อแม่ควรต้องเอาใจใส่ ทบทวนให้ทราบวิธีจากแพทย์และสอนให้ลูกดู แลตนเองได้เมื่อถูกสัตว์เหล่านี้กัดต่อย

      เมื่อฉีดยานี้เองแล้ว อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เนื่อง จากมีการรายงานว่า ผู้ป่วยที่หลังจากฉีดยาแล้วดูเหมือนกับอาการจะดีขึ้น แต่ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา อาการจะรุนแรงกลับเป็นซ้ำอีกจนบางคนเสียชีวิต ซึ่งการรักษาในคนกลุ่มนี้ ควรอยู่ในโรงพยา บาลเพราะมีอุปกรณ์และบุคลากรพร้อมกว่าที่บ้าน หรือที่คลินิก

      เมื่อถูกสัตว์เหล่านี้กัดต่อย ต้องดึงเอาเหล็กในออกด้วย เพราะเหล็กในนี้จะปล่อยพิษออกมาได้อีก พวกที่ถูกมดแดงไฟ หรือมดตะนอยกัดควรดึงเอาตัวมดออกไปด้วย เพราะเมื่อมดพวกนี้กัดจะปล่อยพิษออกมา และขณะกัดติดที่ผิวหนังก็จะปล่อยพิษต่อไปอีก

      การรักษาภาวะนี้เหมือนการรักษาภาวะ Anaphylaxis อื่นๆ คือการฉีดยาเอปิเนฟรีนเข้ากล้ามเนื้อบริเวณหน้าขาด้านข้าง (Anterolateral thigh) ซึ่งเป็นการรักษาช่วยชีวิตฉุกเฉิน ผู้ที่มีประวัติแพ้สัตว์พวกนี้ ควรจะมียาเอปิเนฟริน พกพาเพื่อฉีดเองได้ทันท่วงที
    • การป้องกันภาวะ Venom-induced anaphylaxis

      ปัจจุบันแพทย์สามารถรักษาภาวะนี้โดยการใช้กระบวนการทางภูมิคุ้มกันการแพ้พิษ (Venom immunotherapy โดยการฉีดพิษ เข้าสู่ร่างกายบ่อยๆ และค่อยๆเพิ่มปริมาณทีละน้อย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภูมิคุ้มกันต้านทานต่อพิษนี้) ซึ่งจะลดภาวะแพ้อย่างรุนแรงนี้ได้ ดังนั้นหากมีประวัติที่สงสัยจะแพ้พิษสัตว์เหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์ทางภูมิแพ้ เพื่อจะได้รับการรักษาหรือการป้องกันภาวะแพ้รุนแรงนี้

      การป้องกันไม่ให้สัตว์เหล่า นี้กัดต่อยเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นกิจวัตรในกลุ่มคนที่มีประวัติแพ้พิษหรือแม้แต่ผู้ที่ไม่มีประวัติแพ้ซึ่งก็อาจแพ้ได้ เช่นไม่ใส่เสื้อสีสดใส หรือใส่น้ำหอมไปในที่มี สัตว์เหล่านี้อยู่ เพราะสัตว์เหล่านี้ชอบสีสดใสและกลิ่นหอมเหมือนดอกไม้ และต้องคอยดูไม่ให้เด็กเข้าไปเล่นในพุ่มไม้ที่อาจมี ผึ้ง ต่อ หรือมดชุกชุม
    (Venom allergy) และภาวะแพ้พิษรุนแรงแอนาฟิแล็กซิส (Anaphylaxis) ซึ่งเป็นอาการรุนแรงที่สุด และเกิดได้รวดเร็ว อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เรียก ว่า Venom-induced anaphylaxis จะมีอาการไม่เฉพาะแต่บริเวณที่ถูกกัด แต่จะกระจายไปเนื้อเยื่ออื่นๆด้วย
  3. อาการอื่นๆจากพิษที่พบเกิดในระยะหลัง

    อาการของซีรัมซิกเนส คือ มีลมพิษที่ผิวหนัง ปวดตามข้อ มีไข้ เหนื่อยอ่อนเพลีย และมีต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งมักเกิด 7 ถึง 10 วันหลังจากถูกสัตว์เหล่านี้กัดต่อย

    ผู้ป่วยบางส่วนจะมีอาการหลังจากถูกสัตว์เหล่านี้กัดต่อยไปแล้วหลายวันหรือหลายสัปดาห์ อาการเหล่านี้ ได้แก่ ซีรัมซิกเนส (Serum sickness) หลอดเลือดอักเสบ เส้นประสาทอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สมองอัก เสบ หรือไตอักเสบ

เมื่อไรควรพบแพทย์หลังถูก ผึ้ง ต่อ มด กัดต่อย?

เมื่อถูกสัตว์เหล่านี้กัดต่อย ควรพบแพทย์เมื่อ

  1. บริเวณที่ถูกกัดต่อยมีอาการ บวม แดง ปวด มาก
  2. อาการปวด บวม แดง ไม่หายไปภายใน 3-5 วัน และ/หรือกลับเลวลง เช่น 2-3 วันยังบวม แดง ปวด มากขึ้น
  3. มีไข้ร่วมด้วย ซึ่งแสดงว่าอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรก
  4. ผู้ที่มีประวัติแพ้พิษ แพ้อาหาร และ/หรือมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น เวียนศีรษะ หน้ามืด ต้องรีบไปโรงพยาบาลฉุกเฉิน หากมียาเอปิเนฟรีนอยู่ ให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อที่หน้าขาตามที่แพทย์กำหนดให้
  5. มีอาการผิดปกติอื่นๆที่เกิดตามมาภายหลังจากสัตว์เหล่านี้กัดต่อยแล้ว

ป้องกัน ผึ้ง ต่อ มด กัดต่อยอย่างไร?

การป้องกันสัตว์เหล่านี้กัดต่อย สามารถทำได้โดย

  1. สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว รองเท้าบู๊ท สวมถุงมือ หมวกและผ้าคลุมหน้า แว่น ตา หากต้องไปทำงานในสนาม และเป็นผู้มีโอกาสเสี่ยงต่อการแพ้พิษสัตว์เหล่านี้
  2. ไม่ใส่เสื้อผ้าสีสดใส หรือน้ำหอมในบริเวณที่สัตว์เหล่านี้อยู่ เพราะจะดึงดูดให้สัตว์เหล่านี้มาไต่ตอม เสี่ยงต่อการถูกกัดต่อย
  3. สอนให้เด็กรู้จักป้องกันไม่ให้ถูกสัตว์เหล่านี้กัดต่อยด้วย เช่น เวลาไปเล่นที่สนามหญ้า ให้สวมใส่รองเท้าให้มิดชิด ดูว่ามีมด สัตว์พวกนี้อยู่ในบริเวณดังกล่าวหรือไม่
  4. ในพวกที่แพ้พิษของสัตว์ดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อเรียนรู้วิธีการใช้ยาเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน อาจรับการรักษาด้วยวิธี Venom immunotherapy เมื่อแพทย์แนะนำ และคอยหมั่นตรวจสอบยาที่เก็บไว้ว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้การได้ ไม่หมดอายุ

ที่มา   https://haamor.com/th/ผึ้ง-ต่อ-มด-กัดต่อย/

อัพเดทล่าสุด