แผลร้อนใน (Aphthous ulcer)


1,173 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ช่องท้อง  ระบบศีรษะและลำคอ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

เจ็บปาก  แผล 

บทนำ

โรคแผลร้อนใน (Aphthous ulcer หรือ Aphthous stomatitis หรือ Recurrent aphthous ulcer/RAU หรือ Canker sore) คือโรคจากมีแผลเปื่อยในช่องปาก บริเวณส่วนใดของช่องปากก็ได้ อาจมีแผลเดียวหรือหลายแผล แผลอาจมีขนาดเล็กเป็นมิลลิเมตร หรือใหญ่เป็นหลายเซนติเมตรได้ และจะมีอาการเจ็บแผลเป็นอย่างมาก

แผลร้อนในเป็นโรคพบได้บ่อย พบได้ตั้งแต่ในเด็กเล็ก (นิยามคำว่าเด็ก) ไปจนถึงผู้สูงอายุ แต่มักพบได้บ่อยในช่วงวัยรุ่นจนถึงวัยหนุ่มสาว โดยผู้หญิงพบได้บ่อยกว่าผู้ชาย

พบแผลร้อนในได้ประมาณ 15%-30% ประชากรทั่วโลก บางคนเกิดได้ประมาณน้อยกว่า 4 ครั้งต่อปี (พบได้ประมาณ 80%-90% ของผู้ป่วย) แต่บางคนอาจเกิดบ่อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน (พบได้ประมาณ 10% ของผู้ป่วย)

แผลร้อนในเกิดจากอะไร?

สาเหตุของโรคแผลร้อนในยังไม่ทราบชัดเจน แต่ทั้งนี้จากการศึกษาเชื่อว่า อาจมีปัจจัยเสี่ยงจาก

  • พันธุกรรม เพราะพบว่า 30%-40% ของคนเป็นโรคนี้บ่อยๆ มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้
  • ความเครียด ความกังวล
  • การกัดโดนเนื้อเยื่อในช่องปาก เช่น กัดลิ้น หรือ กระพุ้งแก้ม ขณะเคี้ยวอาหาร
  • แพ้สารเคมีในอาหาร หรือในสิ่งที่บริโภคบ่อยๆ เช่น น้ำยาบ้วนปาก
  • แพ้สารบางชนิดในยาสีฟัน
  • แพ้อาหารบางชนิด
  • การขาดวิตามิน และเกลือแร่ บางชนิด เช่น วิตามิน บี เหล็ก และสังกะสี
  • การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น Helicobacter pylori
  • การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น โรคเริม
  • อาจสัมพันธ์กับความผิดปกติในภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เพราะพบเซลล์เม็ดเลือดขาว (ที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันโรค) ได้สูงในแผลร้อนใน
  • การเลิกบุหรี่ (โรคนี้พบได้น้อยในคนสูบบุหรี่)
  • บางครั้งอาจสัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศ เพราะพบแผลร้อนในได้บ่อยกว่าในผู้หญิง โดยเฉพาะในช่วงใกล้ หรือมีประจำเดือนแต่การศึกษายังไม่สามารถระบุถึงความ สัมพันธ์ที่ชัดเจนได้

แผลร้อนในมีอาการอย่างไร?

อาการสำคัญของแผลร้อนใน คือ มีแผลเปื่อย เจ็บมาก เกิดในเนื้อเยื่อช่องปากได้ทุกเนื้อเยื่อของช่องปาก เช่น ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เหงือก เพดาน ลิ้น ใต้ลิ้น รอยต่อระหว่างริมฝี ปากกับเหงือก และบางรายที่รุนแรงอาจพบแผลเปื่อยในลำคอได้

โดยแรกเริ่ม จะรู้สึกเจ็บมากตรงตำแหน่งที่จะเกิดแผลเปื่อย ตามมาด้วยรอยแดงๆ เจ็บ ลักษณะเป็นรอยกลม หรือ รูปไข่อาการเหล่านี้จะเกิดก่อนมีแผลเปื่อยประมาณ 2-3 วัน หลัง จากนั้นจึงเกิดแผลเปื่อยตรงรอยแดงนั้น โดยลักษณะสำคัญของแผลร้อนใน คือ เป็นแผลเปื่อยที่เจ็บมากโดยเฉพาะเมื่อถูกกระทบ/สัมผัส บนตัวแผลจะมีสีเหลืองหรือสีขาว และมีคราบไฟ บริน (Fibrin, สารที่ช่วยทำให้เลือดแข็งตัว) ปกคลุมอยู่บนแผล ขอบแผลจะแดง มักเป็นขอบเรียบ ไม่เป็นขอบนูน เมื่อแผลเริ่มหาย อาการเจ็บแผลจะลดน้อยลง และแผลอาจเปลี่ยนเป็นสีออกเทาๆ ทั้งนี้ขนาดของแผล มีได้ตั้งแต่เป็นมิลลิเมตร (มม.) ไปจนถึง เป็นหลายเซนติเมตร (ซม.) และอาจมีเพียงแผลเดียว หรือ มีได้เป็นสิบแผล

นอกจากนั้น อาจคลำพบต่อมน้ำเหลือง (ใต้ขากรรไกร) โต แต่ขนาดไม่โตมาก มักไม่เกิน 2 ซม. และมักเจ็บ

แผลร้อนในแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะตามความรุนแรงของโรค คือ แผลเปื่อยไมเนอร์ (Minor ulcer) แผลเปื่อยเมเจอร์ (Major ulcer) และแผลเปื่อยเฮอร์เพติฟอร์ม (Herpetiform ulcer)

  • แผลเปื่อยไมเนอร์ (Minor ulcer) เป็นแผลเปื่อยที่พบได้บ่อยที่สุด ประมาณ 80% ของแผลร้อนในทั้งหมด เป็นแผลเปื่อยขนาดเล็ก มักมีขนาดไม่เกิน 1 ซม. และเป็นแผลตื้นๆ แผลมักหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์
  • แผลเปื่อยเมเจอร์ (Major ulcer)เนื้อเยื่อที่เคลื่อนไหวได้ของช่องปาก เช่น ด้านข้างของลิ้น พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่เลยวัยรุ่นไปแล้ว แผลมักหายช้า เป็นเดือน และเมื่อหายแล้ว แผลมักเกิดซ้ำได้บ่อย และอาจก่อให้เกิดพังผืดของเนื้อเยื่อที่เกิดแผลได้

    ซึ่งเมื่อแผลร้อนในไม่ดีขึ้นหลังดูแลตนเองภายใน 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์เสมอ เพื่อแยกจากแผลอักเสบติดเชื้อ หรือ แผลมะเร็งโดยเฉพาะเมื่ออายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

    เป็นแผลร้อนในที่พบได้ประมาณ 10-15% ของแผลร้อนในทั้งหมด ลักษณะแผลเช่นเดียวกับแผลเปื่อยไมเนอร์ แต่แผลมีขนาดใหญ่กว่า มักใหญ่เกิน 1 ซม. และมักเป็นแผลลึก มักเกิดในตำแหน่ง
  • แผลเปื่อยเฮอร์เพติฟอร์ม (Herpetiform ulcer) เป็นแผลร้อนในที่พบได้ประมาณ 5-10% แต่รุนแรงกว่าทั้งสองชนิดที่กล่าวแล้ว มักเกิดในผู้หญิง ในวัยเป็นผู้ใหญ่แล้ว โดยแผลจะมีหลายๆแผล อาจสิบกว่าแผล แต่มีรายงานเป็นแผลเล็กๆได้มากกว่าร้อยแผล กระจายได้ทั่วทั้งช่องปาก ขนาดเล็กๆ 1-3 มม. อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นแผลตื้นๆ เป็นแผลที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมักต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ เพราะผู้ป่วยจะเจ็บแผลมาก จนกระทบต่อการกินอาหารและการดื่มน้ำ เมื่อได้รับการรักษาแผลมักหายภายในระยะเวลาน้อยกว่า 1 เดือน และมักไม่เกิดเป็นพังผืดหรือแผลเป็น

แพทย์วินิจฉัยแผลร้อนในได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยแผลร้อนในได้จาก ประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และการตรวจแผลในช่องปาก ซึ่งก็เพียงพอที่จะวินิจฉัยโรคได้ แต่บางครั้งลักษณะแผลไม่แน่ชัด แพทย์อาจป้ายสารคัดหลั่งจากแผลเพื่อการย้อมเชื้อ และ/หรือตรวจเพาะเชื้อ หรือขูดเซลล์จากแผลเพื่อการตรวจทางเซลล์วิทยา หรือตัดชิ้นเนื้อจากแผลเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยาโดยเฉพาะเมื่อสงสัยอาจเป็นแผลจากโรคมะเร็ง (โรคมะเร็งช่องปาก)

รักษาแผลร้อนในอย่างไร?

แนวทางการรักษาแผลร้อนใน คือ การรักษาประคับประคองตาอาการทั้งนี้เพราะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรค และอาจให้ยาปฏิชีวนะเมื่อสงสัยมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย

การรักษาประคับประคองตาอาการที่สำคัญ คือ กินยาแก้ปวด/แก้เจ็บ เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ทายาแก้ปวด หรือยาต้านการอักเสบ เช่น ยาสเตียรอยด์ หรือบางครั้งอาจจี้แผลด้วยยาบางชนิด (ให้การรักษาโดยแพทย์เท่านั้น) เพื่อกระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้น การพักผ่อนให้เพียงพอ และการให้สารอาหาร และน้ำทางหลอดเลือดดำกรณีเจ็บแผลมากจนกินหรือดื่มน้ำไม่ได้ หรือ ได้น้อย

นอกจากนั้น แพทย์บางท่านอาจแนะนำกิน วิตามิน เกลือแร่ เสริมอาหาร และการเปลี่ยนชนิดยาสีฟัน ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

แผลร้อนในรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?

โดยทั่วไป แผลร้อนในเป็นโรคไม่รุนแรง แผลมักหายภายใน 1-2 สัปดาห์หลังการดูแลตนเอง และไม่ก่อให้เกิดแผลเป็น ยกเว้นเมื่อแผลติดเชื้อแบคทีเรีย ที่จะทำให้แผลหายช้าลง หรือเมื่อเป็นแผลร้อนในชนิด แผลเปื่อยเฮอร์เพติฟอร์ม

โดยทั่วไป ไม่พบผลข้างเคียงแทรกซ้อนจากโรคแผลร้อนใน ยกเว้นเมื่อเป็นชนิดแผลเปื่อยเมเจอร์ ที่อาจทำให้เกิดพังผืดหรือแผลเป็นตรงตำแหน่งเกิดแผลได้

อนึ่ง ยังไม่เคยมีรายงานว่า แผลร้อนในกลายเป็นโรคมะเร็ง แต่แผลโรคมะเร็งอาจให้ลักษณะแผลเหมือนแผลร้อนในได้ ดังนั้นเมื่อแผลในช่องปากทุกชนิดรวมทั้งแผลร้อนในไม่ดีขึ้น หรือ ไม่หายภายใน 2 สัปดาห์ จึงควรพบแพทย์เสมอ เพื่อวินิจฉัยแยกจากโรคมะเร็ง โดย เฉพาะเมื่อมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นอายุที่เริ่มพบโรคมะเร็งของช่องปากได้สูงขึ้น

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเอง การพบแพทย์เมื่อเป็นโรคแผลร้อนใน ได้แก่

  • พักผ่อนให้พอเพียง
  • กินอาหารอ่อน รสจืด (ประเภทอาหารทางการแพทย์) เพื่อลดการระคายเคืองต่อช่องปาก ลดอาการเจ็บช่องปาก
  • ดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้น อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้วเมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
  • กินยาแก้ปวด พาราเซตามอล (Paracetamol) ร่วมกับทายาต้านการอักเสบที่แผล (ปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อยาใช้เองเสมอ)
  • เปลี่ยนชนิดยาสีฟัน
  • รีบพบแพทย์ เมื่อ

ป้องกันแผลร้อนในได้อย่างไร?

การป้องกันแผลร้อนในเต็มร้อยเป็นไม่ได้ เพราะเป็นโรคยังไม่ทราบสาเหตุ แต่การหลีก เลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆดังกล่าวแล้วในหัวข้อสาเหตุที่หลีกเลี่ยงได้ อาจช่วยลดโอกาสเกิด และ/หรือ โอกาสเกิดเป็นซ้ำลงได้ เช่น

  • การกินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนในทุกมื้ออาหาร
  • รักษาสุขภาพจิต
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่ใช้ยาสีฟันชนิดเดียวซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานๆ
  • ค่อยๆเคี้ยวอาหาร ไม่รีบกินอาหารเพื่อป้องกันการกัดลิ้น หรือเนื้อเยื่ออื่นๆในช่องปาก
  • รักษาความสะอาดช่องปากและฟันด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเมื่อตื่นนอนเช้า และก่อนเข้านอน ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้งก่อนแปรงฟันเข้านอน และบ้วนปากให้สะอาดเสมอหลังกินอาหารและดื่มเครื่องดื่มต่างๆ
  • สังเกตความสัมพันธ์ของโรคกับ อาหาร เครื่องดื่ม ยา และของใช้ต่างๆที่เกี่ยวกับช่องปาก เช่น ชนิดของยาสีฟัน และน้ำยาบ้วนปาก เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆเหล่า นั้น

ที่มา   https://haamor.com/th/แผลร้อนใน/

อัพเดทล่าสุด