ปฏิทินการตั้งครรภ์ตามไตรมาส (Trimester pregnancy calendar)


1,919 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

มดลูก  ระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

การคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติคืออะไร?

การคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ (Natural birth control หรือ Natural family planning) คือ การป้องกันการตั้งครรภ์ ด้วยวิธีการต่างๆโดยอาศัยหลักสรีรวิทยาของการทำงานของฮอร์ โมนในระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี การตกไข่ การมีประจำเดือน มาช่วยกำหนดวันที่มีเพศสัมพันธ์ได้โดยไม่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ และไม่ได้ใช้อุปกรณ์หรือยาฮอร์โมนต่างๆ

การคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติมีวิธีใดบ้าง?

การมีความรู้ทางด้านสรีรวิทยาและการทำงานของระบบสืบพันธุ์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติได้หลายวิธี ได้แก่

  1. การงดมีเพศสัมพันธ์ (Abstinence) เป็นวิธีที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด ได้ผลดีที่สุด ประ หยัดที่สุด แต่ทำยากที่สุด เพราะเป็นการฝืนธรรมชาติมากที่สุด จึงไม่เป็นที่นิยม
  2. การนับวันปลอดภัย (Calendar method, Calendar rhythm method, Ogino-Knaus method) ตามความรู้ทางสรีรวิทยาในสตรีที่มีประจำเดือนปกติ ทุก 28 วันจะมีการตกไข่วันที่ 14 ก่อนมีประจำเดือนครั้งต่อไป อย่างไรก็ตามไข่มีโอกาสตกช้าหรือเร็วภายใน 2 วัน ดังนั้นโอกาสตกไข่จึงอยู่ในช่วงวันที่ 12-16 ของรอบเดือน ไข่มีชีวิตรอการผสมจากเชื้ออสุจิ (สเปิร์ม, Sperm) อยู่ได้ประมาณ 24 ชั่วโมง โอกาสการตั้งครรภ์จึงถึงวันที่ 17 ของรอบเดือน ส่วนเชื้ออสุจิมีชีวิตรอผสมได้ประมาณ 48 ชั่วโมง หรือ 2 วันก่อนการตกไข่

    ดังนั้นในสตรีที่ประจำเดือนปกติมาทุก 28 วัน ช่วงที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ คือ วันที่ 10-17 ของรอบเดือน (นับจากวันแรกของวันมีรอบเดือน) ในกรณีที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ การหาช่วงเวลาที่ปลอดภัยโดยสังเกตและบันทึกประวัติประจำเดือนที่ผ่านมา 12 เดือน ให้ใช้เลข 18 ลบออกจากรอบประจำเดือนที่สั้นที่สุดเป็นวันแรกที่มีโอกาสตั้งครรภ์ (First fertile day) และใช้เลข 11 ลบออกจากรอบประจำเดือนที่ยาวที่สุด ก็จะเป็นวันสุดท้ายที่มีความเสี่ยงต่อการตั้ง ครรภ์ (Last fertile day) เช่น หากประจำเดือนมาสม่ำเสมอทุก 28 วัน วันที่มีสิทธ์จะตั้งครรภ์ได้คือวันที่ 10 (28 ลบ 18) ถึง วันที่ 17 (28 ลบ 11) ของรอบเดือน แต่หากประจำเดือนรอบสั้นที่สุด 23 วัน รอบประจำเดือนที่ยาวที่สุดคือ 40 วัน ดังนั้น วันที่มีสิทธ์จะตั้งครรภ์ได้คือวันที่ 5 (23 ลบ 18) ถึง วันที่ 29 (40 ลบ 11) ของรอบเดือน

    อนึ่ง ที่ได้ยินพูดกันบ่อยๆ ระยะปลอดภัย คือ หน้า 7 หลัง 7 หมายถึงช่วงที่ปลอดจากการตั้งครรภ์ หากมีเพศสัมพันธ์ในระยะเวลา 7 วัน ก่อนมีประจำเดือนรอบถัดไป และหลังมีประ จำเดือน (นับวันที่เป็นประจำเดือนวันแรกเป็นวันที่ 1 ) สามารถใช้ได้ปลอดภัย แต่เป็นการเว้นระยะค่อนข้างยาวอาจส่งผลถึงความสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยาได้

  3. การกำหนดระยะเวลาเจริญพันธุ์ (The standard days method) เป็นการกำหนดช่วง เวลาไปเลยว่า วันที่ 8-19 ของรอบเดือนมีโอกาสเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ โดยการคำนวณค่าเฉลี่ยของรอบประจำเดือนสตรีทั่วไปที่มีรอบประจำเดือน 26-32 วัน หากต้องการคุมกำเนิดควรหลีก เลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานี้
  4. การวัดอุณหภูมิพื้นฐานของร่างกาย (Basal body temperature) ตามความรู้ด้านสรีร วิทยาที่ว่าอุณหภูมิร่างกายจะลดลง 12-24 ชั่วโมงก่อนที่จะมีการตกไข่ หลังจากนั้นจะสูงขึ้นประ มาณครึ่งองศา (0.5 degree Celsius/C) เมื่อมีการตกไข่ ซึ่งเป็นผลจากฮอร์โมนโปรเจสเตโรน (Progesterone)

    การคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ สตรีต้องมีการวัดอุณหภูมิตนเองทุกเช้าด้วยปรอทวัดไข้ธรรมดาหลังตื่นนอนและก่อนทำกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นการลุกขึ้นแปรงฟัน หรือการสะบัดปรอท (ดัง นั้นจึงต้องสะบัดปรอทให้พร้อมตั้งแต่ก่อนนอน) แล้วมีการจดบันทึกไว้ สามารถวัดปรอทได้ทั้งทางปาก รักแร้ หรือทวารหนัก การวัดแต่ละครั้งควรนานประมาณ 5 นาที ควรทำการวัดในเวลาใกล้เคียงกันในแต่ละวัน หลังวัดปรอทเสร็จ ควรทำความสะอาดปรอทวัดไข้ให้เรียบร้อยและสะ บัดปรอทให้พร้อมใช้ในวันรุ่งขึ้น โดยไม่ต้องมาเสียเวลาสลัดปรอทอีก ทั้งนี้เมื่อดูจากค่าอุณหภูมิ เราสามารถเลือกวันที่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เพื่อลดความเสียงในการตั้งครรภ์

  5. การดูมูก/ตกขาว/สารคัดหลั่งจากปากมดลูก (Cervical mucus inspection method หรือ Ovulation method หรือ Billings method) มูกปากมดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของความเหนียวข้นและความยืดหยุ่นตามอิทธิพลของฮอร์โมนเพศหญิงในแต่ละรอบเดือน ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย โดยให้สตรีสังเกตลักษณะมูกในช่องคลอดตนเอง ในช่วงใกล้ตกไข่ด้วยอิทธิ พลของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) จะทำให้มูกปากมดลูกมีปริมาณมาก ใส สามารถจับมูกยืดได้ยาว (Spinnbarkeit) หากมีการร่วมเพศในช่วงนี้ก็จะเสี่ยงกับการตั้งครรภ์ได้สูง เชื้ออสุจิผ่านมูกแบบนี้ได้ง่าย จึงต้องเลี่ยงเวลานี้หากต้องการคุมกำเนิด แต่เมื่อมีการตกไข่ไปแล้ว ด้วยอิทธิพลของฮอร์โมนโปรเจสเตโรนมูกหรือสารคัดหลั่งจากช่องคลอดจะเป็นสีขุ่นขึ้น มีปริมาณน้อยลง ยืดมูกไม่ได้ยาว
  6. การสังเกตอาการประกอบการตรวจอุณหภูมิ (Symptothermal method) เป็นการใช้หลายวิธีรวมกัน โดยดูทั้ง
  7. การใช้ชุดตรวจการตกไข่ (Ovulation indicator testing kit) ปัจจุบันมีชุดตรวจคาดคะเนการตกไข่ ส่วนมากใช้ในสตรีที่ต้องการตั้งครรภ์ และต้องการกำหนดช่วงเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ใน ช่วงที่มีการตกไข่ หรือใกล้ตกไข่มากที่สุด เพื่อให้ตั้งครรภ์ เป็นการตรวจหาฮอร์โมน Luteiniz ing hormone (LH/ฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่) ในปัสสาวะ ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อ 8-12 ชั่วโมงหลังมีการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน LH (LH surge) ในสตรีปกติทั่วไป LH จะเป็นตัวกระตุ้นให้มีการตกไข่ ปริมาณของ LH จะเพิ่มสูงขึ้นมาก 20-48 ชั่วโมงก่อนตกไข่ สามารถใช้ชุดตรวจนี้ช่วยในการคุมกำเนิดได้โดยหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในระยะที่ตรวจพบ LH ในปัสสาวะ
  8. การหลั่งนอก (Withdrawal method หรือ Coitus interruptus) เป็นการที่ฝ่ายชายถอดองคชาตที่กำลังจะหลั่งน้ำอสุจิขณะร่วมเพศจนใกล้ถึงจุดสุดยอดออกมาจากช่องคลอด แล้วมาหลั่งน้ำอสุจิภายนอกช่องคลอด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ตัวเชื้ออสุจิเข้าไปในช่องคลอดและในปากมดลูก เป็นวิธีที่เกิดความล้มเหลวบ่อย (15-30%) เพราะฝ่ายชายมักถอนอวัยวะเพศไม่ทัน จึงทำให้มีตัวเชื้ออสุจิส่วนหนึ่งเข้าไปในช่องคลอดได้ และ/หรืออสุจิที่เปื้อนอยู่บริเวณปากช่องคลอดยังอาจสามารถเคลื่อนตัวผ่านเมือกที่ปากช่องคลอดฝ่ายหญิงที่มีมากขณะมีอารมณ์ทางเพศได้อีกด้วย
  9. การกลั้นไม่หลั่งน้ำอสุจิ (Coitus reservatus) เป็นการที่ฝ่ายชายควบคุมตนเองไม่ให้หลั่งน้ำอสุจิ เมื่อใกล้จุดสุดยอดจะต้องค่อยๆบังคับตนเองให้ลดความตื่นเต้นทางเพศลง ค่อยๆผ่อนคลายจนหมดไป วิธีการนี้มีโอการพลาดได้ง่าย (10-30%) เช่นเดียวกับการหลั่งนอก
  10. การให้นมบุตร (Lactational infertility) เป็นการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะสตรีที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ประจำเดือนจะมาช้ากว่าสตรีที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม เนื่องจากการให้ลูกดูดนมจะมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมน Gonadotropin releasing hor mone (GnRH,ฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของไข่) ทำให้ไม่มีการหลั่ง ฮอร์โมน Follicular stimulating hormone (FSH) และฮอร์โมน LH ไปกระตุ้นให้ไข่ในรังไข่มีการเจริญเติบโตจนเกิดการตกไข่ได้ ซึ่งโดยมากการตกไข่มักเกิด 10-12 สัปดาห์หลังคลอด แต่หากต้องการคุมกำ เนิดอย่างจริงจังควรมีการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย
  11. การสวนล้างช่องคลอดและการถ่ายปัสสาวะ (Douching and urination) เป็นวิธีที่ไม่ได้ผล ในการสวนล้างช่องคลอดหรือถ่ายปัสสาวะหลังการมีเพศสัมพันธ์เพราะเมื่อฝ่ายชายหลั่งน้ำอสุจิเข้าในช่องคลอด เชื้ออสุจิบางส่วนจะเข้าไปในโพรงมดลูกได้แล้ว วิธีดังกล่าวจึงไม่สามารถป้องกันน้ำอสุจิไม่ให้เข้าไปในโพรงมดลูกได้

ประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติเป็นอย่างไรบ้าง?

ประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ ไม่ดีเท่าการคุมกำเนิดด้วยการใช้ยาฮอร์ โมน เพราะต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง หากมีการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดและถูกต้อง ประสิทธิภาพโดยรวมประมาณ 90% แต่หากปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง หรือไม่มีวินัยในการควบคุมตนเอง โอกาสความล้มเหลวจะมีมากกว่าการคุมกำเนิดด้วยยาหรือฮอร์โมนต่างๆมาก

อะไรเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ?

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ คือ

  1. ความสม่ำเสมอของรอบประจำเดือน
  2. ความร่วมมือของทั้งฝ่ายหญิง และฝ่ายชาย
  3. ความมุ่งมั่น มีวินัยในตนเอง
  4. การเป็นคนช่างสังเกตตนเองของสตรี เช่น สังเกตว่าความเหนียวของมูกปากช่องคลอด และการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในช่วงรอบเดือน เป็นต้น

ข้อดีของการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติมีอะไรบ้าง?

ข้อดีของการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ คือ

  1. ประหยัดค่าใช้จ่าย หรือไม่เสียค่าใช้จ่าย
  2. สามารถบริหารจัดการได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์ทางการแพทย์
  3. ไม่ต้องเสียเวลาไปพบแพทย์เพื่อรับบริการ
  4. ไม่ต้องได้รับฮอร์โมนต่างๆที่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ เช่น น้ำหนักตัวเกิน/เพิ่ม บวม เป็นต้น
  5. ภาวะการเจริญพันธุ์ (การสามารถตั้งครรภ์) สามารถกลับมาได้ทันทีที่หยุดการคุมกำเนิดโดยวิธีธรรมชาติ

ข้อด้อยของการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติมีอะไรบ้าง?

ข้อด้อยของการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ คือ

  1. ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดยังไม่ดีนัก โอกาสการตั้งครรภ์ 2-30 รายต่อสตรี 100 คน
  2. ต้องมีวินัยในการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย
  3. ไม่สะดวก ต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง
  4. กดดัน หรือเกิดความเครียด เนื่องจากความต้องการทางเพศอาจไม่ตรงกับวันที่และระยะ เวลาในช่วงที่ปลอดภัย คือไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามความต้องการ
  5. เสียเวลาในการบันทึกประวัติประจำเดือน
  6. หากสตรีมีประจำเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ จะทำให้การคำนวณระยะปลอดภัยไม่แม่นตรง
  7. ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

สตรีใดบ้างที่เหมาะกับการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ?

สตรีที่เหมาะกับการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ คือ

  1. ไม่ต้องการมีผลข้างเคียงของยาฮอร์โมนคุมกำเนิดต่างๆ
  2. ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ
  3. มีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถรับประทานหรือฉีดยาฮอร์โมนคุมกำเนิดได้
  4. สามีให้ความร่วมมือที่ดี

สตรีใดบ้างที่ไม่เหมาะการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ ?

สตรีที่ไม่เหมาะการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ คือ

    1. มีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ
    2. มีเลือดออกกระปริดกระปรอยทางช่องคลอด
    3. มีภารกิจ รัดตัว ยุ่งเหยิง ทำให้ไม่มีเวลาในการควบคุมดูแลตนเอง
    4. มีภาวะเครียด จะมีผลทำให้รอบประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ
    5. ฝ่ายชายไม่ร่วมมือ

        ที่มา   
https://haamor.com/th/ปฏิทินการตั้งครรภ์/

อัพเดทล่าสุด