ปวดฟัน (Toothache)


1,370 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ฟัน 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ปวดฟัน 

คำจำกัดความของปวดฟัน

ความปวด (Ache) เป็นภาวะการรับรู้ของร่างกายที่มีต่อการทำลาย หรือการอักเสบของเนื้อเยื่อในร่างกาย และส่งผ่านเส้นประสาทไปรับรู้ยังสมอง ดังนั้นปวดฟัน (Toothache) จึงหมายถึงอาการปวดรอบฟัน หรือขากรรไกร อาจเป็นผลมาจากสภาพฟันผุ ฟันแตก ฟันสึก เหงือกอักเสบ หรือกระดูกรอบฟันอักเสบ ทำให้เกิดอาการปวดที่เรียกว่า "อาการปวดฟัน"โรคหลอดเลือดหัวใจ แต่บางครั้งอาการปวดฟันอาจไม่ได้เกิดจากฟัน หรือกรามที่ปวดรอบๆฟัน และขากรรไกร แต่เป็นอาการปวดจากโรคอื่นๆ แล้วปวดร้าวส่งต่อมายังฟัน ส่งผลให้ดูเหมือนปวดฟัน เช่น จากโรคไซนัสอักเสบ โรคทางหู และ

อะไรเป็นสาเหตุทำให้ปวดฟัน?

ปวดฟันอาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้

ทันตแพทย์วินิจฉัยหาสาเหตุปวดฟันอย่างไร?

การวินิจฉัยหาตำแหน่งของอาการปวดฟันที่เป็นสาเหตุ ทันตแพทย์จะเริ่มต้นโดยการสอบถามคำถามผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการปวดฟันซี่ใด ปวดเวลาใด เคาะฟันเจ็บหรือไม่ รวมทั้งชนิดของอาหารที่ทำให้ปวดฟัน ความไวต่ออุณหภูมิร้อนหรือเย็นของน้ำ/อาหาร ปวดมากหรือน้อย ลักษณะการปวด แบบปวดตุบๆ หรือปวดจิ๊ดๆ นอกจากนั้น ทันตแพทย์จะตรวจดูในช่องปากและฟันของผู้ป่วย ดูอาการบวม ตรวจหารอยแยกของฟัน และของขอบวัสดุอุดฟัน (ถ้าอุดฟันไว้) ดูว่าฟันร้าวหรือไม่ และอาจถ่ายเอกซ์เรย์ช่วยหาหลักฐานของการสลายตัวของกระ ดูกฟัน ความผิดปกติระหว่างซี่ฟัน หรือฟันแตก แต่บางครั้งอาการปวดฟันอาจไม่ได้เกิดจากฟันหรือกรามที่ปวดรอบๆฟันและขากรรไกร แต่เป็นความปวดที่มาจากอวัยวะอื่นที่ผู้ป่วยรับรู้ว่าปวดบริเวณฟัน ซึ่งการวินิจฉัยหาตำแหน่งของอาการปวดฟันที่เป็นสาเหตุ โดยทันตแพทย์ และอาจร่วมกับแพทย์ จะช่วยการวินิจฉัยโรคที่ก่อให้เกิดอาการปวดฟันได้แม่นยำขึ้น

รักษาปวดฟันอย่างไร? รักษาหายไหม?

การใช้ยาแก้ปวด และยาปฎิชีวนะ จะช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้แต่ไม่หายขาด การรักษาจึงต้องขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการปวดฟันว่ามาจากสาเหตุใด

  • ถ้าปวดเนื่องจากฟันผุ ทันตแพทย์จะอุดฟันให้
  • หากเนื้อเยื่อส่วนในของฟันได้รับความเสียหาย การรักษาคลองรากฟันเป็นสิ่ง จำเป็น ทันตแพทย์จะทำการรักษาครองรากฟันก่อน
  • ถ้าเป็นการอักเสบของเหงือกและการสูญเสียของกระดูกที่ล้อมรอบฟัน ทันตแพทย์จะรักษาโดยการขูดหินปูน การเกลารากฟัน อาจทำศัลยกรรมร่วมด้วย
  • ฟันคุดรักษาโดยการถอนฟัน
  • ฟันสึกที่ทำให้เสียวฟัน อาจแนะนำชนิดแปรงสีฟันและยาสีฟันแก่ผู้ป่วย หรือใช้ยาทาลดอาการเสียวฟัน หรือทำการอุดฟัน
  • การอักเสบของเส้นประสาทคู่ที่ห้าจะรักษาโดยการให้ยารับประทานหรือส่งต่อ ไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญ
  • ผู้ป่วยที่นอนกัดฟัน ทันตแพทย์มีวิธีการโดยใส่เครื่องมือไว้ป้องกันการกัดฟันเวลานอน
  • ความปวดร้าวที่มีเหตุมาจากอวัยวะอื่นต้องส่งต่อไปพบแพทย์สาขาอื่นที่เชี่ยว ชาญเพื่อรักษาต่อไป

ทั้งนี้ การรักษาทางทันตกรรมที่ทันเวลาในขณะที่เริ่มรู้สึกว่าปวดฟัน กรณีที่ไม่มีการติดเชื้อ การรักษาด้วยการอุดฟัน รักษาคลองรากฟัน หรือรักษาเหงือก จะได้ผลดี แต่ถ้ามีการติดเชื้อรุนแรงและแพร่กระจายไปยังไซนัส หรือกระดูกขากรรไกร หรือติดเชื้อในกระแสเลือด(โลหิต) การรักษาจะยากขึ้น อาจต้องถอนฟัน สูญเสียฟันไป

การป้องกันไม่ให้ปวดฟันทำได้อย่างไร?

การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันที่เหมาะสม เป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันการปวดฟัน วิธีที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันผุ คือ การแปรงฟัน อย่างน้อยวันละสองครั้ง โดย เฉพาะอย่างยิ่งหลังมื้ออาหารและขนมขบเคี้ยว การใช้ไหมขัดฟันวันละครั้งช่วยป้องกันโรคเหงือกโดยการเอาเศษอาหารและแบคทีเรียที่ติดค้างด้านล่างแนวเหงือกระหว่างซี่ฟันออก และเป็นการป้องกันฟันผุระหว่างซี่ฟันที่ดีมาก

นอกจากนี้ควรไปพบทันตแพทย์อย่างน้อยทุกหกเดือน เพื่อตรวจฟัน หากไม่พบความผิดปกติในช่องปาก ทันตแพทย์จะช่วยทำความสะอาดฟัน

การพาเด็กเล็กไปพบทันตแพทย์เป็นครั้งแรกก่อนที่เด็กปวดฟัน หรือไปพบตั้งแต่เด็กเริ่มมีฟันขึ้น รวมทั้งผู้ปกครองควรช่วยเด็กแปรงฟัน จะช่วยลดโอกาสเกิดฟันผุและการปวดฟันในเด็กได้เป็นอย่างดี และยังเป็นการสอนให้เด็กรู้จักการดูแลฟัน และการพบทันตแพทย์เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

การใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ จะป้องกันฟันผุได้ผลดีกว่ายาสีฟันที่ไม่มีฟลูออไรด์

ปวดฟันแล้วควรดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบทันตแพทย์เมื่อไร? มีผลข้างเคียงจากปวดฟันไหม?

หากมีอาการปวดฟัน ควรไปพบทันตแพทย์ทันที อย่าเข้าใจว่าปวดฟันไม่ทำให้เสียชีวิต หากปล่อยทิ้งไว้อาการจะมากขึ้นจากการอักเสบติดเชื้อ จนอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น อาการปวดรุนแรงมากขึ้น มีไข้ เหงือก/ช่องปากบวม ซึ่งจะทำให้การรักษายากขึ้น หรือต้องถอนฟัน หรือการอักเสบติดเชื้อส่งผลต่อการอักเสบติดเชื้อของอวัยวะอื่นๆ จากเชื้อโรคแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด เช่น โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

ปวดฟันมีสาเหตุส่วนใหญ่จากโรคฟันผุ ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันที เชื้อจะแพร่กระจายไปยัง ปลายรากฟัน เข้าไซนัส ก่อให้เกิดไซนัสอักเสบ และแพร่กระจายไป ในกระแสเลือด อาจเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงดังกล่าว ทำให้การรักษาลำบาก

ดังนั้นเมื่อเริ่มปวดฟัน จึงควรต้องรีบไปพบทันตแพทย์เสมอภายใน 1-2 วัน ควรระลึกไว้เสมอว่า การหายาแก้ปวดมารับประทานเอง สามารถช่วยบรรเทาได้ชั่วคราวเท่านั้น ไม่ได้รักษาสาเหตุ
ที่มา   https://haamor.com/th/ปวดฟัน/

อัพเดทล่าสุด