นิ่วในไต (Kidney stone)


1,105 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ไต  ระบบทางเดินปัสสาวะ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ปวดหลัง 

บทนำ

นิ่วในไต (Kidney stone หรือ Kidney calculi หรือ Renal stone หรือ Renal calculi) เป็นโรคพบบ่อยทั่วโลกรวมทั้งในบ้านเรา พบได้ประมาณ 2-3% ของประชากรโลกทั้งหมด และประมาณ 50% ของคนเป็นนิ่ว ภายใน 10 ปีมีโอกาสเกิดนิ่วในไตซ้ำได้อีกหลังรักษาหายแล้ว และจะสูงเป็น 75% ภายใน 20 ปี

นิ่วในไตพบได้ทุกอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ แต่พบได้สูงกว่าในช่วงอายุ 30-40 ปี โดยพบในผู้ชายสูงกว่าผู้หญิงประมาณ 2-3 เท่า

นิ่วในไต อาจเกิดกับไตเพียงข้างเดียว โดยโอกาสเกิดใกล้เคียงกันทั้งไตซ้าย และขวา หรือเกิดนิ่วพร้อมกันทั้งสองไต แต่ความรุนแรงของนิ่วในทั้งสองไตมักไม่เท่ากัน ขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของนิ่ว

นิ่วในไตมีได้หลายชนิด ที่พบบ่อย มี 4 ชนิด คือ

  • ชนิดเกิดจากแคลเซียม
  • ชนิดเกิดจากการติดเชื้อในไต
  • ชนิดเกิดจากกรดยูริค (Uric acid)
  • และชนิดเกิดจากสารซีสตีน(Cystine/กรดอะมีโนชนิดหนึ่ง มีมากในอาหารโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ นม เป็ด ไก่)

    ซึ่งในคนคนเดียวกัน อาจมีนิ่วได้หลายชนิดปะปนกันอยู่

    • นิ่วชนิดเกิดจากแคลเซียม พบได้บ่อยที่สุด ประมาณ 75-85% ของนิ่วในไตทั้งหมด ซึ่งชนิดบ่อย คือ แคลเซียมออกซาเลต(Calcium oxalate, สาร oxalate เป็นสารพบในพืช โดยเฉพาะผัก ยอดผักต่างๆ และถั่ว) เป็นนิ่วชนิดพบบ่อยในผู้ชาย เป็นนิ่วตรวจพบได้จากการเอกซเรย์ภาพไต
    • นิ่วชนิดเกิดจากการติดเชื้อในไต เรียกว่า ชนิด Struvive stone ซึ่งเป็นสารประกอบของ แอมโมเนียม แมกนีเซียม และฟอสเฟต (Ammonium magne sium phosphate) พบนิ่วชนิดนี้ได้ประมาณ 10-15% ของนิ่วในไตทั้งหมด เป็นนิ่วพบบ่อยในผู้หญิง และในคนที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อย เช่น ใส่สายสวนปัสสาวะเป็นประจำ (เป็นอัมพาติ) จัดเป็นนิ่วที่อันตราย เพราะโตได้เร็ว มีก้อนขนาดใหญ่ เป็นรูปเขากวาง ซอกซอนไปตามรูปร่างของกรวยไต และมักก่อให้เกิดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ นิ่วชนิดนี้ ตรวจพบได้โดยการเอกซเรย์ไตเช่นกัน
    • นิ่วชนิดเกิดจากกรดยูริคเกาต์ (โรคที่มีกรดยูริคในร่าง กายสูง) เป็นนิ่วที่ตรวจไม่พบโดยการเอกซเรย์ไต ต้องใช้การตรวจด้วยอัลตราซาวด์ภาพไต พบได้ประมาณ 5-10% ของนิ่วในไตทั้งหมด พบเกิดในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิง มักเกิดร่วมกับโรค
    • นิ่วชนิดเกิดจากสารซีสตีน พบได้ประมาณ 1% ของนิ่วในไตทั้งหมด มักเกิดจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายขับสารซีสตีนออกในปัสสาวะสูงขึ้น พบได้เท่ากันทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย และเป็นชนิดตรวจไม่พบจากการเอกซเรย์ไต ตรวจพบจากอัลตราซาวด์ภาพไตเช่นกัน

นิ่วในไตเกิดได้อย่างไร?

นิ่วในไตเกิดได้จากมีการตกตะกอนของสารต่างๆในไตมากกว่าปกติ เมื่อนานเข้าจึงรวมตัวกันเป็นก้อน ซึ่งคือ นิ่วนั่นเอง ดังนั้นก้อนนิ่วจึงสามารถโตขึ้นได้เรื่อยๆเมื่อยังไม่มีการรักษา หรือ เกิดได้ซ้ำอีกหลังการรักษา ถ้าดูแล รักษา ควบ คุมปัจจัยเสี่ยง/สาเหตุได้ไม่ดีพอ ซึ่งโดยทั่วไป การตกตะกอนมักเกิดในกรวยไตเพราะเป็นตำแหน่งเก็บกักปัสสาวะจากไตก่อนปล่อยลงสู่ท่อไต แต่บางครั้งอาจเกิดในตัวเนื้อเยื่อไตได้ ซึ่งการตกตะกอนมากเกินปกติของสารดังกล่าวในปัสสาวะ มีสาเหตุได้จาก

อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไต?

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไต คือ

  • กินอาหารมีสารที่ก่อการตกตะกอนเป็นนิ่วปริมาณสูงต่อเนื่อง เช่น กินอาหารมีออกซาเลตสูง (เช่น โยเกิร์ต ถั่วรูปไต ถั่วเหลือง งา ลูกนัท ผลเบอร์รีต่างๆ มะเดื่อ แครอท บีทรูท มะเขือ ผักกะหล่ำ หน่อไม้ฝรั่ง บรอคโคลิ หัวหอม มะเขือเทศ ผักกะเฉด และยอดผักทั้งหลาย) หรือ มีกรดยูริคสูง (เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล ปลาทะเล หอยแครง น้ำเกรวี/Gravy และจากพืชบางชนิด เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ผักขม ยอดผัก และถั่วชนิดมีรูปร่างคล้ายไต/ถั่วดำ/ถั่วแดง) และ/หรือ มีสาร ซีสตีนสูง
  • ดื่มน้ำน้อย
  • กลั้นปัสสาวะเสมอ
  • เคลื่อนไหวร่างกายน้อย เช่น เป็นอัมพฤกษ์/อัมพาต การใส่สายสวนปัสสาวะตลอดเวลา
  • ไตอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง
  • โรคเรื้อรังบางชนิดที่ส่งผลให้ในเลือด/ร่างกายมีสารต่างๆที่ก่อนิ่วสูงกว่าปกติ เช่น โรคของต่อมพาราไทรอยด์(Parathyroid gland) ทำงานเกิน (ต่อมไร้ท่อขนาดเล็ก อยู่ใต้ต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของแคลเซียม) หรือ โรคเกาต์ ซึ่งมีกรดยูริคสูงในร่างกาย
  • โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง เพราะปัสสาวะมักจะน้อยจากร่างกายเสียน้ำจากอุจจาระบ่อย/ ท้องเสีย เรื้อรัง
  • อาจจากดื่มน้ำที่มีฟลูออไรด์ (Fluoride) สูง
  • อาจจากกิน วิตามิน ซี วิตามิน ดี และแคลเซียมเสริมอาหารปริมาณสูงต่อ เนื่อง ดังนั้นการกินวิตามิน เกลือแร่เหล่านี้เสริมอาหาร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
  • พันธุกรรม เพราะพบโรคนี้ในคนประวัติครอบครัวเป็นนิ่วในไตสูงกว่าคนใน ครอบครัวปกติ

นิ่วในไตมีอาการอย่างไร?

อาการที่พบได้บ่อยของนิ่วในไต คือ ไม่มีอาการ แต่จะมีอาการเมื่อมีการติดเชื้อซ้ำซ้อน และ/หรือ ก้อนนิ่วอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเมื่อมีอาการ อาการที่พบได้ คือ

แพทย์วินิจฉัยนิ่วในไตได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยนิ่วในไตได้จาก ประวัติอาการ การตรวจร่างกาย ตรวจปัสสาวะ ตรวจภาพไตด้วยเอกซเรย์ และอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ขึ้นกับอาการผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ เช่น ตรวจอัลตราซาวด์ภาพไต

รักษานิ่วในไตอย่างไร?

แนวทางการรักษานิ่วในไต คือ การกำจัดนิ่วออกจากไต รักษาสาเหตุ และรักษาประคับประคองตาอาการ

  • การเอานิ่วออกจากไตยาช่วยละ ลายนิ่ว หรือการสลายนิ่ว หรือผ่าตัดนิ่วออกเมื่อก้อนนิ่วขนาดโตมากสลายนิ่วไม่ได้ หรือ ผ่าตัดไตเมื่อไตอักเสบเรื้อรังจนเป็นแหล่งเชื้อโรค และไม่สามารถทำงานได้แล้ว ขึ้นกับขนาดก้อนนิ่ว เช่น ถ้าก้อนนิ่วขนาดเล็ก เล็กกว่า 5 มิลลิเมตร นิ่วมักหลุดออกได้เองจากดื่มน้ำมากๆ อาจร่วมกับ
  • การรักษาสาเหตุเกาต์เมื่อมีสาเหตุจากโรคเกาต์ การดื่มน้ำมากๆ มากกว่าปกติ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว หรือตามแพทย์แนะนำ เมื่อทราบสาเหตุของโรคนิ่ว เช่น รักษาโรค
  • การรักษาประคับประคองตาอาการ เช่น ยาบรรเทาปวด เมื่อมีอาการปวดท้อง/ปวดหลัง เป็นต้น

นิ่วในไตมีผลข้างเคียงอย่างไร?

ผลข้างเคียง จากนิ่วในไต คือ โรคนิ่วในท่อไต หรือโรคไตอักเสบติดเชื้อแบคทีเรียเรื้อรังซึ่งอาจรุนแรงเป็นการติดเชื้อในกระแสโลหิต เป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ หรือ เป็นสาเหตุให้ไตเสียการทำงาน จึงเกิด โรคไตเรื้อรัง และภาวะไตวาย เป็นสาเหตุเสียชีวิตได้เช่นกัน

นิ่วในไตรุนแรงไหม?

นิ่วในไตเมื่อขนาดก้อนนิ่วยังเล็ก เป็นโรคไม่รุนแรงรักษาได้ แต่เมื่อก้อนนิ่วใหญ่จนก่อการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ อักเสบติดเชื้อ และ/หรือเกิดโรคไตเรื้อรัง จัดเป็นโรครุนแรง เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อมีนิ่วในไต? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเองเมื่อเป็นนิ่วในไตและเพื่อป้องกันนิ่วย้อนกลับเป็นซ้ำหลังรักษานิ่วหายแล้ว และการพบแพทย์ ได้แก่

  • ปฏิบัติตามแพทย์/พยาบาลแนะนำ
  • กินยาต่างๆให้ถูกต้องครบถ้วน
  • ดื่มน้ำสะอาดมากๆอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร หรือ ตามแพทย์/พยาบาลแนะนำ
  • ไม่กลั้นปัสสาวะ พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ
  • จำกัดอาหารที่มีสาร ออกซาเลต กรดยูริค และสารซีสตีนสูง
  • กินวิตามิน ซี ดี และแคลเซียมเฉพาะตามคำแนะนำของแพทย์
  • สังเกต สี และลักษณะของปัสสาวะเสมอ เพื่อรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ขุ่นมาก หรือ เป็นเลือดและเมื่อมีนิ่วหลุดออกมา ควรเก็บไว้แล้วนำไปพบแพทย์ เพื่อศึกษาทางห้องปฏิบัติการว่า เป็นนิ่วชนิดใด เพื่อการรักษา และการดูแลตนเองได้ถูกต้อง ซึ่งเมื่อแพทย์แนะนำให้เก็บนิ่วมาให้แพทย์ดู ควรปัสสาวะในกระโถน หรือ ปัสสาวะผ่านผ้ากรอง เพื่อการเก็บนิ่วได้ง่ายขึ้น
  • พบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบพบก่อนนัดเมื่ออาการต่างๆเลวลง หรือ มีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือ เมื่อกลับมามีอาการเดิมๆอีกดังกล่าวแล้วในหัวข้อ อาการของนิ่วในไต

ป้องกันนิ่วในไตได้อย่างไร?

วิธีป้องกันนิ่วในไต เช่นเดียวกับการป้องกันนิ่วย้อนกลับเป็นซ้ำ ได้แก่ ดื่มน้ำสะอาดมากๆ ไม่กลั้นปัสสาวะ จำกัดการกินอาหารที่มีสารต่างๆที่ตกตะกอนได้ง่ายในไตดังกล่าวแล้ว และรีบพบแพทย์เมื่อมีอาการทางปัสสาวะ เพื่อวินิจฉัยรักษาโรคตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง
ที่มา   https://haamor.com/th/นิ่วในไต/

อัพเดทล่าสุด