เนื้องอก (Tumor)


1,133 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ทั้งตัว  ระบบมะเร็งวิทยา 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

เนื้องอกหมายความว่าอย่างไร?

เนื้องอก หมายถึง ก้อนเนื้อผิดปกติที่เกิดขึ้นในอวัยวะต่างๆของร่าง กายตรงกับคำว่า ทูเมอร์ (Tumor หรือ Tumour) หรือบางครั้งเรียกว่า นีโอ พลาเซีย หรือ นีโอพลาสซึม (Neoplasia หรือ Neoplasm)

ลักษณะโดยทั่วไปของเนื้องอกส่วนใหญ่ คือเป็นก้อนเนื้อผิดปกติเกิดจากการแบ่งตัวเพิ่มปริมาณของเซลล์ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำให้อวัยวะที่มีเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้น ใหญ่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้องอกนั้นๆ ส่วนใหญ่เนื้องอกเวลาคลำดูจะมีความแข็งมากกว่าเนื้อปกติของอวัยวะนั้นๆ โดยมากถ้าเป็นอวัยวะปกติที่คลำได้ง่าย เช่น ผิวหนัง เต้านม อวัยวะเพศ ช่องปากต่อมไทรอยด์ ต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำเหลือง ทวารหนัก และอัณฑะ เมื่อเกิดเนื้องอกขึ้นมาจะเห็นและคลำได้ง่าย เพราะจะเห็นเป็นก้อนทำให้อวัยวะนั้นมีขนาดใหญ่ผิดปกติ แต่ถ้าเป็นเนื้องอกที่เกิดที่อวัยวะภายในลึกๆจะสังเกตเห็นหรือคลำตรวจพบได้ยากมากจนกว่าจะมีขนาดใหญ่มากแล้วเช่น ปอด ตับ ไต มดลูก สมอง ตับอ่อน ม้าม ต่อมลูกหมาก และ กระเพาะปัสสาวะเป็นต้น

การที่เนื้องอกมีขนาดใหญ่เป็นก้อนก็เพราะมีการแบ่งตัวเพิ่มปริมาณของเซลล์ที่ผิดปกติของอวัยวะนั้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งการแบ่งตัวเพิ่มปริมาณของเซลล์นี้เป็นการแบ่งตัวที่ร่างกายควบคุมไม่ได้ ไปสั่งการหรือบังคับให้หยุดแบ่งตัวเพิ่มปริมาณไม่ได้ จึงค่อยๆเพิ่มจำนวนของเซลล์ในก้อนเนื้องอกและขนาดก็ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

เนื้องอกถือเป็นความผิดปกติของร่างกายมนุษย์ หรือเป็นโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งทางการแพทย์จัดไว้ในกลุ่มที่เรียกว่า นีโอพลาเซีย (Neoplasia)

เนื้องอกมีกี่ชนิด? เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงต่างจากเนื้องอกมะเร็งอย่างไร?

เนื้องอก แบ่งใหญ่ๆเป็น 2 ชนิดคือ เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง (ไม่ใช่มะเร็ง) ทางการแพทย์เรียกว่า Benign tumor หรือ Benign neoplasia อีกชนิดคือ เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย หรือที่เรียกว่าโรคมะเร็ง ทางการแพทย์เรียก ว่า Malignant tumor หรือ Malignant neoplasia หรือ Cancer

เนื้องอกทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมของเซลล์ของเนื้องอก ได้แก่ เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงจะโตช้าๆ เพราะเซลล์ของเนื้องอกแบ่งตัวช้า ไม่ค่อยมีการแทรกตัวเข้าไประหว่างเซลล์ปกติ ไม่ค่อยมีการทำลายเซลล์ปกติใกล้เคียง และที่สำคัญที่สุดคือ ไม่มีการกินทะลุเข้าไปในหลอดเลือดและท่อน้ำเหลือง ทำให้ไม่มีโอกาสที่เซลล์เนื้องอกจะแพร่ กระจายตามหลอดเลือด และหลอดน้ำเหลืองไปเติบโตเป็นก้อนที่อวัยวะอื่นๆที่อยู่ไกลออกไปได้

ในทางตรงกันข้าม เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย หรือโรคมะเร็ง จะมีขนาด โตขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเซลล์มะเร็งแบ่งตัวเพิ่มปริมาณเร็วมาก เซลล์ มะเร็งจะเบียดแทรกตัวเข้าไปอยู่ระหว่างเซลล์ปกติใกล้เคียง และทำลายเซลล์ปกติเหล่านั้นด้วย ที่สำคัญที่สุดคือ เซลล์มะเร็งสามารถแทรกตัวทะลุเข้าไปในหลอดน้ำเหลืองและหลอดเลือดได้ และอาศัยการไหลเวียนของเลือด และน้ำเหลือง นำพาเอาเซลล์มะเร็งเหล่านี้แพร่กระจายไปเจริญเติบ โตเป็นก้อนมะเร็งก้อนใหม่ที่อวัยวะอื่นๆได้ การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปสู่อวัยวะอื่นๆนี้ทางการแพทย์เรียกว่า เมตาสะเตสีส (Metastasis) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้คนไข้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งได้

ในบทนี้ จะกล่าวถึงเฉพาะเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง ส่วนเนื้องอกชนิดร้ายแรง จะกล่าวถึงในบทเรื่อง โรคมะเร็ง

อนึ่งเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง เป็นโรคที่พบได้น้อย แต่พบได้เรื่อยๆ ไม่ถึงกับบ่อยนัก และจากการที่พบโรคได้น้อย จึงยังไม่มีสถิติที่ชัดเจนของโรค เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้ สูงอายุ ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดได้เท่ากัน

เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงมีสาเหตุจากอะไร?

เช่นเดียวกับโรคมะเร็ง สาเหตุที่แน่ชัดของเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง ยังไม่ทราบ แต่จากการศึกษาต่างๆ อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่

เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงมีอาการอย่างไร?

อาการของเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงมีได้หลายอย่าง ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นเนื้องอกว่าอยู่ตื้นๆเช่นผิวหนัง หรืออยู่ลึกภายในร่างกายซึ่งมองเห็นภาย นอกได้ยาก แต่โดยทั่วๆไปแล้ว เนื้องอกมักจะมีอาการดังนี้คือ

  1. มีก้อนเนื้อผิดปกติเกิดขึ้นที่อวัยวะนั้น เช่น มีก้อนนูนเกิดขึ้นที่ผิว หนัง หรือคลำก้อนเนื้อผิดปกติซึ่งไม่เคยมีมาก่อนได้ในเต้านม หรือในช่องท้อง หรือตามแขนขา ก้อนเนื้อเหล่านี้อาจคลำได้โดยตัวผู้ป่วยเอง คลำได้โดยญาติ เช่นมารดาคลำก้อนที่ผิดปกติได้ในท้องของบุตรที่ยังเป็นเด็กทารก หรือตรวจพบโดยแพทย์ที่ตรวจร่างกายก็ได้ ก้อนเนื้อที่คลำได้นี้อาจมีขนาดเล็กถ้าอยู่ในระยะเริ่มเป็นและโดยมากจะมีขนาดใหญ่ขึ้นช้าๆตามเวลาที่ผ่านไป หลักในการสังเกตทั่วไปคือถ้าเป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งมักจะมีขนาดใหญ่ขึ้นช้ากว่าเนื้องอกที่เป็นมะเร็ง
  2. ก้อนเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงที่เกิดนั้น มักจะไม่มีอาการเจ็บปวด ถ้ามีก้อนผิดปกติเกิดขึ้นและมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วยโดยมากจะเกิดจากการอักเสบมากกว่าจากเนื้องอก เช่น เป็นฝี (Abscess) แต่เนื้องอกไม่ร้ายแรงบางชนิดก็อาจจะมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วยได้ เช่นเนื้องอกไปกดเส้น ประสาทที่อยู่ใกล้เคียง เนื้องอกที่มีการอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เป็นต้น
  3. ก้อนเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงที่เกิดขึ้น อาจจะทำให้การทำงานของอวัยวะนั้นผิดปกติไปจากเดิม ยกตัวอย่างเช่น เนื้องอกของต่อมไทรอยด์ที่ไม่ใช่มะเร็ง (Follicular adenoma) อาจจะผลิตฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ (Thyroxine) ที่มากผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษได้ หรือฮอร์โมน Aldosterone ที่ผลิตออกมาจากเนื้องอกชนิด Cortical adenoma ของต่อมหมวกไต ก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูงได้ นอกจากนั้น เนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง แต่ไปเกิดในอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง ก็อาจจะกดเนื้อสมองทำให้สมองทำงานผิดปกติมีอาการคล้ายโรคอัมพาต อาการชัก หรือ ตามองไม่เห็นได้ เป็นต้น

แพทย์วินิจฉัยเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงได้อย่างไร?

การวินิจฉัยเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงของแพทย์ ใช้หลักการเดียวกับการวินิจฉัยโรคอื่นๆได้แก่

  1. การซักถามประวัติอาการของผู้ป่วยเป็นอันดับแรกว่า มีอาการผิด ปกติเป็นอย่างไร เกิดที่ส่วนไหนของร่างกาย เป็นมาเป็นเวลานานเท่าใดแล้ว มีอาการเจ็บปวดร่วมด้วยหรือไม่ ก้อนโตเร็วหรือโตช้า มีประวัติการเป็นเนื้องอกในครอบครัวหรือไม่ เป็นต้น
  2. การตรวจร่างกาย โดยมากแพทย์จะตรวจร่างกายทั่วทุกระบบโดยไม่จำเป็นต้องตรวจเฉพาะส่วนที่มีอาการเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อหาความผิดปกติอื่นๆที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน โดยอาจรวมถึงการตรวจภายใน และนำเซลล์จากช่องคลอดและปากมดลูกมาเพื่อการตรวจทางเซลล์วิทยา ที่เรียกว่า แปบสเมียร์ (Pap smear) เพื่อตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกด้วย
  3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจอุจจาระ ทั้งนี้จะตรวจมากน้อยเท่าใด หรือตรวจอะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ โดยนำข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติ และตรวจร่างกายมาประกอบในการเลือกชนิดการตรวจด้วย ปัจจุบันการตรวจสารที่หลั่งออก มาจากเซลล์เนื้องอก หรือสารมะเร็ง (Tumor marker) ก็มีประโยชน์ในการวินิจฉัยชนิดของเนื้องอกบางชนิดด้วย
  4. การตรวจทางรังสีวิทยา (เอกซเรย์) รวมทั้งการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวด์) การตรวจเอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจคลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้าเอมอาร์ไอ (MRI) และการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ที่เรียกว่า เพทสะแกน (PET scan) เป็นต้น การตรวจเหล่านี้จะสามารถทำให้เห็นรูปร่าง ขนาดและตำแหน่งของเนื้องอกชัดเจนขึ้น
  5. การตรวจทางพยาธิวิทยา และ/หรือ การตรวจทางเซลล์วิทยา ซึ่งโดยมากได้จากการเจาะดูดเซลล์จากก้อนเนื้องอกมาตรวจ (Fine needle aspiration , FNA) หรือตัดชิ้นเนื้อบางส่วนของก้อนเนื้องอกมาตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy) จะทำให้ทราบชนิดของเนื้องอกได้ชัดเจนขึ้น

เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง รุนแรงไหม? ติดต่อไหม? รักษาหายไหม?

โดยทั่วไป เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง มีความรุนแรงโรคต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เกิดเนื้องอกว่าเป็นอวัยวะสำคัญหรือไม่ เช่น เกิดในอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หรือตาก็อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงได้

เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงไม่ใช่โรคติดต่อ จึงไม่สามารถติดต่อจากผู้หนึ่งไปสู่อีกผู้หนึ่งได้ในทุกทาง ทั้งทางการหายใจ เสมหะสารคัดหลั่ง การกิน/ดื่ม อุจจาระ ปัสสาวะ และการสัมผัส จึงคลุกคลีกับผู้ป่วยได้ตามปกติ

โดยทั่วไป เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง มักรักษาให้หายด้วยการผ่าตัดเพียงวิธีการเดียว แต่บางครั้ง ถ้าเนื้องอกมีขนาดโตมาก หรือ อยู่ติดกับหลอดเลือดขนาดใหญ่ หรือ เกิดในตำแหน่งที่ผ่าตัดไม่ได้ หรือโรคเกิดซ้ำ หลังจากผ่าตัด การรักษามักเป็น การผ่าตัด ร่วมกับรังสีรักษา หรือ รังสีรักษาเพียงวิธีการเดียว ส่วนการใช้ยาเคมีบำบัด และยารักษาตรงเป้า ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษา

รักษา และป้องกันเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงได้อย่างไร?

เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง ที่พบบ่อยและจะกล่าวถึงในที่นี้ คือ เนื้องอก เต้านม มดลูก รังไข่ ต่อมน้ำลาย ต่อมไทรอยด์ เนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวหนังและลำไส้ใหญ่

    • เนื้องอกเต้านม เนื้องอกเต้านมที่พบบ่อยคือ เนื้องอกที่มีชื่อว่า Fibroadenoma ลักษณะเป็นก้อนกลม สีขาว แข็งเท่ากับยางลบ โดยมากเกิดในผู้หญิงอายุน้อย ช่วงอายุ 15-30 ปีพบได้มากที่สุด แต่ในเด็กหรือในผู้หญิงสูงอายุก็พบได้ เนื้องอกชนิดนี้ไม่มีการกลายเป็นมะเร็ง โดยมากรักษาโดยการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกโดยไม่ต้องตัดเต้านม หลังผ่าตัดแล้วมักจะหายขาด

อนึ่ง เท่าที่ทราบไม่มีวิธีป้องกัน และยังไม่ทราบสาเหตุแน่ นอนของการเกิดเนื้องอกชนิดนี้



    • เนื้องอกรังไข่

      การรักษา ใช้การผ่าตัดรังไข่ ซึ่งโรคจะหายขาดหลังการผ่าตัด อาการโดยมากจะคลำก้อนผิดปกติได้ที่ท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่ง หรือปวดท้องมากเมื่อมีการบิดที่ขั้วของเนื้องอก

      ยังไม่มีการป้องกันเนื้องอกชนิดนี้ แต่การตรวจภายในทุกปีจะทำให้พบก้อนเนื้องอกที่รังไข่ได้ตั้งแต่เป็นก้อนเล็กๆ

      เนื้องอกของรังไข่ ที่พบบ่อย คือเนื้องอกที่มีชื่อว่า เดอร์มอย (Dermoid cyst) หรือชื่อเป็นทางการว่า Benign cystic terato ma เป็นเนื้องอกที่มีเซลล์ต้นกำเนิดมาจากเซลล์สืบพันธุ์ในรังไข่ที่เรียกว่า Germ cell เซลล์ชนิดนี้ในคนปกติจะกลายเป็นไข่ที่จะไปผสมกับสเปิร์ม (Sperm) หรืออสุจิ กลายเป็นตัวเด็ก แต่ในบางคนด้วยสาเหตุที่ยังไม่ทราบแน่ชัดเซลล์ชนิดนี้จะกลายเป็นเนื้องอกที่มีลักษณะพิเศษคือ มีเส้นผมเส้นขน ไขมัน ฟัน และกระดูก อยู่ในก้อนเนื้องอกคล้ายกับส่วนต่างๆของอวัยวะมนุษย์ ขนาดของก้อนส่วนใหญ่ประมาณ 5-10 เซนติเมตร แต่บางรายใหญ่ถึง 25 เซนติเมตรได้ มีการกลายเป็นมะเร็งน้อยมาก


    • เนื้องอกต่อมไทรอยด์

      การรักษา ใช้การกินยาไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นเวลาหลายๆเดือนซึ่งอาจทำให้ก้อนเล็กลงได้ แต่โดยมากต้องรักษาด้วยการผ่าตัดออกโดยไม่ต้องตัดต่อมไทรอยด์ทั้งหมด เมื่อผ่าตัดแล้วจะไม่ค่อยเกิดซ้ำอีก

      สาเหตุของเนื้องอกไม่ร้ายแรงของต่อมไทรอยด์ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่บางท่านพบว่า อาจเกี่ยวข้องกับการได้รับธาตุไอโอดินไม่เพียง พอในอาหาร ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุไอโอดินเพียงพอตั้งแต่เด็กๆอาจป้องกันโรคนี้ได้

      เนื้องอกที่พบบ่อย คือ เนื้องอกที่มีชื่อว่า Adenoma มีเซลล์ต้นกำเนิดมาจากเซลล์เยื่อบุต่อมไทรอยด์ ลักษณะเป็นก้อนกลมสีน้ำตาลอ่อน เป็นก้อนนูนออกมาจากต่อมไทรอยด์ มักเคลื่อนตัวตามการกลืน ขนาดโดยมากตั้งแต่ 1 ถึง 5 เซนติเมตร โดยมากพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ช่วงอายุ 12-25 ปีพบได้มาก แต่จริงๆแล้วเกิดได้ทุกอายุตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ สามารถกลายเป็นมะเร็งได้ไม่มาก


  • เนื้องอกลำไส้ใหญ่

    การรักษาใช้การตัดออกที่ก้าน หรือที่ขั้วของมัน โดยการผ่าตัดผ่านกล้องเข้าทางทวารหนักโดยไม่จำเป็นต้องผ่าท้องแต่อย่างใด เนื้องอกชนิดนี้อาจเกิดซ้ำได้อีก และมีโอกาสที่จะกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้สูง ประมาณ 5-40% ขึ้นกับขนาดของก้อนเนื้อ ดังนั้นเมื่อพบแล้วควรตัดออกดีกว่าทิ้งเอาไว้

    อาการของผู้ที่มีเนื้องอกชนิดนี้ไม่คอยมี เพราะส่วนใหญ่ ก้อนเนื้อมีขนาดเล็ก แต่ถ้ามีขนาดใหญ่ อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง หรือมีแผลเลือดออกปนมากับอุจจาระได้ ดังนั้นทุกครั้งที่ถ่ายอุจจาระ อย่าลืมมอง ดูอุจจาระของตัวเองก่อนราดน้ำทุกครั้งว่า มีสีอะไร มีเลือดปนออกมาด้วยหรือไม่ มีความผิดปกติอะไรปนออกมากับอุจจาระหรือไม่ ซึ่งเมื่อพบความผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจเป็นโรคนี้ หรือ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

    นอกจากนั้น ถ้าสูงอายุโดยเฉพาะถ้าอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป เวลาไปตรวจร่างกายประจำปี ควรหาโอกาสให้แพทย์ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่บ้างก็จะมีประโยชน์ เผื่อจะพบก้อนเนื้องอกขนาดเล็กจะได้ตัดออกก่อน ที่มันจะกลายเป็นมะเร็ง

    สำหรับสาเหตุของโรคนี้ ไม่ทราบแน่นอน มีส่วนน้อยเกิดจากการถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม บางท่านสงสัยสาเหตุจากการรับประทานอาหารที่มีกากและเส้นใยน้อย ทำให้ท้องผูกบ่อย สารพิษจากอาหารจึงค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่นาน จึงอาจทำให้เกิดเนื้องอกได้

    ดังนั้นทางที่ดีไม่ควรปล่อยให้ท้องผูก ควรดื่มน้ำให้พอเพียงอุจจาระจะได้ไม่แข็ง ทานผักผลไม้ที่มีกากและใยอาหารมากๆ ฝึกนิสัยให้ถ่ายอุจจาระเป็นประจำทุกวันอย่าเก็บอุจจาระไว้ 3-4 วันจึงถ่าย เพราะมันนานเกินไป นอกจากเสี่ยงต่อเนื้องอกลำไส้ใหญ่แล้ว ยังมีโอกาสเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ ลำไส้ใหญ่อักเสบ โรคถุงโป่งพองในผนังลำไส้ (Diverticulosis) อีกด้วย

    เนื้องอกที่พบบ่อยที่สุด คือ เนื้องอกที่มีชื่อว่า Adenoma ลักษณะเป็นก้อนคล้ายติ่งเนื้อ มีก้านงอกขึ้นมาจากผนังลำไส้ใหญ่ ขนาดตั้งแต่ 0.5 ถึง 3 เซนติเมตร โดยมากมีจำนวนมากกว่า 1 ก้อน ส่วนใหญ่จะพบมากตั้งแต่วัยกลางคนถึงวัยผู้สูงอายุ

มีผลข้างเคียงจากเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงไหม?

เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้หลายประการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง ยกตัวอย่าง เช่น

  1. ผลที่เกิดจากการมีก้อนเนื้อผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกายโดยตรง ได้ แก่ ผลที่เกิดจากการที่ก้อนเนื้องอก กด ทับ เบียด แทรก เนื้อของอวัยวะปกติที่เกิดเนื้องอกนั้น หรืออวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้เนื้อเยื่อ ปกติมีขนาดฝ่อเล็กลง ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของอวัยวะนั้นลดลง เช่น เนื้องอกของต่อมน้ำลายที่มีขนาดใหญ่ จะกด และเบียดต่อมน้ำลายส่วนที่ปกติให้เล็กลง จึงผลิตน้ำลายได้น้อยลง เป็นต้น การกดเนื้อปกติใกล้เคียงอาจจะทำให้เกิดความเจ็บปวดได้ถ้าก้อนเนื้องอกนั้นไปกดเส้นประสาทที่อยู่ใกล้ เคียง เนื้องอกในมดลูกจะเบียดโพรงมดลูกทำให้มีประจำเดือนผิดปกติได้ เช่น มีประจำเดือนมาก และนานเกินไป เป็นต้น
  2. ผลที่เกิดจากการบิดของก้อนเนื้องอกทำให้เกิดการตายของเซลล์ของเนื้องอกที่เกิดจากการขาดเลือดมาเลี้ยง ผลที่ตามมาก็คือ อาการเจ็บ ปวดอย่างรุนแรง เช่น เนื้องอกของรังไข่ซึ่งมีขนาดใหญ่ อาจจะเกิดการบิดที่ขั้วของมัน จึงเกิดอาการปวดท้องรุนแรงได้
  3. ผลที่เกิดจากเนื้องอกผลิตสารบางชนิดออกมาจากเซลล์ของเนื้องอก และส่งเข้าไปในกระแสเลือด ซึ่งจะไปมีผลต่อการทำงานของอวัยวะอื่นๆได้ เช่น เนื้องอกของต่อมไทรอยด์ อาจสร้างฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ ทำให้มีอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษได้ เป็นต้น

เมื่อสงสัยมีเนื้องอกควรทำอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

เมื่อสงสัยมีเนื้องอกเกิดขึ้นในร่างกายของเรา เช่น คลำก้อนเนื้อผิด ปกติได้ในเต้านม อาจจะแข็งเป็นไตหรือนุ่มๆก็ตาม ขั้นแรกอย่าเพิ่งปักใจเชื่อว่าเป็นเนื้องอก หรือเนื้อร้ายไปก่อนล่วงหน้า เพราะก้อนที่คลำได้นั้นอาจจะไม่ใช่เนื้องอกจริงๆแต่อาจจะเป็นถุงน้ำ (Cyst) หรือเป็นเนื้อเยื่อที่อักเสบเป็นฝี หรืออื่นๆก็ได้ เราควรจะสังเกตเบื้องต้นว่าก้อนนี้มีมานานเท่า ใด เจ็บปวดหรือไม่ นุ่มหรือแข็ง สัมพันธ์กับอาการ หรือ ภาวะอื่นๆของร่าง กายหรือไม่ เช่น มีไข้ร่วมด้วยหรือไม่ สัมพันธ์กับการมีประจำเดือนหรือไม่ เป็นต้น เพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปแจ้งให้แพทย์ผู้ตรวจรักษาได้อย่างถูก ต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องตามขั้นตอนทางการแพทย์ต่อไป

ซึ่งเมื่อมีก้อนเนื้อผิดปกติเกิดในตำแหน่งใดก็ตาม ไม่ว่าจะมีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ ก้อนเล็ก หรือ ก้อนใหญ่ ควรรีบพบแพทย์ภายใน 1-2 สัปดาห์เสมอ เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยแยกจากโรคมะเร็ง
ที่มา   https://haamor.com/th/เนื้องอก/

อัพเดทล่าสุด