ตับวาย ตับล้มเหลว (Liver failure)


916 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ตับ  ระบบทางเดินอาหาร 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

บทนำ

ตับวาย หรือ ตับล้มเหลว (Liver failure) เป็นภาวะที่เกิดจาก ตับสูญเสียการทำงาน จนส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆขึ้น ที่สำคัญ คือ อาการทางสมอง อาการเลือดออกง่าย ตัวตาเหลือง (โรคดีซ่าน) มีน้ำในท้อง และการติดเชื้อรุนแรงของร่างกาย

ตับ (Liver หรือ Hepar/ภาษากรีก) เป็นอวัยวะสำคัญมากอวัยวะหนึ่งของร่างกาย มีหน้า ที่หลายอย่าง ที่สำคัญ เช่น ทำลายและกำจัดสารพิษและของเสียต่างๆ โดยนำออกจากร่างกายทางน้ำดี ช่วยสร้างสารช่วยการแข็งตัวของเลือด ช่วยสร้างฮอร์โมนบางชนิด เป็นแหล่งสะสมน้ำ ตาลของร่างกาย ช่วยควบคุมความดันเลือดในช่องท้อง และช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรค

ตับวายเป็นภาวะที่พบได้เรื่อยๆไม่ถึงกับบ่อยมากในคนทุกอายุ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ และเกิดได้ทั้งสองเพศ โดยเพศหญิงและเพศชายพบได้ใกล้เคียงกัน

ภาวะตับวายแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะตามธรรมชาติและตามความรุนแรงของโรค คือ ตับวายเฉียบพลัน และตับวายเรื้อรัง

 

ตับวายเกิดได้อย่างไร? มีสาเหตุจากอะไร?

ตับวาย

ตับวาย เกิดจากการที่เซลล์ตับได้รับบาดเจ็บเสียหายอย่างรุนแรงจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ โดยสาเหตุที่ทำให้เซลล์ตับบาดเจ็บเสียหาย มีได้หลายสาเหตุ ที่พบได้บ่อย คือ

 

ตับวายมีอาการอย่างไร?

อาการตับวายในระยะแรก คือ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดท้องโดย เฉพาะด้านขวาตอนบน (ตำแหน่งของตับ) ตัวตาเหลือง (ดีซาน)

เมื่อโรครุนแรงขึ้น อาการที่ตามมา คือ

 

แพทย์วินิจฉัยตับวายได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยภาวะตับวายได้จาก ประวัติอาการต่างๆ ประวัติการใช้ยาต่างๆ พฤติกรรมการใช้ชีวิต แหล่งที่อยู่อาศัย อาชีพการงาน อาหาร น้ำดื่ม สมุนไพร การตรวจร่างกาย การตรวจเลือด ดูการทำงานของตับและของไต ดูสารภูมิต้านทานของโรคต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุ การตรวจภาพตับ เช่น จากอัลตราซาวด์ และบางครั้งอาจจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อจากตับเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

รักษาตับวายอย่างไร?

แนวทางการรักษาภาวะตับวาย คือการพยายามกำจัดสารพิษออกจากร่างกายให้ได้โดยเร็ว ร่วมกับการพยายามลดปริมาณสารพิษที่จะเกิดขึ้นใหม่ให้ลดลง เช่น การจำกัดอาหารโปรตีนเพื่อลดสารไนโตรเจนที่เป็นสารปลายทางจากร่างกายใช้อาหารโปรตีน ซึ่งเป็นพิษต่อตับเป็นต้น

ดังนั้น การรักษา คือ การควบคุมอาหาร การรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย การป้องกันภาวะเลือดออก การป้องกันภาวะไตวาย และป้องกันการเกิดอาการทางสมองจากสารพิษ

ผู้ป่วยตับวาย จำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล นอกจากนั้น การรักษาโดยการปลูกถ่ายตับจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตได้สูงขึ้น มีรายงานว่า ถ้าไม่ได้รับการปลูกถ่ายตับประมาณ 80% ของผู้ป่วยตับวายจะเสียชีวิต แต่ถ้าได้รับการปลูกถ่ายตับ โอกาสรอดชีวิตประมาณ 60%

ตับวายรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอย่างไร?

ตับวาย เป็นภาวะรุนแรง ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูง ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลให้เสียชีวิตสูง คือ

ทั้งนี้ ดังกล่าวแล้ว ผลข้างเคียงแทรกซ้อน เมื่อเกิดภาวะตับวาย คือ มีอาการทางสมอง มีน้ำในช่องท้องเลือดออกตาอวัยวะต่าง การติดเชื้อรุนแรงของร่างกาย และภาวะไตวาย

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรกินอาหารอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเอง คือ การปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาล แนะนำอย่างเคร่งครัด และควรรีบพบแพทย์แต่เนิ่นๆตั้งแต่เริ่มมีอาการผิดปกติและรู้ตัวว่าอาจได้รับสารพิษ เช่น การกินยาเกินขนาด หรือกินสมุนไพรต่างๆ เป็นต้น

ป้องกันตับวายได้อย่างไร?

สามารถป้องกันภาวะตับวายได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อการเป็นพิษต่อตับที่สำคัญ คือ


ที่มา   https://haamor.com/th/ตับวาย/

อัพเดทล่าสุด