ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)


1,194 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ต่อมทอนซิล  ระบบหูคอจมูก 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ไข้  เจ็บคอ 

บทนำ

ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อของต่อมทอนซิล ซึ่งเป็นต่อมคู่ ซ้าย และขวา โดยเป็นต่อมน้ำเหลืองในลำคอ อยู่ด้าน ข้างใกล้กับโคนลิ้น ทำหน้าที่ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ลำคอ เช่น จากอาหาร น้ำดื่ม และการหายใจ เป็นเนื้อเยื่อไม่สำคัญ ตัดออกได้ เพราะมีต่อมน้ำเหลืองอื่นๆทำหน้าที่เหล่านี้แทนได้ ต่อมทอนซิลอักเสบมักเกิดร่วมกับลำคออักเสบเสมอ ดัง นั้น เมื่อกล่าวถึงต่อมทอนซิลอักเสบ จึงหมายรวมถึงลำคออักเสบด้วย

ต่อมทอนซิลอักเสบเป็นโรคพบได้บ่อยโรคหนึ่ง พบได้ในทุกอายุ แต่พบได้บ่อยกว่าในเด็ก และไม่ค่อยพบในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โอกาสเกิดโรคเท่ากันทั้งในเพศหญิงและเพศชาย

ต่อมทอนซิลอักเสบพบได้ทั้งการอักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน ซึ่งเมื่อเกิดมักมีอาการรุนแรงกว่า แต่รักษาหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ และอักเสบเรื้อรัง เป็นๆหายๆ อาการแต่ละครั้งน้อยกว่าชนิดเฉียบพลัน แต่มีอาการอักเสบเฉียบพลันซ้อนได้เป็นระยะๆ ซึ่งนิยามของต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง ได้แก่ มีต่อมทอนซิลอักเสบเกิดขึ้นอย่างน้อย 7 ครั้งใน 1 ปีที่ผ่านมา หรือ อย่างน้อย 5 ครั้งทุกปี ติดต่อกันใน2 ปีที่ผ่านมา หรืออย่างน้อย 3 ครั้งทุกปี ติดต่อกันใน 3 ปีที่ผ่านมา

ต่อมทอนซิลอักเสบมีสาเหตุจากอะไร? ติดต่อได้ไหม?

ต่อมทอนซิลอักเสบส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อไวรัส ซึ่งพบได้สูงกว่าการติดเชื้ออื่นๆประมาณ 70-80% ของต่อมทอนซิลอักเสบทั้งหมด (เชื้อไวรัสที่ก่อโรคต่อมทอนซิลอักเสบมีหลายชนิด เช่น ชนิดเดียวกับที่ก่อโรคหวัดธรรมดา และโรคไข้หวัดใหญ่ เช่นกลุ่ม อะดีโนไวรัส/Adenovirus และกลุ่มอินฟลูเอ็นซา/Influen za) เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียประมาณ 15-20% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อ สเตรป กลุ่ม เอ (Group A beta hemolytic streptococcus) หรือ ที่เรียกว่า สเตรปโธรท (Strep throat) และจากติดเชื้อราประมาณ 5% ซึ่งมักพบในคนมีภูมิ คุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี (HIV)

ต่อมทอนซิลอักเสบ ติดต่อได้เช่นเดียวกับในโรคหวัดทั่วไป และในโรคไข้หวัดใหญ่ คือ จากการสัมผัสเชื้อโรคจากผู้ป่วย จากการ ไอ จาม หายใจ การสัมผัสสารคัดหลั่งจากจมูก และช่องปาก เช่น น้ำมูก น้ำลายผู้ป่วย และจากใช้ของใช้ส่วนตัวที่สัมผัสสารคัดหลั่งดังกล่าวของผู้ป่วยร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อน ผ้าเช็ดหน้า

ต่อมทอนซิลอักเสบมีอาการอย่างไร?

โรคต่อมทอนซิลอักเสบ มักเกิดร่วมกับการอักเสบติดเชื้อของลำคอเสมอ ทางการแพทย์จึงมักจัดรวมอยู่ในโรคลำคออักเสบ โดยทั่วไปต่อมทอนซิลอักเสบมีระยะฟักตัวของโรคประมาณ 2-4 วัน แต่เมื่อเป็นการติดเชื้อ สเตร็ป ระยะฟักตัวอาจสั้นเพียง 12 ชั่วโมง

อาการพบบ่อยของต่อมทอนซิลอักเสบ ได้แก่

แพทย์วินิจฉัยต่อมทอนซิลอักเสบได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคต่อมทอนซิลอักเสบได้จาก ประวัติอาการ การตรวจร่าง กาย การตรวจในคอ ดูต่อมทอนซิล ตรวจคลำต่อมน้ำเหลืองลำคอ และอาจมีการตรวจเลือด หรือการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับอาการผู้ป่วยและดุลพินิจของแพทย์

รักษาต่อมทอนซิลอักเสบอย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคต่อมทอนซิลอักเสบ คือ รักษาสาเหตุ เมื่อเกิดจากเชื้อไวรัส การรักษาคือ รักษาประคับประคองตาอาการเช่น ยาแก้ปวด/เจ็บ ยาลดไข้ ไม่มีการให้ยาปฏิชีวนะ เพราะยังไม่มียาปฏิชีวนะที่ฆ่าไวรัสได้ ยาปฏิชีวนะใช้ฆ่าแบคทีเรีย ส่วนเมื่อสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย การรักษา คือ การให้ยาปฏิชีวนะ และเมื่อเกิดจากเชื้อรา การรักษาคือให้ยาฆ่าเชื้อรา

นอกจากนั้น การรักษาที่สำคัญ คือ รักษาประคับประคองตาอาการ เช่น พักผ่อนมากๆ กินยาแก้ปวด/เจ็บ ยาลดไข้ และดื่มน้ำสะอาดมากๆอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้วเมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม เช่น โรคหัวใจล้มเหลว

ในบางครั้ง เมื่อเป็นต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง ซึ่งรักษาแล้วไม่ดีขึ้นถึงแม้ได้ รับยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้อง หรือ มีต่อมทอนซิลโตมากจนอุดกั้นทางเดินหายใจ จนต้องหายใจทางปากช่วยเสมอ หรือก่ออาการนอนกรน หรือ โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ หรือ มีต่อมทอนซิลโตเพียงข้างเดียวซึ่งอาจเป็นอาการของโรคมะเร็งต่อมทอนซิล หรือ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองของต่อมทอนซิล แพทย์มักแนะนำการรักษาโดยการผ่าตัดต่อมทอนซิล

ต่อมทอนซิลอักเสบมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง?

ผลข้างเคียงจากโรคต่อมทอนซิลอักเสบ คือ การอักเสบอาจรุนแรงจนเกิดต่อมทอนซิลและเนื้อเยื่อรอบๆต่อมทอนซิลเป็นหนอง ซึ่งต้องรักษาด้วยการผ่าตัดต่อมทอนซิล หรือ เมื่อเกิดจากติดเชื้อสเตรป และได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง อาจมีผลข้างเคียงเป็นโรคไตเรื้อรัง หรือ โรคลิ้นหัวใจได้ ซึ่งสาเหตุยังไม่ทราบชัดเจน แต่เชื่อว่า อาจเกิดจากพิษของแบคทีเรีย หรือร่างกายสร้างสารต้านต่อพิษของแบคทีเรีย หรือต่อตัวแบคทีเรียเอง เป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆได้ทั่วร่างกาย

ต่อมทอนซิลอักเสบรุนแรงไหม?

โดยทั่วไป ต่อมทอนซิลอักเสบ เป็นโรคไม่รุนแรง รักษาหายได้ภายในประมาณ 7-10 วัน ยกเว้นเมื่อเกิดผลข้างเคียงดังกล่าว

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

เมื่อมีอาการเจ็บคอ อาจร่วมกับมีไข้ ควรดูแลตนเองดังนี้

ป้องกันต่อมทอนซิลอักเสบอย่างไร?

การป้องกันโรคต่อมทอนซิลอักเสบที่สำคัญ คือ

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
  • ล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆโดยเฉพาะก่อนกินอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ นอนอย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลี สัมผัสผู้ป่วยโรคนี้

ที่มา   https://haamor.com/th/ต่อมทอนซิลอักเสบ/

อัพเดทล่าสุด