คลื่นไส้ อาเจียน (Nausea and Vomiting)


1,532 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

กระเพาะอาหาร  ลำไส้  ระบบทางเดินอาหาร 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

คลื่นไส้  อาเจียน 

บทนำ

คลื่นไส้ (Nausea) และอาเจียน (Vomiting) เป็นอาการ ไม่ใช่โรค ซึ่งทั้งสองอาการมีกลไกการเกิด สาเหตุ การดูแลรักษาเหมือนๆกัน และมักเกิดควบคู่กันเสมอ โดยมีอาการคลื่นไส้นำมาก่อน ดังนั้น ทั้งสองอาการจึงมักถูกกล่าวถึงพร้อมๆกัน ควบคู่กันไปเสมอเช่นกัน

คลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการพบบ่อยอาการหนึ่ง พบได้ทั้งในเพศหญิงและในเพศชาย พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ โดยพบในช่วงอายุ 15-24 ปีมากกว่าช่วงอายุอื่นๆ

สถิติการเกิด คลื่นไส้ อาเจียนที่แท้จริง ไม่ทราบแน่ชัด เนื่องจากมักเป็นอาการไม่ค่อยรุนแรง ผู้ป่วยจึงดูแลตนเองที่บ้านได้ และจะมาพบแพทย์เฉพาะต่อเมื่อมีอาการรุนแรง ซึ่งมีรายงานจากประเทศออสเตรเลียพบว่า ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการคลื่นไส้ อาเจียน คิดเป็น 1.6% ของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ทั้งหมด

คลื่นไส้อาเจียนเกิดได้อย่างไร?

คลื่นไส้-อาเจียน

คลื่นไส้ เป็นอาการที่อยากจะอาเจียน ส่วนอาเจียน คือ การที่ อาหาร และ น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กตอนบนถูกขับออกมาอย่างรุนแรงจากกระ เพาะอาหาร และจากลำไส้เล็กตอนบน ผ่านทางหลอดอาหาร เข้าสู่ช่องปาก โดยเกิด ขึ้นจากแรงบีบตัวทันทีของกล้ามเนื้อของ กระบังลม กระเพาะอาหาร ลำไส้ ทรวงอก และของหน้าท้อง

สมองที่ควบคุมอาการคลื่นไส้ คือ สมองใหญ่ (Cerebral cortex) ส่วนสมองที่ควบคุมการอาเจียน คือ ก้านสมอง (Brain stem)

ตัวกระตุ้นสมองให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีได้ทั้ง

  • จากสิ่งต่างๆที่ก่อการระคายเคือง หรือกระตุ้นโดยตรงต่อ ลำคอ คอหอย กระเพาะอาหาร และลำไส้ เช่น อาหาร
  • จากยาหรือสารบางชนิดที่อยู่ในกระแสโลหิต (เลือด) ซึ่งเกิดจากภาวะผิดปกติของร่างกาย เช่น ยาสารเคมีที่รักษาโรคมะเร็ง (ยาเคมีบำบัด) หรือสารต่างๆที่คั่งอยู่ในเลือดในภาวะไตวาย
  • จากการกระตุ้นประสาทหูในส่วนที่ทำหน้าที่ในการทรงตัว เช่น การเมาคลื่น
  • จากการเห็น/มองภาพต่างๆ ขึ้นกับแต่ละบุคคล เช่น ภาพอนาจาร เป็นต้น
  • จากกลิ่นต่างๆ ซึ่งขึ้นกับแต่ละบุคคล เช่น กลิ่นดอกไม้บางชนิด เป็นต้น
  • รวมทั้งจากจินตนาการ หรือ ปัญหาทางอารมณ์/จิตใจ ของผู้นั้นเอง
 

คลื่นไส้อาเจียนมีสาเหตุจากอะไร?

สาเหตุของอาการคลื่นไส้ อาเจียน แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ สาเหตุจากความผิดปกติในช่องท้อง สาเหตุจากความผิดปกตินอกช่องท้อง และสาเหตุจากยา ต่อมไร้ท่อ และความผิดปกติในกระบวนการสันดาป (การเผาผลาญพลังงาน) ของร่างกาย

 

แพทย์หาสาเหตุคลื่นไส้ อาเจียนอย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยหาสาเหตุของอาการคลื่นไส้ อาเจียน ได้จาก ประวัติอาการ ประวัติเจ็บป่วยต่างๆทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประวัติการใช้ ยา การตรวจร่างกาย การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจการทำงานของตับ และของไต และการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับอาการผู้ป่วย ผลจากการตรวจร่างกาย และดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจต่างๆเพื่อวินิจฉัยโรคของหู หรือ การตรวจภาพอวัยวะช่องท้อง หรือสมองด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

รักษาคลื่นไส้ อาเจียนอย่างไร?

แนวทางการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน คือ การบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน การรักษาสาเหตุ และการรักษาประคับประคองตาอาการ

 

คลื่นไส้อาเจียนรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?

ความรุนแรงของอาการคลื่นไส้ อาเจียน ขึ้นกับสาเหตุ เช่น รุนแรงน้อยเมื่อเกิดจากการจินตนาการ รุนแรงปานกลางเมื่อเกิดจากลำไส้อุดตัน แต่รุนแรงมากเมื่อเกิดจากโรคเนื้องอกและมะเร็งสมอง

ผลข้างเคียงจาก คลื่นไส้ อาเจียน คือ ขาดอาหาร อ่อนเพลีย จากกิน ดื่ม และพักผ่อนได้น้อย และร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากอาเจียน จนร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ เช่น ผิวแห้ง ปากแห้ง ตาโหล ปัสสาวะน้อย ใจสั่น วิงเวียน เป็นลม และถ้าอาเจียนรุนแรง อาจอาเจียนเป็นเลือดได้จากหลอดเลือดในกระเพาะอาหาร หรือ ในหลอดอาหารแตก

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเอง และการพบแพทย์เมื่อคลื่นไส้ อาเจียน ได้แก่

  • การพักผ่อนเต็มที่
  • ในขณะมีอาการ ไม่ควรนอนราบ ควรนอนเอนตัว เพื่อป้องกันการสำ ลักอาหารจากอาเจียนเข้าหลอดลม และปอด
  • ระมัดระวังไม่ให้ขาดน้ำ โดยจิบน้ำ หรือ น้ำผลไม้บ่อยๆ
  • กินอาหารครั้งละน้อยๆ โดยเพิ่มมื้ออาหาร ไม่ควรกินในช่วงมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาหารควรเป็นอาหารอ่อน หรืออาหารเหลว หรืออาหารน้ำ (ประเภทอาหารทางการแพทย์) ขึ้นกับว่ากินอาหารประ เภทไหนได้บ้าง เลือกประเภทอาหารที่ไม่มีกลิ่น และไม่กระตุ้นให้เกิดอาการ
  • ควรอยู่ในสถานที่ถ่ายเทอากาศได้ดี สะอาด ไม่มีกลิ่น ไม่สว่างมาก ไม่ร้อนอบอ้าว โดยเฉพาะเวลานอน และขณะรับประทานอาหาร
  • สังเกตตัวกระตุ้นอาการเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยง
  • สังเกตลักษณะของอาเจียน เช่น ขมจากมีน้ำดีปน หรือมีเลือดปน เพื่อแจ้งแพทย์ พยาบาล เพราะแพทย์ใช้เป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยอาการ เพื่อให้การรักษาได้ถูกต้อง
  • กินยาบรรเทาอาการ ตามที่แพทย์แนะนำ เช่น กินตรงตามเวลา โดยไม่เกี่ยวข้องกับการกินอาหาร (เช่น ทุก 6 ชั่วโมง เป็นต้น) หรือ กินก่อนอาหาร
  • รีบพบแพทย์เมื่อ
  • พบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง หรือ ฉุกเฉินขึ้นกับความรุนแรงของอาการ เมื่อคลื่นไส้อาเจียน ร่วมกับ
 

ป้องกันคลื่นไส้อาเจียนได้อย่างไร?

การป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน คือ ในกรณีที่รู้สาเหตุ และแพทย์แนะนำกินยาป้องกัน เช่น เมื่อได้รับยาสารเคมีในการรักษาโรคมะเร็ง (ยาเคมีบำบัด) หรือในโรคปวดศีรษะไมเกรน ควรกินยาสม่ำเสมอ ตรงเวลา และครบถ้วนตามแพทย์แนะนำเสมอ

นอกจากนั้น คือ การป้องกันสาเหตุต่างๆของอาการคลื่นไส้ อาเจียน ดัง กล่าวแล้วที่ป้องกันได้ เช่น


ที่มา   https://haamor.com/th/คลื่นไส้-อาเจียน/

อัพเดทล่าสุด