คอนแทคเลนส์ (Contact lens)


1,238 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ดวงตา  ระบบตา 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

เห็นภาพไม่ชัด 

บทนำ

คาดกันว่าประชากรไทยทั้งหมดประมาณ 61 ล้านคนราวๆ 40% มีปัญหาทางสายตา โดย 1 ใน 3 ของจำนวนนี้ได้รับการแก้ไขสายตาที่ผิดปกติ โดยการใช้แว่นตา หรือ เลนส์สัมผัส หรือ เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า คอนแทคเลนส์ (Contact lens) ส่วนน้อยรับการแก้ไขโดยวิธีผ่าตัด หรือแสงเลเซอร์ส่วนที่เหลือ ไม่ได้รับการแก้ไขคงปล่อยให้ตาพร่ามัวไปตามธรรมชาติ ต้องยอมรับว่าการแก้ไขสายตาผิดปกติที่มีมาแต่เดิมและสะดวกที่สุด คือ แว่นตา นึกจะหยิบมาใช้เมื่อไรก็ได้ ไม่ค่อยมีผลเสียต่อดวงตา

แต่แว่นตา เป็นอุปกรณ์ที่ต้องนำมาเกี่ยวข้างหู ทำให้แลดูเกะกะไม่คล่องตัว อีกทั้งผู้ที่มีสายตาผิดปกติมากๆเลนส์แว่นตาจะหนามาก ภาพที่เกิดจากเลนส์แว่นตาที่หนาจะมีขนาดผิดไปจากจริง และในกรณีที่สายตาผิดปกติเกิดจากผิวกระจกตาที่ไม่เรียบ เลนส์แว่นตาจะแก้ไขได้ไม่ดีนัก เลโอนาโด ดาวินชี (Leonardo da vinci) เป็นคนแรกที่เกิดความคิดว่า น่าจะมีอุปกรณ์มาวางหน้าตาเพื่อแก้ไขสายตาผิดปกติโดยไม่ต้องพึ่งแว่นตาที่เกะกะ ตามด้วย โธมัส ยัง (Thomas Young) เป็นผู้ริเริ่มออกแบบลักษณะของคอนแทคเลนส์ และอะดอฟ ฟิก (AdolfFick) ได้ผลิตคอนแทคเลนส์อันแรกขึ้น และมีพัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

นิยามคอนแทคเลนส์

คอนแทคเลนส์เป็นแผ่นพลาสติกใส แต่เดิมไม่มีสีในปัจจุบันทำเป็นสีต่างๆ เพื่อเปลี่ยนสีตาได้ (คอนแทคเลนส์สี คอนแทคเลนส์ตาโต) ได้รับการขัดเกลา หรือหล่อให้เป็นแผ่นกลมรูปกระทะ โดยมีความโค้งใกล้เคียงกับความโค้งของตาดำของคน เรา มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 7-15 มิลลิเมตร(ม.ม.) มีความหนาประมาณ 1 ม.ม. ตัวคอนแทคเลนส์จะมีกำลังหักเหของแสงคล้ายเลนส์ที่ใช้ในแว่นตา ดังนั้นคอนแทคเลนส์แต่ละอันจะมีความโค้ง เส้นผ่าศูนย์กลาง และกำลังหักเหแสงแตกต่างกัน ในปัจจุบัน เส้นผ่าศูนย์กลางมักจะทำมาคงที่ จึงเหลือแต่ความโค้ง และกำลัง ต่างกับเลนส์แว่นตา ซึ่งจะมีแต่กำลังแว่นอย่างเดียว

เมื่อนำคอนแทคเลนส์มาวางที่ ตาดำ (กระจกตา)ด้วยความโค้งที่ใกล้เคียงกัน และอาศัยน้ำตาที่ฉาบอยู่บางๆที่ผิวหน้าของตาดำ จะช่วยยึดคอนแทคเลนส์ให้ติดกับตาดำ โดยที่ตัวเลนส์ขยับเคลื่อนที่ได้เล็กน้อย เมื่อเรากลอกตาไปมาในเลนส์ชนิดนิ่มแต่ถ้าเป็นเลนส์ชนิดแข็งจะขยับเคลื่อนที่ได้มากกว่า (คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง และคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม)

เนื่องจากตัวคอนแทคเลนส์มีขนาดพอสมควร และวางนาบอยู่กับตาดำ จึงต้องมีการฝึกหัดใส่สำหรับเลนส์ชนิดแข็ง ส่วนชนิดนิ่มด้วยลักษณะที่อ่อน ประกอบกับผิวที่เรียบจึงทำให้ไม่เคืองตาเวลาใส่ แต่ก็ยังต้องอาศัยการฝึกและความเคยชินในที่สุดจนไม่รู้สึกเจ็บ หรือเคืองตาเวลาใส่

อีกประการหนึ่ง เลนส์ชนิดนิ่ม จะมีขนาดใหญ่กว่าตาดำเราเล็กน้อย ตัวเลนส์จะคลุมตาดำไว้ทั้งหมด ส่วนของตาที่ระคายเคืองง่ายและมากคือเจ้าตาดำนี่เอง เมื่อเลนส์คุมตาไว้ทั้งหมดจึงไม่มีอาการเคืองตา การไม่เคืองตานี่เอง จึงทำให้เลนส์ชนิดนิ่มได้รับความนิยมมาก แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ว่า ถ้าตาดำเกิดอักเสบหรือเป็นแผล ผู้ใส่คอนแทคเลนส์อยู่จะไม่มีอาการเจ็บซึ่งอาการเจ็บเป็นอาการเตือนว่ามีโรคภัยของตาดำแล้ว จึงทำให้ผู้ใช้ปล่อยปละละเลยจนแผลหรือการอักเสบของตาดำลุกลามไปมาก

คอนแทคเลนส์มีกี่ชนิด?

แบ่งคอนแทคเลนส์ออกเป็นชนิดต่างๆตามลักษณะของเลนส์ ออกเป็น 2 ชนิดได้แก่

  1. ชนิดแข็ง (คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง และคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม) ทำจากพลาสติก ใส แข็ง จึงมีรูปร่างเป็นทรงกระทะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากเป็นพลาสติกเนื้อแน่นแข็ง ไม่มีรู จึงทำให้ทั้งอากาศ หรือ ออกซิเจนไม่สามารถซึมผ่าน เลนส์ได้ จึงทำให้เลนส์ชนิดนี้มีข้อจำกัดตรงที่ใส่นานไม่ได้ เพราะจะทำให้ตาดำขาดออกซิเจน กล่าวคือในภาวะปกติตาดำคนเราได้ออกซิเจนจากอากาศและจากน้ำตาที่ฉาบที่ผิว เมื่อใช้เลนส์ชนิดนี้ น้ำตาใต้เลนส์จะเป็นแหล่งเดียวที่ให้ออกซิเจนแก่ตาดำซึ่งไม่พอเพียง เลนส์ชนิดนี้จึงต้องมีขนาดเล็กกว่าตาดำ มีการเคลื่อนไหวขณะกลอกตา หรือกระพริบตา เป็นการแลกเปลี่ยนน้ำตาบริเวณใต้เลนส์กับบริเวณอื่นๆ
  2. ชนิดนิ่ม (คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง และคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม) ทำจากพลาสติกอ่อนนุ่ม อาจเป็นพวก ไฮโดรเจล (Hydro gel) หรือไฮดรอกซีอีธีล มีธาครายเลท (Hydroxyethyl methacrylate) หรือ ซิลิโคน (Silicon) เป็นสารที่ดูดน้ำได้ดีจึงทำให้เลนส์นิ่ม มีรูปร่างไม่ค่อยคงที่ มีลักษณะอ่อนปวกเปียก อาจจะพับเข้าหากันง่าย แต่อากาศและน้ำซึมผ่านได้ดี ออกซิเจนจากอากาศ หรือจากน้ำตา สามารถซึมผ่านตัวเลนส์ไปเลี้ยงกระจกตาได้ดี จึงใส่ได้นานกว่าและบางชนิดใส่นอนหรือค้างคืนได้ เลนส์ชนิดนี้มีขนาดใหญ่กว่าตาดำมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12.5–15 ม.ม. เคลื่อนที่เวลากลอกตาได้เล็กน้อย เนื่องจากเป็นเลนส์นิ่มจึงใช้ง่ายไม่ค่อยมีอาการระคายเคืองเวลาใช้

    แบ่งคอนแทคเลนส์ตามการใช้ได้ดังนี้

    • เลนส์ถาวรชนิดใส่เช้า–เย็นถอดคอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง และคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม) (Daily wear) เป็นคอนแทคเลนส์ชนิดมีอายุการใช้งานเป็นปีตามผู้ขายระบุ แต่ไม่สามารถใช้ได้ตลอดไป (ยังมีอายุการใช้งาน) เป็นเลนส์ที่ไม่ควรใส่ติดต่อกันเกิน 8–10 ชั่วโมงโดยทั่วไป เริ่มใส่เวลาเช้า และถอดในเวลาเย็น ห้ามนำไปใส่นอน มักเป็นเลนส์ที่ออกซิเจนซึมผ่านไม่ดี หรือต้องใช้การกระพริบตาเพื่อให้ตาดำได้รับออกซิเจนจากน้ำตาและจากอากาศตัวอย่างเลนส์ชนิดนี้เช่น เลนส์แข็ง หรือเลนส์นิ่มบางชนิด (
    • เลนส์ถาวรชนิดใส่นอนได้ (Extended wear)เป็นเลนส์ที่ออกซิเจนซึมผ่านได้ดี แม้ว่าจะใช้ในเวลากลางวันแล้ว สามารถใส่นอนได้ อาจใส่ได้ถึง 1 สัปดาห์โดยไม่ต้องถอด หลายๆวันค่อยถอดออกมาทำความสะอาด ได้แก่เลนส์ชนิดนิ่ม (คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง และคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม) แต่ด้วยสิ่งแวดล้อมในบ้านเรา ความชื้นของอากาศทำให้ไม่ควรใส่นอนจะปลอดภัยกว่า
    • เลนส์ชนิดใส่แล้วทิ้งคอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง และคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม) (Disposable lens) ปัจจุบันมีชนิดใช้วันเดียว1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ หรือเป็นรายเดือน เลนส์ชนิดนี้แต่แรกเริ่มผลิตเพื่อใช้สำหรับผู้ที่แพ้น้ำยาที่ใช้กับเลนส์ใช้ซ้ำเมื่อใช้เลนส์ไปนานๆ ดังนั้นจึงต้องใช้เลนส์ที่ไม่ต้องสัมผัสกับน้ำยาใดๆเลย พอครบกำหนดก็ทิ้งไปปัจจุบันนิยมใช้ เพราะใส่สะดวกสบาย เลนส์ชนิดนี้มีราคาต่อคู่ถูกกว่า 2 ชนิดแรก และ อยู่ในกลุ่มคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม (

ทำไมต้องใช้คอนแทคเลนส์?

ในปัจจุบันการใช้คอนแทคเลนส์ มีจุดประสงค์ 3 ประการคือ

  1. ใช้เพื่อแก้ไขสายตาผิดปกติ เป็นการใช้ที่มากที่สุด ได้แก่ การแก้ไขสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง ตลอดจนสายตาผู้สูงอายุ
  2. ใช้รักษาโรคกระจกตาบางชนิด โดยอาจจะใช้คอนแทคเลนส์อย่างเดียว หรือ ร่วมกับการหยอดตา ขึ้นกับชนิดของโรค เมื่อโรคหายก็เลิกใช้คอนแทคเลนส์
  3. ใช้เพื่อความสวยงามคอนแทคเลนส์สี คอนแทคเลนส์ตาโต) เพื่อเปลี่ยนสีตา หรือทำให้ดวงตาดูโตขึ้น โดยใช้คอนแทคเลนส์สีต่างๆ มักใช้ในนักแสดงที่ต้องการเปลี่ยนสีตาให้เข้ากับเชื้อชาติที่เป็นตัวแสดงอยู่ ตลอดจนเพื่อความสวยงามของดวงตา (

ควรทำอย่างไรเมื่อต้องการใช้คอนแทคเลนส์?

คอนแทคเลนส์เป็นทางเลือกอย่างหนึ่งสำหรับผู้มีสายตาผิดปกติ แต่ก่อนจะตัดสินใจใช้คอนแทคเลนส์ ควรรับการตรวจจากหมอตา (จักษุแพทย์) เพื่อตรวจสภาพตาว่าเหมาะสมจะใช้หรือไม่ มีโรคตาที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้หรือไม่ มีภาวะตาแห้งหรือไม่ ตลอดจนวัดระดับสายตาว่าสั้น ยาว หรือเอียงเท่าไร แพทย์จะถามถึงภารกิจประจำวัน และความตั้งใจของผู้ใช้ว่า จะใช้เป็นประจำหรือเป็นบางโอกาส เพื่อจะได้เลือกคอนแทคเลนส์ชนิดและขนาดที่เหมาะสม อาทิ เช่น

  1. ถ้าต้องการภาพที่คมชัดมาก และภาพที่เห็นสม่ำเสมอดีควรใช้เลนส์แข็ง
  2. ถ้าต้องการใช้ขณะออกกำลังกายซึ่งต้องมีการเคลื่อนไหวรุนแรง เช่น เทนนิส ว่ายน้ำ ควรใช้เลนส์นิ่ม หากใช้เลนส์แข็ง เลนส์อาจหลุดหายขณะเคลื่อนไหวได้ง่ายกว่า
  3. ถ้ามีอาชีพอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองมาก เช่น เป็นช่างซ่อมรถยนต์ ช่างเชื่อม ไม่ควรใช้เลนส์แข็ง เพราะจะเพิ่มการระคายเคืองตามากขึ้น
  4. ถ้าคำนึงถึงค่าใช้จ่าย เลนส์แข็งจะมีราคาถูกกว่า
  5. ถ้าสายตาเอียงมาก เลนส์แข็งจะให้ภาพที่คมชัดกว่า
  6. ถ้าต้องการใช้เลนส์เป็นบางโอกาสเป็นครั้งคราว ควรใช้เลนส์นิ่ม

ควรดูแลตนเองอย่างไรเมื่อใช้คอนแทคเลนส์?

เมื่อตัดสินใจจะใช้คอนแทคเลนส์ และได้รับการประกอบจากจักษุแพทย์และ ผู้เชี่ยวชาญแล้ว เมื่อได้เลนส์มาใช้แล้ว ท่านควรปฏิบัติตนที่สำคัญดังนี้

  1. ไม่ว่าจะเป็นเลนส์ชนิดใด ล้วนต้องนำมาปะไว้บนหน้าตาดำ ถือเป็นสิ่งแปลกปลอมที่อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือตาดำอักเสบได้ตลอดเวลา ความสะอาดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ถ้าเลนส์สกปรกมีเชื้อโรคก็เท่ากับนำเชื้อโรคเข้าไปใส่ในตา ซึ่งในบางครั้งอาจไม่เป็นไร ก็จะทำให้ผู้ใช้เลนส์ยิ่งประมาท แล้วจะมีสักวันหนึ่งกระจกตาเกิดภาวะขาดออกซิเจนหรือมีรอยถลอก เชื้อโรคจากเลนส์ก็จะก่อให้เกิดโรคร้ายแรงของกระจกตาและของลูกตาตามมา
  2. ใช้เลนส์ให้ถูกประเภท ชนิดใส่แล้วทิ้งพอครบกำหนดก็ต้องทิ้ง ชนิดใส่–ถอด ก็ห้ามนำไปใส่นอน หากจะให้ดี แม้ชนิดที่ระบุว่าใส่นอนได้ก็ไม่ควรใส่นอนเป็นประจำ เพื่อให้ตาได้มีโอกาสพักและได้รับออกซิเจนเต็มที่บ้าง ควรใส่นอนเฉพาะจำเป็นจริงๆ และนานๆครั้ง
  3. ต้องระลึกว่า แม้เลนส์รุ่นใหม่ๆจะออกแบบให้ออกซิเจนซึมผ่านได้ดีเพียงไร ตาที่ใส่คอนแทคเลนส์อยู่จะได้รับออกซิเจนน้อยกว่าไม่ได้ใช้คอนแทคเลนส์เสมอ แต่ถ้าปฏิบัติตามคำแนะนำก็จะเป็นการขาดออกซิเจนที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายอะไรมากนัก จึงควรมีเวลาให้ตาได้พักหรือปลอดการใส่เลนส์บ้าง ขอแนะนำว่า แม้ท่านจะเลือกแก้ไขสายตาผิดปกติด้วยคอนแทคเลนส์ ท่านก็ควรจะมีแว่นเป็นอะไหล่ไว้ใช้เวลาพักตาจากคอนแทคเลนส์
  4. ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ประกอบเลนส์ บริษัทผลิตเลนส์ และ หมอตาอย่างเคร่งครัด
  5. อย่าใช้คอนแทคเลนส์ตามเพื่อน มีอยู่บ่อยๆที่เห็นเพื่อนใช้ก็อยากใช้บ้าง จึงไปขอซื้อคอนแทคเลนส์เองและใส่เองโดยไม่ได้รับการตรวจสภาพตาก่อน สภาพตาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เลนส์บางอย่างอาจใช้ได้ดีกับคนคนหนึ่ง แต่อีกคนใช้ไม่ได้เลย บางคนอาจมีสายตาเท่ากัน แต่ความโค้งของกระจกตาไม่เท่ากัน จึงไม่สามารถใช้เลนส์ขนาดเดียวกันได้

คอนแทคเลนส์มีข้อดีอย่างไร?

คอนแทคเลนส์เป็นวัสดุที่มนุษย์คิดค้นขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้มีสายตาผิดปกติได้มีสายตาที่ดีขึ้น โดยไม่ต้องใช้แว่นตาซึ่งต้องมีกรอบแว่น มีขาแว่นมาเกี่ยวข้างหูทำให้แลดูเกะกะไม่คล่องตัว อีกทั้งมีคุณสมบัติ หรือกำลังการหักเหของแสงที่ดีเหนือเลนส์ที่ประกอบเป็นแว่นตาโดยทั่วไป จะให้ภาพที่คมชัดกว่าแว่นตา อีกทั้งภาพที่เห็นใกล้เคียงกับภาพจริงมากกว่า กล่าวคือ ผู้ป่วยที่สายตาสั้นมาก หากใช้แว่นตาจะเห็นภาพที่เล็กกว่าความเป็นจริงมากกว่าการใช้คอนแทคเลนส์ เลนส์แว่นตาที่มีกำลังมากๆ จะทำให้ภาพผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงมากกว่า นอกจากนั้น แว่นตายังทำให้ลานสายตาแคบลง เนื่องจากถูกบังคับโดยกรอบแว่นตาด้านข้าง

ใครควรใช้คอนแทคเลนส์?

บุคคลซึ่งเหมาะ หรือใช้คอนแทคเลนส์ได้ดีได้แก่

  1. อายุที่เหมาะสม คือ 13–38 ปี อายุน้อยกว่านี้ก็คงไม่ให้ความร่วมมือ หรือใส่และดูแลเลนส์ไม่ได้ ส่วนคนสูงอายุ ส่วนประกอบของน้ำตาจะผิดไป ทำให้มีโปรตีนไปเกาะเลนส์ได้ง่าย อีกทั้งน้ำย่อยที่มีอยู่ในน้ำตา ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียมีจำนวนลดลงด้วย ทำให้คนสูงอายุที่ใช้คอนแทคเลนส์มีโอกาสติดเชื้อในลูกตาง่ายขึ้น
  2. โดยปกติหญิงจะใช้ได้ดีกว่าชาย คงจะเนื่องจากหญิงคำนึงถึงความสวยงามมากกว่า จึงมีความตั้งใจจะใส่มากกว่า
  3. สายตาควรจะสั้นมากกว่า -1.50 D (Diopter หรือ ไดออปเตอร์ หรือ เรียกย่อว่า ดี) หรือยาวมากกว่า +1.50 D ถ้าผิดไปจากนี้หมอตาจะเป็นผู้ให้คำแนะนำ
  4. ไม่มีโรคของกระจกตา
  5. มีน้ำตาที่ปกติ
  6. ผิวกระจกตาเรียบ ไม่มีรอยแผลเป็น
  7. มีตาเอียงไม่มาก
  8. ตำแหน่งของหนังตาบนปกติหรือ ผิดปกติเพียงเล็กน้อยเพราะตาที่โปนมากอาจทำให้ตาแห้ง หรือตาที่หรี่เล็กอาจทำให้การใส่-ถอดคอนแทคเลนส์ค่อนข้างยุ่งยาก
  9. เป็นคนละเอียดอ่อน และมีวินัย ที่สามารถดูแลคอนแทคเลนส์ได้

ใครไม่ควรใช้คอนแทคเลนส์?

มีบางสภาวะที่ทำให้การใช้คอนแทคเลนส์ไม่ได้ผลหรือไม่ควรใช้ได้แก่

  1. เป็นโรคผิวหนังบริเวณเปลือกตา การมีขอบหนังตาที่บวมอักเสบทำให้ไม่ค่อยสบายตา ระคายเคืองภายในตา อีกทั้งสารที่ขับจากต่อมบริเวณเปลือกตา เปลี่ยนไปทำให้น้ำตาผิดปกติไป
  2. ตาแห้ง
  3. การใช้ยาบางตัวเป็นประจำ เช่น ยารักษาโรคกระเพาะอาหารบางชนิด จะทำให้น้ำตาลดลง ผู้รับประทานยาคุมกำเนิดมักมีโปรตีนเกาะตัวเลนส์บ่อยขึ้น ยาในกลุ่มคลายเครียดแม้จะไม่มีผลโดยตรง แต่ความกังวลของผู้ป่วยจนต้องใช้ยาในกลุ่มนี้มักจะทำให้ใช้เลนส์ไม่ค่อยได้
  4. มีปัญหาในการหยิบจับคอนแทคเลนส์ ผู้ป่วยที่เป็นโรคของข้อมือมือสั่นจากโรคทางสมอง หรือเป็นโรคผิวหนังที่นิ้ว และเล็บ ทำให้จับต้องคอนแทคเลนส์ไม่ได้ดี
  5. กระจกตาผิดปกติ
  6. โรคภูมิแพ้ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจจะเกิดภูมิแพ้ต่อพลาสติกที่ใช้ทำเลนส์ หรือแม้แต่น้ำยาที่ใช้กับคอนแทคเลนส์
  7. หญิงตั้งครรภ์กระจกตาผิดไปโดยไม่อาจอธิบายได้ โดยเฉพาะ การใช้เลนส์แข็งในผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะไม่ได้ผล มีการสังเกตทั้งในผู้ป่วยตั้งครรภ์ และผู้กำลังให้นมบุตร จะมีโปรตีนไปเกาะเนื้อเลนส์มากกว่าปกติ และสตรีวัยทอง ตลอดจนผู้ใช้ยาคุมกำเนิดทำให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่ได้สมดุล ทำให้น้ำตา และ
  8. เบาหวาน ถ้าควบคุมได้ดีอาจใช้ได้ ถ้าคุมไม่ค่อยดี จะมีปัญหาในเรื่องของคุณภาพน้ำตา ทำให้เกิดปัญหาในการใส่เลนส์ได้ หากจะใช้คอนแทคเลนส์ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรใช้ชนิดนิ่ม
  9. โรคของต่อมไทรอยด์ที่มีตาโปน การมีตาโปนทำให้การใส่เลนส์แข็งไม่ค่อยอยู่ เลนส์มักจะหลุดออกมาง่าย แม้เลนส์ชนิดนิ่มก็มักจะไม่ค่อยได้ดี เพราะว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะไม่ค่อยกระพริบตา เลนส์จึงมักแห้งและมีโปรตีนมาจับง่าย
  10. ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตความกังวลระแวง ความเครียดต่าง ๆ ทำให้การประกอบเลนส์ทำได้ยาก

อนึ่งเบาหวาน) disable (มีความพิการเช่น ของนิ้วมือ) และ dumb (คนสอนยาก) โดยสรุป บุคคลที่ไม่เหมาะจะใช้คอนแทคเลนส์เลย ได้แก่ บุคคลในกลุ่ม 5D (ห้า ดี) ได้แก่ dirty (สกปรก) drunk (ติดเหล้า) disease (มีโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น

ควรเลือกใช้คอนแทคเลนส์ชนิดไหน?

การเลือกว่าจะใช้เลนส์ชนิดไหนดี ควรต้องปรึกษาหมอตา ซึ่งจะต้องตรวจดูระดับสายตาว่าสายตาสั้น สายตายาว หรือมีสายตาเอียง ร่วมด้วยหรือไม่ ดูสภาพของลูกตา น้ำตา อาชีพ ตลอดจนกิจกรรมของผู้ใช้ เนื่องจากเลนส์ทั้งแข็ง และนิ่มมีข้อดีและข้อเสียปะปนกัน

การใช้คอนแทคเลนส์มีผลแทรกซ้อนอย่างไร?

การเลือกใช้คอนแทคเลนส์ชนิดที่เหมาะสม มีการปฏิบัติตามคำแนะนำของหมอตาผู้ประกอบเลนส์ และของเอกสารกำกับการใช้เลนส์จากบริษัทผู้ผลิต รวมทั้ง ระมัดระวังดูแลในเรื่องความสะอาด จะทำให้ผู้ใช้คอนแทคเลนส์ทั่วๆไป มีความปลอดภัยสูง แต่แน่นอน การใช้คอนแทคเลนส์มานานๆ อาจทำให้เกิดผลเสีย (ผลแทรกซ้อน) ต่างๆได้บ้างที่สำคัญ ได้แก่

  1. ภาวะตาดำ หรือ กระจกตา ขาดออกซิเจน ปกติออกซิเจน ที่มาเลี้ยงกระจกตาจะมาจากน้ำตา หลอดเลือดรอบตาดำ และน้ำภายในลูกตา การใช้คอนแทคเลนส์นานๆ โดยเฉพาะชนิดที่ออกซิเจนซึมผ่านไม่ได้ กระจกตาจะเกิดภาวะขาดออกซิเจน หากเป็นอย่างฉับพลัน จะทำให้เกิดผิวกระจกตาเป็นแผล เป็นจุดเล็กๆ หรือบวมได้ ทำให้มีอาการเจ็บ เคืองตา ตาแดง หรือถ้าเป็นแบบเรื้อรังทำให้ผิวกระจกตาบางลง ความไวต่อการสัมผัสของกระจกตาลดลง ตามด้วย มีหลอดเลือดเกิดใหม่วิ่งเข้ากระจกตาจึงส่งผลให้เกิดการเห็นภาพไม่ชัด
  2. ผู้ใช้คอนแทคเลนส์นานๆ บางคนอาจเกิดอาการแพ้ต่อสารที่ไปเกาะกับเลนส์หรือสารที่เป็นส่วนประกอบของน้ำยาต่างๆที่ใช้ประกอบการใส่เลนส์ ทำให้ตาแดงกะทันหัน ปวดตา และมีการอักเสบ ซึ่งที่พบบ่อยในผู้ใช้คอนแทคเลนส์ได้แก่ การอักเสบ บวมของเยื่อตา และในบริเวณรอบๆตาดำ
  3. เนื่องจากขอบคอนแทคเลนส์ กดกระจกตา อาจทำให้กระจกตาเปลี่ยนรูปร่าง หรือเป็นรอยย่นทำให้ตาเห็นภาพมัวลง
  4. การดูดซึมของน้ำผ่านกระจกตา (ภาวะออสโมสิส/Osmosis) อาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นบนผิวกระจกตา ทำให้เกิดอาการไม่สบายตาเวลาใช้คอนแทคเลนส์
  5. การติดเชื้อ ถือเป็นอันตรายที่ร้ายแรงที่สุด อาจทำให้ผู้ใช้คอนแทคเลนส์สูญเสียสายตาได้ โดยเฉพาะพบบ่อยในคนใช้คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มและใส่นอน ตลอดจนคอนแทคเลนส์ชนิดสีที่เรียกกันว่าเลนส์ตาโต (คอนแทคเลนส์สี คอนแทคเลนส์ตาโต) กล่าวคือ ผู้ใช้คอนแทคเลนส์จะมีกระจกตาขาดออกซิเจนอยู่แล้ว ถ้าบังเอิญมีการถลอกของผิวกระจกตา หากมีเชื้อโรคพลัดเข้าไปก็จะทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงตามมา

มีข้อควรระวังอย่างไรเมื่อใช้คอนแทคเลนส์? และควรพบหมอตาเมื่อไร?

เนื่องจากเป็นวัสดุที่จำเป็นต้องนำมาวางอยู่บนหน้ากระจกตา จึงควรประกอบคอนแทคเลนส์จากผู้รู้ อย่าได้ซื้อใส่เองโดยไม่ได้รับการตรวจสภาพตาจากหมอตาก่อน อีกทั้งต้องดูแลรักษาความสะอาดอย่างเคร่งครัด มีขั้นตอนต่างๆของการทำความสะอาดขจัดคราบสกปรกออก ต้องมีขบวนการฆ่าเชื้อโรค ซึ่งอาจทำได้โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อหรือใช้ความร้อน อีกทั้งจะต้องมีวิธีขจัดคราบโปรตีนที่จับในเนื้อเลนส์โดยเฉพาะเลนส์ชนิดนิ่ม

นอกจากนั้น หากมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บตา ระคายเคือง ตาแดง ตาพร่ามัว ควรจะถอดเลนส์ออกทันที ขณะมีการอักเสบบริเวณดวงตาก็ควรงดไม่ใส่เลนส์ชั่วคราว และรีบปรึกษาหมอตา ผู้ใช้คอนแทคเลนส์ไปนานๆ แม้ไม่มีอาการอะไรก็ควรได้รับการตรวจสภาพตาจากหมอตาเป็นระยะๆ หากบางคน แพทย์ตรวจพบว่า เริ่มมีสิ่งผิดปกติ แพทย์จะได้ให้คำแนะนำรักษา หรือบางรายอาจต้องงดใช้คอนแทคเลนส์ชั่วคราว หรือ ตลอดไป
ที่มา    https://haamor.com/th/คอนแทคเลนส์/

อัพเดทล่าสุด