ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :
ตับ ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี ระบบทางเดินน้ำดี ระบบทางเดินอาหารอาการที่เกี่ยวข้อง :
กายวิภาคและสรีรวิทยาของตับ
ตับ (Liver หรือ Hepar) เป็นอวัยวะที่อยู่ในช่องท้องด้านขวาบน ติดกับกระบังลม มีซี่ โครงคลุมอยู่ด้านหน้า ด้านล่างเป็น ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่ส่วนกลาง ด้านซ้ายของตับเป็นกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนดูโอเดนัมและตับอ่อน (pancreas) ตับอ่อนแม้จะมีชื่อคล้ายตับแต่อยู่คนละข้างของช่องท้อง และมีหน้าที่คนละอย่างไม่เหมือนกันเลย
- รูปร่างและขนาดตับมีขนาด ยาวประมาณ 21-22.5 ซม. (เซนติเมตร) กว้างประมาณ 15-17.5 ซม. หนาประมาณ 10-12.5 ซม. น้ำหนักประมาณ 1,500-2,000 กรัม แบ่งออกเป็นสองกลีบ (Lobe) ซ้ายและขวา สีของตับเป็นสีน้ำตาลปนแดง ลักษณะความนุ่มแข็งประมาณนุ่มกว่ายางลบเล็กน้อย รูปร่างโดยทั่วไปคล้ายสามเหลี่ยมหรือรูปลิ่ม
- หน้าที่ของตับ
- กำจัดสิ่งที่เป็นพิษจากเลือด (Detoxify)
- สร้างน้ำดี เพื่อให้ไหลออกจากตับไปทางท่อน้ำดีแล้วลงไปสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อทำหน้าที่ย่อยอาหารพวกไขมัน
- ทำหน้าที่ทางภูมิคุ้มกัน โดยเซลล์ในตับที่เรียกว่าคุปเฟอร์เซลล์ (Kupffer cells) เช่น การจับกินเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราเป็นต้น
- สร้างโปรตีนชนิด Albumin เข้าสู่กระแสเลือด
- สร้างไขมันโคเลสเตอรอล (Cholesterol) เข้าสู่กระแสเลือด
- เปลี่ยนน้ำตาลกลูโคส (Glucose) ที่เหลือใช้เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิด Glycogen แล้วสะสมไว้ในตับ
- ปรับระดับของกรดอะมิโน (Amino acids) เพื่อใช้ในการสร้างโปรตีน
- สะสมเหล็กที่เกิดจากการสลายตัวของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin, เม็ดเลือดแดง)เพื่อนำไปใช้สร้างฮีโมโกลบินต่อไป
- เปลี่ยนแอมโมเนีย (Ammonia) เป็นสารยูเรีย (Urea) เพื่อขับเป็นของเสียออกทางปัสสาวะ
- สร้างสารที่จำเป็นในการทำให้เลือดแข็งตัว
- เซลล์ที่เป็นส่วนประกอบของตับ ประกอบด้วย
- เซลล์ตับ (Liver cells) หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า Hepatocytes เซลล์ชนิดนี้จะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมเรียงตัวกันเป็นแถวเรียกว่า Liver cell cords ซึ่ง Liver cell cords เหล่านี้จะเรียงกันหลายๆ Cords เป็นวงกลมรอบหลอดเลือดดำซึ่งอยู่ตรงศูนย์กลางที่เรียกว่า Central vein ซึ่ง Central vein นี้เกิดจากการรวมตัวกันของหลอดเลือดฝอยที่อยู่ระหว่าง Liver cell cord ที่เรียกว่า Sinusoids ซึ่งช่องระหว่าง Liver cells และ Sinusoids เรียกว่า Space of Disse ซึ่งเป็นทางผ่านของน้ำเหลือง
Liver cell cords และ Central vein หนึ่งหน่วยเรียกว่า Liver lobule ระหว่าง Liver lobule แต่ละอันที่มาอยู่ติดกัน จะมีบริเวณรูปร่างสามเหลี่ยมที่เรียกว่า Portal triads ภาย ใน Portal triads นี้จะประกอบด้วยท่อน้ำดีขนาดเล็กที่รับน้ำดีมาจากทางระบายน้ำดี (Bile cana liculi), หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ เส้นประสาท และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน(Connective tissue ) - เซลล์ของท่อน้ำดี (Bile duct epithelial cells) จะมีลักษณะเป็นแท่ง Columnar cells บุท่อน้ำดีตั้งแต่ภายในตับจนถึงภายนอกตับ หน้าที่ส่วนใหญ่คือการดูดซึมน้ำและเกลือแร่
- คุปเฟอร์เซลล์ (Kupffer cells) เป็นเซลล์ที่อยู่ในพวก Macrophage ทำหน้าที่จับกิน (Phagocytose) สิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคที่ผ่านมาใน Sinusoids ตำแหน่งของ Kupf fer cells จะอยู่ในผนังของ sinusoids สลับกับเซลล์บุผนังหลอดเลือดตามปกติ (Endothelial cells)
- หลอดเลือด เส้นประสาท เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ตับได้เลือดแดงจากหลอดเลือดแดงชื่อ Hepatic artery ซึ่งคิดเป็น 25% ของเลือดที่ผ่านตับ ส่วนอีก 75% จะเป็นเลือดที่ผ่านตับจากหลอดเลือดดำ ชื่อ Portal vein ซึ่งรับเลือดดำมาจากกระเพาะอาหาร ลำไส้ ม้าม แล้วมาผ่านตับ ก่อนรวมกันอีกครั้งกลายเป็นหลอดเลือดดำชื่อ Hepatic vein เพื่อกลับเข้าหัวใจซีกขวาต่อไป
- เซลล์ตับ (Liver cells) หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า Hepatocytes เซลล์ชนิดนี้จะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมเรียงตัวกันเป็นแถวเรียกว่า Liver cell cords ซึ่ง Liver cell cords เหล่านี้จะเรียงกันหลายๆ Cords เป็นวงกลมรอบหลอดเลือดดำซึ่งอยู่ตรงศูนย์กลางที่เรียกว่า Central vein ซึ่ง Central vein นี้เกิดจากการรวมตัวกันของหลอดเลือดฝอยที่อยู่ระหว่าง Liver cell cord ที่เรียกว่า Sinusoids ซึ่งช่องระหว่าง Liver cells และ Sinusoids เรียกว่า Space of Disse ซึ่งเป็นทางผ่านของน้ำเหลือง
กายวิภาคและสรีรวิทยาถุงน้ำดีและท่อน้ำดี
- ตำแหน่งถุงน้ำดี (Gall bladder) เป็นอวัยวะที่อยู่ทางด้านล่างของตับ ยึดอยู่กับตับด้วยพังผืดที่เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่ง
- รูปร่างและขนาด
ถุงน้ำดีมีรูปร่างเป็นถุงขนาด ยาวประมาณ 7.6-10.2 ซม. กว้างประ มาณ 2-3 ซม. หนาประมาณ 1-2 ซม. ผนังหนาประมาณ 2 มิลลิเมตร ภายในมีน้ำดีที่ผลิตออก มาจากตับสะสมอยู่ น้ำดีเป็นของเหลวที่เหนียวๆสีเขียวเข้ม ปริมาตรประมาณ 10 ซีซี (Cubic centrimeter, cc.) ในเวลาที่ต้องการย่อยอาหาร ถุงน้ำดีจะบีบน้ำดีออกจากถุงน้ำดี ไหลไปตามท่อน้ำดี (Cystic duct) ไปรวมกับท่อน้ำดีจากตับ (Common hepatic duct) กลายเป็นท่อน้ำดีรวม (Common bile duct) แล้วไหลไปลงลำไส้เล็กส่วนต้นที่เรียกว่าดูโอเดนัม (Duodenum) เพื่อย่อยอาหารพวกไขมัน ทั้งนี้ ท่อน้ำดี จะเริ่มที่ท่อน้ำดีขนาดเล็กภายในตับ อยู่ติดกับเซลล์ตับ ที่เรียกว่า Bile canaliculi จากนั้นจึงรวมกันเป็นท่อน้ำดีที่ใหญ่ขึ้นอยู่ใน Portal triads แล้วโผล่พ้นตับออก มาข้างนอกตับเรียกว่า Hepatic duct ซึ่งมีซ้ายและขวา ซึ่งต่อมารวมกันเป็นท่อเดียวเรียกว่า Common hepatic duct ซึ่งจะมารวมกับท่อน้ำดี Cystic duct จากถุงน้ำดี กลายเป็นท่อน้ำดีรวม Common bile duct โค้งผ่านตับอ่อนไปเปิดที่ลำไส้เล็กส่วน Duodenum บริเวณที่เรียกว่า Ampulla of Vater - หน้าที่ของถุงน้ำดี
- เป็นที่เก็บสะสมน้ำดี (Bile) เพื่อบีบออกไปย่อยอาหารพวกไขมันในลำไส้เล็กในเวลาที่เหมาะสม
- ทำให้น้ำดีเข้มข้นขึ้น (Concentrate) โดยการดูดซึมน้ำออกไปจากน้ำดีโดยการทำหน้าที่ของเซลล์บุผนังถุงน้ำดี
- บีบตัวขับน้ำดีออกไปโดยการกระตุ้นจากฮอร์โมน Cholecystokinin ซึ่งหลั่งออก มาจากเซลล์ในลำไส้เล็กส่วน Duodenum โดยการกระตุ้นของอาหารพวกไขมัน
- ลดการเป็นกรดของน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร (Neutralize the gastric acid) เพื่อไม่ให้กรดเข้าสู่ลำไส้เล็ก
- หน้าที่ของท่อน้ำดี คือ ทางเดินของน้ำดีจากตับและจากถุงน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็ก
ที่มา https://haamor.com/th/กายวิภาคตับและระบบทางเดินน้ำดี/