การตรวจเลือด การเจาะเลือดตรวจ (Blood test)


1,683 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

หลอดเลือด 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ข้อห้ามตรวจเลือดมีอะไรบ้าง?

ไม่มีข้อห้ามในการตรวจเลือด เพราะเป็นการตรวจที่เกือบไม่มีผลข้างเคียง/ผลแทรกซ้อน ยกเว้น ในผู้ป่วยที่เลือดออกแล้วหยุดยากที่ต้องกดรอยเจาะเลือดให้แน่นและนาน เพราะเลือดที่ออกจากแผลเจาะจะหยุดยาก หรือ แผลเจาะเลือดอาจติดเชื้อถ้าผู้เจาะเลือดไม่ได้เป็นบุคคลา กรทางการแพทย์ และ/หรือใช้อุปกรณ์การเจาะที่ไม่สะอาดพอ

ผลข้างเคียงจากการตรวจเลือดมีอะไรบ้าง?

ผลข้างเคียง/ผลแทรกซ้อนจากการตรวจเลือดดังกล่าวแล้วในหัวข้อ ข้อห้าม ดังนั้นเมื่อเจาะเลือด/ตรวจเลือดแล้วกดรอยเจาะเลือดไม่ดี นอกจากเลือดอาจออกมาก ยังอาจเกิดรอยห้อเลือดได้ซึ่งจะหายได้เองเช่นเดียวกับรอยห้อเลือดทั่วไป

ขั้นตอนการตรวจเลือดเป็นอย่างไร?

ขั้นตอนในการตรวจเลือดมีดังนี้

  • การพบแพทย์ การตรวจเลือดที่ถูกต้องควรเป็นการตรวจตามคำแนะนำของแพทย์ คุณควรพบแพทย์ก่อน เพื่อการพูดคุยปรึกษาประวัติทางการแพทย์ต่างๆของคุณ เช่น การใช้ยาต่าง ๆ ข้อบ่งชี้ในการตรวจเลือดของคุณ และการตรวจร่างกาย ทั้งนี้รวมถึง น้ำหนักตัว ส่วนสูง การตรวจสัญญาณชีพ (ชีพจร อัตราการหายใจ อุณหภูมิร่างกาย และความดันโลหิต) ซึ่งทั้งหมดจะเป็นข้อมูลสำคัญเพื่อช่วยแพทย์ในการแปลผลที่ได้จากการตรวจเลือดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  • การเตรียมตัวก่อนตรวจเลือด
    • การงดอาหาร น้ำดื่ม และยาต่างๆ ก็เพื่อให้การตรวจได้ผลถูกต้อง โดยไม่ได้รับการรบกวนจากสิ่งที่บริโภค นอกจากค่าการตรวจจะถูกต้องแม่นยำแล้ว ยังสามารถใช้เปรียบ เทียบค่าการตรวจในแต่ละครั้งได้แม่นยำ เพราะไม่มีตัวกวนจากสิ่งที่บริโภค
    • อย่างไรก็ตาม มีการตรวจเลือดบางชนิด ที่จะไม่ถูกรบกวนจากการบริโภค การตรวจจึงทำได้เลย ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร งดยา เช่น การตรวจเลือด ซีบีซี (CBC) การตรวจเพาะเชื้อจากเลือด เป็นต้น
    • ดังนั้นในการตรวจเลือด จึงควรถามแพทย์ พยาบาลให้แน่นอนว่า ต้องงดอาหาร น้ำดื่ม ยา หรือไม่ และจะกลับมาบริโภคได้เมื่อไหร่ เพราะเจ้าหน้าที่ที่เจาะเลือด จะไม่ทราบข้อ มูลการตรวจของคุณ จึงไม่สามารถแนะนำ และตอบคำถามของคุณได้ถูกต้อง
    • เนื่องจากการตรวจเลือด มักเจาะเลือดที่ข้อพับแขน การสวมใส่เสื้อแขนสั้น จึงสะดวกกว่า ถ้าใส่เสื้อแขนยาว ควรเลือกสีเข้ม เพราะการใส่สีขาว เมื่อเปื้อนเลือดจะเห็นได้ชัด และซักออกได้ยาก
    คือ การงดอาหาร น้ำดื่ม และยาต่างๆก่อนตรวจเลือด ซึ่งมักเป็นระยะเวลาประมาณ 8-12 ชั่วโมง (บางตำราว่า 6-8 ชั่วโมงน่าจะใช้ได้) ซึ่งโดยทั่วไปเพื่อความสะดวกมักตรวจเลือดประมาณ 8 โมงเช้า ดังนั้น แพทย์ พยาบาลจึงแนะนำให้งดอา หาร น้ำดื่มตั้งแต่เที่ยงคืนไปจนกว่าจะเจาะ/ตรวจเลือดแล้วเสร็จ ผู้ป่วยจึงควรเตรียมยาต่างๆที่บริโภคอยู่มาด้วย เพื่อการกินยาตามปกติหลังการตรวจเลือดเสร็จสิ้น ส่วนอาหาร สถานพยา บาลที่บริการการตรวจเลือดมักมีอาหารขายอยู่แล้ว
  • วิธีตรวจเลือด และการดูแลตนเองหลังตรวจเลือด โดยทั่วไป

    เจ้าหน้าที่จะให้ผู้ป่วยนั่งเก้าอี้ แต่ถ้าผู้ป่วยอยู่ในรถนอน หรือผู้ป่วยที่ต้องนอนเตียง ก็จะตรวจเลือด/เจาะเลือดได้ในท่านอน ทั้งนี้ตำแหน่งที่หลอดเลือดจะเห็นเด่นชัด คลำพบ และมีขนาดใหญ่พอดีกับการตรวจ คือหลอดเลือดที่ข้อพับแขนด้านใดก็ได้ที่ผู้ป่วยสะดวก หรือที่เห็นหลอดเลือดชัดเจน ผู้เจาะจะมีวิธีกระตุ้นให้หลอดเลือด เด่นชัด โดยใช้สายรัด รัดเหนือหลอดเลือดที่จะเจาะ อาจให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวข้อพับ หรือตบเบาๆ อาจให้ผู้ป่วยกำมือ เมื่อเห็นและ/หรือคลำหลอดเลือดได้ชัดเจน ก็จะเช็ดทาบริเวณที่จะเจาะเลือดเพื่อทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อแอลกอฮอล์ เมื่อน้ำยาแห้งก็จะทำการเจาะเลือดโดยใช้เข็มสะอาดขนาดเล็ก ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง และดูดเลือดเข้ากระบอกบรรจุให้ได้ปริมาณเลือดตามความต้องการตรวจ ปลดสายรัด (ระหว่างดูดเลือดผู้ป่วยจะกำมือ หรือแบมือปกติก็ได้ ไม่มีผลต่อการไหลของเลือด) เมื่อได้ปริมาณเลือดครบ ก็จะถอนเข็มออก โดยมีสำลีสะอาดกดรอยเจาะเลือด และจะปิดเทปไว้เพื่อรัดให้สำลีแน่น เป็นการสิ้นสุดการเจาะเลือด ถ้าผู้ป่วยไม่มีนัดตรวจอื่นที่ต้องงดอาหาร ก็สามารถกินอาหาร กินยาได้ตามปกติ กลับไปทำงาน กลับบ้าน หรือกลับไปพบแพทย์ได้ตามปกติ หรือพบแพทย์ตามวันนัดฟังผล เจ้าหน้าที่/แผนกเจาะเลือดไม่มีหน้าที่แจ้งผลตรวจกับผู้ป่วยหรือกับครอบครัวผู้ ป่วย

    ทั้งนี้ ก่อนเจาะเลือด เจ้าหน้าที่จะเตรียมอุปกรณ์สำหรับการนี้ให้พร้อมก่อน คือ อ่านใบสั่งจากแพทย์ เตรียมหลอดใส่เลือด(ปิดชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวผู้ป่วย วันที่) เข็ม กระบอกเจาะ สายรัดแขน หมอนหนุนแขน สำลีแอลกอฮอล์ และ สำลีเปล่าที่ใช้กดรอยเจาะ เป็นต้น

    บางครั้งในการตรวจซีบีซี เพียงการตรวจเดียว ซึ่งสามารถใช้ปริมาณเลือดเป็นหยดได้ การตรวจจึงอาจโดยการใช้ปลายเข็มเจาะจากปลายนิ้วที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน เช่น นิ้วนาง ทั้งนี้ภาย ใต้เทคนิคที่สะอาดปลอดภัยเช่นเดียวกับการเจาะเลือด

    อนึ่ง ผู้ป่วยต้องดูแลตนเองหลังเจาะเลือด โดยต้องช่วยกดสำลีให้แน่น หรือ พับข้อแขนให้แน่นด้วย โดยทั่วไปประมาณ 1-2 นาที เลือดก็จะหยุดไหล อย่ารีบทิ้งสำลี รอให้แน่ใจจริงๆว่าเลือดหยุดแน่นอน จึงทิ้งสำลีในถังขยะทั่วไปได้ แต่ถ้าเห็นสำลีชุ่มเลือด หาผ้าสะอาดกดทับรอยเจาะเลือดให้แน่นพร้อมต้องรีบกลับไปที่แผนกที่ผู้ป่วยรักษาอยู่ หรือ แผนกฉุกเฉิน เพราะที่ห้องเจาะเลือดไม่มีแพทย์ พยาบาลที่จะดูแลเรื่องนี้

  • การแปลผล
    การแปลผลการตรวจเลือดที่ถูกต้อง ต้องเป็นการแปลผลจากแพทย์เท่า นั้น ดังได้แนะนำตั้งแต่แรกแล้วว่า ก่อนตรวจเลือดควรพบแพทย์ก่อน ซึ่งแพทย์จะนัดฟังผลตรวจ ดังนั้นถ้าเป็นโปรแกรมรับตรวจเลือดโดยไม่มีการพบแพทย์ก่อน หรือผู้แปลผลไม่ใช่แพทย์ คุณควรไตร่ตรองก่อนตัดสินใจตรวจ ไม่ควรดูที่ราคาเพียงอย่างเดียว นอกจากนั้น ผลการตรวจเลือดระหว่างห้องตรวจ/ห้องแลป (Lab หรือ laboratory) ต่างๆอาจไม่ตรงกันเพราะต่างกันในเทคนิค (เช่น ยี่ห้อเครื่องตรวจ หรือ น้ำยาตรวจ) ดังนั้น ในการตรวจจึงจำเป็นต้องมีค่าปกติของแต่ละการตรวจกำกับในใบรายงานผลด้วยเสมอ เมื่อท่านอ่านผลเอง ควรต้องดูค่าปกติของแต่ละการตรวจควบคู่ไปด้วยเสมอ
  • การรับทราบผล ในการตรวจเลือด มี 2 กรณี คือ ถ้าต้องการผลรีบด่วน มักจะได้ผลในระยะเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง (ค่าใช้จ่ายในการตรวจจะสูงขึ้น และ ผลตรวจที่ได้อาจผิดพลาดได้) ซึ่งจะใช้เฉพาะกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นหลัก แต่โดยทั่วไป ผลตรวจเลือดโดยทั่วไปจะได้รับผลตรวจจากห้องแลปประมาณ 24 ชั่วโมงหลังตรวจ แต่การฟังผลมักขึ้นกับการตรวจอื่นๆที่แพทย์ต้องใช้แปลผลร่วมกัน เช่น เอกซเรย์ หรือผลจากการตรวจทางพยาธิวิทยา รวมทั้งความรุนแรงของอาการผู้ป่วย และวันทำงานของแพทย์ด้วย

ตัวอย่าง คำย่อ ในการตรวจเลือดพื้นฐานที่ควรทราบ

คำย่อที่ใช้ นิยมอ่านตรงตามอักษร เช่น CBC อ่านว่า ซี-บี-ซี BUN อ่านว่า บี-ยู-เอน เป็นต้น ซึ่งการตรวจที่ใช้บ่อย ใช้คำย่อ ดังนี้


ที่มา   https://haamor.com/th/ตรวจเลือด/

อัพเดทล่าสุด