กายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบทางเดินปัสสาวะ (Anatomy and physiology of Urinary tract)


3,058 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

กระเพาะปัสสาวะ  ไต  ท่อไต  ท่อปัสสาวะ  ระบบทางเดินปัสสาวะ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

บทนำ

ระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary system, Urine มาจากภาษาลาติน แปลว่าน้ำจากไต) คืออวัยวะต่างๆที่ร่วมกันทำหน้าที่ในการผลิตปัสสาวะเพื่อการขับน้ำส่วนเกิน และของเสียต่างๆออกจากร่างกาย ทั้งนี้รวมทั้งเกลือแร่ต่างๆ โดยเฉพาะเกลือโซเดียม (Sodium) เพื่อรักษาสม ดุลของเกลือแร่ในร่างกาย เพื่อการคงระดับความดันโลหิตในร่างกายให้ปกติ เพราะน้ำและเกลือโซเดียมจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการรักษาระดับความดันโลหิต

อวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ เริ่มจาก

กายวิภาคและสรีรวิทยาของไต

ไต ภาษาอังกฤษ คือ Kidney หรือทางแพทย์ใช้คำว่า Renal ที่มาจากภาษาลาติน หรือ Nephro ที่มาจากภาษากรีก (Nephros) ดังนั้นในทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับไต จึงมักใช้คำว่า Renal เช่น การทำงานของไต คือ Renal function โรคของไต คือ Renal disease เป็นต้น ส่วนวิชาแพทย์ด้านโรคไต คือ Nephrology หรือแพทย์ด้านโรคไต คือ Nephrologist เป็นต้น

ทั้งนี้ ในบทความนี้จะไม่กล่าวถึง กายวิภาคและสรีรวิทยาของไต เพราะได้แยกเขียนไว้ในอีกบทความ ขอให้อ่านเพิ่มเติมในบทนั้น คือ บทความเรื่อง ไต

อย่างไรก็ตาม โรคของไตที่พบได้บ่อย คือ โรคไตเรื้อรังที่เป็นต้นเหตุของภาวะไตวาย และโรคนิ่วในไต นอกนั้น อาจพบได้ประปราย เช่น การอักเสบของไตโดยไม่มีการติดเชื้อ ไตวายเฉียบพลัน (เช่น จากผลข้างเคียงของยา หรือ จากการบริโภคสารพิษบางชนิด เช่น เห็ดพิษต่างๆ) และการได้รับอุบัติเหตุต่อไต จึงส่งผลให้เกิดไตวายเฉียบพลัน ส่วนโรคเนื้องอก และโรคมะเร็งไตเป็นโรคพบได้น้อย

กายวิภาคและสรีรวิทยาของท่อไต

ท่อไต (Ureter มาจากภาษากรีก แปลว่า ถ่ายปัสสาวะ) เป็นท่อที่เชื่อมต่อระหว่างไตกับกระเพาะปัสสาวะ จึงมี 2 ข้าง ทั้งซ้ายและขวา โดยอยู่ในด้านหลังของช่องท้อง ขนานและขนาบอยู่ทางด้านข้างทั้งซ้ายและขวาของกระดูกสันหลังช่วงเอว (Lumbar spine)

ท่อไตทั้ง 2 ข้าง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร โดยส่วนประกอบสำคัญของท่อไต คือ กล้ามเนื้อชนิดที่สามารถทำงานภายใต้ประ สาทอัตโนมัติ ซึ่งไม่ต้องรับคำสั่งจากสมอง เรียกว่า กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle หรือ Non-striated muscle หรือ Involuntary muscle) ส่วนด้านในของท่อจะปกคลุมด้วยเยื่อบุผิว(Epithelium)

ท่อไต มีหน้าที่สำคัญ คือ นำปัสสาวะจากไต เข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ดังนั้นจึงไม่ใช่อวัยวะสำคัญที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิต จึงสามารถผ่าตัดออกได้ โดยทำท่อจากไตผ่านออกสู่หน้าท้องภายนอกช่องท้องแทน (Nephrostomy)

โดยทั่วไป ไม่ค่อยพบโรคที่เกิดจากท่อไต แต่ที่พบได้ คือ โรคนิ่วในท่อไต ที่เกิดจากนิ่วในไตหลุดมาอุดตันในท่อไต และพบโรคมะเร็งท่อไตได้บ้างประปราย

กายวิภาคและสรีรวิทยาของกระเพาะปัสสาวะ

กระเพาะปัสสาวะ (Urinary bladder) เป็นอวัยวะลักษณะคล้ายถุง อยู่ในช่องท้องน้อย (อุ้งเชิงกราน) โดยอยู่ใต้ต่อกระดูกชิ้นล่างสุดของช่องท้อง คือ กระดูกหัวหน่าว (Pubic bone)

อวัยวะที่อยู่ติดด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะในผู้หญิง คือ มดลูกและช่องคลอด ส่วนในผู้ชาย คือ ลำไส้ใหญ่ตอนล่างที่เรียกว่า ลำไส้ตรง (Rectum)

ผนังของกระเพาะปัสสาวะ เป็นกล้ามเนื้อชนิดกล้ามเนื้อเรียบที่จะทำงานภายใต้การกำกับของประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมการหดและยืดตัวของกล้ามเนื้อ ส่วนการหดและยืดตัวของกระ เพาะปัสสาวะจะตามปริมาณน้ำปัสสาวะ

ในภาวะไม่มีน้ำปัสสาวะ จะคลำกระเพาะปัสสาวะทางหน้าท้องไม่ได้ เพราะกระเพาะปัสสาวะจะหดตัวจนมีขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นถุงก้อนเนื้อปริมาตรประมาณ 30 มิลลิลิตร แต่เมื่อมีปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะขยายตัวเป็นรูปไข่ และจะเริ่มรู้สึกปวดปัสสาวะเมื่อมีปริมาณปัสสาวะประมาณ 150-200 มิลลิลิตร โดยทั่วไป จะกลั้นปัสสาวะได้ในช่วงมีปริมาณปัสสาวะประ มาณ 300-500 มิลลิลิตร แต่บางครั้งกระเพาะปัสสาวะสามารถยืดขยายบรรจุปัสสาวะได้ถึงประ มาณ 1,000 มิลลิลิตร ซึ่งเมื่อกระเพาะปัสสาวะขยายใหญ่ขึ้น จะสามารถคลำได้ทางหน้าท้อง เป็นก้อนเนื้อกลม หยุ่นๆ อยู่เหนือกระดูกหัวหน่าว

หน้าที่ของกระเพาะปัสสาวะ คือ กักเก็บปัสสาวะ เพื่อรอให้ปัสสาวะได้มากพอที่จะกระตุ้นให้เกิดการบีบหดตัวของกล้ามเนื้อผนังกระเพาะปัสสาวะ เพื่อขับปัสสาวะออกจากร่างกาย

โรคของกระเพาะปัสสาวะที่พบได้บ่อย คือ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ นอกนั้นที่อาจพบได้ คือ โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะและโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

กายวิภาคและสรีรวิทยาของท่อปัสสาวะ

ท่อปัสสาวะ (Urethra เป็นคำมาจากภาษากรีก แปลว่า ทางผ่านของปัสสาวะ) คือ ท่อระบายน้ำปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะสู่ภายนอกร่างกาย

ท่อปัสสาวะในผู้หญิงและในผู้ชายจะต่างกัน

นอกจากทำหน้าที่เป็นทางระบายของปัสสาวะแล้ว ท่อปัสสาวะในผู้ชายยังทำหน้า ที่เป็นทางระบายออกของน้ำอสุจิ (น้ำกาม, Semen) เมื่อมีเพศเพศสัมพันธ์

ท่อปัสสาวะของเพศชาย มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ความยาวส่วนที่อยู่ในร่างกายจะประมาณ 3-5 เซนติเมตร ส่วนความยาวของส่วนที่อยู่นอกร่างกายในอวัยวะเพศจะประมาณ 15-20 เซนติเมตร

อนึ่ง ท่อปัสสาวะทั้งของเพศหญิงและเพศชาย เป็นอวัยวะที่ติดเชื้อได้บ่อย โดยเฉพาะจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ส่วนโรคอื่นๆพบได้น้อยมากๆ เช่น โรคมะเร็ง เป็นต้น
ที่มา   https://haamor.com/th/กายวิภาคระบบทางเดินปัสสาวะ/

อัพเดทล่าสุด