กายวิภาคและสรีรริทยาของกล้ามเนื้อนอกลูกตา (Anatomy and physiology of extraocular muscle)


3,821 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ดวงตา  ระบบตา 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

บทนำ

ตา (Eye) เป็นอวัยวะสัมผัสที่สำคัญชนิดหนึ่งของคนเรา ที่ให้การสัมผัสออกมาในรูปการมองเห็น ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มที่เกี่ยวกับการมองเห็น ได้แก่
  2. ส่วนที่ช่วยหรือสนับสนุนการเห็นให้ดีขึ้น ได้แก่
    • คิ้ว ทำหน้าที่ช่วยป้องกันเหงื่อหรือสิ่งสกปรกจากหน้าผากไหลเข้าตา
    • หนังตา/เปลือกตา ทำหน้าที่ เปิด ปิด ปกป้องดวงตา
    • เยื่อบุตา/เยื่อตา ต่อมสร้างน้ำตา ทางเดินน้ำตา ม่านตา ทำหน้าที่ปรับแสงให้เข้าตาในจำนวนที่พอเหมาะ ได้เขียนแยกไว้ในบทความเรื่อง กายวิภาคและสรีรวิทยาของตา (อ่านเพิ่ม เติมในบทนั้น) และ
    • กล้ามเนื้อนอกลูกตา (Extraoccular muscle หรือ เรียกย่อว่า อีโอเอ็ม/EOM) ทำหน้าที่ช่วยกลอกลูกตาให้มองเห็นได้ทิศทางมากขึ้น ซึ่งบทนี้จะกล่าวถึงเฉพาะเรื่องนี้ คือ “กายวิภาคและสรีรริทยาของกล้ามเนื้อนอกลูกตา(Extraocular muscle) “

กล้ามเนื้อนอกลูกตามีกี่มัด? แต่ละมัดทำหน้าที่อะไร?

ในตาแต่ละข้าง มีกล้ามเนื้อนอกลูกตา (EOM) ที่อยู่ในเบ้าตา และทำหน้าที่ช่วยในการกลอกลูกตาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็น โดยมีอยู่ด้วยกัน 6 มัด ร่วมกับกล้ามเนื้อที่ใช้ยกหนังตา (Levator palpebrae) อีก 1 มัด รวมเป็น 7 มัด

กล้ามเนื้อนอกลูกตา (EOM) 6 มัด ที่ช่วยกลอกลูกตาประกอบด้วย

  1. กล้ามเนื้อในแนวนอน ช่วยกลอกลูกตาในแนวราบ ซ้ายขวากลอกไปหัวตา (Adduction/กลอกเข้าด้านใน) หรือกลอกไปทางหางตา (Abduction/กลอกออกด้านนอก) ได้แก่
  2. กล้ามเนื้อในแนวตั้ง (Vertical muscle) ได้แก่ กล้ามเนื้อ Superior rectus (SR) และกล้ามเนื้อ Inferior rectus (IR)
    • กล้ามเนื้อ Superior rectus (SR) ทำหน้าที่กลอกลูกตาขึ้นบนเป็นหลัก ร่วมกับทำหน้าที่หมุนลูกตาเข้าใน

      อนึ่ง ถ้าเปรียบลูกตาดำเหมือนหน้าปัดนาฬิกา เริ่มจากบริเวณ 12 นาฬิกา โดยหากลูกตา (ส่วนตาดำ) มาอยู่ที่ 11 หรือ 1 นาฬิกา แสดงว่าลูกตามีการหมุนเกิดขึ้น (หมุน = Tor sion) ถ้าหมุนลูกตาจากบริเวณ 12 นาฬิกา เข้ามาด้านจมูก คือ มาที่ 1 นาฬิกาสำหรับตาขวา หรือ เวลา 11 นาฬิกาสำหรับตาซ้าย เรียกว่า การหมุนเข้าด้านใน หรือ Intorsion ส่วนการหมุนออกด้านนอก หรือ Extortion หรือการหมุนลูกตาออกด้านนอก ก็ตรงกันข้ามกับการหมุนเข้าด้านใน คือการหมุนที่ทำให้ จาก 12 นาฬิกาสำหรับตาขวาไปทางหางตา คือไปที่ 11 นาฬิกา หรือไปที่ 1 นาฬิกาสำหรับตาซ้าย หรือหมุนทวนนาฬิกาสำหรับตาขวา และหมุนตามนาฬิกาสำ หรับตาซ้าย

      โดยสรุป ถ้าตามองตรงมาข้างหน้าในระดับตา

    • ตัว SR จะทำหน้าที่กลอกตาขึ้นบนเป็นหลัก ตามด้วย Intorsion (หมุนลูกตาเข้าด้านใน) และ กลอกลูกตาเข้าด้านใน
    • ส่วน IR ทำหน้าที่กลอกตาลงล่าง ตามด้วย Extorsion (หมุนลูกตาออกด้านนอก) ร่วมกับ กลอกลูกตาเข้าด้านใน

      ทั้งนี้ ทั้งกล้ามเนื้อ SR และ กล้ามเนื้อ IR เลี้ยงด้วยเส้นประสาทสมองเส้นที่ 3 (CN III)

    • ตัว SO ทำหน้าที่ Intorsion (หมุนลูกตาเข้าด้านใน) เป็นหลักตามด้วยกลอกตาลงล่าง และ กลอกลูกตาออกด้านนอก ทั้งนี้ กล้ามเนื้อ SO เลี้ยงโดยประสาทสมอง เส้นที่ 4 (CN IV)
    • ส่วน IO ทำหน้าที่ Extorsion (หมุนลูกตาออกด้านนอก) เป็นหลักตามด้วยกลอกตาขึ้นบน และ กลอกลูกตาออกด้านนอก และกล้ามเนื้อ IO เลี้ยงโดยประสาทสมองเส้นที่ 3 (CN III)
    กล้ามเนื้อเฉียง (Oblique muscle) ได้แก่ กล้ามเนื้อ Superior oblique (SO) และกล้ามเนื้อ Inferior oblique (IO)
  3. กล้ามเนื้อยกหนังตา ใช้ยกหนังตาเพื่อเปิดตา/ลืมตา ซึ่งกล้ามเนื้อมัดนี้เลี้ยงด้วยประสาทสมอง เส้นที่ 3 (CN III)

อนึ่ง ตัวกล้ามเนื้อในกลุ่มกล้ามเนื้อนอกลูกตา (EOM) เกือบทุกมัด ยกเว้น กล้ามเนื้อเฉียง IO จะเริ่มมาจากเนื้อเยื่อรูปวงกลมที่เรียก Annulus of Zinn ซึ่งอยู่ที่มุมยอดของเบ้าตา (Apex ของ orbit) กล่าวคือ เบ้าตาเป็นกระดูกหลายชิ้นเป็นรูปกรวย (Cone) โดยมุมยอดอยู่ด้านลึก และมีลักษณะเป็นวงกลม ส่วนปากกรวยอยู่ด้านหน้า และกรวยนี้เป็นกรวยที่ไม่สมดุล (Asymmetrical) โดยด้านในจะเป็นเส้นตั้งฉาก ด้านนอกเป็นเส้นเฉียง ดังนั้น ลูกตาจึงไม่ได้วางตั้งฉากกับตัวกรวย

ตัวกล้ามเนื้อทั้งหมดนอกลูกตา (EOM) จะมาเกาะที่บริเวณตาขาวในจุดต่างๆโดยรอบต่อลูกตาดำ เปรียบคล้ายสาแหรก ส่วนที่เป็นจุดสอดไม้คาน คือส่วนยอดตรงกับ Annulus of Zinn ส่วนกระบุงคือลูกตา ส่วนทวายข้างๆรอบกระบุงเสมือนกล้ามเนื้อนอกลูกตา EOM ซึ่งตัวกล้าม เนื้อทั้งหมด เหมือนสายสาแหรกรัดลูกตาเอาไว้ไม่ให้หลุดออกมาจากเบ้าตา กล่าวคือ กล้าม เนื้อทั้งหลายช่วยกันก่อเป็นรูปกรวย โดยล้อไปกับเบ้าตา

ภายในกรวย ประกอบด้วยประสาทตาเป็นหลัก และเนื้อเยื่ออื่นๆ เช่น หลอดเลือด และ พังผืด เพื่อช่วยยึดลูกตาไว้

กล้ามเนื้อนอกลูกตา EOM เป็นกล้ามเนื้อชนิดที่เรียกว่า กล้ามเนื้อลาย (Striated mus cle) แต่ละมัดประกอบด้วยเส้นใยที่มีขนาดเล็ก ละเอียด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-17 ไมครอน (Micron) เมื่อเทียบกับกล้ามเนื้อสะโพกที่มีเส้นใหญ่ขนาดประมาณ 90-100 ไมครอน เป็นกล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทมาควบคุมในอัตราสูง คือ 1 เส้นใยประสาท : 12 เส้นใยกล้ามเนื้อ ในขณะที่กล้ามเนื้อบริเวณอื่นๆของร่างกายอยู่ในอัตราเส้นใยประสาทต่อเส้นใยกล้ามเนื้อเป็น 1 : 125 ต่างกันประมาณ 10 เท่า จึงทำให้กล้ามเนื้อนอกลูกตา EOM มีการทำงานที่ละเอียดอ่อนกว่ากล้ามเนื้ออื่นๆในร่างกาย

ทั้งนี้ หากจะสรุปการทำงานของกล้ามเนื้อ EOM ทั้ง 6 มัด จะเป็นดังนี้

MR กลอกลูกตาไปด้านใน เลี้ยงด้วยประสาทสมอง เส้นที่ 3
LR กลอกลูกตาไปด้านข้าง เลี้ยงด้วยประสาทสมอง เส้นที่ 6
SR กลอกลูกตาขึ้นบน หมุนลูกตาเข้าใน กลอกลูกตาเข้าใน เลี้ยงด้วยประสาทสมอง เส้นที่ 3
IR กลอกลูกตาลงล่าง หมุนลูกตาออกนอก กลอกลูกตาเข้าใน เลี้ยงด้วยประสาทสมอง เส้นที่ 3
SO หมุนลูกตาเข้าใน กลอกลูกตาลงล่าง กลอกลูกตาออกนอก เลี้ยงด้วยประสาทสมอง เส้นที่ 4
IO หมุนลูกตาออกนอก กลอกลูกตาขึ้นบน กลอกลูกตาออกนอก เลี้ยงด้วยประสาทสมอง เส้นที่ 3

อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหว หรือ กลอกไปมาของลูกตา ยังต้องมีระบบประสาทมาควบ คุมให้ไปทางเดียวกันในตา 2 ข้าง คือ ถ้าในตาเดียวกัน กล้ามเนื้อมัดหนึ่งทำงาน อีกมัดควรจะพัก หรืออีกมัดควรจะเสริม ยกตัวอย่าง ตาขวาผู้ป่วยจะมองมาด้านในทางจมูก กล้ามเนื้อ MR ทำงาน ทำให้ตาขวากลอกเข้าใน ขณะเดียวกัน กล้ามเนื้อ LR ต้องพักไม่ทำงาน เพราะถ้าทำ งานจะดึงตาออกด้านนอก ตาจะไม่กลอกเข้าด้านใน ขณะเดียวกันตาขวากลอกเข้าใน คือ มองมาทางซ้าย ตาซ้ายต้องมองมาทางซ้ายด้วย (ใช้กล้ามเนื้อ LR) ตาซ้ายจะใช้กล้ามเนื้อ MR หรือมองมาทางขวาไม่ได้ นั่นคือ เมื่อตามองซ้าย ตาขวา กล้ามเนื้อ MR ทำงานและตาซ้าย กล้ามเนื้อ LR ทำงาน ตาจึงจะไปด้วยกัน ทั้งหมดอยู่ภายในการควบคุมของระบบประสาทควบ คุมกล้ามเนื้อตาโดยเฉพาะ

เนื่องจากกลุ่มกล้ามเนื้อ EOM ถูกควบคุมด้วยประสาทสมองเส้นที่ 3, 4, 6 ดังนั้น แพทย์จึงสามารถตรวจการทำงานของประสาทตาที่ 3, 4, 6 ได้ โดยตรวจดูว่ากล้ามเนื้อ EOM นั้นทำ งานปกติหรือไม่
ที่มา   https://haamor.com/th/กายวิภาคกล้ามเนื้อนอกลูกตา/

อัพเดทล่าสุด