การขูดมดลูก (Fractional dilatation and curettage)


4,905 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

มดลูก  ระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

การขูดมดลูกคืออะไร?

เมื่อเอ่ยถึงการขูดมดลูก (Dilatation and curettage) ผู้หญิงทั้งหลายมักจะมีความหวาด กลัว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องที่เกี่ยวข้องกับการขูดมดลูก และนอกจาก นี้ มักจะมีความรู้สึกว่าการขูดมดลูกนั้น จะสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกายอย่างมาก ลองอ่านบท ความนี้ดูนะคะ อาจทำให้เรารู้สึกว่าการขูดมดลูกไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

การขูดมดลูกนั้น เป็นการขูดภายในโพรงมดลูก อาจเพื่อเอาเยื่อบุภายในโพรงมดลูกออกมา หรือ อาจขูดเอาชิ้นเนื้อที่ตกค้างอยู่ภายในโพรงมดลูกหลังการแท้งบุตร หรือหลังการคลอดปกติ (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง ระยะหลังคลอด)

ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการขูดที่สำคัญจึงมี 2 ประการ ได้แก่

  • เพื่อการวินิจฉัยโรค
  • และเพื่อการรักษาโรค

ซึ่งจะได้กล่าวถึงในรายละเอียดต่อไป

การขูดมดลูกมีกี่แบบ? และมีขั้นตอนอย่างไร?

การขูดมดลูกมี 2 แบบ ได้แก่ การถ่างขยายปากมดลูกร่วมกับการขูดมดลูก (Dilatation and curettage) และการขูดมดลูกแบบแยกส่วน (Fractional curettage)

ในส่วนของการขูดมดลูกโดยทั่วไป สามารถทำที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกได้

  • การขูดมดลูกด้วยการถ่างขยายปากมดลูก (Dilatation and curettage) โดยแพทย์จะ
    • ทายาฆ่าเชื้อที่อวัยวะเพศภายนอกและผิวหนังบริเวณใกล้เคียง
    • ปูคลุมผ้าปราศจากเชื้อ
    • ทำการตรวจภายใน
    • และใส่เครื่องมือเพื่อช่วยเปิดปากมดลูก

    หลังจากนั้น จะใส่เครื่องมือที่มีชื่อเรียกว่า ทีนาคูลัม (Tenaculum) เพื่อจับปากมดลูก ในช่วงนี้แพทย์จะทำการฉีดยาชาที่บริเวณคอของปากมดลูกเพื่อระงับอาการปวดก่อนขูด ต่อจากนั้น แพทย์จะทำการวัดขนาดความยาวของโพรงมดลูกด้วยเครื่องมือวัดที่เรียกว่า ยูเทอรีน ซาวด์(Uterine sound) และทำการขยายปากมดลูกด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า ฮีการ์ ไดเลเตอร์ (Hegar’s dilator) หลังจากนั้น จึงสอดใส่เครื่องมือขูดมดลูก เพื่อขูดเยื่อบุภายในโพรงมดลูก ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที

  • ส่วนการขูดมดลูกแบบแยกส่วน (Fractional curettage) นั้น มีขั้นตอนทั่วไปเหมือนการถ่างขยายปากมดลูกร่วมกับการขูดมดลูก แตกต่างกันที่แพทย์จะทำการขูดเยื่อบุภายในคอของปากมดลูก ก่อนที่จะทำการวัดระยะความยาวของโพรงมดลูก

เมื่อไหร่จึงต้องขูดมดลูก?

มีสองเหตุผลในการขูดมดลูก ได้แก่

  1. การขูดเพื่อการวินิจฉัยโรคในผู้หญิงที่ไม่ตั้งครรภ์ซึ่งมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด แบ่งเป็นสองกรณีย่อยคือ
  2. การขูดมดลูกเพื่อการรักษาในผู้หญิงตั้งครรภ์ อาจ

ในบางครั้ง ผู้หญิงที่ไม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี แต่มีเลือดออกผิดปกติอย่างรุนแรงจากโพรงมดลูก (เลือดออกทางช่องคลอด) ที่ไม่สามารถหยุดเลือดออกได้จากการใช้ยา ก็อาจจำเป็นต้องได้รับการขูดมดลูกเพื่อหยุดอาการเลือดออกเช่นกัน

ทำอย่างไรจึงจะลดอาการปวดท้องขณะที่ขูดมดลูกได้?

การใช้ยาสลบ จะช่วยระงับอาการเจ็บปวดที่เกิดจากการขูดมดลูกได้ดีที่สุด หรือการฉีดยาแก้ปวดร่วมกับยานอนหลับก็สามารถระงับอาการปวดได้ดีเช่นกัน

วิธีการอื่นที่ใช้ระงับปวดในการขูดมดลูก ได้แก่ การฉีดยาชาเข้าที่คอของปากมดลูก ซึ่งสามารถระงับปวดได้ดีปานกลาง ซึ่งในกรณีสุดท้ายนี้ หากผู้ที่จะเข้ารับการขูดมดลูกรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) หรือ มีเฟนนามิค แอซิด (Mefenamic acid) ก่อนการขูดมูกประมาณ 1 ชั่วโมง ก็จะสามารถช่วยเสริมฤทธิ์ระงับปวดของการฉีดยาชาที่คอของปากมดลูกได้

เราจะรู้สึกอย่างไรขณะขูดมดลูก?

หากได้รับยาสลบ เราจะไม่รู้สึกอะไรเลยขณะขูดมดลูก แต่หากเป็นการฉีดยาชาที่บริเวณคอมดลูก เราอาจจะรู้สึกปวดท้องน้อยเหมือนกับที่เราปวดประจำเดือนได้ หากมีอาการชาบริเวณรอบริมฝีปากหรือมีอาการคล้ายจะเป็นลมในขณะที่ขูดมดลูก ต้องรีบแจ้งต่อแพทย์ที่กำลังขูดมดลูก

เตรียมตัวอย่างไรก่อนการขูดมดลูก?

ในกรณีที่แพทย์จะใช้ยาสลบ หรือฉีดยาแก้ปวดร่วมกับการใช้ยานอนหลับ ควรงดรับประทานน้ำและอาหารทุกชนิดตามคำแนะนำของแพทย์ก่อนการขูดมดลูก ประมาณ 8-12 ชั่วโมง เพื่อป้อง กันการสำลักขณะที่เราไม่รู้สึกตัว นอกจากนี้ควรมีญาติหรือผู้ใกล้ชิดมาด้วยในวันที่ขูดมดลูกเพื่อช่วยเหลือในกิจการบางอย่างภายหลังการขูดมดลูก เช่น ขับรถให้เวลากลับบ้าน หรือการซื้อยาภายหลังการขูดมดลูก เป็นต้น ควรแจ้งแพทย์ถึงประวัติการแพ้ยา ยาต่างๆที่ใช้อยู่ และที่เพิ่งหยุดยาไปประมาณ 1-2 สัปดาห์ และประวัติโรคประจำตัวต่างๆ ก่อนการขูดมดลูกด้วยเสมอ

วิธีอื่นที่อาจทดแทนการขูดมดลูกในบางกรณีมีอะไรบ้าง?

ในกรณีที่เป็นการแท้งค้าง/แท้งไม่ครบ หรือการแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจใช้ “การปรับประ จำเดือน หรือ ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Menstrual regulation หรือ Menstrual extraction หรือ Menstrual aspiration” ทดแทนการขูดมดลูกได้ วิธีนี้เป็นการดูดเอาชิ้นส่วนของการตั้งครรภ์ออกจากโพรงมดลูก โดยใช้ท่อพลาสติกเล็กขนาดเส้นรอบวง 4-8 มิลลิเมตรต่อกับอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกระบอกฉีดยา โดยแพทย์จะสอดท่อพลาสติกดังกล่าวเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อดูดเอาชิ้น ส่วนของการตั้งครรภ์ที่ค้างอยู่ในโพรงมดลูกออก

ทั้งนี้ การวินิจฉัยการแท้งค้าง/แท้งไม่ครบ หรือการแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้นั้น แพทย์จะอาศัยข้อมูลที่ได้จาก ประวัติอาการของผู้ป่วย การตรวจภายใน และการตรวจมดลูกด้วยอัลตราซาวด์

ส่วนการขูดมดลูก หรือ การปรับประจำเดือนนั้น เป็นการรักษาที่จะช่วยหลีกเลี่ยงการตกเลือดอย่างรุนแรง และช่วยป้องกันการติดเชื้อของชิ้นเนื้อที่ยังหลงเหลืออยู่ภายในโพรงมดลูก

วิธีการอื่นๆที่อาจทดแทนการขูดมดลูก ได้แก่ การใช้ยาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อขับชิ้นส่วนของการตั้งครรภ์ออกมา

ส่วนการจะเลือกใช้วิธีใดนั้น ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ และวิจารณญาณของแพทย์

ในกรณีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ แต่มีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก แพทย์อาจเลือกการดูดเยื่อบุโพรงมดลูกด้วยท่อพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่ากรณีแท้ง คือมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มิลลิ เมตร โดยแพทย์จะทำการสอดท่อพลาสติกดังกล่าวเข้าสู่โพรงมดลูก แล้วดูดเยื่อบุโพรงมดลูกมาตรวจ ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้ ก่อให้เกิดอาการปวดท้องน้อยขึ้นเล็กน้อยคล้ายๆกับอาการปวดประจำ เดือน ในขณะที่กำลังดูดเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ไม่เกิน 5 นาที อาการปวดที่เกิดขึ้นมักจะน้อยกว่าการขูดมดลูกที่ไม่ได้ใช้ยาสลบร่วมด้วย ดังนั้นการตรวจด้วยวิธีนี้ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาระงับปวดแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ชิ้นเนื้อที่ได้ไม่ว่าจะใช้วิธีการขูดหรือดูดเยื่อบุโพรงมดลูก จะถูกส่งไปยังแผนกพยาธิวิทยาเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อการวินิจฉัยโรคต่อไป อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีของผู้หญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในรายที่มีอายุตั้งแต่ 35-40 ปีขึ้นไป ที่การขูดหรือดูดเยื่อบุโพรงมดลูกไม่สามารถให้การวินิจฉัยโรคได้ชัดเจน หรือในบางกรณีได้ผลการวินิจฉัยแต่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษา กรณีดังกล่าว สูตินรีแพทย์ จะทำการส่องกล้องเข้าไปตรวจในโพรงมดลูก (Hysteroscopy) เพื่อตรวจหาความผิดปกติ ซึ่งการตรวจในลักษณะนี้ส่วนใหญ่ต้องใช้ยาสลบ

จะปฏิบัติตัวอย่างไรภายหลังจากการขูดมดลูก?

หลังจากการขูดมดลูก อาจมีเลือดออกกะปริดกะปรอยได้บ้าง แต่ควรจะมีปริมาณที่น้อยลงเรื่อยๆ และควรหายไปภายใน 5-7 วัน ในช่วงนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดเข้าไปในช่องคลอด ควรใช้ผ้าอนามัยแบบเป็นแผ่นรอง นอกจากนี้อาจมีอาการปวดหน่วงท้องน้อยอันเนื่อง มาจากการหดเกร็งของมดลูกได้ แต่อาการจะดีขึ้นหลังจากรับประทานยาแก้ปวดทั่วไป เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) และอาการปวดจะดีขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ

คุณผู้หญิงที่ได้รับการขูดมดลูก ควรนอนพักผ่อนให้มาก และควรหยุดพักการทำงานประ มาณ 1-2 วัน ร่วมกับรับประทานยาแก้ปวด

บางท่านอาจได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

ควรสังเกตอาการหรือความผิดปกติต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น และงดมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 2 สัปดาห์

ที่สำคัญอีกประการ คือ ต้องไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อตรวจติดตามผลการรักษาและ/หรือฟังผลการวินิจฉัยโรคจากการตรวจชิ้นเนื้อที่ขูดได้

ผู้ที่ได้รับการขูดมดลูกที่ยังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์จะกลับมามีประจำเดือนได้ และสามารถที่จะตั้งครรภ์ได้ภายใน 4-6 สัปดาห์ ดังนั้นในผู้ที่ยังไม่ต้องการมีบุตร และยังไม่ได้มีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม ควรคุมกำเนิดภายในสองสัปดาห์หลังการขูดมดลูกที่มีสาเหตุมาจากมีชิ้นเนื้อตกค้างจากการแท้งบุตร หรือจากการคลอดปกติ ส่วนการเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมนั้น ควรปรึกษาแพทย์ที่ให้การขูดมดลูก ส่วนผู้ที่ต้องการจะมีบุตร แพทย์ส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้คุมกำเนิดไว้อย่างน้อย 3 เดือนก่อน ที่จะปล่อยให้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น

อาการหรือความผิดปกติที่ต้องพบแพทย์ภายหลังขูดมดลูกแล้วมีอะไรบ้าง?

ควรพบแพทย์เมื่อหลังขูดมดลูกแล้วมีอาการต่อไปนี้ ได้แก่ เลือดจากช่องคลอดยังคงออกมากโดยเฉพาะถ้ามีก้อนเลือดปนออกมาด้วย หรือ ออกปริมาณเท่าเดิมไม่ค่อยๆน้อยลง หรือเลือด ออกนานเกิน 10 วัน ปวดท้องน้อยมาก ตกขาว หรือ เลือดมีกลิ่นเหม็น หรือมีไข้

ภายหลังการขูดมดลูกเราจะสามารถกลับไปทำงานตามปกติได้เมื่อไหร่?

ภายหลังการขูดมดลูก ร่างกายของผู้หญิงมักจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว อาจหยุดพักงานประ มาณ 1-2 วัน ก็จะสามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีการเสียเลือดอย่างมาก คุณผู้หญิงอาจจะยังรู้สึกอ่อนเพลียได้บ้าง ส่วนคุณผู้หญิงที่ได้รับการขูดมดลูกเนื่องจากการแท้งบุตรนั้น อาจจะยังมีความรู้สึกเศร้าโศกเสียใจอยู่บ้าง การได้พูดคุยเพื่อระบายความรู้สึกอย่างเปิดเผยกับ แพทย์ผู้ดูแล สามี ญาติ หรือเพื่อนสนิท ก็อาจจะช่วยบรรเทาความรู้สึกเศร้าโศกเสียใจได้บ้าง

ความเสี่ยงที่เกิดจากการขูดมดลูกมีอะไรบ้าง?

ความเสี่ยง หรือ ผลข้างเคียง/ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการขูดมดลูกนั้น แทบจะไม่มีเลยทีเดียวก็ว่าได้ อย่างไรก็ตาม ที่อาจพบได้ เช่น

  • การเกิดมดลูกทะลุ โดยเฉพาะในรายที่ขูดมดลูกเนื่องจากการแท้งบุตร ทั้งนี้เพราะมดลูกของสตรีที่ตั้งครรภ์มักจะนุ่มมาก ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมดลูกทะลุได้ง่าย
  • นอกจากนี้ในบางครั้ง การขูดมดลูกเนื่องจากการแท้งบุตร อาจขูดชิ้นเนื้อออกได้ไม่หมด แต่โดยส่วนใหญ่แล้วชิ้นเนื้อที่ตกค้างมักจะหลุดออกมาได้เองโดยที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ อย่าง ไรก็ตาม ชิ้นเนื้อที่ตกค้างนี้ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการตกเลือดหรือมีเลือดออกมากภายหลังการขูดมดลูก หรืออาจเกิดการติดเชื้อตามมาได้ ดังนั้น ถ้าแพทย์ตรวจพบว่าอาจมีการตกค้างของชิ้นเนื้อ อาจจำเป็นต้องขูดมดลูกซ้ำเพื่อนำเอาชิ้นเนื้อที่ยังเหลืออยู่ออกให้หมด

ส่วนการขูดมดลูกเพื่อการวินิจฉัยโรคนั้น มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นน้อยมาก ที่อาจได้คือ มด ลูกทะลุ และการติดเชื้อภายหลังการขูดมดลูก

ส่วนในระยะยาวเป็นเดือนหรือเป็นปีหลังการขูดมดลูก ความเสี่ยงที่อาจพบได้จากการขูดมด ลูก คือ การเกิดพังพืดภายในโพรงมดลูก ซึ่งอาจทำให้ไม่มีประจำเดือน หรือไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ในภายหลังจากการขูดมดลูก หรือหากตั้งครรภ์ อาจมีการฝังตัวของรกที่ลึกเข้าไปในผนังมดลูกหรืออาจจะทะลุออกนอกมดลูกได้ อย่างไรก็ตาม ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวพบได้น้อยมาก
ที่มา   https://haamor.com/th/การขูดมดลูก/

อัพเดทล่าสุด