ก้อนในเต้านม (Breast mass)


1,510 ผู้ชม


บทนำ

ก้อนในเต้านม (Breast mass หรือ Breast lump) คือ ก้อนเนื้อผิดปกติที่เกิดขึ้นในเต้านม อาจเกิดเพียงข้างเดียว (ซึ่งพบได้บ่อยกว่า) หรือ เกิดทั้งสองข้างของเต้านม (ซึ่งพบได้น้อยกว่ามาก) อาจเกิดเพียงก้อนเดียว (ซึ่งพบได้บ่อยกว่า) หรือเกิดได้หลายก้อน (ซึ่งพบได้น้อยกว่ามาก) ก้อนเนื้ออาจมีขนาดเล็ก ตรวจพบได้จากการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจภาพรังสีเต้านม หรือ แมมโมแกรม (Mammogram) และ/หรือ อัลตราซาวด์เต้านม หรือก้อนเนื้ออาจมีขนาดใหญ่จนสามารถคลำได้โดยตัวผู้ป่วยเอง และ/หรือโดยแพทย์

ก้อนเนื้อในเต้านมพบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็ก จนถึงผู้สูงอายุ โดยในเด็กมักพบในช่วงวัยรุ่นที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศต่างๆ เต้านมจึงมีการขยายใหญ่ขึ้น และเริ่มมีการสร้างต่อมต่างๆสำหรับการสร้างน้ำนม จึงอาจส่งผลให้คลำได้คล้ายก้อนเนื้อ แต่ก้อนเนื้อเหล่านี้จะค่อยๆหายไปเมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่

ก้อนเนื้อในเต้านม พบเกิดได้ทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย โดยทั่วไปมักพบในผู้หญิง ในเด็กชายมักคลำได้ก้อนในเต้านมโดยเฉพาะใต้หัวนมในช่วงวัยรุ่น ซึ่งพบได้เป็นปกติ โดยมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศในวัยนี้ ซึ่งก้อนจะค่อยๆยุบหายไปเอง

บทความนี้ จะกล่าวถึงก้อนเนื้อในเต้านม เฉพาะในผู้หญิง และเฉพาะก้อนเนื้อซึ่งเป็นโรคเท่านั้น ไม่ครอบคลุมก้อนเนื้อที่เป็นไปตามธรรมชาติของฮอร์โมนเพศ และไม่ครอบคลุมก้อนเนื้อที่เกิดจากโรคมะเร็งเต้านมซึ่งได้กล่าวแยกต่างหากเป็นอีกบทความหนึ่งแล้ว

ก้อนเนื้อในเต้านม พบได้เรื่อยๆ ไม่ถึงกับบ่อยนัก มีการศึกษาพบว่าประมาณ 16% ของผู้หญิงช่วงวัย 40-69 ปี จะมาพบแพทย์ด้วยเรื่องปัญหาเกี่ยวกับเต้านม ซึ่งในกลุ่มนี้ ประมาณ 40 % จะมาด้วยเรื่องมีก้อนในเต้านม

ก้อนในเต้านม

ก้อนในเต้านมมีกี่ชนิด?

ก้อนเนื้อในเต้านมมีได้หลากหลายชนิด ที่พบได้บ่อย คือ

ก้อนในเต้านมเกิดจากอะไร? มีอาการอย่างไร? เป็นมะเร็งได้ไหม?

สาเหตุ และอาการของก้อนในเต้านมขึ้นกับชนิดของก้อนเนื้อ

แพทย์วินิจฉัยก้อนในเต้านมได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยว่ามีก้อนเนื้อและหาสาเหตุของก้อนเนื้อในเต้านมได้จาก อายุ ประวัติ อา การต่างๆ ประวัติการใช้ยา ความสัมพันธ์กับประจำเดือน การตรวจคลำเต้านมโดยแพทย์ การตรวจร่างกาย การตรวจภาพเต้านมด้วยอัลตราซาวด์ และ/หรือ แมมโมแกรม (การตรวจภาพรังสีเต้านม) การเจาะ/ดูดเซลล์จากน้ำ หรือ จากก้อนเนื้อตรวจทางเซลล์วิทยา และ/หรือการตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อ หรือ ผ่าตัดทั้งก้อนเนื้อ เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา ทั้งนี้การตรวจต่างๆดัง กล่าวขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

รักษาก้อนในเต้านมอย่างไร?

แนวทางการรักษาก้อนเนื้อในเต้านม โดยทั่วไป คือการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกตั้งแต่แรกคลำพบก้อนเนื้อ หรือ เจาะ/ดูดเซลล์หรือ ตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อ เพื่อการตรวจทางเซลล์วิทยา หรือการตรวจทางพยาธิวิทยา ให้รู้ว่าเป็นก้อนเนื้อชนิดใด แล้วจึงให้การรักษาด้วยการผ่าตัดก้อนเนื้อ

บางครั้งเมื่อแพทย์แน่ใจว่าเป็นก้อนเนื้อจากไฟโบรซีสติก และก้อนเนื้อมีขนาดเล็กๆหลายๆก้อน แพทย์อาจใช้วิธีตรวจติดตาโรค (เพราะถ้าผ่าตัด อาจต้องตัดทั้งเต้านม) โดยอาจนัดผู้ป่วยทุก 2-3 เดือน ทั้งนี้เพราะดังกล่าวแล้วว่าก้อนเนื้อชนิดนี้อาจหายเองได้ แต่จะผ่าตัด เมื่อก้อนเนื้อมีขนาดโตขึ้น

เมื่อก้อนเนื้อเกิดจากถุงน้ำ แพทย์อาจรักษาด้วยการเจาะดูดน้ำออก

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเองเมื่อมีก้อน หรือสงสัยมีก้อนในเต้านม ได้แก่ การรีบพบแพทย์ภายใน 1-2 สัปดาห์ เพื่อการวินิจฉัยแยกจากโรคมะเร็งเต้านม และเพื่อการรักษาที่ถูกต้องแต่เนิ่นๆ

ป้องกันก้อนในเต้านมอย่างไร?

ปัจจุบัน เมื่อดูจากสาเหตุแล้ว ป้องกันโรคก้อนเนื้อในเต้านมยังไม่ได้ ดังนั้น ควรต้องหมั่นดูแลเต้านมของตนเอง ตั้งใจคลำเต้านมขณะอาบน้ำทั้งสองข้างอย่างน้อยทุกเดือน เมื่อพบ หรือ สงสัยมีก้อนเนื้อผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ภายใน 1-2 สัปดาห์เพื่อวินิจฉัยแยกจากโรคมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะเมื่ออายุ ตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หรือตรวจภาพรังสีเต้านม/แมมโมแกรม และ/หรืออัลตราซาวด์เต้านมเพื่อตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ โดยเริ่มได้ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป หรือ เริ่มตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไปเมื่อมีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง ท้องเดียวกัน) เป็นโรคมะเร็งเต้านม ต่อจากนั้นความถี่ของการตรวจภาพรังสีเต้านม ขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์
ที่มา   https://haamor.com/th/ก้อนในเต้านม/

อัพเดทล่าสุด