การวางแผนครอบครัว (Family planning)


1,761 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

อวัยวะเพศชาย  อวัยวะเพศหญิง  ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ชาย  ระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

การวางแผนครอบครัวคืออะไร?

การวางแผนครอบครัว (Family planning) คือ การที่คู่สามีและภรรยามีการร่วมปรึกษา หารือกัน วางแผนเกี่ยวกับความถี่ หรือห่างของการมีบุตรของครอบครัว โดยอาจใช้วิธีทางธรรม ชาติ หรือมีการใช้ยา หรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้การวางแผนนั้นๆสำเร็จมากขึ้น

ความสำคัญของการวางแผนครอบครัว?

การวางแผนครอบครัว

ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา มีการประกาศว่า ขณะนี้ประชากรบนโลกมีจำ นวนครบ 7,000 ล้านคนแล้ว ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็ว คือเพิ่มถึง 1,000 ล้านคน ในเวลาเพียง 12 ปี จากจำนวนประชากร 6,000 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) นับวันประชากรโลกมีแต่จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติก็ลดลงอย่างรวดเร็ว หากไม่มีควบคุมการเกิดหรือการวางแผนครอบครัว ปัญหาการขาดแคลนปัจจัยสี่ต้องตามมาอย่างแน่นอน ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากร 70 ล้านคน (ข้อมูล 2554) มีอัตราการเกิด ( Crude birth rate) เป็น 12.9 ต่อ 1,000 คน อย่างไรก็ตามยังถือว่าอัตราการเกิดของไทยยังอยู่ในระดับที่ดี ทั้งนี้เป็นผลจากการที่ทั้งหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนได้ช่วยกันรณรงค์ให้ความรู้ เรื่องการวางแผนครอบครัวกับประชาชนอย่างดีเสมอมา

การวางแผนครอบครัวที่เหมาะสม การมีจำนวนบุตรที่เหมาะสมจะทำให้ครอบครัวมีคุณ ภาพมากที่สุด บุตร-ธิดาจะได้รับการลี้ยงดูอย่างดี ได้รับการศึกษาอย่างเต็มที่ การเลี้ยงดูบุตร 1 คนตั้งแต่เล็กจนสามารถเลี้ยงชีพด้วยตัวเองได้ต้องมีค่าใช้จ่ายมากมาย ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ค่าใช้จ่ายด้านปัจจัย 4 (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค) ซึ่งนับวันจะเพิ่มสูงมากขึ้นทุกที การมีบุตรจำนวนมาก หรือไม่มีการวางแผนที่ดีจะมีผลกระทบต่อสุขภาพมารดาและทารกอย่างมากด้วย

วิธีการวางแผนครอบครัวมีกี่วิธี? อะไรบ้าง?

การวางแผนครอบครัว แบ่งเป็น แบบถาวร และแบบชั่วคราว

  1. แบบถาวร ได้แก่
    1. การทำหมันหญิง เป็นการผูกและตัดท่อรังไข่ (Fallopian tubes) ทั้งสองข้าง
    2. การทำหมันชาย เป็นการผูกและตัดท่อนำน้ำเชื้อ (Vas deferen) ทั้งสองข้าง
  2. แบบชั่วคราว แบ่งเป็น
    1. แบบวิธีธรรมชาติ ไม่ต้องใช้ยา หรืออุปกรณ์ เช่น
      1. การหลั่งข้างนอก คือ เมื่อมีเพศสัมพันธ์ ก่อนถึงจุดสุดยอดที่ฝ่ายชายจะหลั่งน้ำอสุจิออกมา ให้ถอนอวัยวะเพศฝ่ายชายออกจากช่องคลอด วิธีนี้ทำได้ง่าย แต่มีความล้ม เหลว (มีโอกาสตั้งครรภ์) สูง เพราะบางครั้งอาจมีตัวเชื้ออสุจิหลุดลอดเข้าไปในช่องคลอดแล้วก่อนหลั่งน้ำอสุจิจริง
      2. การนับวันปลอดภัย เหมาะสำหรับสตรีที่มีประจำเดือนอย่างสม่ำเสมอ สามารถคาดการณ์ระยะเวลาที่จะเป็นประจำเดือนครั้งต่อไปได้อย่างแม่นยำ จึงจะใช้วิธีนี้ได้ดี การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเจ็ดวันแรกของการมีประจำเดือนและในช่วงเจ็ดวันก่อนมีประจำเดือนรอบถัดไป จะมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่าช่วงระยะเวลาอื่นๆ
    2. แบบใช้ยาหรืออุปกรณ์ มีหลายวิธี ได้แก่
      1. ยาเม็ดคุมกำเนิด (Oral contraceptive pills) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
        • ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวม (Oral combined contraceptive pills) มีส่วนผสมของฮอร์โมนสังเคราะห์ 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนสังเคราะห์ฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน/Estrogen ( Ethinyl estradiol) ซึ่งยาส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะเป็นส่วนประกอบนี้ กับฮอร์โมนสังเคราะห์ฤทธิ์คล้ายโปรเจสเตโรน/Progesterone (Progestin) ที่มีตัวยามากมายหลายชนิด
          • หากแบ่งชนิดยาตามปริมาณส่วนผสมของ Ethinyl estradiol แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
            • High dose estrogen จะมีส่วนประกอบของ Ethinyl estradiol 0.05 มิลลิ กรัม ส่วนชนิดและปริมาณของโปรเจสตินจะแตกต่างกันไป เช่น Oval ® ปัจจุบันไม่ค่อยใช้เนื่องจากมีอาการข้างเคียง คือ คลื่นไส้อาเจียนมาก
            • Low dose estrogen จะมีส่วนประกอบของ Ethinyl estradiol 0.03 มิลลิ กรัม ส่วนชนิดและปริมาณของโปรเจสตินจะแตกต่างกันไป ยาที่มีขายในท้องตลาดส่วนมากจะเป็นชนิดนี้ เช่น Marvelon® , Microgynon®, Anna® เป็นต้น
            • Very low dose estrogen จะมีส่วนประกอบของ Ethinyl estradiol 0.02 มิลลิกรัม ส่วนชนิดและปริมาณของโปรเจสตินจะแตกต่างกันไป ที่ลดปริมาณเอสโตรเจนเพื่อลดอาการข้างเคียงของยา เช่น Meliane®, Mercilon®
          • หากแบ่งตามจำนวนเม็ด แบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ

            ปัจจุบันยาเม็ดคุมกำเนิดมีการพัฒนาไปอย่างมาก มีการใช้โปรเจสตินที่มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างกันออกไปมาใช้เป็นส่วนประกอบ ทำให้นอกจากจะสามารถเป็นยาคุมกำเนิดป้องกันการตั้งครรภ์แล้ว ยังมีประโยชน์อย่างอื่นด้วย เช่น ลดการเป็นสิว ลดผิวหน้ามัน ลดการคั่งของน้ำและเกลือแร่ทำให้ไม่อ้วนอย่างนี้เป็นต้น แต่ก็ทำให้ราคายาแพงขึ้นด้วย

          • วิธีการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด
            1. รับประทานเม็ดแรกของแผงภายใน 5 วันแรกของการมีประจำเดือน ไม่ว่าประจำเดือนจะหยุดหรือไม่หยุดก็ให้เริ่มรับประทาน
            2. ควรรับประทานยาเวลาเดียวกันทุกวันเพื่อให้ระดับฮอร์โมนคงที่
            3. ควรรับประทานยาก่อนนอน จะช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
            4. หากรับประทานยา แบบ 28 เม็ดต่อแผง ให้รับประทานยาทุกวันจนหมดแผงและต่อด้วยแผงใหม่เลยไม่ต้องกังวลเรื่องประจำเดือน ซึ่งส่วนมากประจำเดือนจะมาช่วงปลายๆแผงยา
            5. หากรับประทานยา แบบ 21 เม็ดต่อแผง ให้รับประทานยาทุกวันจนหมดแผงและเว้นช่วงไป 7 วัน จึงเริ่มรับประทานยาแผงใหม่ ไม่ว่าประจำเดือนจะมาหรือไม่
            6. หากลืมรับประทานยา 1 เม็ดให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ 1 เม็ด และรับประทานยาอีก 1 เม็ดตามปกติ
            7. หากลืมรับประทานยา 2 เม็ดให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ 1 เม็ด ตอนก่อนนอนรับ ประทานยาอีก 1 เม็ด วันรุ่งเช้าถัดมารับประทานยาอีก 1 เม็ด และรับประทานยาอีก 1 เม็ดตามปกติ
            8. หากลืมรับประทาน 3 เม็ด ให้หยุดยาแผงนั้น แล้วใช้ถุงยางอนามัยไปก่อน รอจนกระ ทั่งมีประจำเดือนมาจึงเริ่มยาแผงใหม่ตามปกติ
        • ยาเม็ดคุมกำเนิดโปรเจสติน (Progestin-only contraceptive pills) เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดที่ประกอบด้วยโปรเจสตินเพียงชนิดเดียว เหมาะที่จะใช้ในสตรีที่มีข้อห้ามในการใช้เอสโตรเจน เช่น สตรีหลังคลอดที่ให้นมบุตร สตรีที่มีโรคที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากกว่าปกติ

          การรับประทานยากลุ่มนี้จะต้องรับประทานทุกวันติดต่อกันไม่มีการหยุดรับประทาน ประจำเดือนจะไม่มาเป็นรอบๆ เหมือนการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวม แต่จะเป็นแบบมากระปริดกระปรอย

        • ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Emergency contraceptive pills) มีส่วนประกอบของโปรเจสตินในขนาดที่สูง เช่น Postinor® หรือ Madonna® (Levonorgestrel 0.75 มก.) รับประทานเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ และรับประทานเม็ดที่ 2 ในอีก 12 ชั่วโมงถัดมา ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดประมาณ 75%
      2. ยาฉีดคุมกำเนิด แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
        • ยาฉีด Depot medroxy progesterone acetate หรือ DMPA ประกอบด้วยโปรเจสตินอย่างเดียว ขนาดยา 150 มก. ใช้ฉีดเข้ากล้ามทุก 3 เดือน ประสิทธิภาพในการคุม กำเนิดดีมาก แต่มักจะทำให้ไม่มีประจำเดือน
        • ยาฉีด Norethisterone acetate ประกอบด้วยโปรเจสตินอย่างเดียว ใช้ฉีดเข้ากล้ามทุก 2 เดือน ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดดีมาก แต่มักจะทำให้ไม่มีประจำเดือน
        • ยาฉีดฮอร์โมนรวม ประกอบด้วยเอสโตรเจน และ โปรเจสติน (Estradiol valerate + Norethisterone acetate) ใช้ฉีดเข้ากล้ามทุก 1 เดือน ประสิทธิภาพในการคุมกำ เนิดดีมาก มีประจำเดือนมาตามปกติ
      3. ยาฝังคุมกำเนิด ประกอบด้วยโปรเจสตินอย่างเดียว บรรจุอยู่ในหลอดเล็กๆที่ค่อย ๆปล่อยยาออกมา เช่น Implanon® เป็นยาฝังไว้ใต้ท้องแขน ชนิดแท่งเดียว มีส่วนประกอบของยา Etonogestrel ใช้คุมกำเนิดได้ 3 ปี ออกฤทธิ์เหมือนยาฉีดคุมกำเนิด หรืออีกชนิดหนึ่งที่มีในท้องตลาด คือ Jadelle® เป็นยาฝังไว้ใต้ท้องแขน ชนิด 2 แท่ง มีส่วนประกอบของ levonorgestrel ใช้คุมกำเนิดได้ 5 ปี
      4. ห่วงอนามัย หรือ ห่วงคุมกำเนิด (Intrauterine device หรือย่อว่า ไอยูดี/IUD) ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 กลุ่ม
        • ห่วงอนามัยที่มีสารทองแดงประกอบ (Copper IUD) เช่น Multiload 250A จะมีพื้นที่ผิวทองแดง 250 ตารางมิลลิเมตร, Multiload 375A, Copper T 380A ห่วงอนามัยเหล่าจะไปทำให้สภาพในโพรงมดลูกไม่เหมาะแก่การฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว
        • ห่วงอนามัยที่เคลือบฮอร์โมนสังเคราะห์โปรเจสติน (Levonorgestrel – contained IUD) ที่มีขายในประเทศไทยมีชื่อการค้า คือ Mirena® โดยที่จะเคลือบฮอร์โมนที่แกนของห่วงอนามัยแทนการพันด้วยทองแดงตามที่กล่าวมา นอกจากช่วยป้องกันการฝังตัวของตัวอ่อนแล้ว ฮอร์โมนจะมีผลเสริมการทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง ผู้ที่ใส่ห่วงอนามัยชนิดนี้จะมีประจำเดือนลดลงอย่างมาก จึงเหมาะที่จะใช้ในสตรีที่มีประจำเดือนมากอยู่แล้ว
      5. ถุงยางอนามัย แบ่งเป็น
      6. วงแหวนคุมกำเนิด เป็นนวัตกรรมใหม่ของการคุมกำเนิดที่มีการดัดแปลงจากการรับประทาน หรือฉีดยา มาเป็นการเหน็บยาไว้ในช่องคลอดเฉพาะที่ เพื่อลดอาการผลข้างเคียงคลื่นไส้อาเจียนไม่ต้องรับประทานยาทุกวัน เช่น NuvaRing® ประกอบด้วย Estrinyl estradiol และ Etonogestrel ยาจะถูกบรรจุในวงแหวนพลาสติก เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว มีลักษณะนิ่ม สามารถใส่ได้ด้วยตนเอง ใส่ได้นานครั้งละ 3 สัปดาห์ แล้วเอาออก 1 สัปดาห์เป็นช่วงรอให้มีประจำเดือนต่อไปจึงใส่วงแหวนใหม่ในรอบถัดไป
      7. แผ่นแปะคุมกำเนิด เป็นนวัตกรรมใหม่ของการคุมกำเนิดเช่นกัน เช่น Evra patch ® ประกอบด้วย Estrinyl estradiol และ Norelgestromin มีขนาด 2 x 2 นิ้ว ใช้แปะติดบริเวณผิวหนังที่แห้ง ใช้ 1 แผ่นต่อสัปดาห์ ใช้ 3 สัปดาห์ หยุด 1 สัปดาห์ รอให้มีประจำเดือนเหมือนการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด
      8. การใช้ยาหรือสารทำลายตัวอสุจิ มีขายหลายรูปแบบ ทั้งแบบเป็นเม็ดที่ใช้ใส่เข้าไปในช่องคลอด ครีม หรือ เจล โดยที่ต้องใช้สารเหล่านี้เข้าไปในช่องคลอดให้ลึกที่สุดก่อนการร่วมเพศ

ข้อเด่นและข้อด้อยของการวางแผนครอบครัวแต่ละชนิดมีอะไรบ้าง?

ข้อเด่นและข้อด้อยของการวางแผนครอบครัวแต่ละชนิดที่สำคัญ คือ

วิธีการคุมกำเนิด ข้อเด่น ข้อด้อย อาการข้างเคียง
ยาเม็ดคุม กำเนิดชนิดรวม
  • ต้องรับประทานยา ทุกวัน
  • ห้ามใช้ในสตรีที่กำลังให้นมบุตร
  • ห้ามใช้ในสตรีที่มีโรคตับ
  • ห้ามใช้ในสตรีที่มีภาวะหลอดเลือดอุดตัน
  • ห้ามใช้ในสตรีที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่หาสาเหตุยังไม่ได้
  • ไม่ควรใช้ในสตรีที่อายุมากกว่า 35 ปีและสูบบุหรี่
ยาเม็ดคุมกำเนิดโปร เจสตินชนิดเดียว ต้องรับประทานยาทุกวัน
ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน
  • ประสิทธิภาพในการคุม กำเนิดพอใช้ (ประมาณ 75%)
  • ใช้ในกรณีฉุกเฉิน
  • หาซื้อได้ง่าย
  • ราคาไม่แพง
ต้องรับประทานให้ถูกต้องตามคำแนะนำ คลื่นไส้ อาเจียน
ยาฉีดคุมกำเนิด
  • ต้องไปพบบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรับบริการทุก 1-3 เดือน
  • ไม่ควรใช้ในสตรีที่มีโรคเลือดออกง่ายผิด ปกติ
ยาฝังคุมกำเนิด ต้องไปพบบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรับบริการ
ห่วงอนามัย ต้องไปพบบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรับบริการ
ถุงยางอนามัย ต้องใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ โอกาสตั้งครรภ์สูง
การนับวันปลอดภัย
  • ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
  • ไม่ต้องเสียเวลาไปพบแพทย์
  • ไม่มีอิทธิพลของฮอร์โมน
  • มีประจำเดือนปกติ
  • ไม่มีผลต่อน้ำหนักตัว
ต้องมีประวัติประจำเดือนมาตรงเวลา โอกาสตั้งครรภ์สูง
การใช้ยาหรือสารทำลายตัวอสุจิ
  • ต้องใช้ทุกครั้งที่มีเพศ สัมพันธ์
  • หาซื้อได้ยาก
โอกาสตั้งครรภ์สูง
แผ่นแปะคุมกำเนิด
  • ประสิทธิภาพในการคุม กำเนิดดี
  • ไม่ต้องรับประทานยาทุกวัน
  • ราคาแพง
  • หาซื้อได้ยาก
การทำหมันชาย ต้องไปพบบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรับบริการ  
การทำหมันหญิง ต้องไปพบบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรับบริการ  
 

โอกาสตั้งครรภ์จากการคุมกำเนิดด้วยวิธีต่างๆเป็นอย่างไร?

การคุมกำเนิดด้วยวิธีต่างๆ มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ ดังนี้

วิธีการคุมกำเนิด
โอกาสเป็นร้อยละ (%) ของสตรีที่เกิดตั้งครรภ์ระหว่างคุมกำเนิดโดยวิธีต่าง
  คาดการณ์ต่ำสุด โดยทั่วไป
ไม่ได้คุมกำเนิด 85 85
หลั่งข้างนอก 4.0 18.4
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวม 0.3 8.7
ยาเม็ดคุมกำเนิดโปรเจสตินชนิดเดียว 0.5 3.0
ห่วงอนามัย    
  • Copper T 380A
0.6 1.0
  • Levonorgestrel IUD
0.1 0.1
ยาฝังคุมกำเนิด 0.05 1.0
ยาฉีดคุมกำเนิด    
  • ชนิด 3 เดือน
0.3 0.3
  • ชนิด 1 เดือน
0.05 3.0
แผ่นแปะผิวหนังคุมกำเนิด 0.3 8.0
วงแหวนคุมกำเนิด 0.3 8.0
ถุงยางอนามัย    
  • ชาย
2.0 17.4
  • หญิง
5.0 27.0
การใช้ยาหรือสารทำลายตัวอสุจิ 18.0 29.0
การนับวันปลอดภัย 9.0 ไม่มีข้อมูล
การทำหมันชาย 0.1 0.2
การทำหมันหญิง 0.5 0.7
 

ใครควรมีบทบาทในการวางแผนครอบครัว?

ในการวางแผนครอบครัวส่วนมากที่พบในปัจจุบัน มักเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายหญิงที่ต้องขวยขวายหาวิธีคุมกำเนิดสำหรับตนเอง เพื่อไม่ให้มีลูกถี่มากเกินไป จริงๆแล้ว บุคคลหลายระดับควรต้องมีบทบาทเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อช่วยให้สังคมดีขึ้น ดังนี้

  • ระดับครอบครัว ทั้งสามีและภรรยาต้องรับผิดชอบร่วมกัน ไม่ควรปล่อยเป็นภาระของฝ่ายหญิงฝ่ายเดียว ควรมีการปรึกษาหารือกันถึงการวางแผนระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะมีบุตร การเว้นระยะช่วงห่างของการมีบุตร การเลือกวิธีคุมกำเนิดตามความเหมาะสม ซึ่งมีหลายวิธีมากตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และพิจารณาข้อดีข้อด้อยของแต่ละวิธีอย่างละเอียดถี่ถ้วน การคุม กำเนิดในเพศชายทำได้ง่ายกว่า และเจ็บตัวน้อยกว่าในฝ่ายหญิงมาก
  • ระดับชุมชนท้องถิ่น บุคลากรด้านสาธารณสุข เภสัชกร ต้องมีการให้คำปรึกษาหรือแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวในวิธีต่างๆอย่างถูกต้อง มีการรณรงค์ให้ความรู้อย่างถูก ต้อง มีร้านขายยาในชุมชนที่สามารถให้บริการยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดต่างๆอย่างเพียงพอ มีสถาน พยาบาลที่ให้บริการยาฉีดคุมกำเนิด การใส่ห่วงอนามัย การฝังยาคุมกำเนิด
  • ระดับชุมชนภายนอก สื่อสารมวลชน วิทยุ โทรทัศน์ Social network เป็นอีกฝ่ายที่ควรมีบทบาทในการช่วยเหลือสังคม การเผยแพร่ข่าวสารเพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลที่ถูก ต้องเกี่ยวกับการคุมกำเนิด ลดความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการคุมกำเนิด จะทำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและยอมรับการคุมกำเนิดมากขึ้น
  • ระดับประเทศ ควรมีนโยบายชัดเจนจากผู้บริหารประเทศ โดยเฉพาะในฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ คือรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระ ทรวงมหาดไทย ต้องร่วมกันวางเป้าหมายเกี่ยวกับอัตราการเกิดของประชากรที่เหมาะสมกับทรัพยากรที่เรามีอยู่อย่างจำกัด วางแผนนโยบายด้านสาธารณสุข การวางแผนครอบครัว และควรจัดกิจกรรมส่งเสริม รณรงค์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องและบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
 

จะเข้าถึงบริการการวางแผนครอบครัวได้อย่างไร?

การเข้าถึงบริการวางแผนครอบครัว อาจโดย

 

ควรเริ่มมีการวางแผนครอบครัวเมื่อใด?

การวางแผนครอบครัว ควรเริ่มตั้งแต่ชายและหญิงตกลงจะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน วางแผนจะแต่งงานกัน หรือก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์ ชายและหญิงควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าจะมีบุตรหลังแต่งงาน/การมีเพศสัมพันธ์เลยหรือไม่ หรือจะเว้นระยะการมีบุตรออกไปก่อน จะเลือกใช้วิธีคุมกำเนิดแบบไหนดี รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด หรือฉีดยาคุมกำเนิด เพราะระยะเวลาในการเริ่มการคุมกำเนิดมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพของยา เช่น จะแต่งงานอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้าซึ่งตรงกับช่วงตกไข่พอดี หากมีเพศสัมพันธ์ช่วงนั้นจะมีโอกาสตั้งครรภ์สูงสุด จึงอาจต้องรับประ ทานยาก่อนหน้าที่จะถึงวันแต่งงานอย่างนี้ เป็นต้น

ควรต้องปรึกษาใครในการวางแผนครอบครัว?

การวางแผนครอบครัวสามารถปรึกษาคนใกล้ตัวที่มีประสบการณ์ในการวางแผนครอบ ครัว เช่น แม่ หรือ พี่สาว น้องสาว เพื่อน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีความรู้มากมายที่สามารถค้น คว้าได้ทั้งจากหนังสือ หรือ อินเทอร์เน็ตได้ นอกจากนั้นแพทย์ เภสัชกรเป็นบุคลากรที่มีความรู้ด้านนี้อย่างถ่องแท้ สามารถไปปรึกษาได้ โดยเฉพาะสูตินรีแพทย์

ซื้อยากินเองได้หรือไม่?

ปัจจุบันมียาเม็ดคุมกำเนิดขายตามร้านขายยาในท้องตลาดทั่วไป หลากหลายประเภทและหลากหลายยี่ห้อ มีทั้งชนิดฮอร์โมนรวม ฮอร์โมนเดี่ยว ยาคุมฉุกเฉิน ยาฮอร์โมนต่ำ ฮอร์ โมนสูง จำนวน 21 เม็ด จำนวน 28 เม็ด หากเราไม่มีความรู้แน่ชัด ควรเลือกซื้อยาจากร้านที่มีเภสัชกรคอยให้คำปรึกษาจะปลอดภัยกว่าที่จะซื้อยารับประทานเอง หรือควรปรึกษาแพทย์

นอกจากนั้น หลังจากรับประทานยาแผงแรก ต้องสังเกตอาการ หากไม่มีปัญหา กล่าวคือไม่ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน จึงซื้อรับประทานเองต่อได้ แต่ถ้าพบมีปัญหาควรกลับไปปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือ สูตินรีแพทย์

กรณีใดจึงควรต้องปรึกษาแพทย์ในการวางแผนครอบครัว?

หากเรามีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ปวดศีรษะ ไมเกรน ควรต้องปรึกษาแพทย์/สูตินรีแพทย์ในการวางแผนครอบครัวเสมอ เพราะการคุมกำเนิดเเต่ละวิธี เหมาะ สมในแต่ละกลุ่มโรคไม่เหมือนกัน

หรือหากต้องการเลือกวิธีฉีดยาคุมกำเนิด ฝังยาคุมกำเนิด ใส่ห่วงอนามัยซึ่งเป็นหัตถการที่ต้องทำโดยแพทย์เท่านั้น จึงต้องไปพบแพทย์ได้ทั้งที่คลินิก โรงพยาบาลเอกชน โรงพยา บาลรัฐบาลที่มีการให้บริการด้านวางแผนครอบครัว

ควรเตรียมตัวในการพบแพทย์อย่างไร? ใครควรไปพบแพทย์บ้าง?

การเตรียมตัวเมื่อไปพบแพทย์เพื่อรับการคุมกำเนิด ควรไปช่วงที่กำลังมีประจำเดือน หรือประจำหยุดใหม่ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ตั้งครรภ์ หากจะเริ่มการคุมกำเนิดก็จะได้เริ่มเลย เช่น ใส่ห่วงอนามัย ฉีดยาคุมกำเนิด หากเป็นไปได้ สามีควรไปเป็นกำลังใจให้ภรรยา เพราะจะได้รับฟังคำแนะนำ และการปฎิบัติตัวของทั้งสองฝ่ายไปพร้อมๆกัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการคุมกำ เนิดสูงสุด


ที่มา   https://haamor.com/th/การวางแผนครอบครัว/

อัพเดทล่าสุด