ยาเคมีบำบัดส่งผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะอย่างไร?
ยาเคมีบำบัด เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว บางส่วนจะถูกกำจัดออกจากร่างกายทางปัสสาวะโดยผ่านการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะ (ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ) ดังนั้นยาจึงอาจก่อการบาดเจ็บต่อเซลล์ของอวัยวะดังกล่าวเหล่านี้ได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยเคมีบำบัด อาจมีอาการผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะได้ดังนี้ คือ
- ปัสสาวะแสบ เจ็บ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะไม่เป็นลำ
- บางครั้งอาจปัสสาวะไม่ออก
- สีและกลิ่นของปัสสาวะอาจเปลี่ยนไปตามชนิดของยาเคมีบำบัด เช่น เหลืองเข้มแดง หรือออกเขียว และมีกลิ่นของยาเคมีบำบัดนั้นๆ
- อาจมีปัสสาวะเป็นเลือด
- อาจมีไข้ หนาวสั่น
- อาจมีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
ป้องกันอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะจากยาเคมีบำบัดได้ไหม?
การป้องกันอาการและการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ คือ
- ดื่มน้ำมากๆ มากกว่าปกติ อย่างน้อยวันละ 8- 10 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
- เคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่นั่งนานๆ ไม่กลั้นปัสสาวะนาน
- จำกัดเครื่องดื่มที่ก่อการระคายต่อเยื่อเมือกระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น เครื่องดื่ม กาเฟอีน (เช่น ชา กาแฟ โคล่า ยาชูกำลัง) และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- จำกัดอาหารรสจัด เพราะสารอาหารจะก่อการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกของอวัยวะระบบทางเดินปัสสาวะได้
- รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ รวมทั้งการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
ควรดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?
การดูแลตนเอง การพบแพทย์เมื่อมีอาการทางปัสสาวะหลังยาเคมีบำบัด เช่นเดียวกับในการป้องกันอาการ ที่สำคัญคือ
- ดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ มากกว่าปกติ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
- จำกัดเครื่องดื่มกาเฟอีน และอาหารรสจัด
- ไม่กลั้นปัสสาวะนาน
- รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ)
- ควรรีบพบแพทย์ภายใน 1-2 วัน เมื่อ
ที่มา https://haamor.com/th/การดูแลระบบทางเดินปัสสาวะเมื่อได้เคมีบำบัด/