การปฐมพยาบาลเมื่อถูกแมงกะพรุนต่อย (Jellyfish stings)


1,007 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ผิวหนัง 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

แผล 

ทั่วไป

ผู้ที่ไปเที่ยวชายทะเลจำนวนไม่น้อย มีประสบการณ์ถูกแมงกะพรุน (Jellyfish) ต่อย ทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน มากน้อยแล้วแต่ชนิดของแมงกะพรุนและขนาดพื้นที่บนร่างกายที่ถูกต่อย ท่านทราบไหมว่า แมงกะพรุนต่อยเป็นสาเหตุให้คนบาดเจ็บและเสียชีวิตได้

ข้อมูลจากประเทศฟิลิปปินส์พบว่า มีผู้เสียชีวิต 20-40 คนต่อปีจากแมงกะพรุนต่อย

การถูกแมงกะพรุนต่อย พบได้บ่อยริมฝั่งทะเล ทั้งที่เป็นทะเลน้ำอุ่นและน้ำเย็น จำนวนแตกต่างกันไป เช่น 60,000 ถึง 200,000 รายต่อปีในแถวชายฝั่งฟลอริดา ประเทศสหรัฐ อเมริกา และมีรายงานที่เสียชีวิตจากทางภาคเหนือของประเทศออสเตรเลีย 1 รายในทุก 2-3 ปี

ธรรมชาติของแมงกะพรุนเป็นอย่างไร?

แมงกระพุรน เป็นสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลัง ตัวใสคล้ายวุ้น ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตรงกลางเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร มีหลายชนิด เช่นแมงกะพรุนจาน แมงกะพรุนหนัง ซึ่งกินได้ ส่วนแมงกะพรุนถ้วย แมงกะพรุนไฟ และแมงกะพรุนลายจะมีพิษ

แมงกะพรุนเป็นสัตว์น้ำอยู่ในไฟลัม (การจัดประเภทของสัตว์) /Phylum Coelenterata ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด (Class)

  1. Scyphozoa jellyfish คือแมงกะพรุนทั่วๆไป ที่เรามักเห็นเกยตื้นตามชายหาด ตัวใสๆ หรือเห็นประกอบอยู่ในอาหาร
  2. Hydrozoa (Portuguese man-of-war) คือแมงกะพรุนไฟ ซึ่งจะมีลักษณะแตก ต่างจากแมงกะพรุนธรรมดาอย่างเห็นได้ชัด โดยมีสีสันค่อนข้างสดใส มีหนวดยาว

อนึ่ง แมงกะพรุนจะมีเข็มพิษ (Nematocyst) อยู่ทั่วตัว โดยเฉพาะบริเวณหนวดและรอบปากซึ่งใช้ในการล่าเหยื่อ ทั้งนี้พบแมงกะพรุนได้ทั่วโลก มักอยู่บริเวณใกล้ผิวน้ำ บริเวณที่แสง แดดไม่จัด จะล่องลอยไปกับกระแสน้ำ คนมักถูกแมงกะพรุนต่อยโดยบังเอิญเนื่องจากว่ายน้ำไปโดน ทำให้มีอาการตั้งแต่ระคายเคืองเพียงเล็กน้อยจนถึงอาจมีอาการรุนแรงถึงชีวิต ซึ่งแมงกะ พรุนที่มีพิษถึงตายอยู่บริเวณทะเลแถบอินโด-แปซิฟิก และออสเตรเลีย

เมื่อแมงกะพรุนต่อยจะมีอาการอย่างไร?

อาการที่เกิดจากแมงกะพรุนต่อยมีได้แตกต่างกันตาม ชนิดของแมงกะพรุน ลักษณะของคนที่ถูกต่อย ระยะเวลาและปริมาณที่แมงกะพรุนสัมผัสหรือต่อย และการรักษาเมื่อเริ่มต้นถูกต่อย

ผู้ถูกแมงกะพรุนต่อยอาจมองไม่เห็นหนวดของแมงกะพรุน แต่จะรู้สึกปวดทันทีที่ถูกต่อย และจะเห็นมีเส้นแดงหรือเป็นลมพิษภายในไม่กี่นาทีหลังถูกต่อย บางคนอาจจะใช้เวลาหลายชั่วโมงจึงเห็นรอยนั้น ส่วนใหญ่บริเวณที่ถูกต่อยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนมากและอาจคัน อาการปวดนี้อาจลามไปที่ แขน ขา และลำตัว

เมื่อตรวจร่างกายจะพบเป็นรอยนูนเป็นรูปหนวดของแมงกะพรุนทาบอยู่ที่แขน ขา หรือลำ ตัว หรืออาจพบเป็นกลุ่มของตุ่มน้ำใสๆเป็นแนวที่ถูกหนวดของแมงกะพรุน หรือเป็นปื้นใหญ่ๆ หรือเป็นรอยไหม้แดงเป็นเส้นยาว

แมงกะพรุนบางชนิด เมื่อต่อยแล้วจะก่ออาการรุนแรง ทำให้เนื้อเยื่อผิวหนังอักเสบ โดยเริ่มจากการมีผิวหนังบวมแดงตรงบริเวณที่ถูกต่อย แล้วเป็นมากขึ้น แต่อาการมักจะหายไปภาย ใน 10 วัน แม้ว่าบางคนอาจมีอาการอยู่หลายสัปดาห์

แมงกะพรุนต่อยทำให้ถึงตายได้หรือไม่?

ชนิดแมงกะพรุนที่ทำให้เกิดอันตรายมาก

  1. แมงกะพรุนที่มีอันตรายมาก

    คือ แมงกะพรุนที่เรียก คูโบโซน (Cubozoan) หรือ บอกซเจลลี่ฟิช (Box jellyfish) ชื่อของมันมาจากรูปร่างที่มีลักษณะคล้ายกล่อง หรืออีกชื่อ คือ ต่อทะเล (Sea wasp) แมงกะพรุนชนิดนี้มีหนวดยาวจำนวนมาก พบบ่อยในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม แต่สามารถพบได้ตลอดปีในแถบทะเลบริเวณทรอปิคอล และแถวประเทศออสเตรเลียพบได้มาก

    เมื่อ บอกซ์เจลลี่ฟิช ต่อย จะมีอาการปวดมากทันที หนวดของมันจะเหนียวและทิ้งร่องรอยเป็นแนวแดง พิษของมันมีผลต่อระบบประสาท หัวใจ และทำลายผิวหนัง และอาจทำให้ เหยื่อเสียชีวิตได้ หากรักษาไม่ทันท่วงที

  2. แมงกะพรุน Curakia barnesi ซึ่งเป็นบอกซ์เจลลี่ฟิช ชนิดหนึ่ง เมื่อต่อย จะก่อให้เกิดกลุ่มอาการอิรุคันด์จิ (Irukandji syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่มีอาการหลายอย่างคือ ปวดหลัง กล้ามเนื้อเกร็ง อาเจียน กระสับกระส่าย หรือตื่นตกใจ หงุดหงิด ในผู้ป่วยจำนวนน้อยบางรายมีอาการปอดบวมน้ำ ความดันโลหิตสูง และหัวใจล้มเหลว หากไม่ได้รับการรักษาจะเสียชีวิต หรือบางคนจมน้ำเสียชีวิตโดยไม่ทราบว่าถูกแมงกะพรุนนี้ต่อย

    แมงกะพรุนชนิดนี้มักพบในแถบทะเลแถวออสเตรเลีย ซึ่งชื่อกลุ่มอาการที่เกิดจากแมงกะพรุนชนิดนี้ต่อย เรียกตามชนเผ่า Irukandji Aboriginal ซึ่งอาศัยอยู่ในแถบ Cairns ในนอร์ทควีนส์แลนด์ซึ่งเป็นบริเวณที่พบแมงกะพรุนชนิด Carukia barnesi มาก

  3. Bluebottle jellyfish และ Pacific man-o-war หรือ Portuguese man-of-war เป็น กลุ่มสัตว์น้ำที่ไม่ใช่แมงกะพรุน จัดเป็นสัตว์น้ำในกลุ่ม Physalia species แต่ต่อยได้เหมือนแมง กะพรุน พบในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกและออสเตรเลีย

    เมื่อสัตว์น้ำกลุ่มนี้ต่อยจะมีอาการปวดรุนแรงทันทีและปวดอยู่นาน มักจะมีอาการปวดไปบริเวณต่อมน้ำเหลืองของแขน ขาในส่วนที่ถูกต่อยด้วย

การปฐมพยาบาลเมื่อถูกแมงกะพรุนต่อยทำอย่างไร?

การปฐมพยาบาลเมื่อถูกแมงกะพรุนต่อย คือ

  1. ถ้าถูกแมงกะพรุนกลุ่มที่มีพิษร้ายจำพวกบอกซ์เจลลี่ฟิชต่อย ต้องรีบไปพบแพทย์ทัน ที หรือรีบโทรศัพท์ติดต่อรถพยาบาลให้รีบมารับ

    ขณะที่รอการรักษาอยู่นั้น ล้างบริเวณที่ถูกต่อยด้วยน้ำส้มสายชู (ไม่เจือจาง) ก่อนที่จะเอาหนวดของแมงกะพรุนออก ให้ราดน้ำส้มสายชูไปบนบริเวณที่ถูกต่อยและราดลงบนหนวดของแมงกะพรุนประมาณ 10 นาที หรือมากกว่า ก่อนที่จะพยายามดึงหนวดของแมงกะพรุนออกไป

    ถ้าแมงกะพรุนต่อยที่แขน ขา เอาผ้ารัดไม่ให้พิษกระจายไปเร็ว แต่อย่ารัดแน่นจนเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆไม่เพียงพอ

  2. ถ้าถูกแมงกะพรุนชนิดอื่นๆ ให้ค่อยๆราดและล้างบริเวณที่ถูกต่อยด้วยน้ำส้มสายชู ใช้

    เวลาประมาณ 15-30 นาทีเพื่อป้องกันไม่ให้ถุงพิษจากหนวดปล่อยสารพิษออกมา

    ถ้าไม่มีน้ำส้มสายชู ให้ล้างด้วยน้ำทะเล หรือ 70% ไอโซโปรปิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl alcohol) หรือแอมโมเนีย หรือทาโลชันที่หาได้ใกล้ตัว

    มีการแนะนำให้ใช้ผักบุ้งทะเลซึ่งชอบขึ้นอยู่แถวชายหาดที่มีแมงกะพรุน ขยี้กับน้ำส้มสาย ชูความเข้มข้น 5% ประคบผิวหนังบริเวณที่โดนพิษแล้วห่อด้วยผ้าขาวบางทิ้งไว้ 30-60 นาที อาการระคายจะค่อยๆดีขึ้น ข้อสำคัญผักบุ้งทะเลต้องสะอาด แต่วิธีนี้ควรมีการศึกษาให้มากขึ้น เพราะตำราและข้อเสนอแนะทั่วไปเน้นการใช้น้ำส้มสายชูซึ่งหากหาไม่ได้ให้ใช้น้ำทะเลราด

    พยายามกำจัดเข็มพิษออกโดยใช้สันบัตรแข็งๆ เช่น บัตรเครดิตขูดบริเวณที่ถูกแมงกะ พรุนต่อย

  • สิ่งที่ไม่ควรทำในบริเวณที่แมงกะพรุนต่อย

    คือ
    1. ล้างด้วยน้ำเปล่า
    2. ใช้มือถูบริเวณที่ถูกต่อย
    3. ประคบด้วยความร้อน หรือน้ำแข็ง

    ซึ่งการกระทำดังกล่าวข้างต้น ทำให้เข็มพิษของแมงกะพรุนยังคงปล่อยพิษออกมาเรื่อยๆ

  • การเอาหนวดแมงกะพรุนออกจากร่างกาย

    โดยใช้ไม้เขี่ยออกหรือใช้ที่คีบออก หากหาถุงมือใส่ได้จะดีมาก
  • การปฐมพยาบาลเมื่อแมงกะพรุนต่อยที่ตา

    ให้ล้างตาด้วยน้ำเกลือ Normal saline ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำส้มสายชูซับที่ผิวหนังรอบๆตา โดยไม่ให้น้ำส้มสายชูสัมผัสกับดวงตาโดยตรง
  • การปฐมพยาบาลเมื่อแมงกะพรุนต่อยในปาก

    ใช้น้ำส้มสายชูความเข้มข้นหนึ่งในสี่โดยผสมน้ำส้มสายชูหนึ่งส่วนสี่ (1/4) แก้ว กับน้ำสามส่วนสี่ (3/4) แก้ว กลั้วปากแล้วบ้วนออก ไม่ดื่มเข้าไป
  • การดูแลตนเองตามอาการเมื่อมีอาการปวดหรืออาการคัน

    Paracetamol) ขนาดเม็ดละ 325 มก. 1-2 เม็ดทุก 4-6 ชั่วโมงถ้ามีอาการปวด ถ้ามีอาการคัน กินยาแอนติฮิสตามีน (Antihistamine) หรือให้ครีมสเตียรอยด์ทาบริเวณที่ถูกต่อย กินยาแก้ปวด ได้แก่ พาราเซตามอล (

เมื่อถูกแมงกะพรุนต่อยควรไปพบแพทย์เมื่อใด?

เมื่อถูกแมงกะพรุนต่อย ต้องรีบไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการดังนี้

  1. หายใจลำบาก กลืนลำบาก เจ็บหน้าอก หรือปวดบริเวณที่ถูกแมงกะพรุนต่อยมาก
  2. โดนแมงกะพรุนที่ดวงตา
  3. เมื่อถูกแมงกะพรุนต่อยในปาก หรือหนวดแมงกะพรุนเข้าปาก แล้วมีเสียงพูดเปลี่ยน กลืนลำบาก มีลิ้นและริมฝีปากบวม
  4. ผู้ที่ถูกแมงกะพรุนต่อยอายุน้อยมาก หรือมีอายุมาก
  5. แมงกะพรุนต่อยเป็นบริเวณกว้างที่ลำตัว หรือต่อยใบหน้า หรืออวัยวะเพศ
  6. มีอาการ คัน บวมแดง ปวดผิวหนังอยู่ตลอดเวลา

แพทย์มีแนวทางการรักษาอย่างไรเมื่อผู้ป่วยถูกแมงกะพรุนต่อย?

แนวทางการรักษาเมื่อถูกแมงกะพรุนต่อย คือ

  1. แพทย์จะประเมินระบบการหายใจและการทำงานของระบบหายใจ หากมีอาการรุน แรง แพทย์จะรีบช่วยกู้ชีพตามขั้นตอนทางการแพทย์
  2. ประเมินเรื่องอาการแพ้ (Allergic reaction) หากมีอาการที่บ่งบอกว่ามีการแพ้ (เช่น ผื่นคันทั่วตัว หน้า ตา ริมฝีปากบวมแผลที่ถูกต่อยบวมมาก ข้อต่างๆบวม และ/หรือ แน่น หายใจลำบาก) แพทย์จะรักษาอาการแพ้ และสังเกตอาการจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่เกิดอาการซ้ำ และผู้ ป่วยปลอดภัย
  3. รักษาตาอาการ เช่น อาการปวด คัน โดยให้ยาตามอาการนั้นๆ

ดูแลแผลแมงกะพรุนต่อยอย่างไรหลังการปฐมพยาบาล?

แผลแมงกะพรุนต่อยที่เป็นไม่มาก สามารถดูแลได้เองเช่นเดียวกับแผลอักเสบทั่วไป (Inflammation) ที่ไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยการทาแผลด้วยครีมสเตียรอยด์ เช่น

หลังการล้างแผลตามวิธีที่กล่าวข้างต้น แผลจะค่อยๆดีขึ้นและหายได้ในเวลาไม่กี่วัน ส่วนใหญ่จะหายภายใน 10 วัน

ส่วนแผลที่พองหรือมีน้ำเหลืองซึมให้ประคบด้วยน้ำเกลือล้างแผล Normal saline โดยใช้ผ้าก๊อส หรือสำลีสะอาดแผ่เป็นแผ่นบางชุบน้ำเกลือล้างแผล แล้ววางประคบลงบนแผลที่แฉะสัก 10-15 นาที จึงเอาผ้าหรือสำลีที่ประคบออก วิธีนี้เป็นการล้างแผลที่ไม่เจ็บและได้ผลดี

ถ้าไม่ได้พบแพทย์แต่แรกโดยดูแลแผลเอง เมื่อไรควรไปพบแพทย์?

ถ้าไม่ได้พบแพทย์แต่แรกโดยดูแลแผลเอง ควรพบแพทย์เมื่อ

  1. เมื่อแผลซึ่งควรมีอาการดีขึ้น คือ อาการปวด บวม แดง ร้อนลดลง แต่กลับมีอาการมากขึ้น หรือมีไข้ร่วมด้วย แสดงว่าแผลอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว ก่อนที่การติดเชื้อจะแพร่กระจายจากการติดเชื้อเฉพาะที่เป็นการติดเชื้อเข้ากระแสเลือด/โลหิตไปทั่วรางกาย (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ /ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด)
  2. เมื่อมีแผลเป็นนูนที่เรียกว่า คีลอยด์ (Keloid) และการทาครีมสเตียรอยด์ไม่ได้ผล แพทย์อาจต้องประเมินและให้การรักษาต่อ เช่น ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปที่แผลเป็นนูนนั้น

ป้องกันแมงกะพรุนต่อยอย่างไร?

ป้องกันแมงกะพรุนต่อยโดย

  1. เมื่อจะลงไปในทะเล สวมใส่ชุดที่ป้องกันไม่ให้แมงกะพรุนต่อย เช่น Wet suit หรือชุดทำจากไลครา (Lycra)
  2. อย่าเก็บแมงกะพรุนที่ตายแล้วมาเล่น เพราะต่อมพิษยังอาจปล่อยพิษได้อยู่
  3. ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในบริเวณที่มีแมงกะพรุนชุกชุม หากจำเป็นต้องเข้าไป ควรรู้ว่าบริเวณนั้นมีแมงกะพรุนชนิดใดมากที่สุด
  4. ควรมีความรู้เรื่องการปฐมพยาบาล และมีอุปกรณ์จำเป็นในการรักษาไปด้วย ในพวกที่มีประวัติแพ้แมลง ควรมียาอิพิเนฟรีนคิต (ปากกาฉีดยาอิพิเนฟรีน/Epinephrine kit/ยาฉีดรัก ษาอาการแพ้สิ่งต่างๆ) ติดไว้ในยามฉุกเฉินด้วย
  5. เมื่อลงเล่นน้ำทะเล ควรเล่นอยู่ในบริเวณที่มียามประจำฝั่งดูแลได้ทั่วถึง ในบางแห่งที่มีแมงกะพรุนชุกชุมและมีอันตราย อาจมีการล้อมบริเวณด้วยตาข่าย ควรเล่นน้ำอยู่ในบริเวณที่จำกัดนั้นๆ

ที่มา   https://haamor.com/th/การปฐมพยาบาลเมื่อถูกแมงกะพรุนต่อย/

อัพเดทล่าสุด