การทำหมันชาย (Vasectomy)


1,204 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ท่ออสุจิ  ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ชาย 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

การทำหมันชายคืออะไร?

การทำหมันชาย (Vasectomy หรือ Male surgical sterilization) เป็นการคุมกำเนิดถาวรโดยทำการผูกและตัดหลอด/ท่อนำอสุจิ (สเปิร์ม/Sperm) ป้องกันไม่ให้ตัวอสุจิจากอัณฑะเคลื่อนมายังถุงพักเชื้ออสุจิ ทำให้น้ำอสุจิที่หลั่งออกมาไม่มีตัวอสุจิ จึงทำให้ไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น

การทำหมันชายมีกี่วิธี? อะไรบ้าง?

การทำหมันชาย

วิธีการทำหมันชายทำโดยการผ่าตัด ทำได้ง่าย ใช้เวลาในการผ่าตัดน้อย ปลอดภัยกว่าการทำหมันหญิง ใช้ยาชาเฉพาะที่ ไม่จำเป็นต้องดมยาสลบ ปัจจุบันมีวิธีผ่าตัดทำหมันชาย 2 วิธี คือ

  1. การใช้มีดกรีดเปิดผิวหนังบริเวณถุงอัณฑะ เหนือหลอดนำน้ำเชื้ออสุจิ 1-2 แผล ขาดประมาณ 1 ซม. ทำการผูกและตัดหลอดน้ำเชื้ออสุจิทั้ง 2 ข้าง จากนั้นเย็บปิดผิวหนังที่กรีด
  2. การใช้เครื่องมือเจาะบริเวณผิวหนังเพื่อหาหลอดนำอสุจิจากนั้นทำการผูก และตัดหลอดนำอสุจิ ทั้งสองข้าง ซึ่งวิธีนี้ แผลมีขนาดเล็ก จึงไม่จำเป็นต้องเย็บปิดแผล

ข้อดีของการทำหมันชายมีอะไรบ้าง?

ข้อดีของการทำหมันชาย คือ

 

ข้อจำกัดของการทำหมันชายมีอะไรบ้าง?

ข้อจำกัดของการทำหมันชาย คือ

  • ผู้ให้การผ่าตัดต้องเป็นผู้ที่มีความชำนาญได้รับการฝึกฝนอย่างดี
  • อาจพบภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) หลังผ่าตัดทำหมันได้ เช่น อาจเกิดภาวะ ปวด บวม มีเลือดออก และมีลิ่มเลือดคั่งบริเวณถุงอัณฑะ (พบได้น้อย) และ/หรืออาจมีการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด
  • ไม่ป้องกันโรคติดต่อ/โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  • ไม่เป็นหมันทันทีหลังผ่าตัด ต้องรอนานประมาณ 3 เดือน หรือหลังการหลั่งน้ำอสุจิอย่างน้อย 20 ครั้ง จากนั้นควรทำการตรวจน้ำเชื้อว่าพบตัวอสุจิหรือไม่ เพื่อยืนยันการเป็นหมัน ทั้งนี้เพราะหลังทำหมัน น้ำเชื้อจะยัง คงมีอสุจิตกค้างอยู่ในหลอดนำอสุจิได้อีกระยะเวลาหนึ่งดังกล่าวแล้ว ดัง นั้นหลังทำหมันชาย จึงควรให้ฝ่ายหญิงคุมกำเนิดต่อไปก่อน หรือใช้ถุง ยางอนามัย จนกว่าผ่านระยะเวลาดังกล่าวแล้ว แต่ที่แน่นอน คือ หลังตรวจน้ำเชื้อแล้วไม่พบตัวอสุจิ
 

ข้อห้ามของการทำหมันชายมีอะไรบ้าง?

ข้อห้ามของการทำหมันชาย คือ

  • ต้องการมีบุตรเพิ่มอีกในอนาคต
  • ผู้ที่เข้ารับบริการต้องไม่มีภาวะแข็งตัวของเลือดผิดปกติ หากได้รับยาละ ลายลิ่มเลือด หรือยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อน และต้องงดยาก่อนทำผ่าตัดตามแพทย์สั่ง
  • ช่วงเวลาที่ทำผ่าตัดต้องไม่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และไม่มีการติดเชื้อบริเวณถุงอัณฑะ
 

ภาวะแทรกซ้อนจากการทำหมันชายมีอะไรบ้าง?

ภาวะแทรกซ้อนจากการทำหมันชาย (ผลข้างเคียง) ที่อาจพบได้ คือ

  • เกิดลิ่มเลือดคั่งในบริเวณถุงอัณฑะ พบได้ประมาณ 1% ของผู้รับการทำหมันชาย มีสาเหตุจากการบาดเจ็บต่อหลอดเลือดที่อยู่โดยรอบหลอดนำอสุจิ ถ้าลิ่มเลือดคั่งมีขนาดเล็ก ร่างกายจะดูดซึมเลือดที่คั่งให้หายไปได้เองภายในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ หากมีขนาดใหญ่และมีอาการปวดมาก ควรรีบกลับมาพบแพทย์ที่ทำผ่าตัด
  • แผลผ่าตัดติดเชื้อ พบได้น้อยมาก โดยจะมีอาการบวมแดง และปวดอัณฑะ หรืออาจมีหนองไหลจากแผล หากเกิดอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ด่วน
  • ก้อนในถุงอัณฑะ เป็นก้อนอสุจิจากการรั่วของแผลผ่าตัดผูกหลอดนำอสุจิ โดยอสุจิจะเกาะอยู่รอบๆปลายหลอด ก่อการอักเสบโดยรอบ และจับตัวกันเป็นก้อนห่อหุ้มปลายหลอด ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด รักษาโดยการพักผ่อนร่างกาย และให้ยาต้านการอักเสบ
  • ปวดหน่วงเรื้อรังที่อัณฑะ พบประมาณ 1 ใน 2,000 ราย มีสาเหตุจากความดันที่เพิ่มขึ้นภายในหลอดนำอสุจิด้านที่ติดกับลูกอัณฑะเนื่องจากยังมีการสร้างอสุจิได้อยู่เหมือนเดิม แต่ไม่สามารถถูกปลดปล่อยออกมาได้จากการถูกผ่าตัดหลอดนำอสุจิ อาการปวดหน่วงนี้เป็นไม่มาก และมักเป็นๆหายๆตลอดไป
 

หลังทำหมันชายมีอาการใดบ้างที่ต้องรีบพบแพทย์?

หลังทำหมันชาย ควรรีบพบแพทย์ก่อนนัด เมื่อ

 

หลังทำหมันชายควรปฏิบัติตัวอย่างไร?

การปฏิบัติตัวหลังทำหมันชาย คือ

  • ห้ามมิให้แผลผ่าตัดถูกน้ำเป็นเวลาอย่างน้อย 3 วัน
  • เว้นการยกของหนัก หรือการออกกำลังกายอย่างหนักหลังผ่าตัดอย่างน้อย 24-48 ชม.
  • งดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 7 วัน
  • เนื่องจากหลังผ่าตัด จะไม่เป็นหมันทันที จึงควรใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย เช่น ถุงยางอนามัยเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน หรือจนกว่าได้รับการตรวจน้ำเชื้อยืนยันว่าไม่พบตัวอสุจิ
 

โอกาสตั้งครรภ์หลังทำหมันชายมีหรือไม่? อย่างไร?

การทำหมันชายถือเป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงวิธีหนึ่ง พบมีอัตราความล้มเหลว (ภรรยาตั้งครรภ์หลังสามีทำหมัน) 1 ใน 700-2,000 ราย โดยความล้มเหลวอาจเกิดจากการผิดพลาดจากการผ่าตัด หรือเกิดการเชื่อมต่อใหม่ของหลอดนำอสุจิ

หากต้องการมีบุตรหลังทำหมันชายทำได้หรือไม่? อย่างไร?

หากต้องการมีบุตรหลังผ่าตัดทำหมันชายสามารถทำได้ แต่มีค่าใช้จ่ายสูง ต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และผลสำเร็จในการตั้งครรภ์ไม่แน่นอน ทั้งนี้อัตราความ สำเร็จ ขึ้นกับระยะเวลาหลังจากการผ่าตัดทำหมัน ความเชี่ยวชาญของผู้ผ่าตัด อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้แก้ไข อายุและสุขภาพของผู้ทำหมัน และของภรรยา ซึ่งโดยทั่วไปโอกาสแก้ไขได้ผลสำเร็จประมาณ 30-75% ทั้งนี้พบมีอัตราตั้งครรภ์สูงสุดเกิดภายใน 3 ปีหลังผ่าตัดแก้ไขทำหมัน

นอกจากวิธีผ่าตัดแก้ไข ยังสามารถใช้วิธีดูดเก็บเนื้อเยื่อบริเวณอัณฑะ เพื่อหาตัวอสุจิ แล้วนำมาใช้ในเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น เด็กหลอดแก้ว
ที่มา   https://haamor.com/th/ทำหมันชาย/

อัพเดทล่าสุด